โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มอร์ดอร์และอักษรเทงกวาร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มอร์ดอร์และอักษรเทงกวาร์

มอร์ดอร์ vs. อักษรเทงกวาร์

มอร์ดอร์ จากภาพยนตร์ไตรภาค ลอร์ดออฟเดอะริงส์ มอร์ดอร์ (Mordor) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งในจินตนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งเป็นที่ตั้งอาณาจักรอันชั่วร้ายของ เซารอน คำว่า มอร์ดอร์ เป็นภาษาซินดาริน มีความหมายว่า 'แผ่นดินแห่งความมืด' มอร์ดอร์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของมิดเดิลเอิร์ธ ในกำบังของเทือกเขาเอเฟลดูอัธ และเอเร็ดลิธุย ข้างตะวันออกของแม่น้ำอันดูอิน จึงตั้งประชิดอยู่ทางตะวันออกของอาณาจักรกอนดอร์ ภายในมอร์ดอร์เป็นที่ตั้งของ บารัดดูร์ หอคอยทมิฬ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซารอน นอกจากนี้ยังมีเมาท์ดูม หรือ โอโรดรูอิน หรือภูมรณะ ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่เปิดสู่แหล่งลาวาใต้พิภพ เป็นที่ที่มีอัคคีความร้อนสูงที่สุดบนมิดเดิลเอิร์ธ เป็นสถานที่เพียงแห่งเดียวที่สามารถหลอมสร้างแหวนเอกธำมรงค์ และเป็นที่เดียวที่ทำลายมันลงได้ เมาท์ดูมคือจุดหมายในการเดินทางของโฟรโด แบ๊กกิ้นส์ และ แซมไวส์ แกมจี ในภารกิจทำลายแหวนเอกในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ การเข้าสู่มอร์ดอร์ สามารถเข้าได้จากทางทิศเหนือ ผ่านประตูดำแห่งมอร์ดอร์ ชื่อว่า 'โมรันนอน' ซึ่งตั้งอยู่ที่ช่องแคบเชิงเขาระหว่างเอเฟลดูอัธกับเอเร็ดลิธุย อีกทางหนึ่งคือผ่านช่องเขาบนเอเร็ดลิธุย ซึ่งมีเมืองปราการแห่งหนึ่งตั้งอยู่ ชื่อ มินัสมอร์กูล เมืองนี้แต่เดิมเป็นเมืองของชาวกอนดอร์ ซึ่งสร้างขึ้นสำหรับคอยเฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของเซารอน ต่อภายหลังถูกพวกภูตแหวนยึดไปได้ และกลายเป็นที่อยู่ของวิชคิง หรือราชันขมังเวท ด้านหน้าประตูดำเป็นทุ่งราบกว้างใหญ่ ชื่อทุ่งดาร์กอลัด หรือ ทุ่งสมรภูมิ เป็นสถานที่ซึ่งเกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ในช่วงปลายยุคที่สอง คือ สงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย เป็นที่สิ้นพระชนม์ของกิล-กาลัด และ เอเลนดิล ในยุคที่สามทุ่งกว้างใหญ่แห่งนี้กลายเป็นบึงน้ำเฉอะแฉะ เรียกกันว่า 'บึงมรณะ' ข้างใต้บึงเป็นหลุมศพของเอลฟ์และมนุษย์ที่เสียชีวิตในสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้. ตัวอย่างภาษาอังกฤษที่เขียนด้วยอักษรเทงกวาร์ อักษรเทงกวาร์ (Tengwar) เป็นตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏใช้อยู่ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ สำหรับใช้เขียนภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาเควนยา และภาษาซินดาริน นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ในการเขียนภาษาอื่นได้อีก เช่น ภาษาอังกฤษ (ตัวอย่างการเขียนประโยคด้วยอักษรเทงกวาร์ของโทลคีน ส่วนใหญ่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ) คำว่า tengwar เป็นคำเควนยาในรูปพหูพจน์ หมายถึง 'ตัวอักษร' รูปเอกพจน์เรียกว่า tengwa.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มอร์ดอร์และอักษรเทงกวาร์

มอร์ดอร์และอักษรเทงกวาร์ มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาซินดารินมิดเดิลเอิร์ธเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

ภาษาซินดาริน

ษาซินดาริน (Sindarin) เป็นภาษาที่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้นใช้ในนวนิยายของเขาในชุดมิดเดิลเอิร์ธ แรงบันดาลใจของการสร้างภาษานี้มาจากพื้นฐานของภาษาเวลช์ (Welsh) ซึ่งโทลคีนพบในการศึกษาโคลงโบราณ เขาได้ใช้เวลาประดิษฐ์ภาษานี้จนสมบูรณ์ใช้งานได้จริง เทียบเคียงกับภาษาเควนยา เดิมทีโทลคีนตั้งใจประดิษฐ์ภาษานี้ขึ้นเป็นภาษาของชาวโนลดอร์ แต่เปลี่ยนใจภายหลัง ภาษาซินดาริน ตามฉบับนิยาย เป็นภาษาของพวกเอลฟ์ ชาวเทเลริ ที่มิได้เข้าร่วมการเดินทางครั้งใหญ่ไปได้ตลอดรอดฝั่ง แต่ยังคงตกค้างอยู่บนมิดเดิลเอิร์ธ และตั้งถิ่นฐานขึ้นในแผ่นดินเบเลริอันด์ ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ธิงโกล และ เมลิอัน ไมอาเทวี ในอาณาจักรโดริอัธ เอลฟ์กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า ชาวซินดาร์ หรือเอลฟ์แห่งสนธยา ภาษาของพวกเขาจึงเรียกว่า ภาษาซินดาริน ภาษาซินดารินมีกำเนิดมาจากคอมมอนเอลดาริน หรือภาษาดั้งเดิมของพวกเควนดิ จึงมีรากเดียวกันกับภาษาเควนยา ในยุคที่สาม ของโลกอาร์ดา คือเหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์นั้น ภาษาซินดารินเป็นภาษาที่พวกเอลฟ์ใช้กันแพร่หลายทั่วไป ดังนั้นภาษาเอลฟ์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นชื่อคน ชื่อสถานที่ต่างๆ รวมทั้งอักขระที่จารึกบนประตูทางเข้าเหมืองมอเรีย ก็ล้วนเป็นภาษาซินดารินทั้งสิ้น.

ภาษาซินดารินและมอร์ดอร์ · ภาษาซินดารินและอักษรเทงกวาร์ · ดูเพิ่มเติม »

มิดเดิลเอิร์ธ

แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.

มอร์ดอร์และมิดเดิลเอิร์ธ · มิดเดิลเอิร์ธและอักษรเทงกวาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

อลฟ์ (elf) ตามความหมายในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ มีชีวิตยืนยาวเท่ากับอายุของโลก จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็นอมตะ คำว่า 'เอลฟ์' (Elf) เป็นคำที่โทลคีนเลือกมาจากตำนานโบราณเพื่อใช้แทนคำศัพท์แท้จริงอันเป็นชื่อของชนเผ่านี้ คือ เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งเป็นคำในภาษาเควนยา หมายถึง 'ประชากรแห่งแสงดาว'.

มอร์ดอร์และเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · อักษรเทงกวาร์และเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

มอร์ดอร์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · อักษรเทงกวาร์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

มอร์ดอร์และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · อักษรเทงกวาร์และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มอร์ดอร์และอักษรเทงกวาร์

มอร์ดอร์ มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ อักษรเทงกวาร์ มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 14.29% = 5 / (22 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มอร์ดอร์และอักษรเทงกวาร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »