เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

มหาเสนาบดี (ออตโตมัน)และยุทธการที่เวียนนา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มหาเสนาบดี (ออตโตมัน)และยุทธการที่เวียนนา

มหาเสนาบดี (ออตโตมัน) vs. ยุทธการที่เวียนนา

มหาเสนาบดี หรือ แกรนด์วิเซียร์ (Sadr-ı Azam หรือ Serdar-ı Ekrem (ภาษาออตโตมันตุรกี: صدر اعظم หรือ وزیر اعظم), Grand Vizier) มาจากภาษาอาหรับ “Vizier” (وزير หรือ เสนาบดี) ซึ่งเป็นตำแหน่งมนตรีใหญ่ที่ขึ้นกับสุลต่านผู้ที่มีอำนาจสูงสุดทางกฎหมาย และจะถูกปลดได้ก็โดยสุลต่านแต่เพียงผู้เดียว ผู้ได้รับตำแหน่งเป็นมหาเสนาบดีจะมีตราหลวงและมีอำนาจในการเรียกประชุมเสนาบดีคนอื่นๆ ได้ที่เรียกว่า “Kubbealtı” ที่เป็นคำที่มาจากสถานที่ประชุมภายใต้โดมในพระราชวังโทพคาพิ ที่ทำการของมหาเสนาบดีตั้งอยู่ที่ “ประตูวิจิตร” (Sublime Porte) ของพระราชวังโทพคาปิ นอกจากนั้นแล้วตำแหน่งแกรนด์วิเซียร์ก็ยังเป็นตำแหน่งอูร์ดูของนายกรัฐมนตรีของปากีสถานโดยรัฐมนตรีมีตำแหน่งเป็น “วิเซียร์”. ทธการเวียนนา (Schlacht am Kahlenberg, İkinci Viyana Kuşatması, Battle of Vienna) เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 11 ถึง 12 กันยายน ค.ศ. 1683 หลังจากเวียนนาถูกล้อมโดยจักรวรรดิออตโตมันอยู่เป็นเวลาสองเดือน ยุทธการเวียนนาเป็นการต่อสู้ระหว่างสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์กับฝ่ายจักรวรรดิออตโตมันและรัฐบริวารไม่ไกลจากเนินเขาคาห์เลนแบร์กในเวียนนา ยุทธการเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บวร์กในยุโรปกลาง กองทัพเวียนนานำโดยเอิร์นสท์ รืดิเกอร์ กราฟ ฟอน สตาร์เฮมแบร์กภายใต้การบังคับบัญชาของสมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ชัยชนะของยุทธการใหญ่เป็นของฝ่ายกองทัพโปแลนด์, ออสเตรีย และ เยอรมัน ภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์โปแลนด์พระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบีสกี ในการต่อสู้กับกองทัพของจักรวรรดิออตโตมันและกองทัพของรัฐบริวารที่นำโดยมหาเสนาบดีปาชาคารา มุสตาฟา ตามความเห็นบางความเห็นกล่าวว่ายุทธการครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนแปลงของสงครามออตโตมัน-ฮับส์บวร์กซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐอำนาจต่างๆ ในยุโรปกลางกับจักรวรรดิออตโตมันที่ดำเนินมาร่วมสามร้อยปี อีกความเห็นหนึ่งก็ว่าเป็นลมหายใจเฮือกสุดท้ายของจักรวรรดิออตโตมันที่เมื่อถึงจุดนั้นก็เป็นช่วงที่ขยายตัวจนเกินตัวอยู่แล้ว สิบหกปีหลังจากการที่ยุทธการสิ้นสุดลงราชวงศ์ฮับส์บวร์กแห่งออสเตรียก็เริ่มเข้ามามีอำนาจทางตอนใต้ของฮังการี และ ทรานซิลเวเนียที่เดิมอยู่ภายใต้อำนาจของออตโตมัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มหาเสนาบดี (ออตโตมัน)และยุทธการที่เวียนนา

มหาเสนาบดี (ออตโตมัน)และยุทธการที่เวียนนา มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): จักรวรรดิออตโตมัน

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

จักรวรรดิออตโตมันและมหาเสนาบดี (ออตโตมัน) · จักรวรรดิออตโตมันและยุทธการที่เวียนนา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มหาเสนาบดี (ออตโตมัน)และยุทธการที่เวียนนา

มหาเสนาบดี (ออตโตมัน) มี 4 ความสัมพันธ์ขณะที่ ยุทธการที่เวียนนา มี 19 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 4.35% = 1 / (4 + 19)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มหาเสนาบดี (ออตโตมัน)และยุทธการที่เวียนนา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: