โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษามองโกเลีย

ดัชนี ภาษามองโกเลีย

ษามองโกเลีย เป็นภาษาทางการของประเทศมองโกเลีย และเป็นภาษาหลักของชาวมองโกเลียส่วนใหญ่ ซึ่งคนพูดส่วนใหญ่จะพูดแบบคอลคา (Khalkha) นอกจากนี้ ภาษามองโกเลียก็พูดในพื้นที่รอบนอกในบางมณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหพันธรัฐรัสเซีย ภาษามองโกเลีย เป็นภาษารูปคำติดต่อคล้ายภาษาตุรกีหรือภาษาฟินน์ มีการเติมปัจจัยที่รากศัพท์ ภาษามองโกเลียมีเพียงสรรพนามบุรุษที่หนึ่งและสอง แต่ไม่มีบุรุษที่สาม แต่ใช้สรรพนามชี้เฉพาะ เช่น นี่ (en) นั่น (ter) นี่ทั้งหลาย (ed nar) และนั่นทั้งหลาย (ted nar) แทน.

33 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษามองโกลกลุ่มภาษามองโกลตะวันออกกลุ่มภาษาจีนภาษาภาษาบอนันภาษามองโกลคามนิกันภาษามองเกอร์ภาษารัสเซียภาษาราชการภาษาสันสกฤตภาษาอังกฤษภาษาอาหรับภาษาอุยกูร์ภาษาทิเบตภาษาตงเซียงภาษาเตอร์กิกเก่าภาษาเปอร์เซียมณฑลจี๋หลินมณฑลเหลียวหนิงมณฑลเฮย์หลงเจียงสาธารณรัฐบูเรียตียาอักษรพักส์-ปาอักษรมองโกเลียอักษรอาหรับอักษรอุยกูร์อักษรโซยอมโบตระกูลภาษาอัลไตประเทศมองโกเลียประเทศรัสเซียประเทศอัฟกานิสถานประเทศจีนประเทศคีร์กีซสถานเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

กลุ่มภาษามองโกล

กลุ่มภาษามองโกล (Mongolic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่ใช้พูดในเอเชียกลาง มีสมาชิก 13 ภาษา นักภาษาศาสตร์บางกลุ่มรวมกลุ่มภาษามองโกลเข้ากับกลุ่มภาษาตังกูสิต กลุ่มภาษาเตอร์กิก เป็นตระกูลภาษาอัลไตอิก แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ภาษาในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือภาษามองโกเลีย ซึ่งเป็นภาษาแม่ของชาวมองโกล มีผู้พูด 5.7 ล้านคนในมองโกเลีย รัสเซียและจีน ภาษานิกูดารี ซึ่งเป็นภาษากลุ่มมองโกลที่จัดจำแนกไม่ได้ ยังคงมีผู้พูดราว 100 คนในเฮรัต อัฟกานิสถาน.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและกลุ่มภาษามองโกล · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษามองโกลตะวันออก

กลุ่มภาษามองโกลตะวันออก (Eastern Mongolic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่ใช้พูดในเอเชียกลาง ภาษาในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดคือภาษามองโกเลียซึ่งเป็นภาษาของชาวมองโกล มีผู้พูดราว 5.7 ล้านคนในมองโกเลีย รัสเซียและเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ประเทศจีน.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและกลุ่มภาษามองโกลตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษา

ษาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การพูดอะไรก็ได้ที่เป็นภาษาเช่น สวัสดี คน สวย ให้ พี่ ไป ส่ง ป่าว เป็นราก...

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบอนัน

ษาบอนัน (Bonan language; ออกเสียง, Baonang; ภาษาจีน 保安语 Bǎoān) เป็นภาษาในกลุ่มภาษามองโกลของชาวบอนันในประเทศจีน เมื่อ..

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและภาษาบอนัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามองโกลคามนิกัน

ษามองโกลคามนิกัน (Khamnigan) เป็นภาษาในกลุ่มภาษามองโกลที่ใช้พูดในบริเวณทะเลสาบไบกัลป์ ชาวคามนิกันปกติเป็นผู้ที่พูดได้สองภาษา คือพูดได้ทั้งภาษาในกลุ่มภาษามองโกลและกลุ่มภาษาตังกูสิต โดยภาษากลุ่มตันกูสิตที่พูดคือภาษาอีเวนกี ส่วนภาษาคามนิกันเป็นภาษาในกลุ่มภาษามองโกลที่มีลักษณะเป็นเอกเทศ ไม่ได้เป็นสำเนียงของภาษามองโกลหรือภาษาบูรยัตที่ใช้พูดในรัสเซียหรือมองโกเลีย การใช้ภาษานี้ในรัสเซียกำลังลดลง เหลือผู้พูดอยู่น้อยแต่สถานะในมองโกเลียยังไม่แน่ชัด แต่กลุ่มชนในจีนยังคงใช้ทั้งสองภาษาอยู่ ภาษาอีเวนกีที่ชาวคามนิกันใช้จะได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มมองโกลมาก โดยเฉพาะการใช้คำศัพท์ ส่วนภาษามองโกลจะเป็นภาษาที่มีลักษณะอนุรักษนิยมมาก และได้รับอิทธิพลจากภาษาอีเวนกีน้อย แม้จะมีระบบไวยากรณ์พหูพจน์แบบภาษาอีเวนกี ซึ่งภาษากลุ่มมองโกลอื่นๆไม่มี.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและภาษามองโกลคามนิกัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามองเกอร์

ษามองเกอร์ (Monguor language; ภาษาจีน: 土族语; พินยิน: Tǔzúyǔ) เป็นกลุ่มภาษามองโกล มีหลายสำเนียง พูดโดยชาวมองเกอร์ มีระบบการเขียนที่พัฒนามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 25 แต่ปัจจุบันใช้น้อย ภาษานี้แบ่งได้เป็นสองภาษาคือภาษามองคุล (Mongghul) ในเขตปกครองตนเองฮูซูและตู (Huzhu Tu Autonomous County) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาษาทิเบต และภาษามังเคอร์ (Mangghuer) ในเขตปกครองตนเองมิเญ ฮุยและตู (Minhe Hui and Tu Autonomous County) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาษาจีน.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและภาษามองเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและภาษารัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาราชการ

ษาทางการ หรือ ภาษาราชการ คือภาษาที่มีการกำหนดให้เป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสารภายในประเทศและเขตแดนที่ติดต่อกับประเทศนั้น บางครั้งภาษาท้องถิ่นถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาษาทางการเพราะมีการใช้การติดต่อกับทางส่วนการปกครองของท้องที่นั้น ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่มีภาษาทางการ 1 ภาษา บางประเทศมีภาษาทางการ 2 ภาษาขึ้นไป เช่น เบลเยียม แคนาดา ฟินแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ ขณะเดียวกันบางประเทศไม่มีภาษาทางการ เช่น สหรัฐอเมริกา สวีเดน ฯลฯ ภาษาทางการของบางประเทศที่อยู่ภายใต้อาณานิคม เช่น ภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส ถูกใช้เป็นภาษาทางการ ถึงแม้ว่าไม่ใช่ภาษาที่มีการใช้เป็นหลักในประเทศนั้นๆ ในประเทศไอร์แลนด์ ภาษาไอร์แลนด์ (ไอริช) เป็นภาษาทางการและเป็นภาษาประจำชาติของประเทศ แต่มีผู้ใช้ภาษาไอร์แลนด์น้อยกว่า 1 ใน 3 ของประชากรประเทศ ขณะที่ผู้คนส่วนมากใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ในบางประเทศมีการโต้เถียงอย่างรุนแรง ในประเด็นที่ว่าควรใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการของประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้น ใช้ภาษาไทยมาตรฐาน เป็น "ภาษากลาง" ที่ได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาจากภาษาไทยถิ่นกลางมาโดยลำดับ จนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นกลางอื่นๆ เรียกอีกอย่างว่าเป็นภาษาหนังสือ เป็นภาษาที่ใช้ในเอกสารราชการ การประชุมที่เป็นทางการ หนังสือ และตำราต่างๆ โดยปรากฏแนวการพัฒนาเป็นภาษากลางตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและภาษาราชการ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอุยกูร์

ษาอุยกูร์ เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก พูดโดยชาวอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและภาษาอุยกูร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทิเบต

ษาทิเบตเป็นภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า ภาษาทิเบตมีภาษาถิ่นหลายกลุ่มคือ ภาษากลาง อยู่ในเขตปกครองตนเองทิเบต เช่นที่ ลาซา สำเนียงคาม อยู่ในเขตแคว้นคาม สำเนียงอัมโด อยู่ในแคว้นอัมโด ภาษาถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ภาษาของชนเชื้อสายทิเบตในเนปาล เช่นชาวเศรป.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและภาษาทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตงเซียง

ษาซานตา (Santa language) หรือภาษาตงเซียง (Dongxiang;ภาษาจีน: 东乡语) เป็นภาษากลุ่มมองโกลที่ใช้พูดโดยชาวตงเซียงในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ภาษาตงเซียงไม่มีการเปลี่ยนเสียงสระและไม่มีความต่างของความยาวเสียงสร.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและภาษาตงเซียง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตอร์กิกเก่า

ภาษาเตอร์กิกเก่า ใช้พูดโดยชาวกอกเติร์กและใช้ในจารึกอักษรออร์คอน ใกล้เคียงกับภาษาอุยกูร์โบราณ รวมทั้งภาษาเติร์กในเขตไซบีเรีย เป็นบรรพบุรุษของภาษากลุ่มเติร์กตะวันตก เช่นภาษาโอคุซและภาษาเคียปชัก เตอร์กิกเก่า.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและภาษาเตอร์กิกเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและภาษาเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลจี๋หลิน

มณฑลจี๋หลิน ตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีชายแดนติดต่อกับมณฑลต่างๆ ทางใต้ติดกับเหลียวหนิง ตะวันตกติดกับมองโกเลียใน เหนือติดกับเฮยหลงเจียง และตะวันออกติดต่อกับรัสเซียและคาบสมุทรเกาหลีโดยมีแม่น้ำยาลู่ว์เจียงเป็นเส้นเขตแดน มีเมืองหลวงชื่อ ฉางชุน(长春)มีเนื้อที่ 187,400 ก.ม. ประชากร 27,090,000 คน ความหนาแน่น 145 คนต่อตารางกิโลเมตร ค่าจีดีพี 295.8 พันล้านเหรินหมินปี้ หรือเฉลี่ย 10,900 เหรินเหมินปี้ต่อประชากรหนึ่งคน (ข้อมูล พ.ศ. 2547) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและมณฑลจี๋หลิน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหลียวหนิง

มณฑลเหลียวหนิง (จีนตัวย่อ: 辽宁省 จีนตัวเต็ม: 遼寧省) ชื่อย่อ เหลียว(辽)ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทิศตะวันตกติดเหอเป่ย์ เหนือติดจี๋หลิน มองโกเลียใน ทิศตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำยาลู่ว์เจียงกั้นเขตแดนกับประเทศเกาหลีเหนือ ทางใต้เป็นทะเลเหลืองและทะเลป๋อไฮ่ มีเมืองหลวงชื่อ เฉิ่นหยาง มีเนื้อที่ 145,900 ก.ม.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและมณฑลเหลียวหนิง · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเฮย์หลงเจียง

มณฑลเฮย์หลงเจียง (จีนตัวย่อ: 黑龙江省; จีนตัวเต็ม: 黑龍江省)ชื่อย่อ เฮย (黑)ชื่อ เฮยหลงเจียง มาจากชื่อแม่น้ำสายที่ใหญ่ที่สุดในมณฑล มีเมืองหลวงชื่อว่า ฮาร์บิน ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศแมนจูกัว อดีตที่ประเทศถูกญี่ปุ่นเข้ายึดในปี พ.ศ. 2474 มณฑลเฮย์หลงเจียง มีประชากรประมาณ 39 ล้านคน มีเนื้อที่ 454,000 ตาราง ก.ม.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและมณฑลเฮย์หลงเจียง · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐบูเรียตียา

รณรัฐบูเรียตียา (Респу́блика Буря́тия; Буряад Улас) เป็นเขตสหพันธ์ของประเทศรัสเซีย มีเมืองหลักคือ อูลาน-อูเด มีเนื้อที่ 351,300 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 972,021 คน สาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียตบูร์ยัตประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียตในปี..

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและสาธารณรัฐบูเรียตียา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรพักส์-ปา

อกสารเขียนด้วยอักษรพักส์-ปา อักษรพักส์-ปา (Phags-pa alphabet) กุบไลข่านมอบหมายให้พระลามะจากทิเบตชื่อ มติธวจะ ศรีภัทร (1782 – 1823) ประดิษฐ์อักษรใหม่สำหรับภาษามองโกเลียขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและอักษรพักส์-ปา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรมองโกเลีย

อักษรมองโกเลีย (17px Mongγol bičig, ซีริลลิก: Монгол бичиг, Mongol bichig) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษามองโกเลีย เมื่อ..

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและอักษรมองโกเลีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอาหรับ

อักษรอาหรับ เป็นอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และภาษามลายูปัตตานี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอุยกูร์

อักษรอุยกูร์ (Uyghur /Уйғур /ئۇيغۇر) เริ่มแรกภาษาอุยกูร์เขียนด้วยอักษรออร์กอนซึ่งเป็นอักษรรูนส์อักษรอุยกูร์นี้พัฒนามาจากอักษรซอกเดีย ที่มาจากอักษรอราเมอิกอีกต่อหนึ่ง ใช้ในระหว่าง..

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและอักษรอุยกูร์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรโซยอมโบ

ตัวอย่างอักษรโซยอมโบแต่ละพยางค์ อักษรโซยอมโบ ประดิษฐ์โดย บอกโด ซานาบาซาร์ พระภิกษุชาวมองโกเลียเมื่อ..

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและอักษรโซยอมโบ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาอัลไต

ตระกูลภาษาอัลไต (Altaic language family) ตระกูลภาษานี้ใช้พูดกันตั้งแต่ป่าสนในไซบีเรียตะวันออกข้ามทุ่งหญ้าและทะเลทรายของเอเชียกลางไปจรดประเทศตุรกี และบางส่วนของประเทศจีน คนในแถบนี้มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนไปตามทุ่งหญ้าและทะเลทราย เช่น พวกเตอร์กและมองโกลบางเผ่า บางพวกก็อาศัยอยู่ตามป่าเขาและล่าสัตว์ เช่น พวกมองโกลบางพวกและพวกตุงกุส มีบางส่วนเท่านั้นที่รับวัฒนธรรมใกล้เคียงอย่างวัฒนธรรมจีนที่มีลักษณะแบบเกษตรกรรม เช่น ชาวเกาหลีและชาวญี่ปุ่นซึ่งอาจเป็นพวกตุงกุสดั้งเดิม (Proto-Tungusic) โดยอพยพมายังคาบสมุทรเกาหลีและหมู่เกาะญี่ปุ่นก่อนพวกอื่น ในปัจจุบันนี้ผู้ที่ใช้ตระกูลภาษานี้มีประมาณ 270 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและตระกูลภาษาอัลไต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมองโกเลีย

มองโกเลีย (Mongolia; Монгол Улс มงกลอุลุส) เป็นประเทศในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลกรองจากประเทศคาซัคสถาน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศรัสเซีย และทางใต้ติดกับประเทศจีน มีพื้นที่ที่สามารถใช้สำหรับการเกษตรได้น้อยกว่าร้อยละหนึ่ง มองโกเลียมีประชากรเพียง 3 ล้านกว่าคน แต่มีพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศไทยถึงกว่า 3 เท่า ซึ่งทำให้ประเทศมองโกเลียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุดในโลก ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยานแบบทิเบต และประชากรร้อยละ 38 อาศัยอยู่ในเมืองหลวงอูลานบาตอร.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและประเทศมองโกเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (Afghanistan; افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคีร์กีซสถาน

ก พิพิธภัณฑ์เลนิน ชายสวมหมวกแบบดั้งเดิม คีร์กีซสถาน (คีร์กีซและКыргызстан) หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐคีร์กีซ (Кыргыз Республикасы; Кыргызская Республика) เป็นประเทศในเอเชียกลาง มีพรมแดนติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดมีชื่อว่าบิชเคก (เดิมเรียกว่า ฟรุนเซ) คีร์กีซสถานเดิมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและประเทศคีร์กีซสถาน · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

ตปกครองตนเองมองโกเลียใน (มองโกล) มีลักษณะพื้นที่แคบยาวพาดตามชายแดนภาคเหนือของจีน กั้นระหว่างจีนกับประเทศมองโกเลียและรัสเซีย มีเมืองหลวงชื่อ ฮูฮอต มีเนื้อที่ 1,183,000 ก.ม.

ใหม่!!: ภาษามองโกเลียและเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาษามองโกล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »