โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้นและภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้นและภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน

ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น vs. ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน

ูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าภูมิอากาศแบบเส้นศูนย์สูตร เป็นภูมิอากาศแบบร้อนชื้นมักพบบริเวณแถบบเส้นศูนย์สูตร ประเทศที่มีภูมิอากาศแบบนี้มักจะมีป่าดิบชื้น ในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน เขตภูมิอากาศนี้แทนด้วยอักษร Af. ูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ในการแบ่งเขตภูมิอากาศ ภูมิอากาศลักษณะนี้ค่อนข้างพบได้น้อยบนโลก และได้รับการจัดแบ่งแทนด้วยตัวอักษร "Am" ในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนมีอุณหภูมิเฉลี่ยมากกว่า 18 °C ในทุก ๆ เดือน และมีฤดูฝนและฤดูแล้งเหมือนภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เดือนที่แห้งแล้งที่สุดในภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนนั้นมีปริมาณหยาดน้ำฟ้าน้อยกว่า 60 มิลลิเมตร ภูมิอากาศแบบนี้นั้นดูเหมือนจะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในแต่ละช่วงของปีน้อยกว่าภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ภูมิอากาศลักษณะนี้มีฤดูที่แล้งที่สุดอยู้ในช่วงวันเหมายันหรือหลังจากนั้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้นและภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน

ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้นและภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนฤดูแล้งหยาดน้ำฟ้า

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน (Köppen climate classification) เป็นหนึ่งในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศที่ใช้กันกว้างขวางที่สุด วลาดิเมียร์ เคิปเปนเป็นผู้เผยแพร่ระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้เป็นคนแรกในปี พ.ศ. 2427 และการแก้ไขเล็กน้อยโดยเคิปเปนเองตามมาในปี พ.ศ. 2461 และ พ.ศ. 2479 ภายหลังนักกาลวิทยาชาวเยอรมนีนามว่ารูดอล์ฟ ไกเกอร์ ร่วมมือกับเคิปเปนเปลี่ยนแปลงระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้ บางครั้งจึงสามารถเรียกได้ว่าการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนและไกเกอร์ (Köppen–Geiger climate classification system).

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนและภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น · การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนและภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูแล้ง

ฤดูแล้ง (อังกฤษ: dry season) เป็นฤดูในเขตร้อน เป็นช่วงที่มีอากาศแห้งและมีฝนตกน้อย ฤดูแล้งประกอบด้วยฤดูร้อนและฤดูหนาว ลแล้ง หมวดหมู่:ภูมิอากาศ.

ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้นและฤดูแล้ง · ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนและฤดูแล้ง · ดูเพิ่มเติม »

หยาดน้ำฟ้า

ในทางอุตุนิยมวิทยา หยาดน้ำฟ้า (precipitation) เป็นปรากฏการณ์ของน้ำในอากาศ (hydrometeor) ประเภทหนึ่ง ซึ่งหมายความถึงผลิตภัณฑ์ใด ๆ อันเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำในบรรยากาศและตกลงมาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง รูปแบบหลักของหยาดน้ำฟ้าประกอบด้วยฝนละออง (drizzle), ฝน, ฝนน้ำแข็ง (sleet), หิมะ, ลูกปรายหิมะ (graupel) และลูกเห็บ หยาดน้ำฟ้าเกิดขึ้นเมื่อบรรยากาศเหนือพื้นดินบริเวณหนึ่งอิ่มตัวด้วยไอน้ำ จากนั้นน้ำเกิดการควบแน่นและตกลงมา หมอกและหมอกน้ำค้างจึงไม่จัดเป็นหยาดน้ำฟ้า มีอยู่สองกระบวนการที่อากาศอิ่มตัวได้ คือ อากาศได้รับความเย็นหรือเพิ่มไอน้ำเข้าไปในอากาศ ซึ่งสองกระบวนการนี้อาจเกิดร่วมกันได้ โดยทั่วไป หยาดน้ำฟ้าจะตกกลับคืนสู่พื้นดิน แต่ยกเว้นน้ำโปรยฐานเมฆ (virga) ซึ่งระเหยไปหมดก่อนตกถึงพื้น หยาดน้ำฟ้าก่อตัวขึ้นเป็นหยาดเล็กที่รวมกันโดยชนกับหยดฝนหรือผลึกน้ำแข็งอื่นภายในเมฆ หยดฝนที่ตกลงมามีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่รูปทรงคล้ายแพนเค้กกลมแป้นสำหรับหยดขนาดใหญ่ ถึงทรงกลมเล็กสำหรับหยดขนาดเล็ก เกล็ดหิมะ (snowflake) มีหลายรูปทรงและแบบ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่เกล็ดหิมะเคลื่อนผ่านก่อนตกสู่พื้น หิมะและลูกปรายหิมะจะเกิดเฉพาะเมื่ออุณหภูมิใกล้ผิวดินใกล้หรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ ส่วนลูกเห็บสามารถเกิดขึ้นในเขตอุณหภูมิอบอุ่นได้จากกระบวนการก่อตัว โดยรวมหยาดน้ำฟ้าเกิดจากความชื้นเหนือแนวปะทะ (weather front) เป็นหลัก หากมีความชื้นเพียงพอและมีการเคลื่อนที่ขึ้น หยาดน้ำฟ้าจะตกจากมวลอากาศร้อนขึ้นทางแนวดิ่ง (convective cloud) เช่น คิวมูโลนิมบัส และสามารถก่อตัวเป็นบริเวณแถบฝนแคบ ๆ ได้.

ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้นและหยาดน้ำฟ้า · ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนและหยาดน้ำฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้นและภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน

ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น มี 63 ความสัมพันธ์ขณะที่ ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 4.05% = 3 / (63 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้นและภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »