เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส มหาวิบัติจักรกลสังหารถล่มจักรวาลและไซเบอร์พังก์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส มหาวิบัติจักรกลสังหารถล่มจักรวาลและไซเบอร์พังก์

ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส มหาวิบัติจักรกลสังหารถล่มจักรวาล vs. ไซเบอร์พังก์

ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส มหาวิบัติจักรกลสังหารถล่มจักรวาล (Transformers) เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ในประเทศไทย กำกับโดยไมเคิล เบย์ นำแสดงโดย ไชอา ลาบัฟ, ไทรีส กิ๊บสัน, จอช ดูฮาเมล,แอนโธนี่ แอนเดอร์สัน, มีแกน ฟ็อกซ์, เรเชล เทย์เลอร์, จอห์น เทอร์เทอร์โร่, จอน วอยต์, เควิน ดันน์, ไมเคิล โอนีลล์, จูลี่ ไวต์, อเมารี โนลาสโก. ซเบอร์พังก์ (Cyberpunk) เป็นแนวนิยายวิทยาศาสตร์ชนิดหนึ่ง ที่เน้นในเรื่อง "ความไฮเทคและชีวิตคุณภาพต่ำ" ชื่อนี้เป็นคำผสมของคำว่า cybernetics (มีความหมายว่า วิทยาเกี่ยวกับการติดต่อและควบคุมของสัตว์และเครื่องจักร) และ พังก์ เกิดขึ้นโดย Bruce Bethke โดยเขาใช้ในเรื่องสั้นที่ชื่อ "Cyberpunk" ตีพิมพ์ในปี 1983 โดยมีเนื้อหาเรื่องราววิทยาศาสตร์ล้ำยุค อย่างเช่นเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิทยาเกี่ยวกับการติดต่อและควบคุมของสัตว์และเครื่องจักร ซึ่งทั้งสองอย่างอยู่ในช่วงที่ล้มเหลวหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสังคม เนื้อเรื่องของไซเบอร์พังก์ จะมุ่งเน้นไปที่ความขัดแย้งกันของเหล่าบรรดาแฮกเกอร์ ปัญญาประดิษฐ์ และ Megacorporation และมีแนวโน้มว่าเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ของโลกมนุษย์ มากกว่าอนาคตอันไกลโพ้น ทัศนคติเกี่ยวกับกับกาแล็กซี่ พบในบทประพันธ์อย่างเช่น สถาบันสถาปนา ของ ไอแซค อสิมอฟ และ ดูน ของแฟรงค์ เฮอร์เบิร์ต โดยเกิดขึ้นในยุคหลังยุคอุตสาหกรรมดีสโตเพียส (โลกอนาคตที่ไม่พึงประสงค์) แต่มีแนวโน้มที่จะท่าทีเกิดความอลหม่านทางวัฒนธรรมผิดธรรมดา และการใช้เทคโนโลยีในทางที่คาดการณ์ไม่ได้ของผู้สร้างGibson, William from Burning Chrome published in 1981 แนวทางบรรยากาศเช่นนี้ยังยังสะท้อนรูปแบบฟิล์มนัวร์ และผู้เขียนผลงานในประเภทนี้มักจะเทคนิคการเขียนแบบการสืบสวน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส มหาวิบัติจักรกลสังหารถล่มจักรวาลและไซเบอร์พังก์

ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส มหาวิบัติจักรกลสังหารถล่มจักรวาลและไซเบอร์พังก์ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): นักเลงคอมพิวเตอร์

นักเลงคอมพิวเตอร์

นักเลงคอมพิวเตอร์ (hacker) หมายถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาคอมพิวเตอร์ บางครั้งยังใช้หมายถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่นนอกจากคอมพิวเตอร์ด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้ในรายละเอียด หรือ ผู้ที่มีความเฉลียวในการแก้ปัญหาจากข้อจำกัด ความหมายที่ใช้ในบริบทของคอมพิวเตอร์นั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากความหมายดั้งเดิม โดยผู้ใช้คำในช่วงหลังนั้นได้ใช้ในความหมายที่กว้างออกไป รวมทั้งในบางครั้งยังใช้ในความหมายที่ขัดแย้งกัน ในปัจจุบัน "นักเลงคอมพิวเตอร์" นั้นใช้ใน 2 ความหมายหลัก ในทางที่ดี และ ไม่ค่อยดีนัก ความหมายที่เป็นที่นิยม และพบได้บ่อยในสื่อนั้น มักจะไม่ดี โดยจะหมายถึง อาชญากรคอมพิวเตอร์ ส่วนในทางที่ดีนั้น "นักเลงคอมพิวเตอร์" ยังใช้ในลักษณะของคำติดปาก หมายถึง ความเป็นพวกพ้อง หรือ สมาชิกของกลุ่มคอมพิวเตอร์ นอกเหนือจากนี้ คำว่า "นักเลงคอมพิวเตอร์" ยังใช้หมายถึงกลุ่มของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถในระดับผู้เชี่ยวชาญ ตัวอย่างเช่น "ลีนุส ทอร์วัลด์ส ผู้สร้างลินุกซ์ นั้นเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ" จากความหมายที่แตกต่างข้างต้น จะเห็นได้ถึงความขัดแย้งในการใช้คำ บางกลุ่มที่ใช้คำนักเลงคอมพิวเตอร์นี้เพื่อเรียกกลุ่มของตน ก็ไม่ชอบที่คำนี้ถูกใช้ในความหมายที่ไม่ดี และแนะนำให้ใช้คำอื่น เช่น แบล็กแฮต หรือ แคร็กเกอร์ เพื่อเรียกอาชญากรคอมพิวเตอร์แทน ส่วนผู้ที่ใช้คำนี้ในความหมายที่ไม่ดี ซึ่งเป็นความหมายที่นิยมใช้กันนั้น ให้ความเห็นถึงความหมายในทางที่ดี นั้นนอกจากจะก่อให้เกิดความสับสนแล้ว ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นที่นิยมอีกด้วย ส่วนความหมายกลางนั้น ได้สังเกตถึงจุดร่วมระหว่างความหมายในทางที่ดีและไม่ดี โดยพิจารณาการเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้ความชำนาญ เพียงแต่อาจใช้เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกันทั้งในทางดีและไม่ดี ตัวอย่างเช่น ช่างสะเดาะกุญแจ มีความชำนาญในการปลดกลอน (เปรียบเทียบการสะเดาะกุญแจกับการเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์) ซึ่งความชำนาญนี้อาจถูกใช้ได้ทั้งในทางที่ดีและไม่ดี การเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์ สามารถหมายถึงวิธีการศึกษาหาคำตอบให้กับปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่มีข้อจำกัดในเรื่องของข้อมูลหรือความรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาหรือความเข้าใจต่อปัญหาเหล่านั้นได้มากขึ้น การได้ใช้คำว่านักเลงคอมพิวเตอร์จึงเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจ เพราะเปรียบได้กับเป็นผู้คิดค้นสิ่งใหม่ที่สามารถทำงานหรือแก้ปัญหาได้ดีขึ้นและง่ายขึ้น แต่ถ้าการเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์ ที่อาศัยความรู้หรือความสามารถที่มีในทางที่ไม่ดี ก็จะเกิดความสับสนในการใช้คำว่านักเลงคอมพิวเตอร์ ดังนั้นคำว่าแครกเกอร์จึงถูกนำมาใช้เรียกคนที่มีความรู้ความเข้าใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่ใช้ความรู้นั้นในทางที่ไม่ดีและขัดกับจริยธรรมของนักเลงคอมพิวเตอร.

ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส มหาวิบัติจักรกลสังหารถล่มจักรวาลและนักเลงคอมพิวเตอร์ · นักเลงคอมพิวเตอร์และไซเบอร์พังก์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส มหาวิบัติจักรกลสังหารถล่มจักรวาลและไซเบอร์พังก์

ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส มหาวิบัติจักรกลสังหารถล่มจักรวาล มี 32 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไซเบอร์พังก์ มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.33% = 1 / (32 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส มหาวิบัติจักรกลสังหารถล่มจักรวาลและไซเบอร์พังก์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: