โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาเปอร์เซีย

ดัชนี ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

68 ความสัมพันธ์: ชาวอาหรับพระเจ้าไซรัสมหาราชพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านกลุ่มภาษาเตอร์กิกภาษาบราฮุยภาษาชะกะไตภาษาบาลูจิภาษาพาร์เทียนภาษาฝรั่งเศสภาษามองโกเลียภาษายูฮูรีภาษารัสเซียภาษาราชการภาษาละตินภาษาลูรีภาษาสวาฮีลีภาษาอังกฤษภาษาอาร์มีเนียภาษาอาหรับภาษาอาเซอร์ไบจานภาษาอุซเบกภาษาอูรดูภาษาอเวสตะภาษาฮินดีภาษาจอร์เจียภาษาทาจิกภาษาดารีภาษาคิเลกิภาษาตัตภาษาตาตาร์ภาษาตุรกีภาษาตุรกีออตโตมันภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรียภาษาโครเอเชียภาษาเตลูกูภาษาเติร์กเมนภาษาเซอร์เบียยุโรปตะวันออกศาสนาโซโรอัสเตอร์สัทอักษรสากลอักษรรูปลิ่มอักษรอาหรับอักษรอเวสตะอักษรซีริลลิกอักษรแอราเมอิกอักษรเปอร์เซียกลางจักรวรรดิมองโกลจักรวรรดิโมกุลจักรวรรดิเปอร์เชีย...จารึกเบฮิสตูนตระกูลภาษาอัลไตตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนตระกูลภาษาดราวิเดียนตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาประเทศบาห์เรนประเทศรัสเซียประเทศอัฟกานิสถานประเทศอาเซอร์ไบจานประเทศอิหร่านประเทศอินเดียประเทศอุซเบกิสถานประเทศทาจิกิสถานเมโสโปเตเมียเอเชียกลางISO 639-1ISO 639-3 ขยายดัชนี (18 มากกว่า) »

ชาวอาหรับ

วอาหรับ (عرب) เป็นกลุ่มชนเซมิติกที่พูดภาษาอาหรับโดยมีประชากรอาศัยในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และแอฟริกาเหนือ ซึ่งกลุ่มชาวอาหรับประกอบด้วยชาวเลบานอน, ชาวซีเรีย, ชาวเอมิเรตส์, ชาวกาตาร์, ชาวซาอุดี, ชาวบาห์เรน, ชาวคูเวต, ชาวอิรัก, ชาวโอมาน, ชาวจอร์แดน, ชาวปาเลสไตน์, ชาวเยเมน, ชาวซูดาน, ชาวแอลจีเรีย, ชาวโมร็อกโก, ชาวตูนีเซีย, ชาวลิเบีย และชาวอียิปต.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและชาวอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าไซรัสมหาราช

พระเจ้าไซรัสที่ 2 แห่งเปอร์เซีย (Cyrus II of Persia, کوروش, คูรูฌ) หรือพระคริสตธรรมเรียก ไซรัสกษัตริย์ของเปอร์เซีย (Cyrus king of Persia) หรือมักเรียกกันว่า พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great; ประสูติราวปีที่ 600 หรือ 576 ก่อนคริสตกาล, สวรรคตเมื่อ 4 ธันวาคม ปีที่ 530 ก่อนคริสตกาล) เป็นปฐมกษัตริย์แห่งจักรวรรดิอาคีเมนิด (Achaemenid Empire) ซึ่งพระองค์ทรงผนวกขึ้นจากอารยรัฐแถบตะวันออกใกล้แต่เดิม และทรงขยายจนเจริญกว้างขวางกระทั่งทรงมีชัยเหนือเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียกลางส่วนใหญ่ ยุโรปบางส่วน และคอเคซัส (Caucasus) ด้วย พระองค์จึงเฉลิมนามรัชกาลว่า "พระมหาราชผู้เป็นพระเจ้ากรุงเปอร์เซีย พระเจ้ากรุงอันชัน พระเจ้ากรุงมีเดีย พระเจ้ากรุงแบบาลอน พระเจ้ากรุงซูเมอร์กับแอแกด พระเจ้าแว่นแคว้นทั้งสี่แห่งแผ่นดินโลก" ในราวปีที่ 539 ถึง 530 ก่อนคริสตกาล พระองค์ยังได้ตราจารึกทรงกระบอก เรียก "กระบอกพระเจ้าไซรัส" (Cyrus Cylinder) มีเนื้อหาซึ่งถือกันว่าเป็นประกาศสิทธิมนุษยชนฉบับต้น ๆ ของโลกด้วย หมวดหมู่:บุคคลในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์อาร์เคเมนิด หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์เปอร์เซีย.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและพระเจ้าไซรัสมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด

''พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด'' ฉบับตีพิมพ์ พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด (Oxford English Dictionary; OED) เป็นพจนานุกรม ที่ตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ปกติถือเป็นพจนานุกรมภาษาอังกฤษเชิงวิชาการและละเอียดที่สุด โดยมีรายการหลักประมาณ 301,100 รายการ (สถิติล่าสุด 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005) และมีตัวอักษรทั้งหมดมากกว่า 350 ล้านตัว นอกจากคำหลักของรายการหลักแล้ว ยังมีคำประสม และคำแผลงพิมพ์ตัวหนา 157,000 คำ ขณะที่มีวลีและวลีย่อยพิมพ์ตัวหนา 169,000 รายการ ทำให้มีลูกคำทั้งหมด 616,500 คำ นอกจากนี้ยังมีการเขียนคำอ่าน 137,000 คำ, รากศัพท์หรือที่มา 249,300 คำ ศัพท์เชื่อมโยง (cross-references) 577,000 มีจำนวนหน้า 21,730 หน้า และรายการศัพท์ทั้งหมด 291,500 รายการ นโยบายของพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด คือ พยายามที่จะบันทึกการใช้งานและลักษณะแปรผันทั้งหมดเท่าที่ทราบ ในทุกลักษณะของปลีกย่อยของภาษาอังกฤษ ที่ใช้กันทั่วโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของคำนำฉบับพิมพ์ ค.ศ. 1933 มีดังนี้ พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด คือจุดเริ่มต้นของงานที่เน้นวิชาการที่เข้มข้น ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ การเลือกลำดับในการสะกดแบบต่างๆ ของคำหลักนั้น มีอิทธิพลต่อการเขียนภาษาอังกฤษในหลายประเท.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน หรืออินโด-อิราเนียนเป็นสาขาทางตะวันออกสุดของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนประกอยด้วย 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน กลุ่มภาษาอิราเนียน และกลุ่มภาษาดาร์ดิก มีการใช้คำว่า "อารยัน" ในการอ้างถีงกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านจากทฤษฎีส่วนใหญ่เกี่ยวกับการอพยพของชาวอารยัน คนที่พูดภาษาโปรโต-อินโด-อิราเนียนที่เรียกตัวเองว่าอารยัน ตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้และตะวันออกของทะเลสาบแคสเปียนในอินเดียเหนือ ปากีสถาน อิหร่าน และอัฟกานิสถาน คาดว่าการแพร่กระจายเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์รถม้.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเตอร์กิก

กลุ่มภาษาเตอร์กิกเป็นกลุ่มของภาษาที่แพร่กระจายจากยุโรปตะวันออก ผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปถึงไซบีเรียและจีนตะวันตก และจัดเป็นส่วนหนึ่งของสมมติฐานตระกูลภาษาอัลไตอิก กลุ่มภาษานี้มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 180 ล้านคน ถ้ารวมผู้ที่พูดเป็นภาษาที่สองด้วยมีราว 200 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผู้พูดภาษาตุรกี ซึ่งคิดเป็น 40%ของผู้พูดกลุ่มภาษานี้ทั้งหม.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและกลุ่มภาษาเตอร์กิก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบราฮุย

ภาษาบราฮุย (بروہی) เป็นภาษาที่ใช้พูดในบาโลชิสถาน ประเทศปากีสถาน รวมถึงอัฟกานิสถานและอิหร่านโดยชาวบราฮุย มีรายงานว่ามีผู้พูดในปากีสถาน 2 ล้านคน (2541) ในปากีสถานส่วนใหญ่พูดในเขตกาลัตของบาโลชิสถาน เป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่ได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มอิหร่านมาก เช่นจากภาษาบาโลชิ เชื่อว่าเป็นส่วนที่เหลืออยู่ของภาษากลุ่มดราวิเดียนที่เคยแพร่กระจายในบริเวณดังกล่าว ก่อนที่ชาวอารยันจะอพยพเข้ามา นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่า ชาวบราฮุยเป็นลุกหลานของกลุ่มชนที่เจ้าของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ขณะที่สมมติฐานอื่นเชื่อว่าภาษานี้เกิดจากการกลมกลืนกันของภาษากลุ่มดราวิเดียนและอินโด-อารยันในยุคก่อนพระเวท บราฮุย บราฮุย บราฮุย.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาบราฮุย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาชะกะไต

ษาชะกะไต (ภาษาชะกะไต: جغتای; ภาษาตุรกี: Çağatayca; ภาษาอุยกูร์: چاغاتاي Chaghatay; ภาษาอุซเบก: ﭼىﻐﺎتوي Chig'atoy) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่ตายแล้ว เคยใช้พูดในเอเชียกลางและบริเวณโคราซาน คำว่า “ชะกะไต” มีความเกี่ยวพันกับเขตของชะกะไตข่านทางตะวันตกของจักรวรรดิมองโกเลียที่อยู่ในความครอบครองของชะกะไตข่าน ลูกชายคนที่สองของเจงกีสข่าน ชาวตุรกีชะกะไตและชาวตาตาร์จำนวนมากที่เคยพูดภาษานี้เป็นลูกหลานที่สืบตระกูลมาจากชะกะไตข่าน.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาชะกะไต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลูจิ

ษาบาลูจิ (Balochi language) เป็นภาษาที่พูดทางตะวันตกเฉียงเหนือในอิหร่าน เป็นภาษาหลักของชาวบาลูจิในบาลูจิสถานซึ่งอยู่ในปากีสถานตะวันตก อิหร่านตะวันออก และอัฟกานิสถานตอนใต้ เป็นภาษาราชการ 1 ใน 9 ภาษาของปากีสถาน.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาบาลูจิ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพาร์เทียน

ภาษาพาร์เทียน เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือโบราณที่ตายแล้ว จุดกำเนิดของภาษาอยู่ที่พาร์เทีย (ในอิหร่าน) และเป็นภาษาราชการ ในจักรวรรดิ่พาร์เทีย ยุคราชวงศ์อาร์ซาคิด (พ.ศ. 295 –767) โดยทั่วไป มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาอิหร่านตะวันออก ซึ่งอาจเป็นเพราะชนเผ่าพาร์เทีย อพยพจากเอเชียกลางเข้าสู่พาร์เทีย ภาษาดั้งเดิมของชนเผ่านี้ใกล้เคียงกับภาษาไซเทีย ภาษาซอกเดียและภาษาแบคเทรีย พาร์เทียน.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาพาร์เทียน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามองโกเลีย

ษามองโกเลีย เป็นภาษาทางการของประเทศมองโกเลีย และเป็นภาษาหลักของชาวมองโกเลียส่วนใหญ่ ซึ่งคนพูดส่วนใหญ่จะพูดแบบคอลคา (Khalkha) นอกจากนี้ ภาษามองโกเลียก็พูดในพื้นที่รอบนอกในบางมณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหพันธรัฐรัสเซีย ภาษามองโกเลีย เป็นภาษารูปคำติดต่อคล้ายภาษาตุรกีหรือภาษาฟินน์ มีการเติมปัจจัยที่รากศัพท์ ภาษามองโกเลียมีเพียงสรรพนามบุรุษที่หนึ่งและสอง แต่ไม่มีบุรุษที่สาม แต่ใช้สรรพนามชี้เฉพาะ เช่น นี่ (en) นั่น (ter) นี่ทั้งหลาย (ed nar) และนั่นทั้งหลาย (ted nar) แทน.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษามองโกเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษายูฮูรี

ษายูฮูรี(Juhuri) หรือภาษาตัตของชาวยิว (Judæo-Tat) หรือ ภาษายูวูรี (Juwuri; çuhuri / жугьури / ז'אוּהאוּראִ) เป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาตัต และเป็นภาษาพื้นเมืองในบริเวณตะวันออกของเทือกเขาคอเคซัสโดยเฉพาะอาเซอร์ไบจานและดาเกสถาน รวมทั้งในอิสราเอล ภาษานี้ใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซีย อยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้ ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ภาษาที่ใกล้เคียงกันคือภาษาตัตของชาวมุสลิมในอาเซอร์ไบจาน คำว่ายูฮูรีและยูฮูโรแปลตรงตัวหมายถึงของยิว และชาวยิว ภาษายูฮูรีนี้มีลักษณะของกลุ่มภาษาเซมิติกปนอยู่มาก มีเสียง "ayin" (ע) ซึ่งภาษาในบริเวณนั้นไม่มีเสียงนี้.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษายูฮูรี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษารัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาราชการ

ษาทางการ หรือ ภาษาราชการ คือภาษาที่มีการกำหนดให้เป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสารภายในประเทศและเขตแดนที่ติดต่อกับประเทศนั้น บางครั้งภาษาท้องถิ่นถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาษาทางการเพราะมีการใช้การติดต่อกับทางส่วนการปกครองของท้องที่นั้น ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่มีภาษาทางการ 1 ภาษา บางประเทศมีภาษาทางการ 2 ภาษาขึ้นไป เช่น เบลเยียม แคนาดา ฟินแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ ขณะเดียวกันบางประเทศไม่มีภาษาทางการ เช่น สหรัฐอเมริกา สวีเดน ฯลฯ ภาษาทางการของบางประเทศที่อยู่ภายใต้อาณานิคม เช่น ภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส ถูกใช้เป็นภาษาทางการ ถึงแม้ว่าไม่ใช่ภาษาที่มีการใช้เป็นหลักในประเทศนั้นๆ ในประเทศไอร์แลนด์ ภาษาไอร์แลนด์ (ไอริช) เป็นภาษาทางการและเป็นภาษาประจำชาติของประเทศ แต่มีผู้ใช้ภาษาไอร์แลนด์น้อยกว่า 1 ใน 3 ของประชากรประเทศ ขณะที่ผู้คนส่วนมากใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ในบางประเทศมีการโต้เถียงอย่างรุนแรง ในประเด็นที่ว่าควรใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการของประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้น ใช้ภาษาไทยมาตรฐาน เป็น "ภาษากลาง" ที่ได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาจากภาษาไทยถิ่นกลางมาโดยลำดับ จนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นกลางอื่นๆ เรียกอีกอย่างว่าเป็นภาษาหนังสือ เป็นภาษาที่ใช้ในเอกสารราชการ การประชุมที่เป็นทางการ หนังสือ และตำราต่างๆ โดยปรากฏแนวการพัฒนาเป็นภาษากลางตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาราชการ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลูรี

ภาษาลูรี (ภาษาเปอร์เซีย لُری, สัทอักษร: /loriː/, /luriː/) เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้ ใช้พูดโดยชาวลูร์ซและชาวแบกเทรียในจังหวัดโลเรสถาน อีแลม ชาฮัร มาฮาลและแบกเทียรีโกกิลุเยห์และบูเยอร์ อะห์หมัด และบางส่วนของคุเซสถานและฮามาดาน ประเทศอิหร่าน เป็นลูกหลานของภาษาเปอร์เซียกลางและมีรากศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซีย ภาษาลูรีเป็นภาษาที่เชื่อมต่อระหว่างภาษาเปอร์เซียกับภาษาเคิร์ดสำเนียงต่างๆ ภาษาลูรีแบ่งเป็นสามสำเนียงคือสำเนียงโลริสถาน สำเนียงแบกเทรีย และสำเนียงโลรีใต้ แม้ว่าภาษาลูรีจะเป็นภาษาเอกเทศ แต่ก็มีความเห็นอย่างอื่นอีก และมีนักวิชาการจำนวนหนึ่งเสนอให้แบ่งภาษาลูรีเป็นหลายภาษา ทั้งนี้ มีลักษณะร่วมกันมากระหว่างภาษาเคิร์ดใต้กับสำเนียงแบกเทรีย บางครั้งจึงถือว่าสำเนียงแบกเทรียเป็นภาษาเชื่อมต่อระหว่างภาษาเคิร์ดกับภาษาเปอร์เซีย ลูรี.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาลูรี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสวาฮีลี

ษาสวาฮีลี (หรือ คิสวาฮีลี) เป็นภาษากลุ่มแบนตูที่พูดอย่างกว้างขวางในแอฟริกาตะวันออก ภาษาสวาฮีลีเป็นภาษาแม่ของชาวสวาฮีลี ซึ่งอาศัยอยู่แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออกระหว่างประเทศโซมาเลียตอนใต้ ประเทศโมแซมบิกตอนเหนือ มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 5 ล้านคนและคนพูดเป็นภาษาที่สองประมาณ 30-50 ล้านคน ภาษาสวาฮีลีได้กลายเป็นภาษาที่ใช้โดยทั่วไปในแอฟริกาตะวันออกและพื้นที่รอบ ๆ คำว่า Swahili มาจากรูปพหูพจน์ของคำภาษาอาหรับ sahel ساحل (เอกพจน์) คือ sawahil سواحل แปลว่า "ขอบเขต" และ "ชายฝั่ง" (ใช้เป็นคำวิเศษณ์ที่แปลว่า "คนที่อาศัยอยู่ชายฝั่ง" หรือ "ภาษาชายฝั่ง") นอกจากนี้ คำว่า sahel ใช้เรียกพื้นที่พรมแดนของทะเลทรายซาฮารา การเพิ่ม "i" ตรงท้ายน่าจะมาจาก nisba ของภาษาอาหรับ (ของชายฝั่ง سواحلي) บ้างก็ว่าเป็นเหตุผลทางสัทศาสตร.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาสวาฮีลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาร์มีเนีย

ภาษาอาร์มีเนีย (Armenian language) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ที่พูดในเทือกเขาคอเคซัส (โดยเฉพาะในประเทศอาร์มีเนีย) และใช้โดยชุมชนชาวอาร์มีเนียในต่างประเทศ เป็นแขนงย่อยของตัวเองในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน โดยที่ไม่มีภาษาที่ใกล้เคียงที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในปัจจุบัน มีหลายคนเชื่อว่าภาษาอาร์มีเนียเป็นภาษาที่สัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษาฟรีเจียน (Phrygian) ที่สูญพันธุ์ จากภาษาที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ภาษากรีกน่าจะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้เคียงทีสุดกับภาษาอาร์มีเนีย ภาษาอาร์มีเนียมีคำยืมจากภาษาเปอร์เซีย ซึ่งเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนด้วย อาร์มเนเอีย หมวดหมู่:ประเทศอาร์มีเนีย.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาอาร์มีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาเซอร์ไบจาน

thumbnail ภาษาอาเซอรี หรือ ภาษาอาเซอร์ไบจาน เป็นภาษาราชการของประเทศอาเซอร์ไบจาน มีชื่อเรียกในภาษาของตนว่า Azərbaycan dili บางสำเนียงของภาษานี้ใช้พูดในอิหร่าน ซึ่งใช้เป็นภาษากลางระหว่างภาษาส่วนน้อยอื่นๆคือ ภาษาเคิร์ด ภาษาอาร์มีเนียและภาษาตาเลชิ มีผู้พูดภาษานี้ในสาธารณรัฐดาเกสถานในรัสเซีย จอร์เจียตะวันตกเฉียงใต้ อิหร่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกของตุรกี เป็นภาษาในกลุ่มภาษาอัลไตอิก มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 23 – 30 ล้านคน โดยมีราว 16- 23 ล้านคนในอิหร่านและ 7 ล้านคนในอาเซอร์ไบจาน และ 800,000 ในที่อื่นๆ เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ใกล้เคียงกับภาษาตุรกี ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ผู้พูดภาษานี้พอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิก สาขาโอคุซอื่นๆ เช่น ภาษาตุรกี ที่ใช้พูดในตุรกี ไซปรัสและแหลมบอลข่าน รวมทั้งภาษาเติร์กเมนด้ว.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาอาเซอร์ไบจาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอุซเบก

ษาอุซเบก (อักษรละติน: O'zbek tili ออซเบก ติลี; อักษรซีริลลิก: Ўзбек) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่พูดโดยชาว อุซเบกในประเทศอุซเบกิสถานและพื้นที่อื่น ๆ ในเอเชียกลาง ภาษาที่ใกล้เคียงที่สุดในเชิงคำและไวยากรณ์คือภาษาอุยกูร์ ภาษาเปอร์เซียและภาษารัสเซียได้มีอิทธิพลสำคัญต่อภาษาอุซเบก ภาษาอุซเบกเป็นภาษาราชการของประเทศอุซเบกิสถาน และมีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 18.5 ล้านคน ภาษาอุซเบกก่อนปีพ.ศ. 2535 เขียนด้วยอักษรซีริลลิก แต่ในปัจจุบีนมีการใช้อักษรละตินเขียนในประเทศอุซเบกิสถาน ส่วนชาวจีนที่พูดภาษาอุซเบกใช้อักษรอาหรับเขียน อิทธิพลของศาสนาอิสลามรวมถึงภาษาอาหรับแสดงชัดเจนในภาษาอุซเบก รวมถึงอิทธิพลของภาษารัสเซียในช่วงที่ประเทศอุซเบกิสถานอยู่ภายใต้การยึดครองของจักรวรรดิรัสเซีย และ โซเวียต คำภาษาอาหรับส่วนใหญ่ผ่านเข้ามายังภาษาอุซเบกผ่านทางภาษาเปอร์เซีย ภาษาอุซเบกแบ่งเป็นภาษาย่อย ๆ จำนวนมาก ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างภูมิภาค อย่างไรก็ดี มีภาษาย่อยที่เข้าใจกันทั่วไป ซึ่งใช้ในสื่อมวลชนและในสิ่งตีพิมพ์ส่วนใหญ่ นักภาษาศาสตร์บางคนถือว่าภาษาที่พูดในประเทศอัฟกานิสถานตอนเหนือโดยชาวอุซเบกพื้นเมือง เป็นภาษาย่อยของภาษาอุซเบก.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาอุซเบก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอูรดู

ษาอูรดู (اردو) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งพัฒนามาจากหลายภาษารวมกันคือ ภาษาเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับ ฮินดี และ สันสกฤต นิยมใช้กันมากในช่วงสมัยรัฐสุลต่านเดลฮี และจักรวรรดิโมกุล (ค.ศ.๑๒๐๐ - ๑๘๐๐) ภาษาอูรดู อยู่ในอันดับที่ ๒๐ ของภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่ และเป็นภาษาราชการของประเทศปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นภาษาหนึ่งในภาษาราชการ ๒๓ ภาษา ของประเทศอินเดี.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาอูรดู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอเวสตะ

ษาอเวสตะ (Avestan language) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของชาวอิหร่านโบราณ มีอายุไล่เลี่ยกับ ภาษาพระเวท หรือ ภาษาไวทิกะ ซึ่งเป็นภาษาบันทึกคัมภีร์พระเวทของฝ่ายอินเดีย ภาษาอเวสตะเป็นภาษาที่บันทึกความเชื่อทางศาสนาของคนอิหร่านโบราณที่เก่าแก่ที่สุดของชาตินี้ ใช้ในบทสวดมนต์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ภาษาอเวสตะจัดอยู่ในตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป สาขาย่อยอินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน)เป็นภาษากลุ่มอิหร่านที่เก่าสุดเท่าที่มีหลักฐาน เช่นเดียวกับภาษาเปอร์เซียโบราณ เขียนด้วยอักษรอเวสตะ ภาษานี้แบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือ.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาอเวสตะ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮินดี

ษาฮินดีเป็นภาษาที่พูด ส่วนใหญ่ในประเทศอินเดียเหนือและกลาง เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในกลุ่มย่อย อินโด-อิหร่าน มีวิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤต ในสาขาอินโด-อารยันกลาง ของยุคกลาง และมีวิวัฒนาการทางอ้อมจากภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดีได้นำคำศัพท์ชั้นสูงส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ เนื่องจากอิทธิพลของชาวมุสลิมในอินเดียเหนือ ภาษาฮินดียังมีคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และ ภาษาตุรกี เป็นจำนวนมาก และในที่สุดได้ก่อให้เกิดภาษาอูรดูขึ้น สำหรับภาษา"ฮินดีมาตรฐาน" หรือ "ฮินดีแท้" นั้น มีใช้เฉพะการสื่อสารที่เป็นทางการ ขณะที่ภาษาซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นย่อย ของภาษาฮินดูสตานี ในแง่ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์นั้น ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน แตกต่างตรงที่ ภาษาฮินดีนั้นเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (Devanāgarī) ขณะที่ภาษาอูรดูนั้น เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและอาหรั.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาฮินดี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจอร์เจีย

ษาจอร์เจีย หรือ ภาษาคาร์ตเวเลียน (Kartuli; Georgian, Kartvelian) เป็นภาษาทางการของประเทศจอร์เจีย ซึ่งเป็นสาธารณรัฐในเทือกเขาคอเคซัส เป็นภาษาหลักของประชากรประมาณ 4,000,000 คนในประเทศจอร์เจียเอง (คิดเป็น 83% ของประชากร) และอีก 3.4 ล้านคนในประเทศอื่น ๆ (ส่วนใหญ่ใน ตุรกี รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ยุโรป และชุมชนขนาดเล็กในอิหร่านและอาเซอร์ไบจาน) เป็นภาษาทางวรรณกรรมสำหรับ กลุ่มชนชาติทางมานุษยวิทยาของชาวจอร์เจียทั้งหมด โดยเฉพาะคนที่พูดภาษาคอเคซัสใต้ภาษาอื่น ๆ ได้แก่ ชาวสวาน (Svan), ชาวเมเกรเลียน (Megrelian), และลาซ (Laz) จอร์จเอีย จอร์จเอีย จอร์จเอีย จอร์จเอีย.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาจอร์เจีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทาจิก

ษาทาจิก (Tajik Persian หรือ Tajik language หรือ Tajiki;Tadjik หรือ Tadzhik;,อักษรอาหรับเปอร์เซีย تاجیکی‎, tojikī โทจิกิ),тоҷикӣ) เป็นรูปแบบสมัยใหม่แบบหนึ่งของภาษาเปอร์เซีย ที่พูดในเอเชียกลาง เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ใน กลุ่มภาษาอิเรเนียน คนที่พูดภาษาทาจิกส่วนใหญ่อาศัยในประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอุซเบกิสถาน ประเทศอัฟกานิสถาน และตะวันตกของปากีสถาน แต่ผู้พูดภาษาทาจิกประมาณ 30,000 คน ใกล้ชายแดนประเทศทาจิกิสถานในประเทศจีน) เป็นภาษาราชการของประเทศทาจิกิสถาน ภาษาทาจิก ที่เป็นภาษาราชการของทาจิกิสถาน ต่างจากภาษาเปอร์เซียที่ใช้พูดในอิหร่านและอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นผลมาจากการแบ่งแยกดินแดนทางการเมือง การแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์และการจัดมาตรฐานทางภาษา รวมทั้งอิทธิพลของภาษารัสเซียและภาษากลุ่มเตอร์กิกที่อยู่รอบๆ มาตรฐานของภาษานี้ยึดตามสำเนียงตะวันตกเฉียงเหนือของทาจิกิสถานซึ่งเป็นเมืองเก่าของซามาร์คันฑ์ และได้รับอิทธิพลจากภาษาอุซเบกด้วย ภาษาทาจิกมีหน่วยคำในคำศัพท์ การออกเสียงและไวยากรณ์ซึ่งไม่มีในภาษาเปอร์เซียที่พูดในที่อื่น ซึ่งน่าจะเป็นมาจากการที่ถูกแบ่งแยกโดยภูมิศาสตร์เขตเทือกเขาของเอเชียกลาง.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาทาจิก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดารี

ษาดารี (Dari; ภาษาเปอร์เซีย: دری Darī, ออกเสียง) หรือ ภาษาเปอร์เซียดารี (Dari Persian; ภาษาเปอร์เซีย: فارسی دری - Fārsīy e Darī) หรือ ภาษาเปอร์เซียตะวันออก เป็นชื่อที่ใช้เรียกภาษาเปอร์เซียสำเนียงหนึ่งที่ใช้พูดในอัฟกานิสถาน และเป็นชื่อทางการที่รัฐบาลอัฟกานิสถานใช้ในรัฐธรรมนูญ ภาษาดารีเป็นภาษาราชการในอัฟกานิสถานรองจากภาษาพัชโต และใช้เป็นภาษากลางในอัฟกานิสถาน.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาดารี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคิเลกิ

ษาคิเลกิ (گیلکی ในภาษาเปอร์เซีย Gileki ในภาษาอังกฤษ) เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้พูดในจังหวัดกิลันและจังหวัดมาซันดารันในอิหร่าน แบ่งเป็น 4 สำเนียงคือ สำเนียงตะวันตก ตะวันออก ตาบารี และกาเลชิ ใกล้เคียงกับภาษามาซันดารานี สำเนียงตะวันตกและตะวันออกของภาษานี้แบ่งแยกโดยแม่น้ำเวฟิด รุด มีผู้พูดมากกว่า 3 ล้านคนเมื่อ..

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาคิเลกิ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตัต

ษาตัต (Tat language) หรือภาษาตาติ เป็นภาษาในภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้ พูดโดยชาวตัตในสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานและรัสเซีย รูปแบบการเขียนใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซียกลางหรือปะห์ลาวี มีสำเนียงที่เป็นของชาวยิวเรียกภาษายูฮูรี ซึ่งมาจากภาษาตัต ชาวตัตกล่าวว่าพวกเขาเป็นลูกหลานเปอร์เซียยุคซัสซาน.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาตัต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตาตาร์

ษาตาตาร์ เป็นภาษากลุ่มเติร์ก ตระกูลยูราล-อัลไตอิก พูดโดยชาวตาตาร์ จัดเป็นภาษารูปคำติดต่อ มีผู้พูดในบางส่วนของยุโรป รัสเซีย ไซบีเรีย จีน ตุรกี โปแลนด์ ยูเครน ฟินแลนด์ และเอเชียกลาง เป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐตาตาร์สถาน เขียนด้วยอักษรซีริลลิกโดยมีอักษรเฉพาะที่ไม่ได้ใช่ในภาษากลุ่มสลาวิก.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาตาตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตุรกี

ษาตุรกี (Türkçe ตืร์กเช หรือ Türk dili ตืร์ก ดิลิ) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก เป็นภาษาที่มีผู้พูด 65 – 73 ล้านคนทั่วโลกซึ่งถือเป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีผู้พูดมากที่สุด ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในตุรกี และมีกระจายอยู่ในไซปรัส บัลแกเรีย กรีซ และยุโรปตะวันออก และมีผู้พูดอีกหลายสิบล้านคนที่อพยพไปอยู่ในยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะเยอรมัน ต้นกำเนิดของภาษาพบในเอเชียกลางซึ่งมีการเขียนครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว ภาษาตุรกีออตโตมันได้แพร่ขยายไปทางตะวันตกซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมัน พ.ศ. 2471 หลังการปฏิรูปของอตาเตริ์กซึ่งเป็นปีแรกๆของยุคสาธารณรัฐใหม่ มีการปรับปรุงภาษาโดยแทนที่อักษรอาหรับในยุคออตโตมันด้วยอักษรละตินที่เพิ่มเครื่องหมายการออกเสียง มีการตั้งสมาคมภาษาตุรกีเพื่อลดการใช้คำยืมจากภาษาเปอร์เซียกับภาษาอาหรับ หันมาใช้คำดั้งเดิมของภาษากลุ่มเตอร์กิกแทน ลักษณะเด่นของภาษาตุรกีคือมีการเปลี่ยนเสียงสระและการเชื่อมคำแบบรูปคำติดต่อ การเรียงคำโดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีการแบ่งเพศของคำนาม.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตุรกีออตโตมัน

ษาตุรกีออตโตมัน (ภาษาอังกฤษ: Ottoman Turkish; ภาษาตุรกี: Osmanlıca หรือ Osmanlı Türkçesi; ภาษาตุรกีออตโตมัน: لسان عثمانی‎ lisân-ı Osmânî) เป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาตุรกีที่เคยเป็นภาษาในการปกครองและภาษาเขียนในจักรวรรดิออตโตมัน เป็นภาษาที่มีคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียมาก เขียนด้วยอักษรอาหรับ ภาษานี้ไม่เป็นที่เข้าใจในหมู่ชาวตุรกีที่มีการศึกษาต่ำ อย่างไรก็ตาม ภาษาตุรกีที่ใช้พูดในทุกวันนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาตุรกีออตโตมันเช่นกัน.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาตุรกีออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย

ษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย เป็นรูปแบบใหม่ของภาษาแอราเมอิกตะวันออกหรือภาษาซีรีแอก แต่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษาอัคคาเดียที่ใช้พูดในจักรวรรดิอัสซีเรีย หรือภาษาแอราเมอิกที่เป็นภาษากลางในจักรวรรดิอัสซีเรีย ในช่วง 257 ปีก่อนพุทธศักราช เริ่มแรกภาษานี้ ใช้พูดนบริเวณทะเลสาบอูร์เมีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอิหร่านและซิอิต ตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ปัจจุบันมีผู้พูดกระจายไปทั่วโลก ผู้พูดส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายอัสซีเรียแห่งตะวันออก มีผู้พูดราว 200,000 คน ในอิรัก ซีเรีย อิหร่าน อาร์มีเนีย จอร์เจีย และตุรกี เขียนด้วย อักษรซีรีแอก อักษรละติน และอักษรฮีบรู.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโครเอเชีย

ษาโครเอเชีย เป็นภาษาในกลุ่มสลาวิก เป็นภาษาราชการของประเทศโครเอเชีย และประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา center Areas where Croatian language is spoken (as of 2006).

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาโครเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตลูกู

ษาเตลูกู (Telugu తెలుగు) อยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน แต่มีอิทธิพลพอสมควรจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันภายใต้ตระกูล อินโด-ยุโรเปียนและเป็นภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ของอินเดีย ภาษาเตลูกูเป็นตระกูลภาษาดราวิเดียนที่มีผู้พูดมากที่สุด เป็นภาษาที่พูดเป็นอันดับ 2 รองจากภาษาฮินดี และเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาราชการของอินเดีย เขียนด้วยอักษรเตลูกู ชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรียกภาษาเตลูกูว่า ภาษาอิตาลีของโลกตะวันออก (Italian of the East) เนื่องจากทุกคำในภาษาเตลูกูลงท้ายด้วยเสียงสระ แต่เชื่อว่านักสำรวจชาวอิตาลี นิกโกเลาะ ดา กอนตี (Niccolò Da Conti) ได้คิดวลีนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาเตลูกู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเติร์กเมน

ษาเติร์กเมน (Turkmen, Туркмен, ISO 639-1: tk, ISO 639-2: tuk) คือชื่อภาษาราชการของประเทศเติร์กเมนิสถาน.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาเติร์กเมน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเซอร์เบีย

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและภาษาเซอร์เบีย · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปตะวันออก

แผนที่ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันออก (Eastern Europe) มีพื้นที่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 40 - 53 องศาเหนือ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ สภาพความเป็นอยู่เป็นแบบชนบท ประกอบไปด้วยประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต, อดีตเช็กโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือเช็กเกียและสโลวาเกีย), โปแลนด์, ฮังการี, โรมาเนีย, บัลแกเรีย และอดีตยูโกสลาเวีย ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันออกในอดีต ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเป็นประชาธิปไตยบ้างแล้ว ศาสนาที่นับถือส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้คือศาสนาคริสต์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษากลุ่มโรแมนซ์และกลุ่มสลาวอนิก.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและยุโรปตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาโซโรอัสเตอร์

ฟาร์วาฮาร์ สัญลักษณ์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroastrianism) เป็นศาสนาและปรัชญาศาสนาอิหร่านเอกเทวนิยมโบราณอย่างหนึ่ง เคยเป็นศาสนาแห่งรัฐจักรวรรดิอะคีเมนิด พาร์เธียและแซสซานิด ประมาณจำนวนศาสนิกโซโรอัสเตอร์ทั่วโลกปัจจุบันอยู่ระหว่างประมาณ 145,000 คนเมื่อประมาณ..

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและศาสนาโซโรอัสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัทอักษรสากล

ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2015 สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไท.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและสัทอักษรสากล · ดูเพิ่มเติม »

อักษรรูปลิ่ม

อักษรยูการิติก อักษรรูปลิ่มที่เป็นระบบพยัญชนะ อักษรรูปลิ่ม (Cuneiform script) เป็นระบบการเขียนที่หลากหลาย เป็นได้ทั้งอักษรพยางค์ อักษรคำ และอักษรที่มีระบบสระ-พยัญชนะ คำว่า “cuneiform” ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาละติน “cuneus” แปลว่าลิ่ม ดังนั้นอักษรรูปลิ่มจึงรวมอักษรที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มทั้งหมด ภาษาหลายตระกูล ทั้งตระกูลเซมิติก ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน และอื่น ๆ ที่เขียนด้วย อักษรนี้ เช่น.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและอักษรรูปลิ่ม · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอาหรับ

อักษรอาหรับ เป็นอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และภาษามลายูปัตตานี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอเวสตะ

อักษรอเวสตะ (Avestan alphabet)ประดิษฐ์เมื่อราว..

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและอักษรอเวสตะ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรซีริลลิก

ประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิก อักษรซีริลลิก หรือ อักษรซิริลลิก (Cyrillic script) เป็นตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในกลุ่มภาษาสลาวิกนอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในอีกหลายประเทศ แต่ไม่มีอักษรซีริลลิกทุกตัวกับภาษาใด ขึ้นอยู่กับการเขียนในภาษานั้น ในกลุ่มประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิกด้วยกันเอง จะไม่เรียก ซีริล แต่จะออกเสียงว่า คีริล แทน เช่น ในภาษารัสเซียเรียกอักษรซีริลลิกว่า Кириллица คีริลลิซ.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและอักษรซีริลลิก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรแอราเมอิก

อักษรแอราเมอิก (Aramaic alphabet) พัฒนาขึ้นในช่วง 1,000 - 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยเข้ามาแทนที่อักษรรูปลิ่มของอัสซีเรียซึ่งเป็นระบบการเขียนหลักของจักรวรรดิอัสซีเรีย อักษรนี้เป็นต้นกำแนิดของอักษรตระกูลเซมิติกอื่น ๆ และอาจเป็นต้นกำเนิดของอักษรขโรษฐี ที่ใช้ในแถบเอเชียกลางแถบแคว้นคันธาระและพื้นที่ใกล้เคียง ในช่วง 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช อักษรแอราเมอิกยุคแรกเริ่มถูกแทนที่ด้วยอักษรฮีบรูทรงเหลี่ยม ที่รู้จักต่อมาในชื่ออักษรแอราเมอิก.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและอักษรแอราเมอิก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเปอร์เซียกลาง

อักษรเปอร์เซียกลาง หรืออักษรปะห์ลาวี พัฒนามาจากอักษรอราเมอิก และเป็นระบบการเขียนหลักของจักรวรรดิซัสซาเนียน (พ.ศ. 767 - 1194) มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยระหว่างที่ใช้ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 มีการพัฒนาอักษรใหม่ขึ้นแทน เช่นอักษรซัลเตอร์ และ อักษรอเวสตัน.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและอักษรเปอร์เซียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิมองโกล

อาณาเขตของจักรวรรดิมองโกล จักรวรรดิมองโกล (มองโกล: Mongolyn Ezent Güren; Mongol Empire) ซึ่งมีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 เป็นจักรวรรดิทางบกที่มีอาณาเขตต่อเนื่องใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กำเนิดในสเต็ปป์เอเชียกลาง สุดท้ายจักวรรดิมองโกลมีอาณาเขตครอบคลุมยุโรปตะวันออกจนถึงทะเลญี่ปุ่น ขยายไปทางเหนือเข้าไปในไซบีเรีย ทางตะวันออกและใต้เข้าไปในอนุทวีปอินเดีย อินโดจีนและที่ราบสูงอิหร่าน และทางตะวันตกไปไกลถึงเลแวนต์และคาบสมุทรอาหรับ จักรวรรดิรวมเผ่าชนเร่ร่อนมองโกเลียในประวัติศาสตร์ภายใต้การนำของเจงกิสข่าน ผู้ได้รับประกาศเป็นผู้ปกครองชาวมองโกลทั้งปวงใน..

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและจักรวรรดิมองโกล · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโมกุล

ักรวรรดิโมกุล (เปอร์เซีย: سلطنت مغولی هند; อูรดู: مغلیہ سلطنت; Mughal Empire) เป็นจักรวรรดิซึ่งปกครองบริเวณอนุทวีปอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 จักรวรรดินี้สืบทอดอำนาจมาจากราชวงศ์ตีมูร์ เริ่มก่อตั้งอาณาจักรในปี..

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและจักรวรรดิโมกุล · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเปอร์เชีย

ักรวรรดิเปอร์เชีย (Persian Empire) คือจักรวรรดิและอาณาจักรต่างๆในประวัติศาสตร์ของเปอร์เชียที่ปกครองต่อเนื่องกันมาในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน, ถิ่นกำเนิดของเปอร์เชีย และไกลไปทางเอเชียตะวันตก, เอเชียใต้, เอเชียกลาง และ บริเวณคอเคซัส จักรวรรดิเปอร์เชียจักรวรรดิแรกก่อตั้งภายใต้จักรวรรดิมีเดีย (728–559 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลังจากการโค่นจักรวรรดิอัสซีเรียด้วยความช่วยเหลือของบาบิโลเนีย จักรวรรดิเปอร์เชียอคีเมนียะห์ (550–330 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และมารุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าดาไรอัสมหาราช และ พระเจ้าเซอร์ซีสมหาราช — ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นศัตรูคนสำคัญของรัฐกรีกโบราณ (ดู สงครามกรีก-เปอร์เชีย) บริเวณที่ตั้งเดิมอยู่ในบริเวณที่ในปัจจุบันรู้จักกันว่าจังหวัดพาร์ส (จังหวัดฟาร์ส) ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิเปอร์เชียก่อตั้งภายใต้พระเจ้าไซรัสมหาราชผู้ทรงยึดจักรวรรดิจากชนมีดีส (Medes) และทรงขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกกลางที่รวมทั้งดินแดนของบาบิโบเนีย, อัสซีเรีย, ฟินิเซีย และ ลิเดีย หลังจากนั้นพระเจ้าแคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เชีย (Cambyses II of Persia) พระราชโอรสในพระเจ้าไซรัสก็ทรงดำเนินนโยบายการขยายดินแดนต่อไปยังอียิปต์ จักรวรรดิอคีเมนียะห์มาสิ้นสุดลงระหว่างสงครามอเล็กซานเดอร์มหาราช แต่ก็มาฟื้นตัวอีกครั้งในรูปของจักรวรรดิพาร์เธียน และ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ แห่ง อิหร่าน ที่ตามมาด้วยยุคประวัติศาสตร์หลังศาสนาอิสลามของจักรวรรดิต่างๆ เช่น จักรวรรดิทาฮิริยะห์, จักรวรรดิซาฟาริยะห์, จักรวรรดิไบอิยะห์, จักรวรรดิซามานิยะห์, จักรวรรดิกาสนาวิยะห์, จักรวรรดิเซลจุค และ จักรวรรดิควาเรซเมีย มาจนถึงอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิต่างๆ ที่รุ่งเรืองต่อเนื่องกันมาในเกรตเตอร์อิหร่าน ก่อนเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและจักรวรรดิเปอร์เชีย · ดูเพิ่มเติม »

จารึกเบฮิสตูน

รึกหลากหลายภาษาบนหน้าผาเขาเบฮิสตูนโดยจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช จารึกเบฮิสตูน (มีทั้งเขียนเป็น Behistun, Bisotun, Bistun หรือ Bisutun; بیستون, เปอร์เซียโบราณ: Bagastana, หมายความว่า "เทวสถาน") เป็นจารึกหลายภาษาโดยใช้อักษรรูปลิ่มและอักษรแอราเมอิกเขียนอยู่บนหน้าผาหุบเขาเบฮิสตูนในจังหวัดเคอร์มานชาห์ ประเทศอิหร่าน มีความสำคัญมากเพราะนักประวัติศาสตร์ใช้ถอดรหัสอักษรรูปลิ่ม จักรพรรดิดาไรอัสมหาราชตราจารึกนี้ขึ้น ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะเวลาตั้งแต่การราชาภิเษกพระองค์เมื่อฤดูร้อนของปีที่ 522 ก่อน..

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและจารึกเบฮิสตูน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาอัลไต

ตระกูลภาษาอัลไต (Altaic language family) ตระกูลภาษานี้ใช้พูดกันตั้งแต่ป่าสนในไซบีเรียตะวันออกข้ามทุ่งหญ้าและทะเลทรายของเอเชียกลางไปจรดประเทศตุรกี และบางส่วนของประเทศจีน คนในแถบนี้มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนไปตามทุ่งหญ้าและทะเลทราย เช่น พวกเตอร์กและมองโกลบางเผ่า บางพวกก็อาศัยอยู่ตามป่าเขาและล่าสัตว์ เช่น พวกมองโกลบางพวกและพวกตุงกุส มีบางส่วนเท่านั้นที่รับวัฒนธรรมใกล้เคียงอย่างวัฒนธรรมจีนที่มีลักษณะแบบเกษตรกรรม เช่น ชาวเกาหลีและชาวญี่ปุ่นซึ่งอาจเป็นพวกตุงกุสดั้งเดิม (Proto-Tungusic) โดยอพยพมายังคาบสมุทรเกาหลีและหมู่เกาะญี่ปุ่นก่อนพวกอื่น ในปัจจุบันนี้ผู้ที่ใช้ตระกูลภาษานี้มีประมาณ 270 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและตระกูลภาษาอัลไต · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน).

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาดราวิเดียน

การแพร่กระจายของตระกูลภาษาดราวิเดียน ตระกูลภาษาดราวิเดียนเป็นตระกูลของภาษาที่มีสมาชิก 73 ภาษา ส่วนใหญ่ใช้พูดทางภาคใต้ของอินเดียและทางตะวันออกเฉียงเหนือของศรีลังกา และบางบริเวณในปากีสถาน เนปาล บังกลาเทศ และภาคกลางและภาคตะวันออกของอินเดีย รวมทั้งบางส่วนของอัฟกานิสถานด้วย นอกจากนั้นยังมีผู้ที่อพยพไปยังมาเลเซียและสิงคโปร.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและตระกูลภาษาดราวิเดียน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก

แสดงการแพร่กระจายของภาษาตระกูลแอโฟรเอชีแอติกด้วยสีเหลือง ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afroasiatic languages) เป็นตระกูลภาษาที่มีสมาชิก 375 ภาษาและมีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคน แพร่กระจายในตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ แอฟริกาตะวันตก แอฟริกาตะวันออก แอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (รวมผู้พูดภาษาอาหรับ 200 ล้านคน) ชื่อของภาษาตระกูลนี้ตั้งโดย Joseph Greenberg เพื่อใช้แทนชื่อเดิม ตระกูลภาษาฮามิโต-เซมิติก กลุ่มย่อยของภาษาตระกูลนี้ได้แก.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

right บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (Bosnia and Herzegovina; บอสเนีย: Bosna i Hercegovina) บางครั้งย่อเป็น Bosnia, BiH, БиХ เป็นประเทศบอลข่านตะวันตกที่มีภูเขามาก เมืองหลวงชื่อซาราเยโว เดิมเป็นหนึ่งในหกสาธารณรัฐของอดีตยูโกสลาเวีย ได้รับเอกราชในสงครามยูโกสลาเวียในช่วงทศวรรษ 1990 และเนื่องจากข้อตกลงเดย์ตัน จึงเป็นรัฐในอารักขาของชุมชนนานาชาติ ปกครองโดยตัวแทนระดับสูงที่เลือกโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาต.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบาห์เรน

ห์เรน (Bahrain; البحرين) หรือชื่อทางการ ราชอาณาจักรบาห์เรน (Kingdom of Bahrain; مملكة البحرين) เป็นประเทศเกาะในอ่าวเปอร์เซีย โดยมีสะพานเชื่อมต่อกับซาอุดีอาระเบียที่อยู่ห่างจากเกาะประมาณ 28 กิโลเมตร คือ สะพานคิงฟะฮัด ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค..1986 ส่วนสะพานมิตรภาพกาตาร์-บาห์เรน ที่กำลังอยู่ในระหว่างวางแผนงานนั้น จะเชื่อมต่อบาห์เรนเข้ากับกาตาร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจะเป็นสะพานขึงที่ยาวที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและประเทศบาห์เรน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (Afghanistan; افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอาเซอร์ไบจาน

อาเซอร์ไบจาน (Azərbaycan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน (Azərbaycan Respublikası) เป็นประเทศในแถบเทือกเขาคอเคซัส บริเวณที่เป็นจุดเชื่อมต่อของภูมิภาคยุโรปตะวันออกกับเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีอาณาเขตทิศตะวันออกจรดทะเลแคสเปียน ทิศเหนือติดต่อกับสหพันธรัฐรัสเซีย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับจอร์เจีย ทิศตะวันตกติดต่อกับอาร์มีเนีย และทิศใต้ติดต่อกับอิหร่าน อาเซอร์ไบจานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐปกครองตนเองนาคีเชวาน (ดินแดนส่วนแยกของอาเซอร์ไบจาน) มีอาณาเขตติดต่อกับอาร์มีเนียทางทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดต่อกับอิหร่านทางทิศใต้และทิศตะวันตก และติดต่อกับตุรกีทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนเขตนากอร์โน-คาราบัคทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ได้ประกาศเอกราชจากอาเซอร์ไบจานในปี พ.ศ. 2534 แต่ไม่เป็นที่ยอมรับจากนานาชาต.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและประเทศอาเซอร์ไบจาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอุซเบกิสถาน

อุซเบกิสถาน (Uzbekistan; O'zbekiston) หรือชื่ออย่างเป็นทางการก็คือ สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน (Republic of Uzbekistan; O‘zbekiston Respublikasi) เป็นประเทศในทวีปเอเชียกลางที่ถูกล้อมรอบด้วยประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตติดกับประเทศอัฟกานิสถานในทวีปเอเชียใต้ ประเทศคาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน และมีชายฝั่งบนทะเลอารัล อุซเบกิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและประเทศอุซเบกิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศทาจิกิสถาน

ทาจิกิสถาน (Tajikistan; Тоҷикистон) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐทาจิกิสถาน (Republic of Tajikistan; Ҷумҳурии Тоҷикистон) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคเอเชียกลาง มีอาณาเขตติดต่อกับอัฟกานิสถาน จีน คีร์กีซสถาน และอุซเบกิสถาน ทาจิกิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและประเทศทาจิกิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

เมโสโปเตเมีย

แผนที่บริเวณเมโสโปเตเมีย เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia; Μεσοποταμία, เมโซโปตามีอา) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า "ที่ระหว่างแม่น้ำ" (meso.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและเมโสโปเตเมีย · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียกลาง

แผนที่เอเชียกลางแสดงเขตแดนตามคำนิยามที่ต่างกัน 3 แบบ เอเชียกลาง(อังกฤษ: Central Asia หรือ Middle Asia รัสเซีย: Центральная Азия) เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกทะเล มีคำนิยามที่ต่างกันออกไปสำหรับขอบเขตของดินแดนที่จัดอยู่ในภูมิภาคเป็นเอเชียกลาง และยังไม่มีคำนิยามใดที่เป็นที่ยอมรับโดยส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามลักษณะโดยทั่วไปของดินแดนในภูมิภาคนี้คือ มีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับกลุ่มชนร่อนเร่ (nomad) และ เส้นทางสายไหม ซึ่งทำให้ในอดีตนั้นดินแดนในภูมิภาคนี้เป็นเสมือนเส้นทางของ สินค้า คน รวมถึง แนวความคิด ระหว่างยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและเอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ISO 639-1

ISO 639-1 เป็นส่วนแรกของมาตรฐาน ISO 639 สำหรับรหัสภาษา ประกอบไปด้วย ตัวอักษรสองหลัก สำหรับในการแบ่งแยกภาษาหลักๆ ต่างภายในโลก รหัส ISO 639-1 เริ่มใช้เป็นมาตรฐานอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2545 โดยมีการเริ่มต้นพัฒนาในหลายปีก่อนหน้านั้น รหัสนี้ใช้ในการอ้างอิงภาษาต่างๆ เช่น.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและISO 639-1 · ดูเพิ่มเติม »

ISO 639-3

มาตรฐาน ISO 639-3 เป็นมาตรฐานกำหนดรหัสของภาษามนุษย์ทั้งหมดเท่าที่ทราบว่ามี โดยใช้ตัวอักษรละตินสามตัวเป็นรหัสแทนแต่ละภาษา ภาษาที่รวมใน ISO 639-3 นี้ รวมถึงภาษาที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ภาษาโบราณ ภาษาที่ไม่มีการใช้แล้ว ตลอดทั้งภาษาที่ประดิษฐ์ขึ้น รวมถึงภาษาหลักและภาษารอง ทั้งที่มีตัวอักษรเขียนและที่ไม่มี.

ใหม่!!: ภาษาเปอร์เซียและISO 639-3 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Persian languageภาษาฟาร์ซีฟารซีฟาร์ซี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »