โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาเควนยาและมิดเดิลเอิร์ธ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาษาเควนยาและมิดเดิลเอิร์ธ

ภาษาเควนยา vs. มิดเดิลเอิร์ธ

ษาเควนยา (Quenya) เป็นภาษาหนึ่งซึ่ง เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้น และใช้ในนวนิยายของเขา คือในโลกมิดเดิลเอิร์ธ โดยเป็นภาษาของเอลฟ์ หรือชาวเควนดิ ซึ่งเป็นบุตรของมหาเทพอิลูวาทาร์ ภาษาเควนยานับได้ว่าเป็นภาษาแรกๆ ที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาษาฟินแลนด์ ซึ่งเป็นภาษาที่โทลคีนชอบมาก เขาศึกษาภาษาฟินนิชด้วยตัวเองเพราะต้องการจะอ่านมหากาพย์ คาเลวาลา ในต้นฉบับฟินนิช อันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง "โลกอาร์ดา" ของเขาในเวลาต่อมา โทลคีนสร้างตัวอักษรสำหรับภาษาเควนยา สร้างไวยากรณ์สำหรับภาษาเควนยา หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และโทลคีนได้กลับมาทำงานที่อ๊อกซฟอร์ดอีกครั้ง เขาได้ปรับปรุงแก้ไขภาษาเควนยาอย่างจริงจัง โดยใช้ภาษานี้ในการเขียนบันทึกประจำวัน แต่เนื่องจากโครงสร้างภาษายังไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายหลังโทลคีนเองก็สับสนและเลิกเขียนบันทึกด้วยวิธีนี้ เพราะลืมไปแล้วว่าขณะที่เขียนบันทึก เขาใช้โครงสร้างไวยากรณ์แบบไหน ช่วงแรกโทลคีนเรียกภาษานี้ว่า Qenya การสร้างภาษาเควนยา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญจุดหนึ่ง (แม้จะมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีก) ที่ทำให้โทลคีนบังเกิดความคิดให้มีผู้คนที่ใช้ภาษานี้ขึ้นมาจริงๆ อันเป็นที่มาของเหล่าเอลฟ์ ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ตลอดช่วงชีวิตของโทลคีน เขาได้แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างภาษานี้ จนกระทั่งมันสามารถใช้งานได้จริง สมบูรณ์ยิ่งกว่าภาษาประดิษฐ์อื่นๆ ของโทลคีน. แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาษาเควนยาและมิดเดิลเอิร์ธ

ภาษาเควนยาและมิดเดิลเอิร์ธ มี 14 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์ภาษาซินดารินวันยาร์อามันอาร์ดาอิลูวาทาร์ธิงโกลตำนานแห่งซิลมาริลประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธโนลดอร์เบเลริอันด์เฟอานอร์เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

การอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์

การอพยพครั้งใหญ่ หรือ การเดินทางครั้งใหญ่ ของพวกเอลฟ์ เป็นเหตุการณ์สำคัญในช่วงต้นของยุคสมัยในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ว่าด้วยเรื่องของโลกอาร์ดาและมิดเดิลเอิร์ธ กล่าวคือ เป็นการเดินทางออกจากริมทะเลสาบคุยวิเอเนน อันเป็นสถานที่ที่พวกเขาตื่นขึ้นเป็นครั้งแรก แล้วมุ่งหน้าไปสู่วาลินอร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการของเอลฟ์กลุ่มต่างๆ รวมถึงภาษาและวัฒนธรรมของชนชาติเหล่านั้น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากการสงครามครั้งใหญ่ระหว่างปวงเทพวาลาร์ กับจอมมารเมลคอร์ ทำให้โลกมิดเดิลเอิร์ธส่วนใหญ่ตกอยู่ในสภาพพังพินาศ ปวงเทพจึงมีดำริให้ชักชวนเหล่าเอลฟ์ไปอยู่ด้วยกันที่ทวีปอามัน อย่างไรก็ดี มีเอลฟ์จำนวนหนึ่งที่ไม่ยินดีเข้าร่วมการอพยพครั้งนี้ เอลฟ์กลุ่มนี้ต่อมาเรียกว่า ชาวอวาริ ซึ่งหมายถึง "ผู้ไม่เต็มใจ" เทพโอโรเม เป็นผู้นำพาพวกเอลฟ์เดินทางไปสู่วาลินอร์ พระองค์พาพวกเขาเดินทางขึ้นไปทางเหนือของทะเลเฮลคาร์ ผ่านป่าใหญ่ไพศาล (ภายหลังคือป่าใหญ่กรีนวูด หรือ เมิร์ควู้ด) จนมาถึงแม่น้ำใหญ่อันดูอิน เอลฟ์ชาวเทเลริส่วนหนึ่งละทิ้งการเดินทางที่จุดนี้ ตั้งหลักปักฐานสร้างบ้านเรือนอยู่ในหุบเขาแห่งอันดูอิน เอลฟ์กลุ่มนี้ต่อมาเรียกว่า ชาวนันดอร์ เอลฟ์ที่เหลือเดินทางข้ามเทือกเขาฮิธายเกลียร์ไปได้ โดยข้ามช่องเขาที่ต่อมาเป็นที่ตั้งอาณาจักรริเวนเดลล์ เดินทางข้ามผ่านแผ่นดินกว้างใหญ่เอเรียดอร์ ตามเส้นทางถนนสายตะวันตก ข้ามเทือกเขาสีน้ำเงินหรือ เอเร็ดลูอิน เข้าไปสู่แผ่นดินเบเลริอันด์ อันเป็นแผ่นดินสุดท้ายทางฟากตะวันตกของมิดเดิลเอิร์ธ อยู่ริมมหาสมุทรใหญ่หรือทะเลเบเลกายร์ ที่แผ่นดินเบเลริอันด์นี้ เอลฟ์อีกจำนวนหนึ่งตกค้าง ตั้งถิ่นฐานขึ้นที่นี่ เนื่องจากมัวอยู่ติดตามหาธิงโกล ผู้นำของตน เอลฟ์กลุ่มนี้ต่อมาคือ ชาวซินดาร์ ชาววันยาร์และชาวโนลดอร์ รวมทั้งชาวเทเลริ อีกจำนวนหนึ่ง เดินทางข้ามทะเลเบเลกายร์ โดยขึ้นไปอยู่บนเกาะโทลเอเรสเซอา แล้วเทพอุลโม จึงเคลื่อนเกาะนั้นข้ามมหาสมุทรไป พวกวันยาร์และโนลดอร์เดินทางล่วงหน้าไปก่อน และได้ขึ้นฝั่งทวีปอามันจนหมดทุกคน แต่พวกเทเลริที่เดินทางข้ามไปทีหลัง ได้ร้องขอให้เทพอุลโมหยุดเกาะนั้นไว้ที่อ่าวเอลดามาร์ ด้วยเห็นแก่คำร้องขอของเทพออสเซ ชาวเทเลริกลุ่มนี้ตั้งถิ่นฐานอยู่บนเกาะโทลเอเรสเซอา ต่อมาภายหลังจึงได้ต่อเรือเดินทางไปจนถึงฝั่งทวีปอามันได้ และตั้งนครของพวกตนขึ้นที่ริมฝั่งเอลดามาร์ มีชื่อว่า อัลควาลอนเด ผลจากการอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์ครั้งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการแบ่งกลุ่มต่างๆ ของพวกเอลฟ์ ดังที่ปรากฏในเวลาต่อม.

การอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์และภาษาเควนยา · การอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์และมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซินดาริน

ษาซินดาริน (Sindarin) เป็นภาษาที่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้นใช้ในนวนิยายของเขาในชุดมิดเดิลเอิร์ธ แรงบันดาลใจของการสร้างภาษานี้มาจากพื้นฐานของภาษาเวลช์ (Welsh) ซึ่งโทลคีนพบในการศึกษาโคลงโบราณ เขาได้ใช้เวลาประดิษฐ์ภาษานี้จนสมบูรณ์ใช้งานได้จริง เทียบเคียงกับภาษาเควนยา เดิมทีโทลคีนตั้งใจประดิษฐ์ภาษานี้ขึ้นเป็นภาษาของชาวโนลดอร์ แต่เปลี่ยนใจภายหลัง ภาษาซินดาริน ตามฉบับนิยาย เป็นภาษาของพวกเอลฟ์ ชาวเทเลริ ที่มิได้เข้าร่วมการเดินทางครั้งใหญ่ไปได้ตลอดรอดฝั่ง แต่ยังคงตกค้างอยู่บนมิดเดิลเอิร์ธ และตั้งถิ่นฐานขึ้นในแผ่นดินเบเลริอันด์ ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ธิงโกล และ เมลิอัน ไมอาเทวี ในอาณาจักรโดริอัธ เอลฟ์กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า ชาวซินดาร์ หรือเอลฟ์แห่งสนธยา ภาษาของพวกเขาจึงเรียกว่า ภาษาซินดาริน ภาษาซินดารินมีกำเนิดมาจากคอมมอนเอลดาริน หรือภาษาดั้งเดิมของพวกเควนดิ จึงมีรากเดียวกันกับภาษาเควนยา ในยุคที่สาม ของโลกอาร์ดา คือเหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์นั้น ภาษาซินดารินเป็นภาษาที่พวกเอลฟ์ใช้กันแพร่หลายทั่วไป ดังนั้นภาษาเอลฟ์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นชื่อคน ชื่อสถานที่ต่างๆ รวมทั้งอักขระที่จารึกบนประตูทางเข้าเหมืองมอเรีย ก็ล้วนเป็นภาษาซินดารินทั้งสิ้น.

ภาษาซินดารินและภาษาเควนยา · ภาษาซินดารินและมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

วันยาร์

ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาววันยาร์ (Vanyar) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนวันยาร์คือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนแรกที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า อิมิน (Imin) แต่ผู้นำของชาววันยาร์ซึ่งต่อมากลายเป็นกษัตริย์แห่งเอลฟ์ทั้งปวง คือ อิงเว (Ingwë) เขาเป็นผู้แทนของเอลฟ์หนึ่งในสามคนที่ได้ไปเยือนวาลินอร์เป็นครั้งแรกตามคำเชิญของเทพโอโรเม ก่อนที่พวกเอลฟ์จะอพยพครั้งใหญ่ออกจากคุยวิเอเนนไปยังทวีปอามัน คำว่า วันยาร์ เป็นคำภาษาเควนยา หมายถึง "ผู้งดงาม" ชื่อดั้งเดิมของชาววันยาร์คือ มินยาร์ (Minyar) ซึ่งหมายถึง 'ตระกูลที่หนึ่งของเอลฟ์' สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาวโนลดอร์ และชาวเทเลริ ชาววันยาร์มีรูปร่างสูง ผมเป็นสีทอง (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ วันยาร์ - ผู้งดงาม) พวกเขาพูดภาษาเควนด์ยา (Quendya) ซึ่งเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาเควนยา มีที่ใช้เฉพาะที่วาลินอร์เท่านั้น.

ภาษาเควนยาและวันยาร์ · มิดเดิลเอิร์ธและวันยาร์ · ดูเพิ่มเติม »

อามัน

อามัน (Aman) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งบนโลกอาร์ดา ในจินตนิยายชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น แผ่นดินอมตะ (Undying Lands) หรือ อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ (Blessed Realm) เนื่องจากบนดินแดนแห่งนี้เป็นที่อยู่ของบรรดาอมตะชนทั้งสิ้น แต่เดิมโลกอาร์ดามีทวีปเดียว มีทะเลสาบกลางแผ่นดินและเกาะกลางทะเลสาบนั้นชื่อว่า อัลมาเรน เป็นที่ประทับของเหล่าพลังอำนาจ หรือปวงเทพ หรือคือเหล่าไอนัวร์ ที่จำแลงร่างลงมาอยู่ในโลก แต่หลังจากมอร์กอธทรยศและทำลายผืนพิภพจนวอดวาย แผ่นดินและผืนน้ำเปลี่ยนรูปทรงไปทั้งหมด จึงเกิดเป็นทวีปใหญ่น้อยมากมาย ทวีปอามันเกิดขึ้นจากเหตุการณ์นี้ โดยเป็นทวีปที่อยู่ทางฟากตะวันตกสุดของอาร์ดา คั่นตัวออกจากทวีปอื่นด้วยมหาสมุทรใหญ่ชื่อ เบเลกายร์ หลังจากนั้นปวงเทพก็ย้ายมาประทับอยู่บนทวีปนี้ ตั้งเมืองศูนย์กลางของปวงเทพขึ้นเรียกว่า วาลินอร์ ภูมิประเทศในใจกลางทวีปเป็นที่ราบ และผืนป่า ซึ่งเป็นไร่นาของเทพียาวันนา และเขตป่าของเทพโอโรเม ด้านตะวันตกจรดทะเลวัฏฏะ (เอคไคอา) ด้านตะวันออกจรดทะเลเบเลกายร์ โดยมีขุนเขาสูงใหญ่ขวางกั้นไว้ที่ชายทวีปด้านตะวันออก มีชื่อว่า เทือกเขาเพโลริ ยอดเขาสูงสุดของเพโลริคือ ทานิเควทิล อันเป็นที่ประทับของจอมกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวง คือมานเวเทพบดี นครวาลินอร์ตั้งอยู่เชิงขุนเขาแห่งนี้ ด้านนอกนครเป็นเนินสูงใหญ่ชื่อ 'เอเซลโลฮาร์' บนเนินเป็นที่ตั้งของที่ประชุมมนตรีพิพากษา (คือที่ประชุมของปวงเทพวาลาร์ เมื่อต้องมีการพิจารณาเหตุการณ์สำคัญ) ใกล้เนินเอเซลโลฮาร์เป็นที่ตั้งของทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ หลังจากชาวเอลดาร์เดินทางมายังอามัน ปวงเทพเห็นว่าพวกเขายังจำเป็นต้องได้รับกลิ่นไอจากมหาสมุทรใหญ่ และอากาศจากแผ่นดินเกิด จึงแหวกช่องเขาเพโลริให้แยกออกในช่วงกึ่งกลางของทวีป กลายเป็นช่องเขาคาลาเคียร์ยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของนครทิริออน เมืองหลวงของพวกเอลฟ์ ชายหาดริมมหาสมุทรใหญ่ใกล้กับนครนี้ มีชื่อเรียกว่า อ่าวเอลดามาร์ หรืออ่าวนิวาสเอลฟ์ เป็นที่ตั้งของนครอัลควาลอนเด เมืองหลวงของชาวเทเลริ ในอ่าวเอลดามาร์มีเกาะใหญ่แห่งหนึ่งตั้งอยู่ เกาะนี้เดิมคือแผ่นดินใหญ่ที่เทพอุลโมใช้นำพาเหล่าเอลฟ์ออกจากทวีปมิดเดิลเอิร์ธมาสู่อามัน แต่เมื่อถึงการเดินทางครั้งสุดท้ายของเหล่าเทเลริ พวกเขาขอให้เทพอุลโมหยุดยั้งการเดินทาง พระองค์จึงหยั่งรากของเกาะลงยึดกับก้นมหาสมุทรกลายเป็นเกาะขนาดใหญ่ มีชื่อว่า 'โทลเอเรสเซอา' หรือเกาะเอกา (Lonely Isle) บางครั้งในปกรณัมเรียกชื่อว่า 'เอเรสเซอา' บนเกาะนี้เป็นที่ตั้งของนครอวัลโลเน พวกเอลฟ์โนลดอร์ที่ถูกเนรเทศไปยังมิดเดิลเอิร์ธ เมื่อได้รับอภัยโทษและกลับคืนสู่แผ่นดินอมตะ ก็จะมาได้เพียงเกาะโทลเอเรสเซอาแห่งนี้ อามันได้ชื่อว่าเป็นแผ่นดินอมตะ ก็เพราะผู้อยู่อาศัยบนแผ่นดินนั้นล้วนเป็นอมตะชน ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ไปอยู่บนนั้นจะมีชีวิตยืนยาว ตรงกันข้าม ถ้ามนุษย์ผู้ไม่ได้รับอนุญาตเหยียบลงบนแผ่นดินนั้น กลับจะยิ่งเสียชีวิตเร็วขึ้นเพราะไม่อาจทนรับสภาพอากาศของแผ่นดินอมตะได้ มนุษย์ผู้แรกที่ได้เหยียบย่างขึ้นบนแผ่นดินอมตะ คือ เออาเรนดิลจอมนาวิก ซึ่งเสี่ยงชีวิตเดินทางไปขออภัยต่อปวงเทพในฐานะตัวแทนของสองเผ่าพันธุ์ (เอลฟ์และมนุษย์) ในเหตุการณ์ตอนปลายของยุคที่หนึ่ง เขาได้รับพรพิเศษจากปวงเทพให้เลือกได้ว่าจะเป็นเอลฟ์หรือมนุษย์ เออาเรนดิลเลือกเป็นเอลฟ์ จึงได้รับมอบหมายให้อัญเชิญดวงมณีซิลมาริลไปบนนาวาวิงกิล็อท เพื่อส่องแสงสว่างแก่โลกตลอดไป เหตุนี้เขาจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เออาเรนดิลผู้ได้รับพร ในช่วงปลายยุคที่สอง อาร์-ฟาราโซน กษัตริย์นูเมนอร์ คิดเหิมเกริมด้วยถูกยุยงจากเซารอน หมายจะไปชิงความเป็นอมตะจากปวงเทพ จึงยกทัพเรือไปจะตีอามัน จากเหตุการณ์นี้องค์อิลูวาทาร์จึงบันดาลให้มหาสมุทรใหญ่เกิดหุบเหวลึก ดูดเอาเกาะนูเมนอร์จมสมุทร แล้วย้ายอามันออกไปจากพิภพอาร์ดา บันดาลให้โลกกลม ดังนั้นจึงไม่มีผู้ใดสามารถเดินทางไปถึงอามันได้อีกเลย นอกจากผู้ได้รับอนุญาติจากเหล่าเอลฟ์ เช่น บิลโบ และ โฟรโด ซึ่งเป็นผู้ถือแหวน ที่สามารถไปถึงได้โดยผ่านทาง เส้นทางมุ่งตรง เท่านั้น เพื่อไปใช้ชีวิตเป็นอมตะกับ ชาวอมตะที่เหลือ.

ภาษาเควนยาและอามัน · มิดเดิลเอิร์ธและอามัน · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ดา

อาร์ดา (Arda) เป็นชื่อดินแดนในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งใช้ในความหมายแทนโลกของเราทั้งหมด อาร์ดาประกอบด้วยทวีปใหญ่ๆ ที่สำคัญคือ มิดเดิลเอิร์ธ อามัน และ กาฬทวีป มีมหาสมุทรหลายแห่ง ที่สำคัญคือ มหาสาคร (The Great Sea) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เบเลกายร์ ในทะเลเบเลกายร์นี้เคยมีเกาะนูเมนอร์ ซึ่งล่มจมสมุทรไปตั้งแต่ยุคที่สองของอาร์ดา ดินแดนส่วนอื่นๆ ในอาร์ดามิได้ถูกเอ่ยถึง ตามปกรณัมของโทลคีน อาร์ดาเป็นส่วนหนึ่งของ เออา (Ea) คือจักรวาลแห่งพิภพที่มหาเทพอิลูวาทาร์สร้างขึ้นในสุญญภูมิ ด้วยการบรรเลงบทเพลงมหาคีตา ซึ่งมีจิตวิญญาณแรกเริ่ม (หรือไอนัวร์) ช่วยในการสร้างด้วย การสร้างครั้งนั้นเรียกว่า มหาคีตาแห่งไอนัวร์ เมื่อเออาถือกำเนิดขึ้น ไอนัวร์บางส่วนได้ลงมาอยู่ในโลกนี้เพื่อปกปักรักษาและตระเตรียมสถานที่ไว้ให้พร้อมสำหรับบุตรแห่งอิลูวาทาร์ ไอนัวร์ที่ลงมายังอาร์ดา พวกที่มีพลังอำนาจสูง เรียกว่า วาลาร์ ส่วนพวกที่มีฤทธิ์น้อยกว่า เรียกว่า ไมอาร์ ไอนัวร์เหล่านี้บางครั้งเรียกรวมๆ กันว่า ปวงเทพ โลกอาร์ดาแต่ดั้งเดิมเมื่อเริ่มสร้างนั้นเป็นแผ่นดินแบนๆ ที่ล้อมรอบด้วยทะเลวัฏฏะ (Encircling Sea) มีชื่อเรียกว่า เอคไคอา (Ekkaia) ข้างใต้เป็นโถงถ้ำมากมาย ข้างบนเป็นเขตห้วงเวหามีชื่อว่า อิลเมน แผ่นดินดั้งเดิมเป็นทวีปเดี่ยวตั้งอยู่ตรงกลาง มีทะเลสาบอยู่ใจกลางทวีป และมีเกาะอยู่กลางทะเลสาบนั้น ชื่อว่า เกาะอัลมาเรน เป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าวาลาร์และไมอาร์ เมื่อเกิดสงครามระหว่างปวงเทพขึ้น ทำให้แผ่นดินเกิดวินาศวอดวาย แตกเป็นทวีปต่างๆ พวกวาลาร์และไมอาร์จึงย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่บนทวีปอามัน ซึ่งอยู่ทางสุดตะวันตกของอาร์ดา ส่วนทวีปมิดเดิลเอิร์ธที่อยู่บริเวณกึ่งกลางอาร์ดา ได้กลายเป็นถิ่นฐานที่อาศัยของบรรดาบุตรแห่งอิลูวาทาร์ คือพวกเอลฟ์ และมนุษย์ มีมหาสาครหรือเบเลกายร์ กั้นกลางระหว่างสองทวีปนี้ ในช่วงปลายยุคที่สอง เมื่อมนุษย์ชาวนูเมนอร์เหิมเกริมจะบุกรุกทวีปอามันเพื่อช่วงชิงความเป็นอมตะ ปวงเทพจึงจมเกาะนูเมนอร์เสีย และย้ายทวีปอามันออกไปเสียจากโลก บันดาลให้โลกกลายเป็นโลกกลม แม้แล่นเรือไปทางตะวันตกจนสุดหล้า ก็จะหวนกลับมายังจุดตั้งต้นได้อีกครั้ง การจะไปถึงทวีปอามันได้ต้องเดินทางผ่านเส้นทางมุ่งตรง ซึ่งจะไปได้โดยพวกเอลฟ์เท่านั้น.

ภาษาเควนยาและอาร์ดา · มิดเดิลเอิร์ธและอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

อิลูวาทาร์

อรู อิลูวาทาร์ เป็นชื่อภาษาเอลฟ์ของ "พระเจ้า" แห่งปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในฐานะเป็นพระผู้สร้างเพียงหนึ่งเดียว เป็นผู้สร้างเหล่าเทพไอนัวร์ เป็นผู้สร้าง เออา หรืออาร์ดา และสรรพชีวิตทั้งหลายบนโลกใบนั้น แม้จะเป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญที่สุด แต่ก็มิได้ถูกเอ่ยถึงเลยในนิยายซึ่งสร้างชื่อเสียงฉบับแรกๆ ของเขา คือ เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (มีกล่าวถึงในภาคผนวกของ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เล็กน้อยด้วยคำว่า "พระผู้เป็นหนึ่ง") โทลคีนระบุในจดหมายหลายครั้งว่า งานประพันธ์ของเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนา อย่างไรก็ดี โทลคีนถือได้ว่าเป็นคาทอลิกผู้เคร่งครัด เห็นได้ว่าโทลคีนไม่สามารถสร้างโลกที่ "ปราศจากพระเจ้า" ได้ บทประพันธ์ชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของโทลคีน เป็นงานเขียนที่เขาจินตนาการว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตเมื่อนานแสนนานมาแล้ว และการตีความเรื่อง "พระเจ้า" ของผู้คนในอดีตกาล ก็ย่อมอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างออกไป ชื่อ 'อิลูวาทาร์' เชื่อว่าอาจได้รับแรงบันดาลใจมาจากชื่อเทพีแห่งสรวงสวรรค์ อิลมาทาร์ (Ilmatar) หนึ่งในจิตวิญญาณบริสุทธิ์ที่ปรากฏในมหากาพย์ คาเลวาล.

ภาษาเควนยาและอิลูวาทาร์ · มิดเดิลเอิร์ธและอิลูวาทาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ธิงโกล

อลู ธิงโกล (เควนยา) หรือ เอลเว ซิงโกลโล (ซินดาริน) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในวรรณกรรมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ปรากฏในหนังสือ ซิลมาริลลิออน และ ตำนานบุตรแห่งฮูริน ได้ชื่อว่าเป็นบุตรแห่งอิลูวาทาร์ที่สูงใหญ่และมีพลังอำนาจมากที่สุด เป็นรองแต่เพียงเฟอานอร์เท่านั้น ธิงโกลเป็นผู้นำของเอลฟ์ชาวเทเลริ เป็นตัวแทนผู้ได้รับเลือกจากเทพโอโรเมไปยังแผ่นดินอมตะเพื่อยลทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ พร้อมกันกับอิงเว และฟินเว หลังจากนั้นผู้นำเอลฟ์ทั้งสามจึงกลับมาชักชวนพลเมืองของตนให้เดินทางออกจากทะเลสาบคุยวิเอเนนไปยังแผ่นดินอมตะ โดยที่ชาวเทเลริเดินทางอยู่ท้ายสุด เมื่อไปใกล้จะถึงริมฝั่งมหาสมุทรใหญ่ ธิงโกลได้ล่วงหน้าออกจากกลุ่มเพื่อไปเยี่ยมฟินเว กษัตริย์โนลดอร์ สหายของตน ระหว่างทางเขาได้พบกับเทพีเมลิอันในป่า แล้วทั้งสองตกอยู่ใต้มนตร์เสน่หาที่นั้น พลเมืองของธิงโกลค้นหาเขาไม่พบ จนไม่สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรใหญ่ไปกับเอลฟ์กลุ่มอื่นๆ ได้ หลังจากนั้น ชาวเทเลริที่ตกค้างอยู่จึงตั้งถิ่นฐานที่ริมมหาสมุทรใหญ่ ในแผ่นดินเบเลริอันด์ เอลฟ์กลุ่มนี้ได้ชื่อว่า ชาวซินดาร์ มีธิงโกลและเมลิอัน เป็นราชาและราชินี อาณาจักรของพวกเขาเรียกว่า โดริอัธ ธิงโกลกับเมลิอันมีธิดาด้วยกันหนึ่งองค์ คือ ลูธิเอน.

ธิงโกลและภาษาเควนยา · ธิงโกลและมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานแห่งซิลมาริล

ตำนานแห่งซิลมาริล (The Silmarillion) เป็นนิยายจินตนิมิต แต่งโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (ผู้แต่งเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) เริ่มประพันธ์โครงเรื่องตั้งแต่ปี..

ตำนานแห่งซิลมาริลและภาษาเควนยา · ตำนานแห่งซิลมาริลและมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ

ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ (The History of Middle-earth) เป็นชื่อชุดหนังสือจำนวน 12 เล่ม ที่รวบรวมงานเขียนต้นฉบับต่างๆ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่เกี่ยวข้องกับปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ นำมาเรียบเรียงใหม่โดยคริสโตเฟอร์ โทลคีน ตีพิมพ์จำหน่ายในช่วงระหว่างปี..

ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธและภาษาเควนยา · ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธและมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

โนลดอร์

ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาวโนลดอร์ (Noldor) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนโนลดอร์คือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนที่สองที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า ตาตา (Tata) ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกชนเหล่านี้ว่า 'ตระกูลที่สองของเอลฟ์' หรือ 'ตาชาร์' (Tatyar) สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาววันยาร์ และชาวเทเลริ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาเมื่อเทพโอโรเมชักชวนเหล่าเอลฟ์ให้ส่งผู้แทนไปเยือนวาลินอร์ ผู้แทนของชาวโนลดอร์คือ ฟินเว ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์ทั้งมวล และได้นำพวกเขาเดินทางอพยพไปสู่แผ่นดินอมตะ ชาวโนลดอร์มีรูปร่างสูงใหญ่ มักมีดวงตาสีเทา ผมสีเข้ม (ยกเว้นโนลดอร์บางคนในตระกูลที่วิวาห์กับชาววันยาร์ เช่นราชสกุลฟินาร์ฟิน จะมีผมสีทองแบบชาววันยาร์) พวกเขาพูดภาษาเควนยา แต่ชาวโนลดอร์ที่นิวัติมายังมิดเดิลเอิร์ธในยุคที่หนึ่ง จะใช้ภาษาซินดารินในการเจรจาประจำวัน.

ภาษาเควนยาและโนลดอร์ · มิดเดิลเอิร์ธและโนลดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เบเลริอันด์

แผ่นดินเบเลริอันด์ เบเลริอันด์ (Beleriand) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการ มิดเดิลเอิร์ธ งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ ทางฟากตะวันตกของเทือกเขาเอเร็ดลูอิน (หรือเทือกเขาสีน้ำเงิน ด้านตะวันตกของแคว้นไชร์ ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) ติดกับมหาสาคร หรือเบเลกายร์ ปรากฏเป็นฉากหลังสำคัญอยู่ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน งานเขียนอื่นๆ ของโทลคีนที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินเบเลริอันด์ ได้แก่ The Lays of Beleriand, ตำนานบุตรแห่งฮูริน (The Children of Hurin), The Book of Lost Tales และอื่นๆ ในหนังสือชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ อาณาเขตเบเลริอันด์ ด้านตะวันตกจรดทะเลเบเลกายร์ ด้านตะวันออกจรดเทือกเขาเอเร็ดลูอิน ทิศเหนือจรดทุ่งอาร์ด-กาเลน ทิศใต้แผ่ไปถึงผืนป่าเทาร์-อิม-ดุยนัธ มีแม่น้ำสายหลักอยู่สองสาย ได้แก่แม่น้ำซิริออน กับแม่น้ำเกลิออน แม่น้ำซิริออนเป็นแม่น้ำใหญ่กว่า ไหลผ่านกึ่งกลางแผ่นดินเบเลริอันด์ แบ่งพื้นดินออกเป็นเบเลริอันด์ตะวันออก และเบเลริอันด์ตะวันตก ส่วนแม่น้ำเกลิออนแม้จะแคบกว่า แต่ยาวกว่า ไหลผ่านเบเลริอันด์ตะวันออกเลียบไปกับแนวเทือกเขาเอเร็ดลูอิน ฟากตะวันออกของเกลิออนเป็นแผ่นดินที่เรียกว่า ออสซิริอันด์ มีแควสาขาอีกหกสายไหลจากเอเร็ดลูอินลงมาบรรจบกับเกลิออน ดังนั้นบางครั้งก็เรียกดินแดนนี้ว่า 'แผ่นดินแห่งแม่น้ำทั้งเจ็ด' หรือ 'ดินแดนสัตตนที' แผ่นดินเบเลริอันด์ถึงคราววิบัติจนล่มจมลงสู่ใต้มหาสมุทร เมื่อครั้งสงครามแห่งความโกรธา อันเป็นสงครามเทพ ระหว่างทัพของวาลาร์ กับมอร์กอธ เป็นอันสิ้นสุดยุคที่หนึ่ง คงเหลือแต่เพียงแผ่นดินซึ่งเป็นที่ตั้งหลุมศพของมอร์เวน ทูริน และนิเอนอร์ ที่ยังโผล่พ้นมหาสมุทรอยู่ เรียกว่า 'โทลมอร์เวน'.

ภาษาเควนยาและเบเลริอันด์ · มิดเดิลเอิร์ธและเบเลริอันด์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟอานอร์

ฟอานอร์ (Fëanor) เป็นตัวละครสำคัญที่มีบทบาทอย่างยิ่งในจินตนิยายเรื่อง ซิลมาริลลิออน ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นผู้สร้างอัญมณี ซิลมาริล อันเป็นแก่นของตำนานเรื่องนั้น ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในหมู่ชาวเอลดาร์ และเป็นผู้ที่มีทักษะฝีมือช่างเป็นเลิศที่สุดใน.

ภาษาเควนยาและเฟอานอร์ · มิดเดิลเอิร์ธและเฟอานอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

อลฟ์ (elf) ตามความหมายในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ มีชีวิตยืนยาวเท่ากับอายุของโลก จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็นอมตะ คำว่า 'เอลฟ์' (Elf) เป็นคำที่โทลคีนเลือกมาจากตำนานโบราณเพื่อใช้แทนคำศัพท์แท้จริงอันเป็นชื่อของชนเผ่านี้ คือ เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งเป็นคำในภาษาเควนยา หมายถึง 'ประชากรแห่งแสงดาว'.

ภาษาเควนยาและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · มิดเดิลเอิร์ธและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

ภาษาเควนยาและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · มิดเดิลเอิร์ธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาษาเควนยาและมิดเดิลเอิร์ธ

ภาษาเควนยา มี 21 ความสัมพันธ์ขณะที่ มิดเดิลเอิร์ธ มี 151 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 14, ดัชนี Jaccard คือ 8.14% = 14 / (21 + 151)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษาเควนยาและมิดเดิลเอิร์ธ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »