โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาสนุกและวิธิต อุตสาหจิต

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มหาสนุกและวิธิต อุตสาหจิต

มหาสนุก vs. วิธิต อุตสาหจิต

ปกนิตยสารมหาสนุก ฉบับที่ 929 ประจำวันที่ 14-21 มกราคม พ.ศ. 2552 ภาพปกโดย สุพล เมนาคม (ต้อม) มหาสนุก เป็นนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงเล่มหนึ่งในประเทศไทย จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกในปี พ.ศ. 2518 หลังจากที่ก่อนหน้านั้นบรรลือสาส์นได้ออกนิตยสารขายหัวเราะในปี พ.ศ. 2516 และได้ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยมีวิธิต อุตสาหจิต เป็นบรรณาธิการ รูปแบบและเนื้อหาของนิตยสารมหาสนุกนั้นคล้ายคลึงกับนิตยสารขายหัวเราะ กล่าวคือ เน้นการตีพิมพ์การ์ตูนแก๊กเป็นหลัก (โดยทีมงานนักเขียนการ์ตูนในนิตยสารเล่มนี้ใช้ทีมเดียวกับที่เขียนในขายหัวเราะ) เนื้อหาอาจเป็นได้ทั้งเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เศรษฐกิจ การเมือง หรือกระแสความนิยมต่างๆ ในสังคมไทยและต่างประเทศ มีการตีพิมพ์ขำขัน ภาพตลกจากต่างประเทศ สาระน่ารู้ต่างๆ แต่ส่วนที่ต่างไปจากขายหัวเราะคือ การตีพิมพ์เรื่องสั้นในมหาสนุกนั้นจะตีพิมพ์เพียงเรื่องเดียวต่อฉบับ และมีการ์ตูนเรื่องสั้นหรือนิยายภาพชุดต่างๆ จากฝีมือของนักเขียนการ์ตูนบรรลือสาส์นลงพิมพ์ฉบับละ 2 เรื่อง ในท้ายเล่มยังมีเกมชิงรางวัลรูปแบบต่างๆ และการตอบจดหมายของผู้อ่านโดยนักเขียนการ์ตูน (ปัจจุบันได้มีการเลิกตีพิมพ์หน้าตอบจดหมายแล้ว) จากนั้นได้เพิ่มอีก 3 เกม อย่างเช่น "คิดดีๆ มีรางวัล" "ตาไวๆ ได้รางวัล" และ "ปริศนาอักษรไขว์" เฉพาะการ์ตูนเรื่องสั้นซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกนั้น การ์ตูนชุดใดที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านมากก็จะได้รับการตีพิมพ์เป็นนิตยสารรวมเล่มในชื่อชุด "มหกรรมมินิซีรีส์" เริ่มพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2535 ซึ่งการ์ตูนบางชุดก็ยังคงได้รับความนิยมจากผู้อ่านมาอย่างต่อเนื่องและมีการตีพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การ์ตูนชุด "ไอ้ตัวเล็ก" ของภักดี แสนทวีสุข การ์ตูนชุด "บ้าครบสูตร" และ "สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่" ของอารีเฟน ฮะซานี เป็นต้น แม้ว่าผู้เขียนจะไม่ได้นำการ์ตูนเรื่องสั้นชุดของตนเองลงพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกแล้วก็ตาม ส่วนขนาดรูปเล่มของมหาสนุก ในสมัยเริ่มแรกมีรูปเล่มขนาดใหญ่เท่ากระดาษ A4 เช่นเดียวกับขายหัวเราะ ต่อมาในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2532 จึงได้เริ่มปรับขนาดหนังสือให้เล็กลง โดยใช้ชื่อหนังสือเล่มเล็กว่า "มหาสนุกฉบับกระเป๋า" มีขนาดเท่ากระดาษ B5 ซึ่งเป็นขนาดของหนังสือมหาสนุกในปัจจุบัน ส่วนมหาสนุกเล่มใหญ่ยังคงทยอยออกมาอีกระยะหนึ่งจึงเลิกจัดพิมพ์ กำหนดการออกนิตยสารนั้นเดิมกำหนดออกเป็นรายปักษ์ (ราย 15 วัน) ภายหลังจึงปรับให้ออกเป็นรายสิบวัน และรายสัปดาห์ตามลำดับพร้อมกับขายหัวเราะ โดยขายหัวเราะมีกำหนดออกในวันอังคาร ส่วนมหาสนุกออกจำหน่ายในวันศุกร์ ต่อมาจึงปรับกำหนดออกอีกครั้งให้เป็นวันพุธทั้งสองฉบับ และปรับราคาจำหน่ายของมหาสนุกในปี (พ.ศ. 2552) อยู่ที่เล่มละ 15 บาท ปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) มหาสนุก ได้ปรับการวางแผงเป็นรายเดือน และปรับราคาอยู่ที่ เล่มละ 20 บาท. วิธิต อุตสาหจิต (Vithit Utsahajit) บรรณาธิการหนังสือการ์ตูนในเครือบรรลือสาส์น ผู้ก่อตั้งนิตยสารขายหัวเราะและมหาสนุก และผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ผีหัวขาด เขายังเป็นผู้บุกเบิกการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่นสามมิติเป็นผู้แรกในประเทศไทย มีผู้ให้สมญานามแก่เขาว่า “ราชาแห่งการ์ตูนไทย” ในยุคปัจจุบัน แฟนการ์ตูนบรรลือสาส์นรู้จักกันดีในนาม “.ก.วิติ๊ด”.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มหาสนุกและวิธิต อุตสาหจิต

มหาสนุกและวิธิต อุตสาหจิต มี 13 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บรรณาธิการบ้าครบสูตรพ.ศ. 2516พ.ศ. 2518ภักดี แสนทวีสุขสำนักพิมพ์บรรลือสาส์นสุพล เมนาคมหนูหิ่น อินเตอร์อารีเฟน ฮะซานีผดุง ไกรศรีขายหัวเราะปังปอนด์นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์

บรรณาธิการ

รรณาธิการ (คำสนธิ: บรรณ (หนังสือ) + อธิการ (เจ้าการ); Editor) เป็นบุคคลซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดทำ รวบรวม ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุม เนื้อหาและภาพทั้งหมด ที่จะตีพิมพ์เป็นหนังสือ หรือเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดว่าจะออกเรื่อยไปตามลำดับ โดยใช้ชื่อเดิม เช่น หนังสือพิมพ์ และนิตยสารต่างๆ และนิยมใช้เป็นคำย่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “.ก.” ส่วนคำที่ใช้เรียกกระบวนการลักษณะดังกล่าว คือ บรรณาธิกร (Editing) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของ บรรณาธิการ ไว้ว่า ผู้จัดเลือกเฟ้น รวบรวม ปรับปรุง และรับผิดชอบเรื่องลงพิมพ์ และในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2550 ระบุว่า บรรณาธิการ หมายความถึง บุคคลผู้รับผิดชอบ ในการจัดทำ และควบคุมเนื้อหา ข้อความ หรือภาพ ที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ รวมทั้งวัสดุ หรือเอกสาร ที่แทรกในหนังสือพิมพ์ โดยความเห็นชอบของบรรณาธิการด้วย เมื่อหนังสือพิมพ์ มีความหมายรวมไปถึง นิตยสาร วารสาร สิ่งพิมพ์ ที่เรียกชื่ออย่างอื่น ในทำนองเดียวกัน.

บรรณาธิการและมหาสนุก · บรรณาธิการและวิธิต อุตสาหจิต · ดูเพิ่มเติม »

บ้าครบสูตร

้าครบสูตร เป็นชื่อชุดการ์ตูนเรื่องสั้นเรื่องต่างๆ ซึ่งเป็นผลงานของอารีเฟน ฮะซานี หรือเฟน สตูดิโอ ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร "สกุลไทยตูน" ปีที่ 26 ฉบับที่ 12 ปักษ์หลังเดือนมิถุนายน..

บ้าครบสูตรและมหาสนุก · บ้าครบสูตรและวิธิต อุตสาหจิต · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2516

ทธศักราช 2516 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1973 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

พ.ศ. 2516และมหาสนุก · พ.ศ. 2516และวิธิต อุตสาหจิต · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2518

ทธศักราช 2518 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1975 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

พ.ศ. 2518และมหาสนุก · พ.ศ. 2518และวิธิต อุตสาหจิต · ดูเพิ่มเติม »

ภักดี แสนทวีสุข

ักดี แสนทวีสุข หรือ '''ต่าย ขายหัวเราะ''' ตัวละครของภักดี แสนทวีสุข (วาดโดยตนเอง) ภักดี แสนทวีสุข หรือ ต่าย ขายหัวเราะ นักเขียนการ์ตูนไทยสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ผู้เป็นส่วนหนึ่งในการบุกเบิกหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะและมหาสนุก และเป็นเจ้าของผลงานชุด "ปังปอนด์" ในปัจจุบันออกแบบประเทศไท.

ภักดี แสนทวีสุขและมหาสนุก · ภักดี แสนทวีสุขและวิธิต อุตสาหจิต · ดูเพิ่มเติม »

สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น

หัวเราะ หนึ่งในนิตยสารการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของบรรลือสาส์น วิธิต อุตสาหจิต สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เป็นสำนักพิมพ์ที่มีบทบาทในด้านการ์ตูนไทย จากการจัดพิมพ์นิยายชุดและหนังสือการ์ตูนยอดนิยมหลายชุดทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น หัสนิยายชุด พล นิกร กิมหงวน ขายหัวเราะ มหาสนุก ปังปอนด์ หนูหิ่นอินเตอร์ เป็นต้น และเป็นผู้บุกเบิกการทำภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ เป็นรายแรกของประเทศไท.

มหาสนุกและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · วิธิต อุตสาหจิตและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · ดูเพิ่มเติม »

สุพล เมนาคม

ผลงานของสุพล เมนาคม (ต้อม) ที่มีอย่างสม่ำเสมอ คือการเขียนปกนิตยสารมหาสนุก (ในภาพ เป็นปกนิตยสารมหาสนุก ฉบับที่ 929 ประจำวันที่ 14-21 มกราคม พ.ศ. 2552) สุพล เมนาคม (13 ตุลาคม พ.ศ. 2502 — 21 มกราคม พ.ศ. 2561) เจ้าของนามปากกา "ต้อม" (หรือที่เรียกทั่วไปว่า ต้อม ขายหัวเราะ) เป็นนักเขียนการ์ตูนไทยสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์นผู้มีลายเส้นและสีสันที่งดงามคนหนึ่งของเมืองไทย เขาเป็นผู้วาดปกนิตยสารมหาสนุก และเป็นเจ้าของตัวการ์ตูนที่มีชื่อเสียงอย่าง "ไก่ย่างวัลลภ" ซึ่งต่อมาได้มีการนำมาดัดแปลงเป็นการ์ตูนเรื่องสั้นชุด "วิลลี่ เดอะ ชิกเก้น".

มหาสนุกและสุพล เมนาคม · วิธิต อุตสาหจิตและสุพล เมนาคม · ดูเพิ่มเติม »

หนูหิ่น อินเตอร์

หนูหิ่น...อินเตอร์ เป็นผลงานชุดการ์ตูนเรื่องสั้นของ ผดุง ไกรศรี หรือ "เอ๊าะ" ตีพิมพ์ตอนแรกลงในหนังสือการ์ตูน มหาสนุก ฉบับที่ 156 (ฉบับกระเป๋าในช่วงต้นปี พ.ศ. 2538) ต่อมาได้มีการตีพิมพ์รวมเล่มเมื่อ พ.ศ. 2539 โดยออกเป็นนิตยสารรายสะดวกในช่วงแรกและออกรายเดือนตั้งแต่ฉบับที่ 21 เป็นต้นมา ต่อมาได้นำกลับมารวมเล่มในชื่อ หนูหิ่นสเปเชียล วางแผงเป็นรายสะดวก ปัจจุบันมีออกมาทั้งสิ้น 4 เล่ม ภายหลังทางสำนักพิมพ์ได้รวมเล่มออกมาอีกครั้งในชื่อ หนูหิ่น in the city ประกอบไปด้วยหนูหิ่น 4 ตอนที่เคยลงในหนูหิ่น...อินเตอร์นำมาพิมพ์ 4 สีทั้งเล่ม นอกจากนี้ยังได้มีการรวมเล่มการ์ตูน หนูหิ่นอินโนนหินแห่ ซึ่งเป็นเรื่องราวของหนูหิ่นในวัยเด็กอีกด้วย การ์ตูนชุดหนูหิ่นที่กล่าวไปได้รับความนิยม โดยเฉพาะชาวกรุงเทพและชาวอีสานที่ตั้งถิ่นฐานตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศ จนมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ หนูหิ่น เดอะ มูฟวี่ ใน พ.ศ. 2549 ปัจจุบันหนูหิ่น...อินเตอร์ ได้วางจำหน่ายฉบับเป็นเดือนเว้นเดือน.

มหาสนุกและหนูหิ่น อินเตอร์ · วิธิต อุตสาหจิตและหนูหิ่น อินเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อารีเฟน ฮะซานี

อารีเฟน ฮะซานี (เฟน สตูดิโอ) อารีเฟน ฮะซานี หรือในนามปากกา เฟน สตูดิโอ (เกิด 17 มิถุนายน พ.ศ. 2500) นักเขียนการ์ตูนชาวไทย ประจำสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ในหนังสือการ์ตูนมหาสนุก สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่ รามาวตาร และ ศึกมหาภารต.

มหาสนุกและอารีเฟน ฮะซานี · วิธิต อุตสาหจิตและอารีเฟน ฮะซานี · ดูเพิ่มเติม »

ผดุง ไกรศรี

ผดุง ไกรศรี หรือ เอ๊าะ เป็นนักเขียนการ์ตูนในสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เจ้าของผลงานการ์ตูนชุด หนูหิ่น อินเตอร์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจนได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2549.

ผดุง ไกรศรีและมหาสนุก · ผดุง ไกรศรีและวิธิต อุตสาหจิต · ดูเพิ่มเติม »

ขายหัวเราะ

ปกหนังสือขายหัวเราะ สมัยราคา 12 บาท ผลงานของวัฒนา เพ็ชรสุวรรณ ขายหัวเราะ เป็นชื่อของนิตยสารการ์ตูนไทยรายสัปดาห์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ภายใต้การบริหารงานของ วิธิต อุตสาหจิต และเป็นหนังสือการ์ตูนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเล่มหนึ่งในประเทศไทย ควบคู่ไปกับนิตยสารมหาสนุก ซึ่งจัดพิมพ์โดยบรรลือสาส์นเช่นกัน เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 ในเวลาต่อมา ทางบันลือกรุ๊ป ได้ใช้งบ 10 ล้านบาทสำหรับการจัดทำขายหัวเราะในรูปแบบอีแม็กกาซีน โดยเวอร์ชันทดลองแรกเริ่ม มียอดดาวน์โหลดกว่า 2 หมื่นครั้ง ภายในช่วงระยะเวลา 4 วัน นอกจากนี้ ขายหัวเราะยังจัดเป็นนิตยสารการ์ตูนไทยที่สามารถทำยอดขายได้กว่าล้านเล่มของแต่ละเดือนสามทหาร.

ขายหัวเราะและมหาสนุก · ขายหัวเราะและวิธิต อุตสาหจิต · ดูเพิ่มเติม »

ปังปอนด์

ปังปอนด์ เป็นชื่อชุดการ์ตูนไทยซึ่งเป็นผลงานของ ภักดี แสนทวีสุข (ต่าย ขายหัวเราะ) เดิมใช้ชื่อการ์ตูนชุดนี้ว่า ไอ้ตัวเล็กแสตมป์น่าสนใจในอดีต.

ปังปอนด์และมหาสนุก · ปังปอนด์และวิธิต อุตสาหจิต · ดูเพิ่มเติม »

นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์

นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์ เกิดวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2499 ที่ จังหวัดนครราชสีมา รู้จักกันดีในชื่อ "นิค ขายหัวเราะ" นักเขียนการ์ตูนไทยชื่อดังในสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น มีผลงานการ์ตูนประจำอยู่ในนิตยสารขายหัวเราะและมหาสนุกตั้งแต่ยุคบุกเบิกจนถึงปัจจุบันเป็นเวลานานกว่า 25 ปี คาแรคเตอร์ของนิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์ในการ์ตูน มีลักษณะคล้ายเค้าหน้าจริง ผมยาวกึ่งสั้น และอ้วนลงพุง มักปรากฏเป็นตัวเดินเรื่องในการ์ตูนแก๊กทั้งแบบช่องเดียวจบและสามช่องจบทั้งนี้ นิพนธ์ยังได้ใช้คาแรคเตอร์ของเขาเองเป็นตัวละครหลักในการ์ตูนเรื่องสั้นของเขาเองด้วย ได้แก่ การ์ตูนชุด "คนอลเวง" และ "พีพีไอ้ตี๋ซ่า" ในการ์ตูนแก๊กต่างๆ ของนิค และการ์ตูนเรื่องสั้นบางชุด นิพนธ์จะเขียนตัวการ์ตูนของเขาเป็นตัวเดินเรื่องหรือแทรกเป็นตัวประกอบอยู่ในการ์ตูนของเขาเสมอ โดยมีลักษณะคล้ายเค้าหน้าจริงและอ้วนลงพุง เขาได้เปิดเผยว่าได้รับแนวคิดในการเขียนการ์ตูนต่างๆมาจากการดูโทรทัศน์ แล้วประมวลผลออกมาเป็นผลงานในแบบของตัวเอง รวมถึงในปัจจุบัน เขายังได้รับไอเดียจากอินเทอร์เน็ตมาประกอบการเขียนด้วยเช่นกัน.

นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์และมหาสนุก · นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์และวิธิต อุตสาหจิต · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มหาสนุกและวิธิต อุตสาหจิต

มหาสนุก มี 33 ความสัมพันธ์ขณะที่ วิธิต อุตสาหจิต มี 27 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 13, ดัชนี Jaccard คือ 21.67% = 13 / (33 + 27)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มหาสนุกและวิธิต อุตสาหจิต หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »