ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มหาวิทยาลัยเอดินบะระและอดัม สมิธ
มหาวิทยาลัยเอดินบะระและอดัม สมิธ มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชาลส์ ดาร์วินมหาวิทยาลัยกลาสโกว์มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดทวีปยุโรปประเทศสกอตแลนด์ปรัชญาเอดินบะระเดวิด ฮูม
ชาลส์ ดาร์วิน
ลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน (Charles Robert Darwin FRS; 12 กุมภาพันธ์ 1809 – 19 เมษายน 1882) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี..
ชาลส์ ดาร์วินและมหาวิทยาลัยเอดินบะระ · ชาลส์ ดาร์วินและอดัม สมิธ ·
มหาวิทยาลัยกลาสโกว์
มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (อังกฤษ: The University of Glasgow; ละติน: Universitatis Glasguensis) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1451 เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในสามมหาวิทยาลัยในเมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร มีชื่อเสียงในด้านการสอนและการวิจัย และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยโบราณของสก็อตแลนด์ และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในสหราชอาณาจักร มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ถูกก่อตั้งขึ้นอาณัติจากพระสันตปาปานิโคลัสที่ห้าโดยพระประสงค์ของพระเจ้าเจมส์ที่สอง เพื่อให้สก็อตแลนด์มีมหาวิทยาลัยสองแห่งเช่นเดียวกันกับอังกฤษที่มีอ็อกซฟอร์ดและเคมบริดจ์ ซึ่งทำให้กลาสโกว์เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดอันดับสี่ในสหราชอาณาจักร และยังเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินบริจาคมากเป็นอันดับสี่ในบริเทนรองจากอ็อกซฟอร์ด เคมบริดจ์ และเอดินเบอระ อีกด้วย มหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นมีสัดส่วนนักเรียนต่างชาติค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยประมาณครึ่งหนึ่งเป็นคนในกลาสโกว์เอง อีก 40% เป็นนักเรียนจากเมืองต่างๆภายใน UK มีเพียงประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ที่มาจากต่างชาติ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของ UK มาหลายศตวรรษ เช่นเดียวกับเอดินเบอระและเซนต์แอนดรูส์ กลาสโกว์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกใน UK ที่ก่อตั้งภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ และ ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยนอกเขตลอนดอนที่มีคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร เมืองกลาสโกว์นั้นมีอัตราส่วนวิศวกรต่อประชากรสูงมากเป็นอันดับสามของโลก มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ได้ให้กำเนิดนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกเป็นจำนวนมาก อาทิ ลอร์ดเคลวิน – หนึ่งในผู้พัฒนากฎข้อสองของเทอร์โมไดนามิคส์ และภายหลังได้รับเกียรติให้นำชื่อไปให้เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิเคลวิน เจมส์ วัตต์ – ผู้พัฒนากลจักรไอน้ำจนก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร จอห์น โลกี แบรด – ผู้ประดิษฐ์โทรทัศน์ โจเซฟ ลิสเตอร์ – หนึ่งในผู้ริเริ่มการผ่าตัดแบบสมัยใหม่ และ โจเซฟ แบลค – นักเคมีที่มีผลงานมากมายรวมไปถึงการค้นพบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ยังมีชื่อเสียงทางด้านสังคมศาสตร์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าด้านวิศวกรรมศาสตร์เลยแม้แต่น้อย กลาสโกว์นั้นถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของยุคแสงสว่างอย่างแท้จริง ศาสตราจารย์ฟรานซิส ฮัทชิสัน แห่งมหาวิทยาลัยกลาสโกว์เป็นผู้ริเริ่มทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utilitarian principle) ซึ่งเป็นหนึ่งในทฤษฎีพื้นฐานภายใต้เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก (Classical Economics) อดัม สมิธ ศิษย์เก่าที่โด่งดังที่สุดของมหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นได้ผสมผสานทฤษฎีนี้ผนวกกับแนวคิดของเดวิด ฮูม (นักปรัชญาชาวเอดินเบอระ) ก่อให้เกิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ เศรษฐศาสตร์การเมือง และทฤษฎีการค้าเสรี ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลกอย่างมหาศาลมาจนถึงยุคปัจจุบัน.
มหาวิทยาลัยกลาสโกว์และมหาวิทยาลัยเอดินบะระ · มหาวิทยาลัยกลาสโกว์และอดัม สมิธ ·
มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า อ๊อกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนเป็นอันดับสอง อ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง"มหาวิทยาลัยโบราณ"มักจะถูกเรียกว่า"อ๊อกซบริดจ์" มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่อ๊อกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน อ๊อกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก อ๊อกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ.
มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเอดินบะระ · มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและอดัม สมิธ ·
ทวีปยุโรป
ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...
ทวีปยุโรปและมหาวิทยาลัยเอดินบะระ · ทวีปยุโรปและอดัม สมิธ ·
ประเทศสกอตแลนด์
กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..
ประเทศสกอตแลนด์และมหาวิทยาลัยเอดินบะระ · ประเทศสกอตแลนด์และอดัม สมิธ ·
ปรัชญา
มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..
ปรัชญาและมหาวิทยาลัยเอดินบะระ · ปรัชญาและอดัม สมิธ ·
เอดินบะระ
อดินบะระ (Edinburgh เอดินเบอระ; Dùn Èideann; บางคนอ่าน/เขียนผิดเป็น: เอดินเบิร์ก) เป็นเมืองหลวงของประเทศสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของสกอตแลนด์ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยกลาง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงอยู่กลางเมือง เป็นที่ตั้งของปราสาทเอดินบะระอันเป็นทำเลที่ได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ในสมัยก่อน โดยรอบภูเขาถูกปรับพื้นที่เป็นคูเมืองเพื่อประโยชน์ในเชิงการทหาร รอบนอกเป็นที่ราบลดหลั่นเป็นขั้น ๆ กระจายออกโดยรอบ เอดินบะระเป็นที่ตั้งของรัฐสภาแห่งใหม่ของสกอตแลนด์ (เพิ่งแยกออกมาจากรัฐสภาของสหราชอาณาจักร) ตั้งอยู่บนถนนสายหลักของเอดินบะระคือ รอยัลไมล์ (The Royal Mile) ซึ่งสร้างตามแนวสันเขาเชื่อมโยงพื้นที่ประวัติศาสตร์ระหว่างปราสาทเอดินบะระและพระราชวัง สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณรอยัลไมล์ ปราสาทเอดินบะระ และสวนพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะปราสาทเอดินบะระเป็นปราสาทที่เป็นสถานที่เปิดตัวของหนังสือเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงฉากเมืองแม่มดในท้องเรื่อง เอดินบะระเป็นเมืองที่เจริญมากที่สุดเมืองหนึ่งในสหราชอาณาจักร มีศูนย์กลางเมืองตั้งอยู่รอบ ๆ ปราสาทเอดินบะระ เมืองเอดินบะระนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเทศกาลต่าง ๆ ตัวอย่างงานสำคัญที่ถูกจัดขึ้นในเมืองเอดินบะระ ได้แก่ เทศกาลศิลปะนานาชาติ Fringe ภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์ งานหนังสือเด็ก เพลงแจ๊ส และเพลงพื้นบ้าน ในช่วงเทศกาลเหล่านี้ โดยเฉพาะช่วงเดือนสิงหาคมหรือช่วงหน้าร้อนของสหราชอาณาจักร ที่เมืองเอดินบะระจะมีจัดงานเทศกาลประจำปีที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาที่เมืองนี้เป็นจำนวนมาก จนทำให้เมืองเอดินบะระติดอันดับเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอน นอกจากนั้น เมืองเอดินบะระยังเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองที่เป็นมิตรกับเด็ก" (The Child Friendly City) เนื่องจากภายในเมืองมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับเด็กมากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์วัยเด็กและเรื่องเล่าของผู้คน (Museum of Childhood and People’s Story) สวนสัตว์ที่มีศูนย์การศึกษาที่เคลื่อนไหวได้จริง (Dynamic Education Centre) โลกแห่งผีเสื้อและแมลง (Butterfly & Insect World) และโลกทะเลลึก (Deep Sea World) เป็นต้น ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ เมืองเอดินบะระเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอนและใหญ่เป็นอันดับห้าของยุโรป โดยมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ถึงสามแห่งด้วยกันคือ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ มหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์ และมหาวิทยาลัยเนเปียร์ ภาพ:Edinburgh1.JPG|ปราสาทเอดินบะระ ตั้งอยู่บนยอดเขากลางเมือง ภาพ:Edinburgh2.JPG|อาคารรัฐสภาของสกอตแลนด์ ตั้งอยู่ในเมืองเอดินบะร.
มหาวิทยาลัยเอดินบะระและเอดินบะระ · อดัม สมิธและเอดินบะระ ·
เดวิด ฮูม
วิด ฮูม เดวิด ฮูม (David Hume26 เมษายน ค.ศ. 1711 - 25 สิงหาคม ค.ศ. 1776) เป็นนักปรัชญา และนักประวัติศาสตร์ ชาวสกอตแลนด์ และเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน ยุคเรืองปัญญาแห่งสกอตแลนด์ (บุคคลสำคัญคนอื่น ๆ ในยุคนี้ ได้แก่ อดัม สมิธ, ทอมัส เรด เป็นต้น) หลายคนยกย่องให้ฮูม เป็นคนหนึ่งในกลุ่มที่เรียกว่า นักประสบการณ์นิยมชาวบริเตนทั้งสาม ซึ่งฮูมถือเป็นคนที่สามในกลุ่มนี้ ถัดจาก จอห์น ล็อก ชาวอังกฤษ และ จอร์จ บาร์กลีย์ ชาวอังกฤษ-ไอริช นอกจากนี้ยังถือว่าฮูม เป็นคนที่มีแนวคิดทางปรัชญาถึงรากถึงโคนที่สุด ในทั้งสามคนนี้ด้ว.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ มหาวิทยาลัยเอดินบะระและอดัม สมิธ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง มหาวิทยาลัยเอดินบะระและอดัม สมิธ
การเปรียบเทียบระหว่าง มหาวิทยาลัยเอดินบะระและอดัม สมิธ
มหาวิทยาลัยเอดินบะระ มี 51 ความสัมพันธ์ขณะที่ อดัม สมิธ มี 52 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 7.77% = 8 / (51 + 52)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มหาวิทยาลัยเอดินบะระและอดัม สมิธ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: