โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาสมุทรอาร์กติกและเรือดำน้ำชั้นไต้ฝุ่น

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มหาสมุทรอาร์กติกและเรือดำน้ำชั้นไต้ฝุ่น

มหาสมุทรอาร์กติก vs. เรือดำน้ำชั้นไต้ฝุ่น

มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด มหาสมุทรอาร์กติกมีรูปร่างคล้ายวงกลม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ เกือบเท่ากับขนาดของทวีปแอนตาร์กติกา แนวชายฝั่งยาว ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์, ทะเลโบฟอร์ต, ทะเลชุกชี, ทะเลคารา, ทะเลลัปเตฟ, ทะเลไซบีเรียตะวันออก, ทะเลลิงคอล์น, ทะเลแวนเดล, ทะเลกรีนแลนด์ และทะเลนอร์เวย์ เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปีและเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร การเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต). รือดำน้ำชั้นไต้ฝุ่น หรือ The Project 941 หรือ เรือดำน้ำชั้น Akula, "Акула" (ภาษารัสเซีย แปลว่า "ฉลาม") (นาโต้ใช้ชื่อว่า: Typhoon) เป็นเรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธ และยังเป็นเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ที่ได้รับการพัฒนาโดยสหภาพโซเวียต ในปี 1980 ด้วยความสามารถในการบรรทุกมากกว่า 48,000 ตัน ทำให้มันเป็น เรือดำน้ำ ที่ ใหญ่ที่สุดในโลก ที่สุดที่เคยมีมา แต่พวกมันกลับทำงานได้เงียบกว่า เรือดำน้ำ รุ่นก่อนมาก ถึงจะมีรูปร่างขนาดใหญ่โต แต่นั้นไม่ไม่ทำให้ เรือดำน้ำ ไต้ฝุ่น นั้นมีคุณสมบัติที่ด้อยลงเรื่องการเคลื่อนที่ หรือการหลบหลีกการตรวจจับ และด้วยการออกแบบให้ตัวเรือประกอบขึ้นด้วยเปลือกป้องกันแรงดัน 2 ชั้นวางขนานกัน และส่วนบนของตัวเรือจะมีการติดตั้งเปลือกป้องกันแรงดัน ชั้นที่ 3 ทำให้มันป้องกันแรงกดดันของน้ำได้ดี และมากขึ้น ทำให้เรือดำน้ำรุ่นนี้หลุดจากหลักการออกแบบ ที่ต้องทำให้ตัวเรือกลม (ตัวเรือทรงวงกลมรับแรงกดได้ดีที่สุด) ตัวเรือออกแบบให้แบนได้มากขึ้น ตัวเรือ มีความกว้างเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้มีพื้นที่ใช้สอยภายในเพิ่มขึ้น แม้แต่เครื่องออกกำลังกาย หรือสระว่ายน้ำภายในก็ยังมี เนื่องจากทหารส่วนใหญ่จะต้องอยู่ในใต้ทะเลเป็นเวลานานจึงต้องมีการ ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ทำให้ ผ่อนคลายได้บ้าง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มหาสมุทรอาร์กติกและเรือดำน้ำชั้นไต้ฝุ่น

มหาสมุทรอาร์กติกและเรือดำน้ำชั้นไต้ฝุ่น มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มหาสมุทรอาร์กติกและเรือดำน้ำชั้นไต้ฝุ่น

มหาสมุทรอาร์กติก มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ เรือดำน้ำชั้นไต้ฝุ่น มี 4 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (19 + 4)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มหาสมุทรอาร์กติกและเรือดำน้ำชั้นไต้ฝุ่น หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »