โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มวลเขาสูงไอร์

ดัชนี มวลเขาสูงไอร์

มวลเขาสูงไอร์ หรือมวลเขาสูงแอร์ (Aïr Mountains) เป็นกระจุกภูเขาสูง ตั้งในเขตเตเนเร ประเทศไนเจอร์ และเป็นส่วนหนึ่งของทะเลทรายสะฮารา (หรือ เศาะหะรออ์) มีความสูงเฉลี่ย 500 — 900 เมตร และเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกมากกว่าทะเลทรายโดยรอบ ทำให้มีสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัย โดยนับได้ถึง 430 ชนิด มีสิ่งมีชีวิตแบบซาเฮล สะฮารา และสิ่งมีชีวิตแบบเมดิเตอร์เรเนียน จากการสำรวจในศตวรรษที่ 20พบว่ามีไม้หนามสปีชีส์ ''Acacia tortilis'' subsp. ''raddiana'' และพืชสปีชีส์ Balanites aegyptiaca ขึ้นระหว่างภูเขา พืชชนิดอื่นพบได้ยากเพราะบริเวณดังกล่าวแห้งแล้งมาก ส่วนบริเวณแม่น้ำชั่วคราว (วาดีย์) ประกอบด้วยพืชจำพวก Acacia nilotica, Faidherbia albida, Hyphaene thebaica ขึ้นร่วมอยู่กับอินทผลัม มวลเขามีอายุตั้งแต่บรมยุคพรีแคมเบรียนถึงมหายุคซีโนโซอิก ประกอบด้วยหินเพอร์แอลคาไลน์ และหินแกรนิต ซึ่งมีสีดำตัดกับหินแกรนิตสีอ่อน ในบรรดาภูเขาที่ประกอบเป็นกระจุกภูเขาไอร์นี้ มีภูเขาอิดูกัล-น์-ตาแกซ (ความสูง 2022 เมตร) ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของประเทศไนเจอร์ ภูเขาตัมกัก (Tamgak) (1988 เมตร) ภูเขาเกรอบูน (1944 เมตร) และภูเขาอื่น ๆ อีก มวลเขาทั้งหมดโผล่ขึ้นกลางที่ราบสูง.

9 ความสัมพันธ์: พรีแคมเบรียนมหายุคซีโนโซอิกศตวรรษที่ 20หินแกรนิตอินทผลัมทะเลทรายสะฮาราซาเฮลประเทศไนเจอร์นาซา

พรีแคมเบรียน

รีแคมเบรียน (Precambrian) คืออภิมหาบรมยุค (Supereon) ที่อยู่ก่อนหน้าบรมยุคฟาเนอโรโซอิก เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลกกินเวลา 88% ของธรณีกาล แบ่งเป็นเป็น 3 บรมยุค (Eon) คือ บรมยุคเฮเดียน บรมยุคอาร์เคียน และบรมยุคโพรเทอโรโซอิก พรีแคมเบรียนกินเวลาตั้งแต่กำเนิดโลกเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีที่แล้วจนถึงจุดเริ่มต้นของยุคแคมเบรียนประมาณ 541 ล้านปีที่แล้ว เมื่อสิ่งมีชีวิตเปลือกแข็งปรากฏตัวขึ้นครั้งแรกอย่างมากมาย ที่ได้ชื่อว่าพรีแคมเบรียนเป็นเพราะอยู่ก่อนหน้ายุคแคมเบรียนซึ่งเป็นยุคแรกในบรมยุคฟาเนอโรโซอิก ซึ่งชื่อยุคแคมเบรียน (Cambrian) ตั้งชื่อจากแคมเบรีย (Cambria) ชื่อแบบโบราณของเวลส์ (Wales) ที่ซึ่งหินจากยุคนี้ถูกศึกษาเป็นครั้งแรก.

ใหม่!!: มวลเขาสูงไอร์และพรีแคมเบรียน · ดูเพิ่มเติม »

มหายุคซีโนโซอิก

มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic) เป็นมหายุคสุดท้าย ซึ่งชื่อ ซีโนโซอิก หมายถึง “ชีวิตในสมัยก่อน” โดยนับอายุช่วงตั้งแต่ 65.5 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน เป็นมหายุคที่เริ่มมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยแบ่งเป็น ยุคอีก 2 ยุค คือ ยุคเทอร์เชียรี (Tertiary) และ ยุคควอเทอร์นารี (Quaternary).

ใหม่!!: มวลเขาสูงไอร์และมหายุคซีโนโซอิก · ดูเพิ่มเติม »

ศตวรรษที่ 20

ตวรรษที่ 20 อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มวลเขาสูงไอร์และศตวรรษที่ 20 · ดูเพิ่มเติม »

หินแกรนิต

ระยะใกล้ของหินแกรนิตจากอุทยานแห่งชาติหุบเขาโยเซไมต์ แม่น้ำเมอร์ซ เหมืองหินแกรนิตสำหรับวัดมอร์มอน รัฐอูทาห์ พื้นผิวดินกระจัดกระจายไปด้วยก้อนหินขนาดใหญ่และเศษของหินแกรนิตที่หลุดล่วงลงมา ซึ่งหลุดหล่นลงมาจากผนังของหน้าผา Little Cottonwood Canyon เหมืองประกอบไปด้วยบล็อกที่แตกย่อยออกไป หินแกรนิต (granite) เป็นหินอัคนีแทรกซอน สีจางพบได้ทั่วไปเป็นปรกติ แกรนิตมีเนื้อขนาดปานกลางถึงเนื้อหยาบ บางครั้งจะพบผลึกเดี่ยวๆบางชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่ามวลเนื้อพื้น (groundmass) เกิดเป็นหินที่รู้จักกันในนามของพอร์พายรี (porphyry) แกรนิตอาจมีสีชมพูจนถึงสีเทาเข้มหรือแม้แต่สีดำขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีและองค์ประกอบทางแร่ หินโผล่ของหินแกรนิตมีแนวโน้มจะเกิดเป็นมวลหินโผล่ขึ้นมาเป็นผิวโค้งมน บางทีหินแกรนิตก็เกิดเป็นหลุมยุบรูปวงกลมที่รายล้อมไปด้วยแนวเทือกเขาเกิดเป็นแนวการแปรสภาพแบบสัมผัสหรือฮอร์นเฟลส์ แกรนิตมีเนื้อแน่นเสมอ (ปราศจากโครงสร้างภายใน) แข็ง แรงทนทาน ดังนั้นจึงถูกนำไปใช้เป็นหินก่อสร้างกันอย่างกว้างขวาง ค่าความหนาแน่นเฉลี่ยของหินแกรนิตคือ 2.75 กรัม/ซม3 และค่าความหนืดที่อุณหภูมิและความกดดันมาตรฐานคือ ~4.5 • 1019 Pa•s.

ใหม่!!: มวลเขาสูงไอร์และหินแกรนิต · ดูเพิ่มเติม »

อินทผลัม

อินทผลัม เป็นปาล์มชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: มวลเขาสูงไอร์และอินทผลัม · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลทรายสะฮารา

ทะเลทรายสะฮารา หรือ ซาฮารา หรือ สาฮารา (Sahara) เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นบริเวณแห้งแล้งใหญ่สุดเป็นอันดับสามรองจากทวีปแอนตาร์กติกาและอาร์กติก มีเนื้อที่มากกว่า 9,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,500,000 ตารางไมล์ คำว่า สะฮารา ในภาษาอาหรับ (صحراء) หมายถึง ทะเลทราย อาณาเขตของทะเลทรายสะฮารา ด้านทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศเหนือคือเทือกเขาแอตลาสและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันออกจรดทะเลแดงและประเทศอียิปต์ ทิศใต้จรดประเทศซูดานและหุบเขาของแม่น้ำไนเจอร์ วิดีโอที่ถ่ายในมุมมองจากอวกาศ ของ ทะเลทรายสะฮารา และ แถวตะวันออกกลาง โดยสมาชิกนักบินอวกาศในการสำรวจที่ 29.

ใหม่!!: มวลเขาสูงไอร์และทะเลทรายสะฮารา · ดูเพิ่มเติม »

ซาเฮล

ภาพแสดงบริเวณซาเฮล มีความยาวราว 1,000 กม. พาดระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับทะเลแดง ซาเฮล (Sahel) เป็นเขตรอยต่อ บริเวณกึ่งทะเลทราย บริเวณทะเลทรายสะฮารา แบ่งทวีปแอฟริกาเป็นเหนือและใต้ ตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกไปจนทะเลแดง ซาเฮลเป็นภาษาอาหรับ มีความหมายว่า ชายหาด พื้นที่ของซาเฮลครอบคลุมตั้งแต่ (ไล่จากตะวันตกสู่ตะวันออก) ประเทศเซเนกัล, ทางใต้ของประเทศมอริเตเนีย, ประเทศมาลี, ประเทศบูร์กินาฟาโซ, ทางตอนใต้ของประเทศแอลจีเรีย, ประเทศไนเจอร์, ทางตอนเหนือของประเทศไนจีเรีย, ประเทศชาด, ทางตอนเหนือของประเทศแคเมอรูน, ประเทศซูดาน และประเทศเอริเทรีย หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปแอฟริกา.

ใหม่!!: มวลเขาสูงไอร์และซาเฮล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไนเจอร์

นเจอร์ (อังกฤษและNiger) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐไนเจอร์ (Republic of Niger; République du Niger) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่อยู่ทางใต้ของทะเลทรายสะฮาราในแอฟริกาตะวันตก ตั้งชื่อตามแม่น้ำไนเจอร์ มีอาณาเขตทางใต้จดประเทศไนจีเรียและประเทศเบนิน ตะวันตกจดประเทศมาลี เหนือจดประเทศแอลจีเรียและประเทศลิเบีย ตะวันออกจดประเทศชาด ไนเจอร์มีพื้นที่เกือบ 1,270,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งร้อยละ 80 ถูกปกคลุมด้วยทะเลทรายสะฮารา มีประชากรประมาณ 15 ล้านคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและอาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณตอนใต้และตะวันตกของประเทศ เมืองหลวงชื่อนีอาเม (Niamey).

ใหม่!!: มวลเขาสูงไอร์และประเทศไนเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: มวลเขาสูงไอร์และนาซา · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »