มหาสมุทรแอตแลนติกและแหลมตาริฟา
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง มหาสมุทรแอตแลนติกและแหลมตาริฟา
มหาสมุทรแอตแลนติก vs. แหลมตาริฟา
มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต). แหลมตาริฟา (punta de Tarifa) หรือ แหลมโมร็อกโก (punta Marroquí) เป็นจุดที่อยู่ทางทิศใต้สุดของคาบสมุทรไอบีเรียและยุโรปภาคพื้นทวีป ตั้งอยู่ริมช่องแคบยิบรอลตาร์ในเขตเทศบาลเมืองตาริฟา จังหวัดกาดิซ แคว้นปกครองตนเองอันดาลูซิอา ประเทศสเปน เราสามารถมองเห็นชายฝั่งประเทศโมร็อกโกได้จากจุดนี้ แหลมตาริฟาเป็นปลายด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอดีตเกาะตาริฟาหรืออิสลาเดลัสปาโลมัส (Isla de Las Palomas) ซึ่งตั้งอยู่นอกชายฝั่งและเชื่อมต่อกับแผ่นดินใหญ่ของสเปนด้วยทางเชื่อม เกาะนี้เคยเป็นที่ตั้งของค่ายทหารค่ายหนึ่งระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1930 ถึง ค.ศ. 2001 ทั้งเกาะและเทศบาลตาริฟาได้ชื่อมาจากเฏาะรีฟ อิบน์ มาลิก (طريف بن مالك, Ṭarīf ibn Mālik) หัวหน้าทัพชาวเบอร์เบอร์ซึ่งเริ่มต้นการพิชิตฮิสปาเนียจากบริเวณนี้ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 710.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มหาสมุทรแอตแลนติกและแหลมตาริฟา
มหาสมุทรแอตแลนติกและแหลมตาริฟา มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ช่องแคบยิบรอลตาร์
องแคบยิบรอลตาร์ มองจากอวกาศ ช่องแคบยิบรอลตาร์ (Strait of Gibraltar; Estrecho de Gibraltar; مضيق جبل طارق) เป็นช่องแคบที่เชื่อมต่อมหาสมุทรแอตแลนติกกับทะเลอัลโบรัน (ส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) และแยกประเทศสเปนออกจากประเทศโมร็อกโก ชื่อช่องแคบนี้มาจากชื่อดินแดนยิบรอลตาร์ (Gibraltar) ซึ่งมีต้นกำเนิดอีกทีมาจากคำอาหรับว่า ญะบัลฏอริก (جبل طارق) หมายถึง "ภูเขาของฏอริก" ฏอริกในที่นี้คือนายพลเบอร์เบอร์ชื่อ ฏอริก อิบน์ ซิยาด (طارق بن زياد) ผู้นำการพิชิตฮิสปาเนียของอิสลามในปี ค.ศ. 711 ช่องแคบนี้ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "สตร็อก" (Strog: Strait of Gibraltar) ซึ่งมักใช้กันในวงทหารเรือ.
ช่องแคบยิบรอลตาร์และมหาสมุทรแอตแลนติก · ช่องแคบยิบรอลตาร์และแหลมตาริฟา · ดูเพิ่มเติม »
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ มหาสมุทรแอตแลนติกและแหลมตาริฟา มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง มหาสมุทรแอตแลนติกและแหลมตาริฟา
การเปรียบเทียบระหว่าง มหาสมุทรแอตแลนติกและแหลมตาริฟา
มหาสมุทรแอตแลนติก มี 26 ความสัมพันธ์ขณะที่ แหลมตาริฟา มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.56% = 1 / (26 + 13)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มหาสมุทรแอตแลนติกและแหลมตาริฟา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: