เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ภาษาเปอร์เซียและเอเชียกลาง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาษาเปอร์เซียและเอเชียกลาง

ภาษาเปอร์เซีย vs. เอเชียกลาง

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร. แผนที่เอเชียกลางแสดงเขตแดนตามคำนิยามที่ต่างกัน 3 แบบ เอเชียกลาง(อังกฤษ: Central Asia หรือ Middle Asia รัสเซีย: Центральная Азия) เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกทะเล มีคำนิยามที่ต่างกันออกไปสำหรับขอบเขตของดินแดนที่จัดอยู่ในภูมิภาคเป็นเอเชียกลาง และยังไม่มีคำนิยามใดที่เป็นที่ยอมรับโดยส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามลักษณะโดยทั่วไปของดินแดนในภูมิภาคนี้คือ มีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับกลุ่มชนร่อนเร่ (nomad) และ เส้นทางสายไหม ซึ่งทำให้ในอดีตนั้นดินแดนในภูมิภาคนี้เป็นเสมือนเส้นทางของ สินค้า คน รวมถึง แนวความคิด ระหว่างยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาษาเปอร์เซียและเอเชียกลาง

ภาษาเปอร์เซียและเอเชียกลาง มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษารัสเซียภาษาราชการภาษาอุซเบกภาษาทาจิกภาษาเติร์กเมนประเทศอัฟกานิสถานประเทศอิหร่านประเทศอินเดีย

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

ภาษารัสเซียและภาษาเปอร์เซีย · ภาษารัสเซียและเอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาราชการ

ษาทางการ หรือ ภาษาราชการ คือภาษาที่มีการกำหนดให้เป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสารภายในประเทศและเขตแดนที่ติดต่อกับประเทศนั้น บางครั้งภาษาท้องถิ่นถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาษาทางการเพราะมีการใช้การติดต่อกับทางส่วนการปกครองของท้องที่นั้น ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่มีภาษาทางการ 1 ภาษา บางประเทศมีภาษาทางการ 2 ภาษาขึ้นไป เช่น เบลเยียม แคนาดา ฟินแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ ขณะเดียวกันบางประเทศไม่มีภาษาทางการ เช่น สหรัฐอเมริกา สวีเดน ฯลฯ ภาษาทางการของบางประเทศที่อยู่ภายใต้อาณานิคม เช่น ภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส ถูกใช้เป็นภาษาทางการ ถึงแม้ว่าไม่ใช่ภาษาที่มีการใช้เป็นหลักในประเทศนั้นๆ ในประเทศไอร์แลนด์ ภาษาไอร์แลนด์ (ไอริช) เป็นภาษาทางการและเป็นภาษาประจำชาติของประเทศ แต่มีผู้ใช้ภาษาไอร์แลนด์น้อยกว่า 1 ใน 3 ของประชากรประเทศ ขณะที่ผู้คนส่วนมากใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ในบางประเทศมีการโต้เถียงอย่างรุนแรง ในประเด็นที่ว่าควรใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการของประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้น ใช้ภาษาไทยมาตรฐาน เป็น "ภาษากลาง" ที่ได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาจากภาษาไทยถิ่นกลางมาโดยลำดับ จนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นกลางอื่นๆ เรียกอีกอย่างว่าเป็นภาษาหนังสือ เป็นภาษาที่ใช้ในเอกสารราชการ การประชุมที่เป็นทางการ หนังสือ และตำราต่างๆ โดยปรากฏแนวการพัฒนาเป็นภาษากลางตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5.

ภาษาราชการและภาษาเปอร์เซีย · ภาษาราชการและเอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอุซเบก

ษาอุซเบก (อักษรละติน: O'zbek tili ออซเบก ติลี; อักษรซีริลลิก: Ўзбек) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่พูดโดยชาว อุซเบกในประเทศอุซเบกิสถานและพื้นที่อื่น ๆ ในเอเชียกลาง ภาษาที่ใกล้เคียงที่สุดในเชิงคำและไวยากรณ์คือภาษาอุยกูร์ ภาษาเปอร์เซียและภาษารัสเซียได้มีอิทธิพลสำคัญต่อภาษาอุซเบก ภาษาอุซเบกเป็นภาษาราชการของประเทศอุซเบกิสถาน และมีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 18.5 ล้านคน ภาษาอุซเบกก่อนปีพ.ศ. 2535 เขียนด้วยอักษรซีริลลิก แต่ในปัจจุบีนมีการใช้อักษรละตินเขียนในประเทศอุซเบกิสถาน ส่วนชาวจีนที่พูดภาษาอุซเบกใช้อักษรอาหรับเขียน อิทธิพลของศาสนาอิสลามรวมถึงภาษาอาหรับแสดงชัดเจนในภาษาอุซเบก รวมถึงอิทธิพลของภาษารัสเซียในช่วงที่ประเทศอุซเบกิสถานอยู่ภายใต้การยึดครองของจักรวรรดิรัสเซีย และ โซเวียต คำภาษาอาหรับส่วนใหญ่ผ่านเข้ามายังภาษาอุซเบกผ่านทางภาษาเปอร์เซีย ภาษาอุซเบกแบ่งเป็นภาษาย่อย ๆ จำนวนมาก ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างภูมิภาค อย่างไรก็ดี มีภาษาย่อยที่เข้าใจกันทั่วไป ซึ่งใช้ในสื่อมวลชนและในสิ่งตีพิมพ์ส่วนใหญ่ นักภาษาศาสตร์บางคนถือว่าภาษาที่พูดในประเทศอัฟกานิสถานตอนเหนือโดยชาวอุซเบกพื้นเมือง เป็นภาษาย่อยของภาษาอุซเบก.

ภาษาอุซเบกและภาษาเปอร์เซีย · ภาษาอุซเบกและเอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทาจิก

ษาทาจิก (Tajik Persian หรือ Tajik language หรือ Tajiki;Tadjik หรือ Tadzhik;,อักษรอาหรับเปอร์เซีย تاجیکی‎, tojikī โทจิกิ),тоҷикӣ) เป็นรูปแบบสมัยใหม่แบบหนึ่งของภาษาเปอร์เซีย ที่พูดในเอเชียกลาง เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ใน กลุ่มภาษาอิเรเนียน คนที่พูดภาษาทาจิกส่วนใหญ่อาศัยในประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอุซเบกิสถาน ประเทศอัฟกานิสถาน และตะวันตกของปากีสถาน แต่ผู้พูดภาษาทาจิกประมาณ 30,000 คน ใกล้ชายแดนประเทศทาจิกิสถานในประเทศจีน) เป็นภาษาราชการของประเทศทาจิกิสถาน ภาษาทาจิก ที่เป็นภาษาราชการของทาจิกิสถาน ต่างจากภาษาเปอร์เซียที่ใช้พูดในอิหร่านและอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นผลมาจากการแบ่งแยกดินแดนทางการเมือง การแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์และการจัดมาตรฐานทางภาษา รวมทั้งอิทธิพลของภาษารัสเซียและภาษากลุ่มเตอร์กิกที่อยู่รอบๆ มาตรฐานของภาษานี้ยึดตามสำเนียงตะวันตกเฉียงเหนือของทาจิกิสถานซึ่งเป็นเมืองเก่าของซามาร์คันฑ์ และได้รับอิทธิพลจากภาษาอุซเบกด้วย ภาษาทาจิกมีหน่วยคำในคำศัพท์ การออกเสียงและไวยากรณ์ซึ่งไม่มีในภาษาเปอร์เซียที่พูดในที่อื่น ซึ่งน่าจะเป็นมาจากการที่ถูกแบ่งแยกโดยภูมิศาสตร์เขตเทือกเขาของเอเชียกลาง.

ภาษาทาจิกและภาษาเปอร์เซีย · ภาษาทาจิกและเอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเติร์กเมน

ษาเติร์กเมน (Turkmen, Туркмен, ISO 639-1: tk, ISO 639-2: tuk) คือชื่อภาษาราชการของประเทศเติร์กเมนิสถาน.

ภาษาเติร์กเมนและภาษาเปอร์เซีย · ภาษาเติร์กเมนและเอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (Afghanistan; افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก.

ประเทศอัฟกานิสถานและภาษาเปอร์เซีย · ประเทศอัฟกานิสถานและเอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ประเทศอิหร่านและภาษาเปอร์เซีย · ประเทศอิหร่านและเอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ประเทศอินเดียและภาษาเปอร์เซีย · ประเทศอินเดียและเอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาษาเปอร์เซียและเอเชียกลาง

ภาษาเปอร์เซีย มี 68 ความสัมพันธ์ขณะที่ เอเชียกลาง มี 46 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 7.02% = 8 / (68 + 46)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษาเปอร์เซียและเอเชียกลาง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: