เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ภาษาสันสกฤตและอักษรปัลลวะ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาษาสันสกฤตและอักษรปัลลวะ

ภาษาสันสกฤต vs. อักษรปัลลวะ

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร. รึกอักษรปัลลวะที่พบในศรีลังกา อักษรปัลลวะ เป็นอักษรสระประกอบที่มีต้นกำเนิดมาจากอินเดียใต้ มีอายุอยู่ในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 - 14 ซึ่งได้พัฒนาจนกลายเป็นอักษรทมิฬและอักษรมาลายาลัมในปัจจุบัน อักษรดังกล่าวเคยใช้เขียนภาษาทมิฬและภาษามาลายาลัม โดยเข้าไปแทนที่อักษรแบบเดิมซึ่งมีต้นกำเนิดจากอักษรพราหมีและยังใช้เขียนภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่น ๆ ด้วย อักษรปัลลวะเป็นอักษรชนิดแรกที่แพร่เข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นอักษรต้นแบบของอักษรมอญโบราณ อักษรขอมโบราณ และอักษรกวิ ซึ่งอักษรทั้งสามประเภทก็เป็นอักษรต้นแบบให้กับอักษรเกือบทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาษาสันสกฤตและอักษรปัลลวะ

ภาษาสันสกฤตและอักษรปัลลวะ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อักษรพราหมีอักษรขอมประเทศอินเดียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อักษรพราหมี

อักษรพราหมี อักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี) เป็นต้นกำเนิดของอักษรในอินเดียมากมาย รวมทั้งอักษรเขมรและอักษรทิเบตด้วย พบในอินเดียเมื่อราว..

ภาษาสันสกฤตและอักษรพราหมี · อักษรปัลลวะและอักษรพราหมี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรขอม

ลาจารึกอักษรขอมโบราณ ที่เสาในปราสาทโลเลย ลัญจกรพระบรมราชโองการสำหรับพิมพ์หัวกระดาษประกาศกฎหมายต่างๆ แบบที่ใช้ในช่วงก่อน พ.ศ. 2483 ข้อความในแพรแถบตอนล่างสุดเป็นอักษรขอมข้อความ "พฺระบรมฺมราชโองฺการ" อักษรขอมพัฒนามาจากอักษรหลังปัลลวะ ซึ่งพัฒนามาจากอักษรปัลลวะอีกทีหนึ่ง เป็นตัวอักษรของราชวงศ์ปัลลวะในอินเดียใต้ ภายหลังได้มาติดต่อกับภูมิภาคอุษาคเนย์จึงได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมซึ่งรวมถึงตัวอักษรไว้ให้กับกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้อีกด้วย ต่อมาอักษรชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในภูมิภาคนี้ มีวิวัฒนาการต่อไป จากอักษรปัลลวะ เป็นอักษรหลังปัลลวะ หลังจากนั้นก็แตกแขนงเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คืออักษรมอญโบราณ และอักษรขอมโบราณ อักษรขอมโบราณใช้ในอาณาจักรต่างๆ สองฝั่งแม่น้ำโขงตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนคร ต่อมาจึงกลายเป็นอักษรท้องถิ่นในสมัยพระนคร และเป็นต้นแบบของอักษรไทยและอักษรเขมรในปัจจุบัน เอกลักษณ์ของอักษรขอม คือ เปลี่ยนบ่าอักษรของอักษรปัลลวะเป็นศกหรือหนามเตย อักษรนี้พัฒนาไป 2 ทิศทาง คือ เป็นอักษรขอมในประเทศไทย (ใช้เขียนภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาเขมร) และอักษรขอมในประเทศกัมพูชา (ใช้เขียนภาษาเขมร ภาษาบาลี).

ภาษาสันสกฤตและอักษรขอม · อักษรขอมและอักษรปัลลวะ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ประเทศอินเดียและภาษาสันสกฤต · ประเทศอินเดียและอักษรปัลลวะ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ภาษาสันสกฤตและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · อักษรปัลลวะและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาษาสันสกฤตและอักษรปัลลวะ

ภาษาสันสกฤต มี 56 ความสัมพันธ์ขณะที่ อักษรปัลลวะ มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 5.71% = 4 / (56 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษาสันสกฤตและอักษรปัลลวะ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: