โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาเวสทรอน

ดัชนี ภาษาเวสทรอน

ษาเวสทรอน (Westron) เป็นภาษาประดิษฐ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่ใช้ในนิยายชุด มิดเดิลเอิร์ธ ในฉบับนิยายถือว่า ภาษาเวสทรอนเป็นเสมือน 'ภาษากลาง' ของโลกแห่งนั้น โดยเฉพาะในยุคสมัยในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ คำว่า "เวสทรอน" เป็นคำภาษาอังกฤษที่เลือกมาใช้ในการ 'แปล' ภาษานี้ (ตามที่โทลคีนว่า) มีที่มาจากคำว่า "ตะวันตก" (West) ซึ่งเป็นรากคำดั้งเดิมมาจากคำว่า อดูนิ (Adûni) ในภาษาอดูนาอิก ของชาวนูเมนอร์ ชื่อภาษาเวสทรอนในภาษาซินดารินเรียกว่า อันนูไนด์ (Annúnaid) หมายถึง ภาษาของชาวตะวันตก (Westron) บางครั้งก็เรียกว่า ฟาลาเธรน (Falathren) หมายถึง ภาษาชาวฝั่ง (Shore-language) ภาษาเวสทรอนพัฒนามาจากภาษาอดูนาอิกของชาวนูเมนอร์ หลังจากที่ชาวนูเมนอร์เริ่มบุกเบิกและติดต่อสมาคมกับมนุษย์ทางชายฝั่งตะวันตกของทวีปมิดเดิลเอิร์ธ จึงใช้ภาษานี้แพร่หลายทั่วไป แต่รากฐานดั้งเดิมของภาษานี้ก็มาจาก ภาษาของชาวเบออร์และฮาดอร์ ซึ่งเป็นชาวเอไดน์ บรรดามนุษย์ทางชายฝั่งตะวันตกเหล่านั้นก็มีบรรพบุรุษเดียวกันกับชาวเอไดน์ ในภายหลังชนเหล่านี้เป็นพลเมืองท้องถิ่นของอาณาจักรกอนดอร์ และอาร์นอร์ ภาษาเวสทรอนใช้แพร่หลายอยู่ตามแนวชายฝั่ง และตลอดทั่วทั้งเขตแคว้นเอเรียดอร์ แต่ดินแดนอื่นๆ เช่น โรห์วาเนียน ไม่ได้ใช้ภาษานี้ด้วย ชนพื้นเมืองที่เป็นมนุษย์ในหลายๆ ท้องถิ่นมีภาษาเป็นของตัวเอง เช่นชาวดันเลนดิง มนุษย์บนเทือกเขาขาว เป็นต้น ตามท้องเรื่องที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ โทลคีนบอกว่าเขาได้แปลเรื่องทั้งหมดจากภาษาเวสทรอน ออกมาเป็นภาษาอังกฤษ ตัวอย่างการถอดความที่สำคัญเช่น ชื่อของตัวละครต่างๆ เมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก เป็นชื่อในภาษาอังกฤษที่แปลมาจากชื่อจริงของเขาว่า คาลิมัก บรันดากัมบา (Kalimac Brandagamba) ชื่อย่อว่า คาลิ (หมายถึง ความสนุกสนานรื่นเริง) ชื่อ เมอเรียด็อค และชื่อย่อ เมอร์รี่ จึงเป็นชื่อที่ถอดความมาจากภาษาเวสทรอนให้คงความหมายดั้งเดิมไว้ หรือชื่อ เปเรกริน ตุ๊ก กับชื่อย่อ ปิ๊ปปิ้น ก็มาจากชื่อจริงว่า ราซานัวร์ ทูค (Razanur Tûk) ชื่อย่อว่า ราซาร์ (หมายถึง แอ๊ปเปิ้ลผลเล็กๆ) ที่ถอดความมาให้ได้ความหมายใกล้เคียงกันนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีชื่อสถานที่อื่นๆ ที่ตั้งชื่อไว้ในภาษาเวสทรอน เช่น "ริเวนเดลล์" (ภาษาซินดาริน เรียกว่า "อิมลาดริส" หมายถึง หุบเขาในร่องผา) มาจากชื่อจริงว่า "คาร์นินกุล" (Karningul) หรือ "แบ๊กเอนด์" มาจากคำว่า "ลาบิน-เนค" (Labin-nec) เป็นชื่อสถานที่ที่ตั้งตามชื่อนามสกุล "ลาบินกิ" (Labingi) หรือ "แบ๊กกิ้นส์" นั่นเอง คำในภาษาเวสทรอนต่างๆ ที่ยกมานี้ เป็นงานที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นภายหลังการเขียนนิยายเป็นเวลาหลายปี แต่เขาไม่ได้สร้างภาษานี้ไว้ให้สมบูรณ์มากพอจะใช้งานได้ เหมือนอย่างภาษาเควนยา หรือภาษาซินดาริน.

18 ความสัมพันธ์: กอนดอร์ภาษาอังกฤษภาษาซินดารินภาษาเควนยาภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธมิดเดิลเอิร์ธริเวนเดลล์อาร์นอร์ฮอบบิท (หนังสือ)ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธนูเมนอร์ไชร์เมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊กเอไดน์เอเรียดอร์เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เปเรกริน ตุ๊ก

กอนดอร์

กษาขาว ดาวเจ็ดดวง และมงกุฎปีก กอนดอร์ (Gondor) คือชื่ออาณาจักรมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในนวนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ก่อตั้งโดย อิซิลดูร์ และ อนาริออน โอรสของ เอเลนดิล เมื่อปีที่ 3320 ของยุคที่สองเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน.

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและกอนดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซินดาริน

ษาซินดาริน (Sindarin) เป็นภาษาที่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้นใช้ในนวนิยายของเขาในชุดมิดเดิลเอิร์ธ แรงบันดาลใจของการสร้างภาษานี้มาจากพื้นฐานของภาษาเวลช์ (Welsh) ซึ่งโทลคีนพบในการศึกษาโคลงโบราณ เขาได้ใช้เวลาประดิษฐ์ภาษานี้จนสมบูรณ์ใช้งานได้จริง เทียบเคียงกับภาษาเควนยา เดิมทีโทลคีนตั้งใจประดิษฐ์ภาษานี้ขึ้นเป็นภาษาของชาวโนลดอร์ แต่เปลี่ยนใจภายหลัง ภาษาซินดาริน ตามฉบับนิยาย เป็นภาษาของพวกเอลฟ์ ชาวเทเลริ ที่มิได้เข้าร่วมการเดินทางครั้งใหญ่ไปได้ตลอดรอดฝั่ง แต่ยังคงตกค้างอยู่บนมิดเดิลเอิร์ธ และตั้งถิ่นฐานขึ้นในแผ่นดินเบเลริอันด์ ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ธิงโกล และ เมลิอัน ไมอาเทวี ในอาณาจักรโดริอัธ เอลฟ์กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า ชาวซินดาร์ หรือเอลฟ์แห่งสนธยา ภาษาของพวกเขาจึงเรียกว่า ภาษาซินดาริน ภาษาซินดารินมีกำเนิดมาจากคอมมอนเอลดาริน หรือภาษาดั้งเดิมของพวกเควนดิ จึงมีรากเดียวกันกับภาษาเควนยา ในยุคที่สาม ของโลกอาร์ดา คือเหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์นั้น ภาษาซินดารินเป็นภาษาที่พวกเอลฟ์ใช้กันแพร่หลายทั่วไป ดังนั้นภาษาเอลฟ์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นชื่อคน ชื่อสถานที่ต่างๆ รวมทั้งอักขระที่จารึกบนประตูทางเข้าเหมืองมอเรีย ก็ล้วนเป็นภาษาซินดารินทั้งสิ้น.

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและภาษาซินดาริน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเควนยา

ษาเควนยา (Quenya) เป็นภาษาหนึ่งซึ่ง เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้น และใช้ในนวนิยายของเขา คือในโลกมิดเดิลเอิร์ธ โดยเป็นภาษาของเอลฟ์ หรือชาวเควนดิ ซึ่งเป็นบุตรของมหาเทพอิลูวาทาร์ ภาษาเควนยานับได้ว่าเป็นภาษาแรกๆ ที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาษาฟินแลนด์ ซึ่งเป็นภาษาที่โทลคีนชอบมาก เขาศึกษาภาษาฟินนิชด้วยตัวเองเพราะต้องการจะอ่านมหากาพย์ คาเลวาลา ในต้นฉบับฟินนิช อันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง "โลกอาร์ดา" ของเขาในเวลาต่อมา โทลคีนสร้างตัวอักษรสำหรับภาษาเควนยา สร้างไวยากรณ์สำหรับภาษาเควนยา หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และโทลคีนได้กลับมาทำงานที่อ๊อกซฟอร์ดอีกครั้ง เขาได้ปรับปรุงแก้ไขภาษาเควนยาอย่างจริงจัง โดยใช้ภาษานี้ในการเขียนบันทึกประจำวัน แต่เนื่องจากโครงสร้างภาษายังไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายหลังโทลคีนเองก็สับสนและเลิกเขียนบันทึกด้วยวิธีนี้ เพราะลืมไปแล้วว่าขณะที่เขียนบันทึก เขาใช้โครงสร้างไวยากรณ์แบบไหน ช่วงแรกโทลคีนเรียกภาษานี้ว่า Qenya การสร้างภาษาเควนยา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญจุดหนึ่ง (แม้จะมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีก) ที่ทำให้โทลคีนบังเกิดความคิดให้มีผู้คนที่ใช้ภาษานี้ขึ้นมาจริงๆ อันเป็นที่มาของเหล่าเอลฟ์ ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ตลอดช่วงชีวิตของโทลคีน เขาได้แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างภาษานี้ จนกระทั่งมันสามารถใช้งานได้จริง สมบูรณ์ยิ่งกว่าภาษาประดิษฐ์อื่นๆ ของโทลคีน.

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและภาษาเควนยา · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ

ในปกรณัมชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ทั้งทวีปมิดเดิลเอิร์ธ และทวีปอามัน ตลอดจนถึงดินแดนอื่นๆ ทั่วพิภพอาร์ดา มีเทือกเขาใหญ่น้อยมากมาย ต่อไปนี้เป็นรายชื่อภูเขาหรือเทือกเขาที่สำคัญ.

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

มิดเดิลเอิร์ธ

แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

ริเวนเดลล์

ริเวนเดลล์ จากภาพยนตร์เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ริเวนเดลล์ (Rivendell) เป็นชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งของพวกเอลฟ์ ในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อในภาษาซินดารินเรียกว่า อิมลาดริส (Imladris) ซึ่งมีความหมายว่า 'หุบเขาลึก' บางครั้งถูกเอ่ยถึงด้วยชื่อ คฤหาสน์ลาสต์โฮมลี่เฮ้าส์ ในหุบเขาฟากตะวันตกของเทือกเขามิสตี้ อาณาจักรนี้ก่อตั้งขึ้นโดยเอลฟ์กึ่งมนุษย์ชื่อว่า เอลรอนด์ ตั้งแต่ยุคที่สองของโลกอาร์ดา (ประมาณ 4-5 พันปี ก่อนเหตุการณ์ในเรื่อง ลอร์ดออฟเดอะริงส์) ริเวนเดลล์ตั้งอยู่เชิงเขาทางฟากตะวันตกของฮิธายเกลียร์ หรือเทือกเขามิสตี้ ใกล้กับโตรกแคบของแม่น้ำบรุยเนน ซ่อนตัวมิดชิดอยู่ในหุบเขา เส้นทางเข้าออกสำคัญของอาณาจักรนี้คือทางข้ามแม่น้ำบริเวณที่เรียกว่า ฟอร์ดบรุยเนน ภูมิอากาศทั่วไปค่อนข้างเย็น มีช่วงฤดูร้อนที่อบอุ่นและหิมะเล็กน้อยในฤดูหนาว อาณาจักรริเวนเดลล์ก่อตั้งขึ้นในปีที่ 1697 ของยุคที่สอง ในระหว่างสงครามเมืองเอเรกิออน เมื่อกองทัพจากลินดอนที่กิล-กาลัดส่งมาช่วยเอเรกิออน นำทัพโดยเอลรอนด์ ต้องพาผู้ลี้ภัยที่หนีออกมาจากนครเอเรกิออนถอยขึ้นไปทางเหนือ ทัพของเซารอนปิดล้อมริเวนเดลล์อยู่ถึงสามปี จนกระทั่งกิล-กาลัดและทัพจากนูเมนอร์ส่งมาช่วย ทัพจากริเวนเดลล์ยกออกตีกระหนาบจนสามารถเอาชนะเซารอนในการศึกครั้งนั้นได้ ริเวนเดลล์ถูกทัพของวิชคิงปิดล้อมอีกครั้งในราวศตวรรษที่ 14 ของยุคที่สาม และสามารถขับไล่ทัพของวิชคิงไปได้เมื่อได้รับกำลังเสริมมาจากลอธลอริเอน ในเรื่อง เดอะฮอบบิท บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ มาแวะพักที่ริเวนเดลล์นี้พร้อมกับพวกคนแคระ ในระหว่างการเดินทางไปยังภูเขาโลนลี่ และยังแวะพักในขากลับระหว่างเดินทางกลับไชร์พร้อมกับแกนดัล์ฟ ในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ กับผองเพื่อนฮอบบิทของเขา เดินทางมายังริเวนเดลล์พร้อมกับอารากอร์น และได้ใช้เวลาพักฟื้นอยู่ที่นี่หลายเดือน ที่นี้ยังเป็นที่ชุมนุมเผ่าพันธุ์ต่างๆ ที่ยังเป็นอิสระชนแห่งมิดเดิลเอิร์ธ คือพวกเอลฟ์ มนุษย์ และคนแคระ ในที่ประชุมของเอลรอนด์ เผ่าพันธุ์ทั้งหลายได้ลงมติให้นำแหวนเอกไปทำลายเสียที่เมาท์ดูม โดย โฟรโด เป็นผู้รับอาสาทำหน้าที่นี้ เอลรอนด์ได้เลือกตัวแทนแต่ละเผ่าพันธุ์เข้าร่วมในคณะพันธมิตรแห่งแหวน เพื่อปฏิบัติภารกิจนี้ ครอบครัวของเอลรอนด์ทุกคนพำนักอยู่ที่ริเวนเดลล์ ได้แก่ เคเลบรีอัน ภรรยาของเขา เอลลาดาน และ เอลโรเฮียร์ บุตรชายฝาแฝด และธิดาคนสุดท้องคือ อาร์เวน นอกจากนี้เอลรอนด์ยังเลี้ยงดูทายาทวงศ์กษัตริย์มนุษย์ คือ อารากอร์น ในฐานะบุตรบุญธรรมของตนด้วย แต่เคเลบรีอันได้รับบาดเจ็บในระหว่างเดินทางข้ามเทือกเขามิสตี้ครั้งหนึ่งแล้วถูกพวกออร์คซุ่มโจมตี นางจึงเดินทางไปรักษาตัวที่แผ่นดินอมตะ ในระหว่างยุคสงครามแหวน เคเลบรีอันจึงมิได้อยู่ที่ริเวนเดลล์แล้ว ในช่วงต้นของยุคที่สี่ หลังจากอาร์เวนได้อภิเษกกับอารากอร์น ขึ้นเป็นราชา-ราชินีของอาณาจักรกอนดอร์แล้ว เอลรอนด์เดินทางออกจากริเวนเดลล์เพื่อกลับไปยังแผ่นดินตะวันตก คงเหลือแต่เพียงเอลลาดานและเอลโรเฮียร์พำนักอยู่ที่นี่ ต่อมา เคเลบอร์น ได้ละลอธลอริเอนและมาสมทบกับพวกเขาที่นี่ แต่ไม่มีบันทึกใดระบุว่า สุดท้ายแล้วพวกเอลฟ์อพยพออกจากริเวนเดลล์ไปจนหมดสิ้นเมื่อใ.

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและริเวนเดลล์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์นอร์

ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อาร์นอร์ (Arnor) หรือ อาณาจักรเหนือ เป็นอาณาจักรของมนุษย์ชาวดูเนไดน์ ในดินแดนแห่ง เอเรียดอร์ ในมิดเดิลเอิร์ธ ชื่อดังกล่าวน่าจะแปลว่า "ดินแดนแห่งกษัตริย์" มาจากภาษาซินดารินว่า อารา (Ara-) (แปลว่า สูงส่ง, เกี่ยวกับกษัตริย์) + (น)ดอร์ ((n) dor) (แปลว่า ดินแดน) ปรากฏอยู่ในนิยายทั้ง ซิลมาริลลิออน และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในช่วงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้น อาณาจักรอาร์นอร์แผ่กว้างไกลครอบคลุมดินแดนเกือบทั้งหมดของเอเรียดอร์ ตั้งแต่แม่น้ำบรุยเนน กวาโธล ไปจนถึงแม่น้ำลูห์น รวมทั้งดินแดนซึ่งต่อมารู้จักในนามว่า ไชร์ ด้วย ประชากรของอาร์นอร์ประกอบด้วยชาวดูเนไดน์ในดินแดนตะวันตกตอนกลางของอาณาจักร และชาวพื้นเมืองหรือลูกครึ่ง (รวมทั้งพวกต่อต้าน).

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและอาร์นอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอบบิท (หนังสือ)

อะฮอบบิท (ชื่อภาษาอังกฤษ "The Hobbit" หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "There and Back Again") เป็นนิยายแฟนตาซีสำหรับเด็ก ประพันธ์โดยเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในลักษณะกึ่งเทพนิยาย โทลคีนเขียนเรื่องนี้ในราวช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 โดยเริ่มแรกเขาเพียงใช้เล่าเป็นนิทานสนุกๆ ให้ลูกฟัง กับใช้เล่นคำในภาษาต่างๆ ที่เขาสนใจ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเก่า นิยายเรื่องนี้ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 21 กันยายน..

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและฮอบบิท (หนังสือ) · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ

ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ (The History of Middle-earth) เป็นชื่อชุดหนังสือจำนวน 12 เล่ม ที่รวบรวมงานเขียนต้นฉบับต่างๆ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่เกี่ยวข้องกับปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ นำมาเรียบเรียงใหม่โดยคริสโตเฟอร์ โทลคีน ตีพิมพ์จำหน่ายในช่วงระหว่างปี..

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

นูเมนอร์

นูเมนอร์ (Númenor) เป็นชื่อเกาะแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นแผ่นดินที่แยกต่างหากออกมาจาก มิดเดิลเอิร์ธ มีแนวคิดในการประพันธ์มาจากแผ่นดินจมสมุทรแอตแลนติส ชื่อนูเมนอร์มาจากภาษาเควนยา ว่า Númenórë ซึ่งมีความหมายว่า แผ่นดินตะวันตก โทลคีนเขียนไว้ว่า เมื่อแปลงจากคำภาษาเควนยาเป็นภาษานูเมนอเรียน ชื่อนี้ออกเสียงเป็น อนาดูเน (Anadûnê).

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและนูเมนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไชร์

ร์ (ภาษาอังกฤษ: Shire) เป็นเขตบริหารการปกครองโบราณของบริเตนใหญ่และออสเตรเลีย คำว่า “ไชร์” กับ “เคาน์ตี้” ใช้แลกเปลี่ยนกันมาตั้งแต่สมัยนอร์มันได้รับชัยชนะต่ออังกฤษ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 แต่ในภาษาอังกฤษใหม่คำว่า “ไชร์” มักจะไม่ใช้แทนที่คำว่า “เคาน์ตี้” นอกจากนั้นคำว่า “ไชร์” ยังเป็นคำที่ใช้ต่อท้ายชื่อมลฑลหลายมลฑลในอังกฤษ เช่น มลฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ หรือ มลฑลเลสเตอร์เชอร์ แต่จะออกเสียง “เชอร์” เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของชื่อมลฑล ในออสเตรเลีย “ไชร์” ยังคงใช้เป็นเขตบริหารการปกครองในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและไชร์ · ดูเพิ่มเติม »

เมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก

มอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก หรือชื่อเล่นในหมู่เพื่อนว่า เมอร์รี่ เป็นตัวละครในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นชาวฮอบบิท ในตระกูลใหญ่แห่งบั๊กแลนด์ เขาเกิดในปีที่ 2982 ของยุคที่สาม เป็นลูกชายคนเดียวของซาราด็อค แบรนดี้บั๊ก ผู้นำแคว้นบั๊กแลนด์ เขาจึงเป็นทายาทของผู้ครองแคว้น แม่ของเขาคือเอสเมอรัลดา ตุ๊ค น้องสาวของเธนพาลาดิน ตุ๊ค เมอร์รี่จึงเป็นลูกพี่ลูกน้องกับปิ๊ปปิ้น ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของเขาด้วย เมอร์รี่เป็นทั้งเพื่อนสนิทและญาติห่างๆ ของโฟรโด แบ๊กกิ้นส์ เขาชอบการพายเรือเล่น (เช่นเดียวกับชาวบั๊กแลนด์ส่วนใหญ่) และชื่นชอบการศึกษาแผนที่ เมอร์รี่ถูกกล่าวถึงหลายครั้งในหนังสือในแง่ของความเฉลียวฉล.

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและเมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก · ดูเพิ่มเติม »

เอไดน์

อไดน์ (Edain) เป็นชื่อเรียกมนุษย์ กลุ่มหนึ่ง ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน กล่าวคือ เป็นมนุษย์กลุ่มที่เดินทางเข้ามาถึงแผ่นดินเบเลริอันด์จำนวนสามตระกูลแรก นับแต่ยุคที่หนึ่งของอาร์ดา และได้เป็นสหายเอลฟ์ คำว่า 'เอไดน์' เป็นภาษาซินดาริน รูปเอกพจน์คือ อดาน (Adan) เดิมเป็นคำที่หมายถึง มนุษย์ ซึ่งเป็นบุตรแห่งอิลูวาทาร์เช่นเดียวกัน มีความหมายว่า "ทุติยชน" หรือผองชนลำดับที่สอง เนื่องจากพวกเขา "ตื่น" ขึ้นภายหลังพวกเอลฟ์ ซึ่งเป็นปฐมชน หรือผู้เกิดก่อน ในภาษาเควนยาเรียกว่า อทานิ (Atani) รูปเอกพจน์คือ อทาน (Atan) สามตระกูลใหญ่ของเอไดน์ได้แก.

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและเอไดน์ · ดูเพิ่มเติม »

เอเรียดอร์

แผนที่เอเรียดอร์ เอเรียดอร์ (Eriador) เป็นชื่อดินแดนที่ปรากฏในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน หลายๆ เรื่อง เช่น เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เดอะฮอบบิท ซิลมาริลลิออน เป็นต้น คำว่า เอเรียดอร์ เป็นภาษาซินดาริน หมายถึง 'แผ่นดินร้าง' อาณาเขตของเอเรียดอร์สังเกตได้จากแนวเทือกเขาที่ขนาบอยู่ทางด้านตะวันตก คือเทือกเขาเอเร็ดลูอิน และด้านตะวันออก คือเทือกเขามิสตี้ หรือ ฮิธายเกลียร์ ดินแดนเอเรียดอร์ในยุคบรรพกาลหรือยุคที่หนึ่งของโลกอาร์ดา เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยป่ารกทึบ เหล่าเอลฟ์ที่เดินทางออกจากทะเลสาบคุยวิเอเนนมุ่งสู่แผ่นดินตะวันตก ต้องใช้เวลาเดินทางข้ามดินแดนนี้อยู่นานนับปีกว่าจะสามารถข้ามเอเร็ดลูอินไปได้ ไม่ค่อยมีเอลฟ์อาศัยอยู่ในดินแดนนี้มากนัก หากไม่ตั้งถิ่นฐานลงทางฟากตะวันออกของเทือกเขามิสตี้ ก็มักจะเดินทางข้ามไปถึงเบเลริอันด์ได้จนหมด ในยุคที่สอง หลังจากแผ่นดินเบเลริอันด์ล่มสลายไปแล้ว เอลฟ์ที่หนีรอดมาได้ ได้ตั้งถิ่นฐานลงทางด้านใต้ของเทือกเขาเอเร็ดลูอิน (คือฟากตะวันตกสุดของเอเรียดอร์) เป็นอาณาจักรลินดอน อีกพวกหนึ่งบุกเบิกไกลออกไปทางตะวันออก และตั้งอาณาจักรเอเรกิออนที่เชิงเขาฮิธายเกลียร์ (คือฟากตะวันออกสุดของเอเรียดอร์) ดินแดนช่วงกึ่งกลางยังคงถูกทิ้งเป็นป่ารกทึบ เมื่อถึงสมัยของ ทาร์-อัลดาริออน กษัตริย์นักเดินเรือแห่งนูเมนอร์ ชาวนูเมนอร์ได้เดินทางมาบุกเบิกดินแดนบนมิดเดิลเอิร์ธ โดยสร้างท่าเรือที่ปากแม่น้ำเกรย์ฟลัด แล้วแผ้วถางผืนป่าในเขตเอเน็ดไวธ์ (Enedwaith) เรื่อยขึ้นไปจนถึงปากแม่น้ำฮอร์เวล แล้วตั้งเมืองขึ้นชื่อว่า เมืองธาร์บัด (เมืองนี้เมื่อถึงยุคที่สามได้กลายเป็นเมืองร้าง) ทำให้ผืนป่าเอเน็ดไวธ์กลายเป็นที่ราบกว้างใหญ่ดังที่ปรากฏในยุคที่สาม คงเหลือเขตป่าเพียงเล็กน้อยอันเป็นที่อยู่อาศัยของชาวดันแลนด์ ตอนกลางของแผ่นดินเอเรียดอร์ ถูกบุกเบิกโดยชาวฮอบบิทนักผจญภัยสองคน และต่อมาได้กลายเป็นอาณาจักรไชร์ มีถนนสายสำคัญตัดผ่านกลางเอเรียดอร์สองสาย ได้แก.

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและเอเรียดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปเรกริน ตุ๊ก

ปเรกริน ตุ๊ก (Peregrin Took) หรือที่เพื่อนๆ ชอบเรียกชื่อเล่นว่า ปิ๊ปปิ้น เป็นตัวละครในนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปิ๊ปปิ้นเป็นฮอบบิทที่ได้ร่วมคณะพันธมิตรแห่งแหวน ร่วมเดินทางไปกับ โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ เขาเป็นสหายอายุน้อยที่สุดของโฟรโด และยังเป็นญาติของโฟรโดด้วย ปิ๊บปิ้นเป็นลูกชายคนเดียวของพาลาดิน ตุ๊ก ที่สอง เธนแห่งไชร์ (คือตำแหน่งประมุขสูงสุดผู้ครองแคว้น) เขาจึงได้สืบทอดตำแหน่งเธนหลังจากบิดาถึงแก่กรรมในปีที่ 13 ของยุคที่สี่ ปิ๊บปิ้นมีพี่สาวอีกสามคนคือ เพิร์ล, พิมเพอร์เนล และเพอร์วินคา ตุ๊ก เพื่อนสนิทของปิ๊ปปิ้น คือ เมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก (เมอร์รี่) ยังเป็นลูกพี่ลูกน้องกับเขาด้วย เพราะเมอร์รี่เป็นลูกชายของเอสเมอรัลดา แบรนดี้บั๊ก ซึ่งเป็นน้องสาวของเธนพาลาดิน.

ใหม่!!: ภาษาเวสทรอนและเปเรกริน ตุ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »