โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษามอลตา

ดัชนี ภาษามอลตา

ษามอลตา (Maltese; มอลตา: Malti) เป็นภาษาประจำชาติของประเทศมอลตา และเป็นภาษาราชการของประเทศนี้ร่วมกับภาษาอังกฤษ ภาษามอลตามีต้นกำเนิดจากภาษาซิคูโล-อาหรับ (ภาษาถิ่นของภาษาอาหรับที่มีวิวัฒนาการขึ้นในเกาะซิซิลี เกาะมอลตา และภาคใต้ของประเทศอิตาลี) แต่ก็มีคำยืมจากภาษาอิตาลี ภาษาซิซิลี และภาษาอังกฤษในสัดส่วนสูงเช่นกัน ปัจจุบันภาษามอลตายังเป็นภาษาในกลุ่มเซมิติกเพียงภาษาเดียวที่เป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรปและใช้อักษรละตินในภาษาเขียนมาตรฐาน.

35 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2518พ.ศ. 2550กลุ่มภาษาเซมิติกกลุ่มภาษาเซมิติกกลางกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกภาษาอังกฤษภาษาอาหรับภาษาอิตาลีภาษาซิซิลียิบรอลตาร์สหภาพยุโรปสหรัฐสหราชอาณาจักรอักษรละตินประเทศมอลตาประเทศออสเตรเลียประเทศอิตาลีประเทศตูนิเซียประเทศแคนาดาแคว้นปกครองตนเองซิซิลีเสียงพยัญชนะนาสิกเสียงกัก ริมฝีปาก ก้องเสียงกัก ริมฝีปาก ไม่ก้องเสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้องเสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้องเสียงกัก เพดานอ่อน ก้องเสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้องเสียงรัว ปุ่มเหงือกเสียงนาสิก ริมฝีปากเสียงนาสิก ปุ่มเหงือกเสียงเสียดแทรก ริมฝีปากกับฟัน ก้องเสียงเสียดแทรก ริมฝีปากกับฟัน ไม่ก้องเสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ก้องเสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้องเสียงเปิดข้างลิ้น ปุ่มเหงือก

พ.ศ. 2518

ทธศักราช 2518 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1975 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและพ.ศ. 2518 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเซมิติก

หมายของอมาร์นา เขียนด้วย ภาษาอัคคาเดีย กลุ่มภาษาเซมิติก (Semitic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่มีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคนในปริเวณแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลางและจะงอยของแอฟริกา เป็นสาขาย่อยในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก และเป็นสาขาเดียวของตระกูลนี้ที่มีผู้พูดในทวีปเอเชีย กลุ่มภาษาเซมิติกที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาอาหรับ (ภาษาแม่ 325 ล้านคน) รองลงมาคือภาษาอัมฮารา (27 ล้านคน) ภาษาตึกรึญญา (6.9 ล้านคน) และภาษาฮีบรู (5 ล้านคน) กลุ่มภาษาเซมิติกเป็นกลุ่มภาษาแรกๆ ที่มีระบบการเขียน ภาษาอัคคาเดียเริ่มเขียนตั้งแต่ราว 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช นอกจากนั้นยังมีอักษรโบราณที่ใช้เขียนกลุ่มภาษาเซมิติกมากมาย เช่น อักษรฟินิเชีย อักษรอาหรับ อักษรแอราเมอิก อักษรซีรีแอก อักษรอาระเบียใต้ และอักษรเอธิโอปิก มีภาษามอลตาเท่านั้นที่เป็นกลุ่มภาษานี้แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน ชื่อของกลุ่มภาษานี้มาจาก เซม บุตรชายของโนอาห์ ในไบเบิล.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและกลุ่มภาษาเซมิติก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเซมิติกกลาง

กลุ่มภาษาเซมิติกกลาง เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเซมิติก ประกอบด้วยภาษาอาหรับและกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ (รวม ภาษาคานาอันไนต์ ภาษาฮีบรู ภาษาอราเมอิก และภาษายูการิติก)ในบางครั้ง ในกลุ่มนี้ ยังแบ่งเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกกลางใต้ (รวมภาษาอาหรับและภาษาฮีบรู) กับภาษาอราเมอิก การแบ่งแยกระหว่างภาษาอาหรับกับกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือคือการสร้างรูปพหูพจน์ ภาษาอาหรับสร้างโดยการแทรกสระ ส่วนกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือสร้างด้วยปัจจัย เช่น.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและกลุ่มภาษาเซมิติกกลาง · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก

กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก (West Semitic languages) เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเซมิติกที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและได้รับการสนับสนุนจาก Robert Hetzron และ John Huehnergard ผู้เชี่ยวชาญด้านกลุ่มภาษาเซมิติก ซึ่งแบ่งกลุ่มภาษาเซมิติกออกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันออกและตะวันตก กลุ่มตะวันออกประกอบด้วยภาษาเอ็บลาไอต์ และภาษาอัคคาเดีย ส่วนกลุ่มตะวันตกเป็นกลุ่มใหญ่ของกลุ่มภาษาเซมิติก ประกอบด้วยกลุ่มย่อยได้แก่ กลุ่มเอธิโฮปิก กลุ่มอาระเบียใต้ ภาษาอาหรับ และกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ (ภาษายูการิติก ภาษาฮีบรู ภาษาอราเมอิก) กลุ่มภาษาเอธิโอปิกและอาระเบียใต้ มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก บางครั้งรวมกันเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกใต้ การจัดตำแหน่งของภาษาอาหรับภายในกลุ่มเซมิติกยังสับสน บางครั้งจัดให้อยู่ในกลุ่มเซมิติกใต้ บางครั้งรวมกับกลุ่มตะวันตกเฉียงเหนือเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกกลาง หมวดหมู่:กลุ่มภาษาเซมิติก.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ภาษามอลตาและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอิตาลี

ษาอิตาลี (Italiano หรือ lingua italiana; Italian) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์,โดยส่วนใหญ่ภาษาอิตาลีเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาละตินมากที่สุดในภาษากลุ่มโรมานซ์ด้วยกัน, ภาษาอิตาลีเป็นภาษาทางการในอิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, ซานมารีโน, นครรัฐวาติกัน และอิสเตรียตะวันตก (ในสโลวีเนียและโครเอเชีย), เคยมีสถานะเป็นภาษาทางการของแอลเบเนีย, มอลตา และ โมนาโก ซึ่งมีการพูดภาษานี้กันอย่างกว้างขวางรวมทั้งอดีตแอฟริกาตะวันออกของอิตาลีและแอฟริกาเหนือของอิตาลี (ปัจจุบันคือประเทศลิเบีย), มีการพูดภาษาอิตาลีในกลุ่มผู้อพยพชาวอิตาเลียนขนาดใหญ่ในอเมริกาและออสเตรเลีย, มีสถานะเป็นภาษาทางการของชนกลุ่มน้อยในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, สโลวีเนีย, โครเอเชีย และ โรมาเนีย left.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและภาษาอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซิซิลี

ภาษาซิซิลี (Sicilian language; ภาษาซิซิลี: lu sicilianu; ภาษาอิตาลี:lingua siciliana) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ ส่วนมากใช้พูดในเกาะซิซิลี และบางส่วนบนแผ่นดินใหญ่ในประเทศอิตาลี เช่น คาลาบรีอาตอนกลางและตอนใต้ ซาเลนโตที่อยู่ทางใต้ของอาปูลิอา เป็นสำเนียงที่อยู่ทางตอนใต้สุดของภาษากลุ่มอิตาลี มีความแตกต่างจากภาษาอิตาลีจนนับเป็นภาษาใหม่ได้ แต่ชาวซิซิลีมักคิดว่าภาษาของพวกเขาเป็นสำเนียงของภาษาอิตาลี ซิซิลี ซิซิลี.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและภาษาซิซิลี · ดูเพิ่มเติม »

ยิบรอลตาร์

รอลตาร์ (Gibraltar) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ใกล้กับจุดใต้สุดของคาบสมุทรไอบีเรีย ในบริเวณช่องแคบยิบรอลตาร์ มีเนื้อที่โดยรวมประมาณ 6.5 ตารางกิโลเมตร ทางทิศเหนือมีพรมแดนติดต่อกับประเทศสเปน และมีประชากรประมาณ 32,000 คน สถานที่ที่มีชื่อเสียงของยิบรอลตาร์คือ โขดหินยิบรอลตาร์ (Rock of Gibraltar) ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาแห่งหนึ่งของโลก เดิมทียิบรอลตาร์เคยเป็นดินแดนหนึ่งของราชอาณาจักรสเปน จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: ภาษามอลตาและยิบรอลตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพยุโรป

หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและสหภาพยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ภาษามอลตาและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ภาษามอลตาและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: ภาษามอลตาและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมอลตา

มอลตา (Malta) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมอลตา (Repubblika ta' Malta) เป็นประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็กสองเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่มีประชากรหนาแน่น (1,262 คน ต่อตารางกิโลเมตร) มีประชากรทั้งหมด (ล่าสุด พ.ศ. 2546) 399,867 คน เมืองหลวงชื่อเมืองวัลเลตตา (Valletta) ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของยุโรป ถัดลงมาจากตอนใต้ของประเทศอิตาลี นับเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งหนึ่งในยุโรป มีผู้มาครอบครองและถูกแย่งชิงนับครั้งไม่ถ้วนในอดีต.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและประเทศมอลตา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตูนิเซีย

ตูนิเซีย (Tunisia; تونس‎) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐตูนิเซีย (Tunisian Republic; الجمهورية التونسية) เป็นประเทศอาหรับมุสลิมที่ตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นประเทศทางตะวันออกสุดและเล็กที่สุดของ 3 ประเทศบนเทือกเขาแอตลาส (Atlas mountains) มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดประเทศแอลจีเรีย และทางใต้และตะวันตกจรดประเทศลิเบีย พื้นที่ร้อยละ 40 ของประเทศประกอบด้วยทะเลทรายสะฮารา ในขณะที่ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่ประกอบด้วยพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ และชายฝั่งที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ทั้งคู่มีบทบาทอย่างมากในสมัยโบราณ เริ่มต้นด้วยการก่อตั้งเมืองคาร์เทจ (Carthage) ที่มีชื่อของชาวฟีนีเชีย (Phoenicia) และในเวลาต่อมาได้กลายเป็นพื้นที่มณฑลแอฟริกา (Africa Province) เป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำของอาณาจักรโรมัน สันนิษฐานว่า ชื่อ ตูนิส (Tunis) มาจากภาษาเบอร์เบอร์ (Berber) แปลว่าแหลมซึ่งสอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ที่เป็นแหลมยื้นเข้าไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หรือ อีกความหมายหนึ่งนั้น แปลว่า "พักแรม".

ใหม่!!: ภาษามอลตาและประเทศตูนิเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคนาดา

แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและประเทศแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นปกครองตนเองซิซิลี

ซิซิลี (Sicily) หรือ ซีชีเลีย (Sicilia; Sicìlia) เป็นหนึ่งในยี่สิบแคว้นและหนึ่งในห้าแคว้นปกครองตนเองของประเทศอิตาลี มีลักษณะเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางภาคใต้ของประเทศโดยมีช่องแคบเมสซีนาคั่นระหว่างตัวเกาะกับแผ่นดินใหญ่ เกาะมีพื้นที่ 25,708 ตารางกิโลเมตร นับเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของอิตาลีและในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดสูงสุดของเกาะคือภูเขาไฟเอตนา (3,320 เมตร) บนเกาะมีประชากรอาศัยอยู่กว่า 5 ล้านคน เมืองสำคัญได้แก่ ปาแลร์โม (เมืองหลัก) เมสซีนา กาตาเนีย ซีรากูซา ตราปานี เอนนา คัลตานิสเซตตา และอากรีเจนโต ซิซิลีมีประวัติต่อเนื่องยาวนานกว่า 4,000 ปี ด้วยเหตุที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของยุโรป ซิซิลีจึงตกเป็นเป้าหมายของการยึดครองจากชนชาติที่มีอำนาจเข้มแข็งในช่วงเวลาต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ชาวกรีก โรมัน คาร์เทจ อาหรับ นอร์มัน เยอรมัน ฝรั่งเศส และสเปน แต่ละชาติผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาปกครองดินแดนนี้ ขณะเดียวกันก็ได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของตนเข้ามาด้วย เกาะนี้จึงมีสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่หลากหลายผสมผสานกัน หากแต่ลงตัว นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยความงามทางธรรมชาติของทั้งชายหาด ทะเล และภูเขาไฟ และด้วยความที่อยู่ห่างไกลออกมา จึงสามารถสัมผัสได้ถึงความเป็นอิตาลีดั้งเดิมอย่างที่หาไม่พบอีกแล้วตามเมืองใหญ่ในอิตาลีภาคพื้นทวีป.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและแคว้นปกครองตนเองซิซิลี · ดูเพิ่มเติม »

เสียงพยัญชนะนาสิก

ียงพยัญชนะนาสิก เป็นเสียงพยัญชนะที่เกิดจากการหย่อนเพดานอ่อนในปาก แล้วปล่อยอากาศอย่างอิสระออกทางจมูก อวัยวะในช่องปากรูปแบบต่าง ๆ ทำหน้าที่สั่นพ้องเสียงให้ก้อง แต่อากาศจะไม่ออกมาทางช่องปากเพราะถูกกักด้วยริมฝีปากหรือลิ้น นอกจากนี้ยังมีเสียงพยัญชนะอื่นที่ออกเสียงขึ้นจมูก (nasalized) ซึ่งพบได้ยาก.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและเสียงพยัญชนะนาสิก · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก ริมฝีปาก ก้อง

ียงกัก ริมฝีปาก ก้อง หรือ เสียงระเบิด ฐานริมฝีปาก โฆษะ (voiced bilabial plosive) เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ b เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและเสียงกัก ริมฝีปาก ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก ริมฝีปาก ไม่ก้อง

ียงกัก ริมฝีปาก ไม่ก้อง หรือ เสียงระเบิด ฐานริมฝีปาก อโฆษะ (voiceless bilabial plosive) เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ p เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ป ผ พ แล.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและเสียงกัก ริมฝีปาก ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้อง

เสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ d เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ฎ ฑ และ ด หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและเสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง

เสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง (voiceless alveolar plosive) เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ t เสียงนี้มักจะปรากฏในหลายภาษาโดยทั่วไปในลักษณะธรรมดา คือ แต่ในภาษาไทยจะมีสองแบบคือแบบไม่พ่นลม และแบบพ่นลม ภาษาในอินเดียมักจะแบ่งออกเป็นสองแบบเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่นภาษาฮินดี ภาษาที่ไม่มีเสียงนี้คือ ภาษาฮาวาย (นอกเขตนีอิเฮา) ในภาษาไทย เสียงนี้เมื่ออยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันของพยางค์จะแทนได้ด้วยอักษรแทนด้วยอักษรที่แตกต่างกัน เสียงแบบไม่พ่นลมจะแทนด้วย ฏ ต เมื่ออยู่ต้นพยางค์ แต่เมื่ออยู่ท้ายพยางค์จะแทนได้ด้วย จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส ส่วนเสียงแบบพ่นลมจะอยู่ได้เฉพาะตำแหน่งต้นพยางค์ และแทนได้ด้วยอักษร ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและเสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก เพดานอ่อน ก้อง

เสียงกัก เพดานอ่อน ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมัน, ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ แต่ไม่มีเสียงนี้ในภาษาไทย แต่คล้ายเสียง ก ในไทย สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ (สัทอักษรกำหนดให้ใช้ 8px แบบหางเปิด) และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ g การทับศัพท์เสียงนี้มันใช้ ก หรือ ง หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและเสียงกัก เพดานอ่อน ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง

เสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ k เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ก เมื่อไม่พ่นลม และ ข ฃ ค ฅ ฆ เมื่อพ่นลม หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและเสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงรัว ปุ่มเหงือก

เสียงรัว ปุ่มเหงือก เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่น ภาษาโปรตุเกส, ภาษารัสเซีย, ภาษาเขมร ฯลฯ เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ร สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ r หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและเสียงรัว ปุ่มเหงือก · ดูเพิ่มเติม »

เสียงนาสิก ริมฝีปาก

เสียงนาสิก ริมฝีปาก เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ m เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ม หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและเสียงนาสิก ริมฝีปาก · ดูเพิ่มเติม »

เสียงนาสิก ปุ่มเหงือก

เสียงนาสิก ปุ่มเหงือก เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ n เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ณ และ น ส่วนอักษร ญ ร และ ล จะออกเสียงเป็นเสียงนี้เมื่อทำหน้าที่เป็นตัวสะกด หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและเสียงนาสิก ปุ่มเหงือก · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเสียดแทรก ริมฝีปากกับฟัน ก้อง

เสียงเสียดแทรก ริมฝีปากกับฟัน ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาฮินดี ภาษาเวียดนาม ฯลฯ แต่ไม่มีในภาษาไทย สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ /v/ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ v การทับศัพท์ในภาษาไทยมักใช้ ว เมื่อเป็นพยัญชนะต้น และ ฟ เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด เช่น server เขียนว่า เซิร์ฟเวอร์ บางครั้งก็อาจพบการใช้ ฝ ในพจนานุกรมได้เช่นกัน หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและเสียงเสียดแทรก ริมฝีปากกับฟัน ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเสียดแทรก ริมฝีปากกับฟัน ไม่ก้อง

ียงเสียดแทรก ริมฝีปากกับฟัน ไม่ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ /f/.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและเสียงเสียดแทรก ริมฝีปากกับฟัน ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ก้อง

เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ แต่ไม่มีเสียงนี้ในภาษาไทย สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ /z/ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและเสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง

เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ /s/ ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ซ ส ศ และ ษ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและเสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเปิดข้างลิ้น ปุ่มเหงือก

เสียงเปิดข้างลิ้น ปุ่มเหงือก เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ l เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ล และ ฬ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: ภาษามอลตาและเสียงเปิดข้างลิ้น ปุ่มเหงือก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »