โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภีษมะและฤๅษี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภีษมะและฤๅษี

ภีษมะ vs. ฤๅษี

"คำปฏิญาณของภีษมะ" ผลงานของ ราชา รวิ วรรมา "มรณกรรมของภีษมะ" ภีษมะนอนบนเตียงลูกศร รายล้อมด้วยเหล่ากษัตริย์ที่เข้าร่วมในสงครามทุ่งกุรุเกษตรทั้งฝ่ายปาณฑพและฝ่ายเการพ (ศิลปะอินเดียสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมบัติของพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน สหรัฐอเมริกา) ภีษมะ หรือ เจ้าชายเทวพรต เป็นพระโอรสของพระราชาศานตนุแห่งกรุงหัสตินาปุระ แคว้นกุรุ กับพระแม่คงคา เป็นบุคคลสำคัญในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ เพราะถือเป็นปู่คนหนึ่งของทั้งฝ่ายเการพและฝ่ายปาณฑพ ภายหลังจากที่เจ้าชายเทวพรตได้ให้สัตย์สาบานแก่ฟ้าดินว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบัลลังก์กษัตริย์และจะไม่แต่งงานมีลูกกับหญิงคนใดแล้วนั้น ก็ได้ชื่อใหม่คือ ท้าวภีษมะ พระบิดาคือท้าวศานตนุก็ซาบซึ้งพระทัยมากจึงให้พรกับภีษมะว่าจะให้ภีษมะมีอายุยืนยาวเท่าไรก็ได้ ไม่มีวันตาย นอกเสียจากว่าภีษมะจะต้องการตายเองจริง ๆ ภีษมะนั้น ต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพราะเป็นผู้เห็นเรื่องราวทุกอย่าง ความพินาศของราชวงศ์กุรุ การรบพุ่งกันบนสงครามกุรุเกษตร และผลพวงของสงคราม ที่เป็นเช่นนี้เพราะชาติก่อนท้าวภีษมะเคยเกิดเป็น หนึ่งในคณะเทพวสุ ก็คือคณะเทพที่มี 8 องค์ด้วยกัน และมีภรรยาครบทุกองค์ เมื่อจะไปที่ใดก็ต้องเสด็จไปทั้ง 16 องค์ มีอยู่วันหนึ่ง ภรรยาของเทพทยุ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะเทพวสุ อยากได้แม่โคนันทินีของฤๅษีวสิษฐ์ซึ่งเป็นฤๅษีคนสำคัญ เทพทยุรู้ว่าผิดแต่ก็ช่วยกันกับเทพอีก 7 องค์ในการโขมยวัวในระหว่างที่ฤๅษีวสิษฐ์ออกไปเก็บผลไม้ในป่า แต่ฤๅษีวสิษฐ์ก็จับได้เข้า จึงสาปให้เทพทั้ง 8 องค์ไปเกิดรับความทรมานบนโลกมนุษย์ แต่เทพ 7 องค์นั้นเป็นเพียงตัวประกอบในการช่วยกันโขมยวัวเท่านั้น ตัวตั้งตัวตีนั้นคือเทพทยุ จึงถูกสาปให้ไปเกิดบนโลกมนุษย์รับความทรมานแสนสาหัสหนักกว่าใครเพื่อน ด้วยเหตุนี้พระแม่คงคาจึงรับหน้าที่เป็นพระมารดาของเทพ 8 องค์ นี้ และโยนเทพทั้ง 7 องค์ที่มาเกิดบนโลกมนุษย์นี้ลงแม่น้ำทันทีจะได้ไม่ต้องมารับกรรมมาก ส่วนเทพทยุที่ทำผิดหนักกว่าใครเพื่อนก็ได้มาเกิดนานกว่าคนอื่นก็คือ ท้าวภีษมะ นั่นเอง โดยพระแม่คงคาได้นำตัวท้าวภีษมะไปร่ำเรียนวิชาพระเวทและคัมภีร์เวทานตะโดยฤๅษีวสิษฐ์ซึ่งเป็นคนเดียวกันกับที่สาปให้ภีษมะมาเกิดบนโลกนานกว่าใคร,วิชารัฐศาสตร์โดยพระพฤหัสบดี และวิชายิงธนูโดยภควาจารย์หรือฤๅษีปรศุราม(ที่เกลียดพวกวรรณะกษัตริย์แต่คราวนี้ยอมสอนให้) ท้าวภีษมะนั่นไม่ได้แต่งงานแต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้ไปชิงตัวเจ้าหญิงแห่งแคว้นกาสี 3 พระองค์ก็คือ เจ้าหญิงอัมพา เจ้าหญิงอัมพิกา และเจ้าหญิงอัมพาลิกา มาเป็นมเหสีของวิจิตรวีรยะผู้เป็นน้องต่างมารดา (ตอนนั้นจิตรางคทะเสียชีวิตไปแล้วและโดยปกติมีข้อตกลงกันมานานแล้วว่า หากแคว้นกาสีมีพระธิดาจะต้องยกให้กับเจ้าชายแคว้นหัสตินาปุระก่อน แต่คราวนี้กลับทำพิธีสยุมพรแต่ไม่ได้เชิญเจ้าชายแคว้นหัสตินาปุระไปร่วมด้วย) แต่เมื่อชิงตัวทั้งสามมายังกรุงหัสตินาปุระเรียบร้อย เจ้าหญิงอัมพาเกิดบอกกับภีษมะว่าตอนที่ภีษมะกำลังจะไปชิงตัวนางนั้น นางกำลังจะทำพิธีสยุมพรกับท้าวศัลวะ ซึ่งเป็นคู่รักของนาง ทุกคนคือท้าวภีษมะ พระนางสัตยวดีและวิจิตรวีรยะตกใจมากกับเรื่องที่เกิดขึ้น จึงส่งตัวเจ้าหญิงอัมพาให้ท้าวศัลวะ แต่ท้าวศัลวะไม่ยอมรับตัวเจ้าหญิงอีกต่อไป เจ้าหญิงอัมพาเสียใจมาก เมื่อกลับมาหาท้าวภีษมะและขอร้องให้แต่งงานกับตน แต่ท้าวภีษมะทำไม่ได้เพราะเคยให้สัตย์สาบานกับฟ้าดินไว้ นางอัมพาโกรธแค้นท้าวภีษมะมากจึงขอให้ฤๅษีปรศุรามผู้เป็นอาจารย์ของท้าวภีษมะมาขอร้องแทนแต่ก็ไม่เป็นผลและยังต้องต่อสู้กับท้าวภีษมะอีกด้วย แต่ผลก็ไม่รู้แพ้รู้ชนะเพราะภีษมะกำลังจะตัดสินการสู้กันโดยใช้วิชาอัสตระชื่อวิชาปรัสวาปะ ซึ่งเป็นวิชาทำลายล้างโลก แต่ก็ถูกพระนารายณ์และพระศิวะห้ามไว้ก่อน เจ้าหญิงอัมพาจึงไม่สมหวังและขอพรกับเทพบุตรสันมุข พระองค์จึงให้พวงมาลัยที่ไม่มีวันเหี่ยวเฉากับนาง เพื่อเอาไปคล้องคอกับผู้ที่จะฆ่าท้าวภีษมะให้ แต่ไม่มีกษัตริย์คนใดยอมรับ มาถึงคนสุดท้ายคือท้าวทรุปัท พระองค์ก็ไม่ยอมเช่นกัน เจ้าหญิงจึงแขวนพวงมาลัยในที่เสาในท้องพระโรงและได้พรจากพระศิวะให้นางเป็นคนฆ่าภีษมะด้วยตนเอง นางทนรอชาติหน้าไม่ไหวจึงเผาตนเองในกองไฟไปเกิดใหม่เป็นพระธิดาของท้าวทรุปัทชื่อ ศิขัณทิน (แต่ภายหลังได้แลกเพศกับยักษ์ตนหนึ่ง) ส่วนในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรนั้น ท้าวภีษมะต้องเข้าร่วมกับพวกเการพ และเป็นแม่ทัพให้กับทุรโยธน์ ท้าวภีษมะไม่เต็มใจนักเพราะแต่ละฝ่ายต่างก็เป็นหลานของตน จึงเข้าร่วมกับฝ่ายเการพและบอกว่าจะไม่สังหารพี่น้องปาณฑพอย่างเด็ดขาด แต่ในที่สุดแล้ว ภีษมะก็ตายด้วยน้ำมือของอรชุนซึ่งเป็นหลาน ไม่ใช่ศิขัณทิน ในสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร โดยอรชุนระดมยิงธนูใส่ภีษมะเป็นจำนวนมาก แต่ภีษมะยังไม่ตาย โดยสอนวิธีการปกครองให้กับพวกปาณฑพก่อนที่ตนเองจะตั้งใจตาย เมื่อสอนหลาน ๆ ฝ่ายปาณฑพจบภีษมะก็ได้ตายจากไปและขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ดังเดิม. วนฤๅษีผู้เลื่องชื่อในเทพปกรณัมฮินดู ฤๅษี หรือ ฤษี (สันสกฤต: ṛṣi; เทวนาครี: ऋषि) ภาษาสันสกฤตอ่านว่า ฤษิ หมายความว่า ผู้แต่งพระเวท หรือผู้เห็น ฤๅษีเป็นนักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ ตามสถานที่สงัดต่างๆ ในป่าเขาหรือถ้ำ และเดิมมักเป็นหญิง ซึ่งเรียก "ฤษิก" (rishika) ตามความในคัมภีร์สารวานุกรมนี (Sarvanukramani) ในบรรดาผู้แต่งฤคเวทนั้น เป็นฤษีหญิงถึงยี่สิบคน ฤษี อาจหมายถึงมุนี (muni) ฤษี อีกความหมายหนึ่งคือ ฤษีเพศชาย ส่วน "ฤษิณี" หมายถึง ฤษีเพศหญิง ฤษีที่มีชื่อเสียงชื่อ ฤษี วยาส ผู้สร้างโศลกเรื่องมหากาพย์ภารตะ ซึ่งเป็นมหากาพย์ที่มีจำนวนโศลกมากจำนวนประมาณถึง 1 แสนโศลก ตำนานเล่าว่า ฤๅษีเวทวฺยาส หรือ กฤษฺณ ไทฺวปายน เป็นปู่ของสองพี่น้องตระกูลเการพและปาณฑพ และเป็นเหลนใหญ่ของท้าวภรต คัมภีร์โบราณของฮินดูระบุไว้ว่า ท้าวภรต (ภะ-ระ-ตะ) ผู้นี้เป็นโอรสท้าวทุษยันต์ อันเกิดจากนางศกุนตล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภีษมะและฤๅษี

ภีษมะและฤๅษี มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภีษมะและฤๅษี

ภีษมะ มี 17 ความสัมพันธ์ขณะที่ ฤๅษี มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (17 + 8)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภีษมะและฤๅษี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »