โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาสวาฮีลีและมหภาษา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาษาสวาฮีลีและมหภาษา

ภาษาสวาฮีลี vs. มหภาษา

ษาสวาฮีลี (หรือ คิสวาฮีลี) เป็นภาษากลุ่มแบนตูที่พูดอย่างกว้างขวางในแอฟริกาตะวันออก ภาษาสวาฮีลีเป็นภาษาแม่ของชาวสวาฮีลี ซึ่งอาศัยอยู่แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออกระหว่างประเทศโซมาเลียตอนใต้ ประเทศโมแซมบิกตอนเหนือ มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 5 ล้านคนและคนพูดเป็นภาษาที่สองประมาณ 30-50 ล้านคน ภาษาสวาฮีลีได้กลายเป็นภาษาที่ใช้โดยทั่วไปในแอฟริกาตะวันออกและพื้นที่รอบ ๆ คำว่า Swahili มาจากรูปพหูพจน์ของคำภาษาอาหรับ sahel ساحل (เอกพจน์) คือ sawahil سواحل แปลว่า "ขอบเขต" และ "ชายฝั่ง" (ใช้เป็นคำวิเศษณ์ที่แปลว่า "คนที่อาศัยอยู่ชายฝั่ง" หรือ "ภาษาชายฝั่ง") นอกจากนี้ คำว่า sahel ใช้เรียกพื้นที่พรมแดนของทะเลทรายซาฮารา การเพิ่ม "i" ตรงท้ายน่าจะมาจาก nisba ของภาษาอาหรับ (ของชายฝั่ง سواحلي) บ้างก็ว่าเป็นเหตุผลทางสัทศาสตร. มาตรฐานสากล ISO 639-3 สำหรับกำหนดรหัสภาษา ได้มีการกำหนดรหัสส่วนหนึ่งเป็นประเภท มหภาษา (macrolanguage) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของภาษาเอกเทศอื่นภายในมาตรฐาน มหภาษานี้ครอบคลุมกรณีก้ำกึ่งระหว่างภาษาสองภาษาที่ต่างกันซึ่งอาจพิจารณาได้ว่า ภาษาหนึ่งเป็นภาษาถิ่นของอีกภาษาหนึ่ง หรือเป็นภาษาเดียวกัน หรือเป็นภาษาที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกันมาก นอกจากนี้ยังใช้เมื่อมีภาษาหลายภาษาที่บางครั้งนับว่าเป็นภาษาเดียวกัน แต่บางครั้งนับว่าต่างกันสำหรับเหตุผลทางด้านชาติพันธุ์หรือการเมืองเป็นต้น มากกว่าเหตุผลทางภาษาศาสตร์ มีรหัสภาษาจำนวน 56 รหัสในมาตรฐาน ISO 639-2 ที่ถือว่าเป็นมหภาษาในมาตรฐาน ISO 639-3 ประเภทมหภาษาเริ่มนำมาใช้ในเอทโนล็อก (Ethnologue) ตั้งแต่การพิมพ์ครั้งที่ 16 อย่างไรก็ตาม มหภาษาบางรหัสก็ไม่มีภาษาเอกเทศใดรวมอยู่เลยใน ISO 639-2 (ตามที่กำหนดโดย 639-3) ตัวอย่างเช่น ara (ภาษาอาหรับ) แต่ 639-3 ได้จำแนกภาษาแปรผันที่ต่างกันของภาษาอาหรับเป็นภาษาแยกในสถานการณ์เช่นนี้ ส่วนมหภาษาอื่นเช่น nor (ภาษานอร์เวย์) ก็มีภาษาสองภาษารวมอยู่ได้แก่ nno (ภาษานือนอสก์) และ nob (ภาษาบุ๊กมอล) ซึ่งได้กำหนดไว้แล้วใน 639-2 ทั้งหมดนี้หมายความว่า บางภาษาที่ได้พิจารณาว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาอื่นใน 639-2 จะนำไปใช้กับ 639-3 ในบริบทเฉพาะที่ได้พิจารณาว่าเป็นภาษาเอกเทศนั้นเอง สิ่งนี้เป็นความพยายามที่จะต่อกรกับภาษาแปรผันซึ่งอาจแบ่งแยกออกไปได้ในทางภาษาศาสตร์ แต่ผู้พูดภาษาเหล่านั้นปฏิบัติต่อภาษาประหนึ่งว่าเป็นเพียงภาษาเดียวกันในรูปแบบต่าง ๆ ISO 639-2 ก็มีรหัสสำหรับการรวมกลุ่มของหลาย ๆ ภาษา แต่ไม่เหมือนมหภาษา การรวมกลุ่มภาษาเหล่านี้ถูกตัดออกใน ISO 639-3 เพราะมันไม่ได้อ้างถึงภาษาเอกเทศใด ๆ รหัสเช่นนั้นส่วนมากได้กำหนดไว้ใน ISO 639-5 แทน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาษาสวาฮีลีและมหภาษา

ภาษาสวาฮีลีและมหภาษา มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาอาหรับ

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ภาษาสวาฮีลีและภาษาอาหรับ · ภาษาอาหรับและมหภาษา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาษาสวาฮีลีและมหภาษา

ภาษาสวาฮีลี มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ มหภาษา มี 5 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 5.00% = 1 / (15 + 5)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษาสวาฮีลีและมหภาษา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »