ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาษาเวสทรอนและฮอบบิท (หนังสือ)
ภาษาเวสทรอนและฮอบบิท (หนังสือ) มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาอังกฤษภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธมิดเดิลเอิร์ธริเวนเดลล์ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธเจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
ภาษาอังกฤษ
ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).
ภาษาอังกฤษและภาษาเวสทรอน · ภาษาอังกฤษและฮอบบิท (หนังสือ) ·
ภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ
ในปกรณัมชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ทั้งทวีปมิดเดิลเอิร์ธ และทวีปอามัน ตลอดจนถึงดินแดนอื่นๆ ทั่วพิภพอาร์ดา มีเทือกเขาใหญ่น้อยมากมาย ต่อไปนี้เป็นรายชื่อภูเขาหรือเทือกเขาที่สำคัญ.
ภาษาเวสทรอนและภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ · ภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธและฮอบบิท (หนังสือ) ·
มิดเดิลเอิร์ธ
แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.
ภาษาเวสทรอนและมิดเดิลเอิร์ธ · มิดเดิลเอิร์ธและฮอบบิท (หนังสือ) ·
ริเวนเดลล์
ริเวนเดลล์ จากภาพยนตร์เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ริเวนเดลล์ (Rivendell) เป็นชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งของพวกเอลฟ์ ในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อในภาษาซินดารินเรียกว่า อิมลาดริส (Imladris) ซึ่งมีความหมายว่า 'หุบเขาลึก' บางครั้งถูกเอ่ยถึงด้วยชื่อ คฤหาสน์ลาสต์โฮมลี่เฮ้าส์ ในหุบเขาฟากตะวันตกของเทือกเขามิสตี้ อาณาจักรนี้ก่อตั้งขึ้นโดยเอลฟ์กึ่งมนุษย์ชื่อว่า เอลรอนด์ ตั้งแต่ยุคที่สองของโลกอาร์ดา (ประมาณ 4-5 พันปี ก่อนเหตุการณ์ในเรื่อง ลอร์ดออฟเดอะริงส์) ริเวนเดลล์ตั้งอยู่เชิงเขาทางฟากตะวันตกของฮิธายเกลียร์ หรือเทือกเขามิสตี้ ใกล้กับโตรกแคบของแม่น้ำบรุยเนน ซ่อนตัวมิดชิดอยู่ในหุบเขา เส้นทางเข้าออกสำคัญของอาณาจักรนี้คือทางข้ามแม่น้ำบริเวณที่เรียกว่า ฟอร์ดบรุยเนน ภูมิอากาศทั่วไปค่อนข้างเย็น มีช่วงฤดูร้อนที่อบอุ่นและหิมะเล็กน้อยในฤดูหนาว อาณาจักรริเวนเดลล์ก่อตั้งขึ้นในปีที่ 1697 ของยุคที่สอง ในระหว่างสงครามเมืองเอเรกิออน เมื่อกองทัพจากลินดอนที่กิล-กาลัดส่งมาช่วยเอเรกิออน นำทัพโดยเอลรอนด์ ต้องพาผู้ลี้ภัยที่หนีออกมาจากนครเอเรกิออนถอยขึ้นไปทางเหนือ ทัพของเซารอนปิดล้อมริเวนเดลล์อยู่ถึงสามปี จนกระทั่งกิล-กาลัดและทัพจากนูเมนอร์ส่งมาช่วย ทัพจากริเวนเดลล์ยกออกตีกระหนาบจนสามารถเอาชนะเซารอนในการศึกครั้งนั้นได้ ริเวนเดลล์ถูกทัพของวิชคิงปิดล้อมอีกครั้งในราวศตวรรษที่ 14 ของยุคที่สาม และสามารถขับไล่ทัพของวิชคิงไปได้เมื่อได้รับกำลังเสริมมาจากลอธลอริเอน ในเรื่อง เดอะฮอบบิท บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ มาแวะพักที่ริเวนเดลล์นี้พร้อมกับพวกคนแคระ ในระหว่างการเดินทางไปยังภูเขาโลนลี่ และยังแวะพักในขากลับระหว่างเดินทางกลับไชร์พร้อมกับแกนดัล์ฟ ในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ กับผองเพื่อนฮอบบิทของเขา เดินทางมายังริเวนเดลล์พร้อมกับอารากอร์น และได้ใช้เวลาพักฟื้นอยู่ที่นี่หลายเดือน ที่นี้ยังเป็นที่ชุมนุมเผ่าพันธุ์ต่างๆ ที่ยังเป็นอิสระชนแห่งมิดเดิลเอิร์ธ คือพวกเอลฟ์ มนุษย์ และคนแคระ ในที่ประชุมของเอลรอนด์ เผ่าพันธุ์ทั้งหลายได้ลงมติให้นำแหวนเอกไปทำลายเสียที่เมาท์ดูม โดย โฟรโด เป็นผู้รับอาสาทำหน้าที่นี้ เอลรอนด์ได้เลือกตัวแทนแต่ละเผ่าพันธุ์เข้าร่วมในคณะพันธมิตรแห่งแหวน เพื่อปฏิบัติภารกิจนี้ ครอบครัวของเอลรอนด์ทุกคนพำนักอยู่ที่ริเวนเดลล์ ได้แก่ เคเลบรีอัน ภรรยาของเขา เอลลาดาน และ เอลโรเฮียร์ บุตรชายฝาแฝด และธิดาคนสุดท้องคือ อาร์เวน นอกจากนี้เอลรอนด์ยังเลี้ยงดูทายาทวงศ์กษัตริย์มนุษย์ คือ อารากอร์น ในฐานะบุตรบุญธรรมของตนด้วย แต่เคเลบรีอันได้รับบาดเจ็บในระหว่างเดินทางข้ามเทือกเขามิสตี้ครั้งหนึ่งแล้วถูกพวกออร์คซุ่มโจมตี นางจึงเดินทางไปรักษาตัวที่แผ่นดินอมตะ ในระหว่างยุคสงครามแหวน เคเลบรีอันจึงมิได้อยู่ที่ริเวนเดลล์แล้ว ในช่วงต้นของยุคที่สี่ หลังจากอาร์เวนได้อภิเษกกับอารากอร์น ขึ้นเป็นราชา-ราชินีของอาณาจักรกอนดอร์แล้ว เอลรอนด์เดินทางออกจากริเวนเดลล์เพื่อกลับไปยังแผ่นดินตะวันตก คงเหลือแต่เพียงเอลลาดานและเอลโรเฮียร์พำนักอยู่ที่นี่ ต่อมา เคเลบอร์น ได้ละลอธลอริเอนและมาสมทบกับพวกเขาที่นี่ แต่ไม่มีบันทึกใดระบุว่า สุดท้ายแล้วพวกเอลฟ์อพยพออกจากริเวนเดลล์ไปจนหมดสิ้นเมื่อใ.
ภาษาเวสทรอนและริเวนเดลล์ · ริเวนเดลล์และฮอบบิท (หนังสือ) ·
ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ
ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ (The History of Middle-earth) เป็นชื่อชุดหนังสือจำนวน 12 เล่ม ที่รวบรวมงานเขียนต้นฉบับต่างๆ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่เกี่ยวข้องกับปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ นำมาเรียบเรียงใหม่โดยคริสโตเฟอร์ โทลคีน ตีพิมพ์จำหน่ายในช่วงระหว่างปี..
ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธและภาษาเวสทรอน · ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธและฮอบบิท (หนังสือ) ·
เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
. อาร.
ภาษาเวสทรอนและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ฮอบบิท (หนังสือ)และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ·
เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..
ภาษาเวสทรอนและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ฮอบบิท (หนังสือ)และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ภาษาเวสทรอนและฮอบบิท (หนังสือ) มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาษาเวสทรอนและฮอบบิท (หนังสือ)
การเปรียบเทียบระหว่าง ภาษาเวสทรอนและฮอบบิท (หนังสือ)
ภาษาเวสทรอน มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ ฮอบบิท (หนังสือ) มี 58 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 9.21% = 7 / (18 + 58)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษาเวสทรอนและฮอบบิท (หนังสือ) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: