เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ภาษามลายูและรัฐซาราวัก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาษามลายูและรัฐซาราวัก

ภาษามลายู vs. รัฐซาราวัก

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม. ซาราวัก หรือ ซาราวะก์ (Sarawak, อักษรยาวี: سراواك) เป็นหนึ่งในสองรัฐของประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว เป็นที่รู้จักกันในชื่อ บูมีเกอญาลัง (Bumi kenyalang, "ดินแดนแห่งนกเงือก") ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ และเป็นรัฐที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ส่วนอันดับสอง คือ รัฐซาบะฮ์ นั้น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมืองศูนย์กลางการบริหารของรัฐนี้ คือ กูชิง (ประชากร 600,300 คน ใน ปี พ.ศ. 2548) มีความหมายตรงตัวว่า "แมว" (Kuching) เมืองหลักของรัฐเมืองอื่น ๆ ได้แก่ ซีบู (228,000 คน) มีรี (282,000 คน) และบินตูลู (152,761 คน) การสำรวจสำมะโนประชากรครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 รัฐนี้มีประชากร 2,376,800 คน ซาราวักเป็นรัฐที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรมมากที่สุดในมาเลเซียและไม่มีกลุ่มชาติพันธุ์หลัก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาษามลายูและรัฐซาราวัก

ภาษามลายูและรัฐซาราวัก มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อักษรยาวีประเทศมาเลเซียเกาะบอร์เนียว

อักษรยาวี

ตัวอย่างอักษรยาวี อักษรยาวี (حروف جاوي) เป็นอักษรอาหรับดัดแปลงสำหรับเขียนภาษามลายู ภาษาอาเจะฮ์ ภาษาบันจาร์ ภาษามีนังกาเบา ภาษาเตาซูก และภาษาอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นักปราชญ์คนหนึ่งของปัตตานี ชื่อ ชัยค์ อะห์มัด อัลฟะฏอนี (Syeikh Ahmad al-Fathani) ได้วางกฎเกณฑ์การใช้อักษรยาวีเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนภาษามลายูในท้องถิ่นนี้ ในอดีต โลกมลายูใช้อักษรยาวีมาช้านาน ก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้อักษรรูมี ปัจจุบันชาวมุสลิมในประเทศไทยที่พูดภาษามลายู นิยมใช้อักษรยาวีบันทึกเรื่องราวในศาสนา และการสื่อสารต่าง ๆ ส่วนนักเรียนในโรงเรียนปอเนาะ หรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จะเริ่มเรียนอักษรยาวีสำหรับอ่านเขียนภาษาอาหรับ (ภาษาในคัมภีร์อัลกุรอาน) ตั้งแต่ยังเยาว์ อักษรยาวียังคงใช้กันอยู่บ้างในมาเลเซีย บรูไน และสุมาตรา คำว่า ยาวี นั้นมาจากคำว่า jawa หมายถึง ชวา นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะชาวชวาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในมะละกาและปัตตานี ได้นำอักษรอาหรับดัดแปลงมาเผยแพร่ และในที่สุดได้รับมาใช้ในชุมชนที่พูดภาษามลายูปัตตานีมาช้านาน เป็นที่น่าสังเกตว่า ยังมีความสับสนในการเรียกชื่ออักษรยาวี และภาษามลายูว่า "ภาษายาวี" แม้กระทั่งในหมู่ผู้พูดภาษามลายู ทว่าความจริงแล้วไม่มีภาษายาวี มีแต่อักษรยาวีกับภาษามลายู.

ภาษามลายูและอักษรยาวี · รัฐซาราวักและอักษรยาวี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ประเทศมาเลเซียและภาษามลายู · ประเทศมาเลเซียและรัฐซาราวัก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะบอร์เนียว

อร์เนียว (Borneo) หรือ กาลีมันตัน (Kalimantan) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากเกาะกรีนแลนด์ (อันดับ 1) และเกาะนิวกินี (อันดับ 2) มีประเทศ 3 ประเทศอยู่ในเกาะบอร์เนียว คือ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย อยู่บริเวณใจกลางกลุ่มเกาะมลายูและประเทศอินโดนีเซีย ในทางภูมิศาสตร์ เกาะบอร์เนียวเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ภาษามลายูและเกาะบอร์เนียว · รัฐซาราวักและเกาะบอร์เนียว · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาษามลายูและรัฐซาราวัก

ภาษามลายู มี 47 ความสัมพันธ์ขณะที่ รัฐซาราวัก มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 4.41% = 3 / (47 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษามลายูและรัฐซาราวัก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: