เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

มนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

มนุษยศาสตร์ vs. วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

นักปรัชญาเพลโต มนุษยศาสตร์ (humanities) เป็นกลุ่มของสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาสภาวะแห่งมนุษย์โดยส่วนใหญ่ใช้กรรมวิธีเชิงวิเคราะห์, วิจารณญาณ หรือการคาดการณ์ซึ่งแตกต่างจากการเข้าสู่ปัญหาด้วยกรรมวิธีเชิงประจักษ์ด้วยธรรมชาติ, สังคมศาสตร์ โดยธรรมเนียมทั่วไปมนุษยศาสตร์รวมถึงสาขาวิชาภาษาศาสตร์โบราณและภาษาศาสตร์สมัยใหม่, วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง และดนตรี บางครั้งมีการรวมเอาสาขาวิชาอื่นเพิ่มเข้าไปด้วย ได้แก่ มานุษยวิทยา ภูมิภาคศึกษา การสื่อสารและวัฒนธรรมศึกษา แม้ว่าสาขาวิชาเหล่านี้มักถูกจัดไว้ในสาขาสังคมศาสตร์ นักวิชาการที่อยู่ในสายของสาขาวิชานี้ บางครั้งอาจเรียกตนเองว่าเป็น "นักมนุษยนิยม" อย่างไรก็ตามคำดังกล่าวก็ได้ใช้เรียกนักปรัชญาสาขามนุษยนิยมแต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรั. วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (อังกฤษ: natural science) หมายถึงกลุ่มของสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ อย่างไรก็ตามการจัดให้สาขาใดสาขาหนึ่งอยู่ในวิทยาศาสตร์ธรรมชาตินั้น ขึ้นอยู่กับทั้งข้อตกลงในอดีตและความหมายสาขาในปัจจุบัน ตามธรรมเนียมดั้งเดิม ความหมายของ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

มนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฟิสิกส์รายการสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ดาราศาสตร์

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ฟิสิกส์และมนุษยศาสตร์ · ฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2440) โดยได้เพิ่มวิชาภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่คลาสสิก วรรณคดี และวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์เสริมเข้าไปในหลักสูตรแบบประเพณีโบราณ ในต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2475) ได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ เช่น การศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523) ได้เกิดปรากฏการณ์ "การระเบิด" ของสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เน้นเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อศึกษา สตรีศึกษา และชนผิวดำศึกษา สาขาใหม่ๆ เหล่านี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับอาชีพและวิชาชีพต่างๆ เช่น การพยาบาล การจัดการโรงพยาบาล การราชทัณฑ์ และหลังสุดก็ได้เห็นสาขาวิชาที่เป็นลักษณะ "สหสาขาวิชา" เช่น ชีวเคมี และ ธรณีฟิสิกส์เกิดเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับว่าสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางขึ้น เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน.

มนุษยศาสตร์และรายการสาขาวิชา · รายการสาขาวิชาและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

มนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ · วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ดาราศาสตร์และมนุษยศาสตร์ · ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

มนุษยศาสตร์ มี 189 ความสัมพันธ์ขณะที่ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ มี 10 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 2.01% = 4 / (189 + 10)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: