โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภูมิคุ้มกันหมู่และวัคซีน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภูมิคุ้มกันหมู่และวัคซีน

ภูมิคุ้มกันหมู่ vs. วัคซีน

ูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity, herd effect, community immunity, population immunity, social immunity) เป็นรูปแบบหนึ่งของการป้องกันการติดต่อของโรคติดเชื้อในประชากร ซึ่งไม่ใช่การป้องกันโดยตรง ที่เกิดขึ้นเมื่อมีสัดส่วนของผู้ที่มีภูมิคุ้มกันมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง แล้วจะทำให้ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคนั้นๆ ในประชากรดังกล่าวได้รับการป้องกันจากการติดโรคไปด้วย เนื่องจากเมื่อมีผู้ติดเชื้อเข้ามาในประชากรนี้ โอกาสเกิดการติดเชื้อต่อไปเรื่อยๆ จนไปถึงคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน จะเกิดขึ้นได้ยาก หรืออาจเกิดขึ้นไม่ได้เลย ยิ่งมีสัดส่วนของผู้มีภูมิคุ้มกันในประชากรมากเท่าไร โอกาสที่ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะได้เจอกับผู้เป็นโรค ก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น การเกิดภูมิคุ้มกันของคนคนหนึ่งอาจเกิดจากการเคยติดโรคมาก่อนแล้วหายจากโรคนั้น หรืออาจเป็นภูมิคุ้มกันที่ได้รับการเสริมขึ้น เช่น จากการรับวัคซีน คนบางคนไม่สามารถจะสร้างภูมิคุ้มกันของตัวเองขึ้นได้จากโรคบางอย่าง เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ป่วยโรคมะเร็ง คนกลุ่มนี้มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องอาศัยผลของภูมิคุ้มกันหมู่ในประชากรที่อาศัย เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคเหล่านี้. ็กกำลังรับวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด วัคซีน (Vaccine) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้น ๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วัคซีนเริ่มมีการพัฒนาในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1770 โดยเอดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการสกัดเชื้อ cowpox เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ (small pox) ในมนุษย์ได้ วัคซีนในระยะเริ่มแรกเป็นการนำเชื้อมาทำให้ตายหรือการใช้เชื้อที่อ่อนฤทธิ์เท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์มาช่วยในการพัฒนาโดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และมีความพยายามพัฒนาวัคซีนโดยการสังเคราะห์แอนติเจนในการผลิตซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) อีกด้วย คำว่า "วัคซีน" (vaccine) ได้มาจากครั้งที่เอ็ดวาร์ดให้เชื้อ cowpox แก่มนุษย์ โดยคำว่า variolæ vaccinæ มาจากคำว่า vaccīn-us หรือ vacca ซึ่งแปลว่า cow หรือวัวซึ่งมีความสัมพันธ์กับเชื้อ cowpox.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภูมิคุ้มกันหมู่และวัคซีน

ภูมิคุ้มกันหมู่และวัคซีน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายตรวจจับได้เรียกว่า แอนติเจน (antigen) แอนติเจนที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า อิมมูโนเจน (immunogen) สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรค (pathogen) เพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที.

ภูมิคุ้มกันหมู่และระบบภูมิคุ้มกัน · ระบบภูมิคุ้มกันและวัคซีน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภูมิคุ้มกันหมู่และวัคซีน

ภูมิคุ้มกันหมู่ มี 5 ความสัมพันธ์ขณะที่ วัคซีน มี 46 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.96% = 1 / (5 + 46)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภูมิคุ้มกันหมู่และวัคซีน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »