โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาผสมและภาษามลายู

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาษาผสมและภาษามลายู

ภาษาผสม vs. ภาษามลายู

การปนของภาษา คือการที่เราใช้ภาษา 2 ภาษาหรือมากกว่านั้นปนกัน การปนของภาษาเริ่มขึ้นตั้งแต่การ เข้ามาของอาณานิคม ต่างชาติในไทย โดยเริ่มการปนของภาษาในราชสำนักไทย ที่มีการติดต่อกันของเชื้อพระวงศ์ไทย หรือแม้กระทั่งขุนนางชั้นสูงที่จบการศึกษามาจากต่างประเทศ แม้กระทั่งรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ในการที่ทรงเขียนจดหมายถึง พระโอรส เชื้อพระวงศ์ ต่างๆ ก็ทรงมีการใช้คำไทยปนกับ การใช้คำอังกฤษมาตั้งแต่สมัยนั้น หลังจากนั้นก็มีการใช้ภาษาที่ปนกันในหมู่คนชั้นสูง ที่ได้รับการศึกษาสูง จนกลายเป็นค่านิยมว่าหากใครพูดไทยคำ อังกฤษคำ จะดูเท่ โก้หรู เป็นเครื่องบ่งว่ามีการศึกษาสูง จวบจนกระทั่งทุกวันนี้ทัศนคติของการใช้ภาษาก็ไม่ได้เปลี่ยนไปแต่อย่างใด ซ้ำร้ายกลับมากขึ้นทุกที จนทำให้เกิดการกร่อนของภาษาไทยเรา หรือมีการใช้ภาษาที่ผิดไป ที่เรียกว่าภาษาวิบัตินั่นเอง สังคมไทยนั้นเป็นสังคมที่เปิดรับสิ่งต่าง ๆ ได้ง่าย รับเอาวัฒนธรรมต่างๆ ของต่างชาติมามากเกินไป จนลืมที่จะรักษาวัฒนธรรมตน ลืมรักษาภาษาของตน จุดเริ่มต้นมาจากชนชั้นสูง จนกระทั่งการศึกษาได้กว้างขึ้นแพร่หลายขึ้น มีผลให้มีการปนภาษามากขึ้นโดยมีการทับศัพท์นั่นเอง การใช้ทับศัพท์นั้นมีข้อดีอยู่ที่ว่าศัพท์อังกฤษ บางคำมีความหมายไทย ที่ยาวยืด ไม่สะดวกต่อการพูดและเขียน ในบางกรณีจึงนิยมใช้ทับศัพท์มากกว่า หรือบางครั้งราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์ที่ค่อนข้างแปลกหูแปลกตา หรืออาจดูเชยจนเกินไปในหมู่วัยรุ่น เราจึงนิยมใช้คำทับศัพท์มากกว่า เช่นคำว่า software ที่บัญญัติคำไทยว่า ส่วนชุดคำสั่ง, hardware บัญญัติว่า ส่วนอุปกรณ์ หรือแม้กระทั่ง joy stick ที่ใช้คำไทยว่า ก้านควบคุม นั้น คำเหล่านี้มักไม่เป็นที่นิยมใช้ และไม่เป็นที่คุ้นเคย คนไทยเราจึงใช้คำทับศัพท์เป็น ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, จอยสติก ซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่า ดังนั้นการที่มีการปนของภาษาเกิดขึ้นนั้น อาจจะเกิดจากการไหลเข้ามาของวัฒนธรรมและเทคโนโลยีจากต่างชาติ ค่านิยมต่าง ๆ ของคนรุ่นใหม่ การเอาอย่างของวัยรุ่น หรือแม้กระทั่งคนที่เกี่ยวข้องกับภาษาของชาติ ทุกฝ่าย ที่เป็นผู้บัญญัติคำศัพท์และความหมายในภาษา เหล่านี้ต่างก็มีส่วนที่ทำให้เกิดการปนของภาษาในประเท. ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาษาผสมและภาษามลายู

ภาษาผสมและภาษามลายู มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาษาผสมและภาษามลายู

ภาษาผสม มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ ภาษามลายู มี 47 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (8 + 47)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษาผสมและภาษามลายู หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »