โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิม

ดัชนี มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิม

วาดมหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเชื่อกันว่าจะเป็นภาพมหาวิหารเมื่อราว ค.ศ. 1450 มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิม เป็นสิ่งก่อสร้างซึ่งเคยตั้งอยู่ ณ จุดที่เป็นที่ตั้งของมหาวิหารนักบุญเปโตรหลังปัจจุบันในกรุงโรมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 ถึง 16 การก่อสร้างมหาวิหาร ซึ่งตั้งอยู่เหนือเซอร์คัสเนโรในอดีต เริ่มต้นขึ้นระหว่างรัชสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ชื่อ "มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิม" ถูกใช้สืบมานับตั้งแต่การก่อกร้างมหาวิหารปัจจุบันเพื่อแยกสิ่งก่อสร้างทั้งสองนี้.

12 ความสัมพันธ์: ชาร์เลอมาญมหาวิหารมหาวิหารนักบุญเปโตรสมเด็จพระสันตะปาปาจูลิอุสที่ 2อาวีญงปาปาซีจักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราชจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิโรมันซีโมนเปโตรโรมโคมระย้าเลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี

ชาร์เลอมาญ

ร์เลอมาญ (Charlemagne) หรือชื่อในภาษาเยอรมันคือ คาร์ลมหาราช (Karl der Große) เป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ (ฝรั่งเศสโบราณ) ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมและชาร์เลอมาญ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหาร

มหาวิหาร หมายถึง วิหารหรือเทวสถานขนาดใหญ่; ในพุทธศาสนสถาน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมและมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญเปโตร

มหาวิหารนักบุญเปโตร (Basilica of Saint Peter, Basilica Sancti Petri) รู้จักกันโดยชาวอิตาลีว่า Basilica di San Pietro in Vaticano หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่าเซนต์ปีเตอร์สบาซิลิกา (Saint Peter's Basilica) เป็นมหาวิหารเอกหนึ่งในสี่แห่งในกรุงโรม นครรัฐวาติกัน (อีกสามมหาวิหาร คือ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร และมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง).

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมและมหาวิหารนักบุญเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาจูลิอุสที่ 2

มเด็จพระสันตะปาปาจูลิอุสที่ 2 (ละติน: Julius II) พระสันตะปาปาจูลิอุสที่ 2 มีพระฉายานามว่า “พระสันตะปาปาผู้เหี้ยมโหด” (Il Papa Terribile) พระนามเมื่อเกิดคือจูเลียโน จูลิอาโน เดลลา โรเวเร ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาระหว่างปี ค.ศ. 1503 ถึง ค.ศ. 1513 สมัยของพระองค์เป็นสมัยที่รู้จักกันว่าเป็นสมัยที่มีนโยบายต่างประเทศที่รุนแรง, สมัยของการก่อสร้าง และสมัยของการอุปถัมภ์ศิลป.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมและสมเด็จพระสันตะปาปาจูลิอุสที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

อาวีญงปาปาซี

พระราชวังพระสันตะปาปาแห่งอาวีญง อาวีญงปาปาซี (Avignon Papacy) หรือ สมณสมัยอาวีญง คือช่วงเวลาที่พระสันตะปาปา 7 พระองค์ประทับ ณ เมืองอาวีญง ราชอาณาจักรฝรั่งเศส แทนการประทับที่กรุงโรมตามปกติ สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างองค์พระสันตะปาปากับพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส ภายหลังจากความขัดแย้งระหว่างสมเด็จพระสันตะปาปาบอนิเฟซที่ 8 กับพระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส และการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 11 ผู้สืบทอดตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาต่อจากสมเด็จพระสันตะปาปาบอนิเฟซที่ 8 และดำรงสมณศักดิ์ได้เพียง 8 เดือน การประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาให้อาร์ชบิชอปแบร์ทร็อง ชาวฝรั่งเศส ขึ้นดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ในปี..

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมและอาวีญงปาปาซี · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช

ักรพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 จักรพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 (ConstantineI 27 กุมภาพันธ์ ประมาณ ค.ศ. 272Birth dates vary but most modern historians use "ca. 272". Lenski, "Reign of Constantine", 59. – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 337) ครองราชสมบัติเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 306 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 312 มีพระนามเต็มว่า “Flavius Valerius Aurelius Constantinus” หรือที่รู้จักกันว่า “คอนสตันไทน์ที่ 1” ในบรรดาผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก หรือ “คอนสตันไทน์มหาราช” หรือ “นักบุญคอนสตันไทน์” ในบรรดาผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์หรือนิกายไบแซนไทน์คาทอลิก พระราชกรณียกิจสำคัญที่สุดคือการประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมายของจักรวรรดิโรมันเมือปี ค.ศ. 313 จักพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 จึงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมันที่นับถือศาสนาคริสต์ตามพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) ที่ประกาศโดยจักรพรรดิลีซีนีอุส (Licinius) ผู้ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระองค์ พระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ยกเลิกการทารุณกรรมต่อคริสต์ศาสนิกชนทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน ตามปฏิทินศาสนาของไบเซ็นไทน์ของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และนิการคาทอลิกตะวันออกแห่งไบเซนไทน์บันทึกจักพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1และเฮเลนแห่งคอนสแตนติโนเปิลพระมารดาว่าเป็นนักบุญ แต่ในปฏิทินศาสนาของตะวันตกไม่มีอยู่ในรายนามนักบุญ คอนสตันไทน์ได้รับนาม “มหาราช” เพราะพระราชกรณียกิจต่างที่ทรงทำให้ต่อคริสต์ศาสนา ในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสตันไทน์ทรงประกาศการปรับปรุงเมืองไบเซนเทียมให้เป็น “กรุงโรมใหม่” (Nova Roma) และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 330 ทรงประกาศให้เมืองไบเซ็นเทียมเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมัน เมืองไบเซ็นเทียมเปลื่ยนชื่อเป็น “คอนสแตนติโนเปิล” แปลว่า “เมืองของคอนสตันไทน์” หลังจากจักพรรดิคอนสตันไทน์สิ้นพระชนม์เมื่อปี..

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมและจักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Kaiser des Heiligen Römischen Reiches; Emperor of the Holy Roman Empire) หรือจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Emperor) หรือจักรพรรดิโรมัน-เยอรมัน (Römisch-Deutscher Kaiser) เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ใช้หมายถึงประมุขรัฐในสมัยกลางที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งให้เป็น "จักรพรรดิแห่งชาวโรมัน" ต่อมาตำแหน่งนี้มาจากการเลือกตั้งแต่ยังคงต้องรับราชาภิเษกจากพระสันตะปาปาอยู่ จนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมาจึงหมายถึงผู้ปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นมีอาณาเขตครอบคลุมดินแดนยุโรปกลาง.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมและจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเปโตร

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมและซีโมนเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โคมระย้า

มระย้า โคมระย้า หรือ แชนเดอเลียร์ (chandelier) เป็นชื่อเรียกลักษณะของโคมไฟตกแต่งที่แขวนบนเพดาน ซึ่งปัจจุบันโดยทั่วไปจะพบโคมไฟลักษณะนี้ ตามห้องโถงของสถานที่หรูหรา เช่น โรงแรม หรือ บ้านคนรวย คำว่า "chandelier" เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลเป็นอังกฤษว่า "candleholder" ซึ่งก็คือเชิงเทียนที่แขวนลงมาจากเพดาน แชนเดอเลียร์ในยุคแรกทำจากไม้รูปกากบาทอย่างง่ายๆ มีเหล็กแหลมไว้ปักเทียนข้างบน ใช้ในโบสถ์ทั่วยุโรป และในคฤหาสน์ของเศรษฐี ต่อมามีการพัฒนาโดยนำโลหะมาดัดจนมีลวดลายสวยงามประณีตอ่อนช้อย นอกจากจะแสดงถึงฐานะทางการเงินของเจ้าของบ้านที่มีแสงสว่างยามค่ำคืนในยุคนั้นแล้ว เสน่ห์ของแชนเดอเลียร์แบบดั้งเดิมอยู่ที่แสงเทียนและเงาที่เกิดจากลวดลายของแชนเดอเลียร์ การนำกระจก แผ่นทองแดง และหินคริสตัลมาห้อยบนแชนเดอเลียร์ในยุคหลังๆทำให้มีแสงระยิบระยับมากขึ้น แต่หินคริสตัลหายากและราคาแพง ในปี1676 ช่างทำแก้วชาวอังกฤษจึงได้คิดค้นนำแก้วมาผสมกับสารตะกั่ว (lead oxide) แล้วเจียรจนมีประกายงดงามมากกว่าหินคริสตัล ในช่วงปี 1700 แชนเดอเลียร์เริ่มมีรูปทรงอ่อนช้อยมากขึ้น เมื่อมีการนำแก้วเป่ามาใช้ประดับแชนเดอเลียร์จากประเทศอิตาลีที่เรียกว่าสไตล์เวเนเชียน (Venetian Style) กระแสความนิยมของแชนเดอเลียร์กลับมาพร้อมกับการใส่สีลงไปบนแก้ว เป็นสีสันของการตกแต่งยุคปัจจุบันบวกกับรูปทรงและลวดลายหรูหราของแชนเดอเลียร์ในอดีต แม้กระทั่งสีดำที่อาจจะดูไม่เข้าท่าในสมัยก่อน แต่ตอนนี้กลับดูสวยแปลกตาดี เหมาะกับการตกแต่งแนววินเทจ แนวโบฮีเมีย และ Classic-Chic ซึ่งเน้นการดึงลวดลายเก่าและใหม่มาผสมผสานกัน.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมและโคมระย้า · ดูเพิ่มเติม »

เลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี

ลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติ ลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติ (Leon Battista Alberti) (18 กุมภาพันธ์พ.ศ. 1947 – 25 เมษายน พ.ศ. 2015) เป็นผู้รู้รอบด้าน ผู้เป็นปราชญ์ สถาปนิก นักเขียน กวี นักภาษาศาสตร์ นักปรัชญา นักถอดรหัส ชาวอิตาลี ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน ผู้ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาของศิลปวิทยาการในยุคเรอเนซอง.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมและเลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เก่า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »