โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนียและราชอาณาจักรแฟรงก์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนียและราชอาณาจักรแฟรงก์

ภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย vs. ราชอาณาจักรแฟรงก์

ูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย หรือ ภูมิภาคชายแดนสเปน หรือ ภูมิภาคชายแดนบาร์เซโลนา (Marca Hispanica หรือ Spanish March หรือ March of Barcelona) คือฉนวนดินแดนที่เลยไปจากจังหวัดเซ็พติเมเนียที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาร์เลอมาญในปี.. ราชอาณาจักรแฟรงก์ (Frankish Kingdom) หรือ ฟรังเกีย (Francia) เป็นดินแดนที่ตั้งถิ่นฐานและปกครองโดยชาวแฟรงก์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 อาณาบริเวณเกิดจากการรณรงค์ที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่ชาร์ล มาร์แตล (Charles Martel) พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย และชาร์เลอมาญ-- พ่อ, ลูก, และหลาน--มามั่นคงเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ธรรมเนียมของการแบ่งดินแดนของพ่อระหว่างลูกชายหมายความว่าดินแดนแฟรงก์ปกครองเป็นอย่างหลวม ๆ เป็นจักรวรรดิที่แบ่งย่อยเป็นส่วนย่อย ๆ (ราชอาณาจักร หรือ อนุราชอาณาจักร) ที่ตั้งและจำนวนอนุราชอาณาจักรก็ต่างกันไปตามเวลา แต่ฟรังเกียโดยทั่วไปมาหมายถึงบริเวณหนึ่งที่เรียกว่าออสเตรเชีย ที่มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณแม่น้ำไรน์ และแม่น้ำเมิซ (Meuse) ทางตอนเหนือของยุโรป แต่กระนั้นบางครั้งก็จะครอบคลุมไปถึงนิวสเตรีย (Neustria) ทางเหนือของแม่น้ำลัวร์ และทางตะวันตกของแม่น้ำแซนในที่สุดบริเวณนี้ก็เคลื่อนมาทางปารีส และมาสิ้นสุดลงในบริเวณลุ่มแม่น้ำแซนรอบ ๆ ปารีส ที่ยังใช้ชื่ออีล-เดอ-ฟร็องส์ และเป็นชื่อในที่สุดก็กลายเป็นชื่อของราชอาณาจักรฝรั่งเศสทั้งราชอาณาจักร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนียและราชอาณาจักรแฟรงก์

ภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนียและราชอาณาจักรแฟรงก์ มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชาร์ล มาร์แตลชาร์เลอมาญชาวกอทชาววิซิกอทพระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ยกอล

ชาร์ล มาร์แตล

ร์ล มาร์แตล (Charles Martel; ราว ค.ศ. 688 – 22 ตุลาคม ค.ศ. 741) เป็นผู้นำทางการทหารและการเมืองของชาวแฟรงก์ ดำรงมีตำแหน่งสมุหราชมนเทียรในสมัยราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง และเป็นประมุขในทางพฤตินัยในช่วงว่างระหว่างรัชกาล ค.ศ. 737 ถึง ค.ศ. 743 ในบั้นปลายของชีวิตโดยใช้ตำแหน่ง “ดยุกและเจ้าชายแห่งชาวแฟรงก์” ในปี ค.ศ. 739 พระสันตะปาปาเสนอให้รับตำแหน่งกงสุลแต่ชาร์ลไม่ยอมรับ ชื่อเสียงที่ทำให้ชาร์ลเป็นผู้ที่เป็นที่รู้จักกันดีต่อมาการที่ได้รับชัยชนะในยุทธการที่ตูร์ในปี ค.ศ. 732 732 ซึ่งเป็นยุทธการที่เป็นการหยุดยั้งการรุกรานของกองทัพมุสลิมขึ้นมาทางเหนือและทางตะวันตกของยุโรป ชาร์ลเป็นนักการทหารผู้มีความสามารถ—พ่ายแพ้ในยุทธการเพียงยุทธการเดียวในชีวิตการต่อสู้ในยุทธการที่โคโลญ ชาร์ลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในยุคกลาง และเชื่อกันว่ามีส่วนก่อให้เกิดระบบเจ้าขุนมูลนายและระบบอัศวินและวางรากฐานของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงFouracre, John.

ชาร์ล มาร์แตลและภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย · ชาร์ล มาร์แตลและราชอาณาจักรแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์เลอมาญ

ร์เลอมาญ (Charlemagne) หรือชื่อในภาษาเยอรมันคือ คาร์ลมหาราช (Karl der Große) เป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ (ฝรั่งเศสโบราณ) ตั้งแต่ปี..

ชาร์เลอมาญและภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย · ชาร์เลอมาญและราชอาณาจักรแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวกอท

อตาลันด์ทางใต้ของสวีเดนที่อาจจะเป็นต้นกำเนิดของชนกอท ชาวกอท (Goths) เป็นชนเผ่าเจอร์มานิคตะวันออกที่มีที่มาจากกึ่งตำนานสแกนด์ซา (Scandza) ที่เชื่อกันว่าอยู่ในบริเวณที่เป็นเยอตาลันด์ (Götaland) ในสวีเดนปัจจุบัน ชนกอทข้ามทะเลบอลติกก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 2 มายังบริเวณที่ได้รับชื่อว่ากอทิสแกนด์ซา (Gothiscandza) ที่เชื่อว่าอยูในบริเวณตอนใต้ของบริเวณวิสตูลาในพอเมอเรเลีย (Pomerelia) ในโปแลนด์ปัจจุบัน อารยธรรมวีลบาร์ค (Wielbark culture) เป็นอารยธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเริ่มมาตั้งถิ่นฐานของชนกอทและการกลืนตัวกับชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นต้นมากลุ่มชนกอทก็เริ่มโยกย้ายถิ่นฐานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ตามลำวิสตูลาแม่น้ำวิสตูลาไปจนถึงซิทเธีย (Scythia) บนฝั่งทะเลดำ ในยูเครนปัจจุบัน และได้ทิ้งร่องรอยทางโบราณคดีไว้ในวัฒนธรรมเชอร์นยาคอฟ (Chernyakhov culture) ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 3 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชนกอทซิทเธียก็แยกเป็นสองกลุ่ม: เทอร์วิงกิ (Thervingi) และ กรูทุงกิ (Greuthungi) แบ่งแยกกันโดยแม่น้ำนีสเตอร์ (Dniester River) ในช่วงเวลานี้ชนกอทก็รุกรานจักรวรรดิโรมันเป็นระยะ ๆ ระหว่างสมัยที่เรียกว่าสงครามกอทิก ต่อมาชนกอทก็ยอมรับคริสต์ศาสนา ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ฮั่นก็มารุกรานดินแดนกอททางตะวันออก ชนกอทบางกลุ่มถูกปราบปรามและในที่สุดก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฮันนิค (Hunnic Empire) อีกกลุ่มหนึ่งถูกผลักดันเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และที่ 6 ชนกอทก็แยกตัวออกเป็นวิซิกอทและออสโตรกอท ทั้งสองกลุ่มก่อตั้งรัฐที่มีอำนาจหลังจากจักรวรรดิโรมันในคาบสมุทรไอบีเรียและอิตาลี ชนกอทหันมานับถือคริสต์ศาสนาลัทธิแอเรียน โดยวูลฟิลานักสอนศาสนาครึ่งกอทผู้ต่อมาย้ายไปตั้งถิ่นฐานในเมอเซีย (ต่อมาเป็นบริเวณในบัลแกเรีย) กับกลุ่มผู้ติดตาม วูลฟิลาแปลพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษากอทิค แม้ว่ากอทจะมีอำนาจในคาบสมุทรไอบีเรียและอิตาลีแต่ก็มาพ่ายแพ้ต่อจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ผู้พยายามฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ต่อมากอทก็ถูกรุกรานโดยชนแวนดัล (Vandals) และต่อมาชนลอมบาร์ด การที่มีการติดต่อกับประชาชนโรมันของอดีตจักรวรรดิโรมันอยู่เป็นเวลานานทำให้ในที่สุดกอทก็เปลี่ยนไปยอมรับนิกายโรมันคาทอลิก ความเสื่อมโทรมของกลุ่มชนกอทมาเร่งให้เร็วขึ้นเมื่อได้รับความพ่ายแพ้ต่อมัวร์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ภาษาและวัฒนธรรมของกอทก็เริ่มสูญหายไป นอกจากบางส่วนที่ไปปรากฏในวัฒนธรรมอื่น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 กลุ่มออสโตรกอทที่หลงเหลืออยู่ก็ไปปรากฏตัวที่ไครเมีย แต่การบ่งถึงเชื้อชาติก็ไม่เป็นที่แน่นอน.

ชาวกอทและภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย · ชาวกอทและราชอาณาจักรแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาววิซิกอท

้นทางการอพยพของชาววิซิกอท วิซิกอท (Visigoths, Visigothi, Wisigothi, แปลว่า "กอทตะวันตก") เป็นหนึ่งในชาติพันธุ์สองสาขาหลักของชาวกอท ซึ่งเป็นชนเผ่าเจอร์มานิคตะวันออกกลุ่มหนึ่ง โดยอีกสาขาหนึ่งในกลุ่มนี้คือชาวออสโตรกอทหรือ "กอทตะวันออก" สันนิษฐานกันว่าชาวกอททั้งสองสาขานี้มีต้นกำเนิดอยู่แถบประเทศยูเครนในปัจจุบัน ชาววิซิกอทเป็นหนึ่งในอนารยชนกลุ่มชนเจอร์มานิคต่าง ๆ ที่เข้ามารุกรานจักรวรรดิโรมันตอนปลายในสมัยการอพยพ เนื่องจากประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้น ความขาดแคลนอาหาร ประกอบกับการถูกกดดันจากอนารยชนชาวฮัน ที่มาจากเอเชียกลาง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 410 กองทัพวิซิกอทที่นำโดยพระเจ้าอาลาริกที่ 1 ประสบความสำเร็จในการพิชิตกรุงโรม และหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกเป็นต้นมา ชาววิซิกอทก็มีบทบาทสำคัญในด้านต่าง ๆ ของภูมิภาคยุโรปตะวันตกอยู่เป็นเวลานานถึงสองศตวรรษครึ่ง.

ชาววิซิกอทและภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย · ชาววิซิกอทและราชอาณาจักรแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย

ระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย (Pepin the Short หรือ Pippin the Short) (ค.ศ. 714 – 24 กันยายน ค.ศ. 768) นอกจากจะทรงได้รับฉายานามว่า "the Short" แล้วก็ยังรู้จักกันในพระนามอื่นด้วยเช่น "เปแป็งผู้เยาว์" หรือ "เปแป็งที่ 3" เปแปงเดิมเป็นสมุหราชมนเทียร (Mayor of the Palace) และดยุกแห่งแฟรงก์ ตั้งแต่ ค.ศ. 741 และพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิแฟรงค์ระหว่าง ค.ศ. 751 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 768 พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ยเป็นพระราชโอรสของชาร์ลส์ มาร์เตล และเป็นพระราชบิดาของชาร์เลอมาญ.

พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ยและภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย · พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ยและราชอาณาจักรแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

กอล

แผนที่ของ กอล ราว 100 ปีก่อนคริสตกาล แสดงให้เห็นตำแหน่งสัมพันธ์กับเผ่าเคลติก กอล (Gaul) เป็นชื่อเก่าแก่ในประวัติศาสตร์ ใช้ในยุคโรมันเพื่อเรียกขานดินแดนทางยุโรปตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเทียบได้ประมาณบริเวณประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม และอาจรวมไปถึงหุบเขาโพ ในสวิตเซอร์แลนด์ตะวันตก บางส่วนของเนเธอร์แลนด์และเยอรมนีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ ในภาษาอังกฤษ คำว่า กอล อาจหมายถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้น (ภาษาฝรั่งเศสเรียก Gaulois) พลเมืองในอดีตสามารถพูดภาษากอล (Gaulish) ได้อย่างกว้างขวาง (เป็นภาษาที่พัฒนามาจากเคลติกยุคต้น) โดยแพร่หลายในดินแดนบริเตน ไอบีเรีย ไอร์แลนด์ ไปจนกระทั่งถึงอนาโทเลียกลางในยุคโรมัน คำในภาษาละตินของ กอล ยังคงมีใช้อยู่ในคำภาษากรีกยุคใหม่สำหรับใช้เรียกประเทศฝรั่งเศส คือ กัลเลีย (Gallia) กอลภายใต้การนำของ Brennus บุกยึดโรมันได้ในราวทศวรรษ 390 ก่อนคริสตกาล ในแดนอีเจี้ยน มีการอพยพครั้งใหญ่ของชาวกอลตะวันออก จากดินแดนเทรซ ทางตอนเหนือของกรีซ ในราวปี 281 ก่อนคริสตกาล ผู้นำของชาวกอลอีกคนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า Brennus เหมือนกัน เป็นผู้นำของกองทัพขนาดใหญ่ ได้หวนกลับจากการทำลายล้างวิหารอพอลโลในเมืองเดลฟีในกรีซในวินาทีสุดท้าย เล่ากันว่าเขาได้รับเตือนโดยเสียงฟ้าร้องและสายฟ้า ในเวลาเดียวกับที่ชาวเคลต์กำลังอพยพ นักรบกว่า 10,000 นาย พร้อมด้วยบรรดาผู้หญิง เด็ก และทาส ได้เดินทางผ่านดินแดนเทรซพอดี ชาวกอลสามกลุ่มใหญ่ได้เดินทางข้ามดินแดนเทรซไปยังเอเชียไมเนอร์ตามคำเชิญของ Nicomedes ที่ 1 กษัตริย์แห่ง Bithynia พระองค์ได้ส่งคำร้องขอความช่วยเหลือเพื่อสู้กับน้องชายของพระองค์เอง ในเวลาต่อมาชาวกอลก็ตั้งถิ่นฐานลงทางตะวันออกของ Phrygia และ Cappadocia ในแคว้นอนาโทเลียกลาง ดินแดนซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ กาลาเทีย (Galatia).

กอลและภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย · กอลและราชอาณาจักรแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนียและราชอาณาจักรแฟรงก์

ภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย มี 28 ความสัมพันธ์ขณะที่ ราชอาณาจักรแฟรงก์ มี 31 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 10.17% = 6 / (28 + 31)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนียและราชอาณาจักรแฟรงก์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »