โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและสงครามกลางเมืองอังกฤษ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและสงครามกลางเมืองอังกฤษ

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด vs. สงครามกลางเมืองอังกฤษ

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า อ๊อกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนเป็นอันดับสอง อ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง"มหาวิทยาลัยโบราณ"มักจะถูกเรียกว่า"อ๊อกซบริดจ์" มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถ​​าบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่อ๊อกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน อ๊อกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก อ๊อกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ. “หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War; ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยม สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ผลของสงครามกลางเมืองครั้งที่สองนำไปสู่การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, การลี้ภัยของพระราชโอรสพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และการเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษจากระบอบพระมหากษัตริย์ไปเป็นระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1653 และต่อจากนั้นไปเป็นระบบรัฐผู้พิทักษ์ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างปี ค.ศ. 1653 ถึงปี ค.ศ. 1659 เอกสิทธิ์ในการนับถือคริสต์ศาสนาของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ในอังกฤษสิ้นสุดลงด้วยการรวม การปกครองโดยโปรเตสแตนต์ (Protestant Ascendancy) ในไอร์แลนด์ ในด้านรัฐธรรมนูญสงครามครั้งนี้เป็นการวางรากฐานว่าการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำได้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่อันที่จริงแล้วปรัชญานี้ก็มิได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังจนกระทั่งถึงสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปลายคริสต์ศตวรรษ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและสงครามกลางเมืองอังกฤษ

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและสงครามกลางเมืองอังกฤษ มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พิวริตันวิลเลียม ลอดหัวเกรียนอ๊อกซฟอร์ดคริสตจักรแห่งอังกฤษแควาเลียร์

พิวริตัน

อห์น เฮาว์ (John Howe) และ ริชาร์ด แบ็กซ์เตอร์ (Richard Baxter) พิวริตัน (Puritan) จาก คริสต์ศตวรรษที่ 16 และ คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนที่สนับสนุนความเชื่อทางปรัชญาและการกระทำพิธีทางศาสนาที่ “บริสุทธิ์” (“Purity”) กว่า และความเคร่งครัดส่วนบุคคล กลุ่มพิวริตันเชื่อว่าการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ (English Reformation) ยังไม่เพียงพอและคริสตจักรแห่งอังกฤษยังทำพิธีศาสนาที่ไม่ต่างไปจากพิธีศาสนาของศาสนจักรโรมันคาทอลิกเท่าใดนัก คำว่า “พิวริตัน” เป็นคำที่ใช้เรียกแทนคำว่า “คาร์ธาร์” ที่ใช้เรียกผู้ที่มีหัวรุนแรงที่เป็นผู้นับถือลัทธิคาร์ธาริสม์ (Catharism) ในฝรั่งเศส บางครั้งกลุ่มเพียวริตันก็ร่วมมือกับคณะเพรสไบทีเรียน (Presbyterian) ในการตั้งข้อเสนอเพื่อที่จะทำให้นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ใกล้กับคริสตจักรปฏิรูป (Reformed Churches) บนแผ่นดินใหญ่ยุโรปมากขึ้น.

พิวริตันและมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · พิวริตันและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม ลอด

วิลเลียม ลอด (William Laud) (7 ตุลาคม ค.ศ. 1573 - (10 มกราคม ค.ศ. 1645) เป็นอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีระหว่างปี ค.ศ. 1633 ถึงปี ค.ศ. 1645 ผู้สนับสนุนนิกายแองกลิคันและเป็นปฏิปักษ์ต่อการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มพิวริตัน วิลเลียม ลอดสนับสนุนนโยบายทางศาสนาของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ซึ่งในที่สุดก็เป็นผลทำให้ถูกประหารชีวิตระหว่างสงครามการเมืองอังกฤษที่หอคอยแห่งลอนดอน วิลเลียม ลอด เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1573ที่เรดดิงในบาร์คเชอร์ ในครอบครัวที่ไม่มีฐานะทางสังคม บิดาของลอดเป็นพ่อค้าผ้า ได้รับการศึกษาที่โรงเรียนเรดดิงและวิทยาลัยเซนต์จอห์น (มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด อ๊อกซฟอร์ด) วิลเลียม ลอดเข้าพิธีบัพติศมาที่โบสถ์เซนต์ลอเรนซ์ที่เรดดิง.

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและวิลเลียม ลอด · วิลเลียม ลอดและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

หัวเกรียน

“ฝ่ายรัฐสภา” โดยจอห์น เพ็ตติ (John Pettie) กลุ่มหัวเกรียน หรือ ฝ่ายรัฐสภา (ภาษาอังกฤษ: Parliamentarians หรือ Roundhead) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มพิวริตันผู้สนับสนุนรัฐสภาแห่งอังกฤษระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ และเป็นผู้สนับสนุนโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ และเป็นปฏิปักษ์ต่อสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ครอมเวลล์ได้รับความก้าวหน้าทางการเมือง, เป็นสมาชิกของสภาสามัญชนผู้มีบทบาทสำคัญ และเป็นนายทหารผู้มีความสามารถ และในที่สุดก็แต่งตั้งตนเองเป็นเจ้าผู้พิทักษ์ ในปี ค.ศ. 1653 ฐานะทางการเมืองและทางการศาสนาของ “ฝ่ายรัฐสภา” รวมทั้งกลุ่มเพรสไบทีเรียน (Presbyterians), กลุ่มรีพับลิกันคลาสสิก (Classical republicanism), กลุ่มเลเวลเลอร์ (Levellers) และ กลุ่มอิสระทางศาสนา (Independents) ศัตรูของ “ฝ่ายรัฐสภา” คือ “ฝ่ายกษัตริย์นิยม” ผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์หรือที่เรียกเล่นๆ ว่า “กลุ่มคาวาเลียร์” (Cavalier).

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและหัวเกรียน · สงครามกลางเมืองอังกฤษและหัวเกรียน · ดูเพิ่มเติม »

อ๊อกซฟอร์ด

มืองอ๊อกซฟอร์ด (Oxford) เป็นนครและเมืองหลวงของมณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ของภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ที่มีประชาชนราว 151,000 คน แม่น้ำเชอร์เวลล์และแม่น้ำเทมส์บรรจบกันทางใต้ของตัวเมือง บริเวณที่เป็นระยะทางราว 10 กิโลเมตรในบริเวณตัวเมืองอ๊อกซฟอร์ดริมฝั่งแม่น้ำเทมส์รู้จักกันว่า “เดอะไอซิส” (The Isis).

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและอ๊อกซฟอร์ด · สงครามกลางเมืองอังกฤษและอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรแห่งอังกฤษ

ภาคแคนเทอร์เบอรี (สีเหลือง) และภาคยอร์ก (สีชมพู) คริสตจักรแห่งอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 44-5 (Church of England) เป็นคริสตจักรประจำชาติ ของอังกฤษ และเป็นคริสตจักรแม่ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก ในช่วงแรกคริสตจักรในอังกฤษยังเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรโรมันคาทอลิก แต่เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษตัดสินพระทัยหย่าขาดกับพระนางแคเธอรินแห่งอารากอนซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งของพระสันตะปาปาไป พระองค์ก็มีพระราชโองการให้คริสตจักรแห่งอังกฤษแยกตัวจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี..

คริสตจักรแห่งอังกฤษและมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · คริสตจักรแห่งอังกฤษและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

แควาเลียร์

แควาเลียร์ (Cavalier) เป็นคำที่ฝ่ายรัฐสภาใช้เรียกผู้นิยมกษัตริย์ที่สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ (ระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) หรือเรียก ฝ่ายนิยมเจ้า (Royalists) เจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ ผู้ทรงเป็นแม่ทัพกองทหารม้าของพระเจ้าชาลส์ ทรงมีลักษณะที่เรียกได้ว่าเป็นตัวอย่างของผู้เป็น แควาเลียร.

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและแควาเลียร์ · สงครามกลางเมืองอังกฤษและแควาเลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและสงครามกลางเมืองอังกฤษ

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด มี 86 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามกลางเมืองอังกฤษ มี 150 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 2.54% = 6 / (86 + 150)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและสงครามกลางเมืองอังกฤษ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »