โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาบุนเดลี

ดัชนี ภาษาบุนเดลี

ภาษาบุนเดลี (เทวนาครี: बुन्देली หรือ बुंदेली) เป็นภาษาในตระกูลอินโด-อารยัน ที่จัดเป็นประเภทหนึ่งของภาษาฮินดี มักใช้พูดในบันเดลค์คันด์ เขตการปกครองในรัฐมัธยประเทศและตอนใต้ของรัฐอุตตรประเทศ มีความเกี่ยวข้องกับภาษาพรัช ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในวรรณกรรมของอินเดียเหนือจนถึง คริสต์ศตวรรษที่ 19 เขียนด้วยอักษรเทวนาครี หมวดหมู่:ภาษาในประเทศอินเดีย.

10 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาอินโด-อารยันกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านภาษาพรัชภาษาฮินดีรัฐมัธยประเทศรัฐอุตตรประเทศอักษรเทวนาครีคริสต์ศตวรรษที่ 19ประเทศอินเดียเอเชียใต้

กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน

ตที่มีผู้พูดกลุ่มภาษาอินโดอารยัน กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน เป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน จากรายงานใน..

ใหม่!!: ภาษาบุนเดลีและกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน หรืออินโด-อิราเนียนเป็นสาขาทางตะวันออกสุดของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนประกอยด้วย 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน กลุ่มภาษาอิราเนียน และกลุ่มภาษาดาร์ดิก มีการใช้คำว่า "อารยัน" ในการอ้างถีงกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านจากทฤษฎีส่วนใหญ่เกี่ยวกับการอพยพของชาวอารยัน คนที่พูดภาษาโปรโต-อินโด-อิราเนียนที่เรียกตัวเองว่าอารยัน ตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้และตะวันออกของทะเลสาบแคสเปียนในอินเดียเหนือ ปากีสถาน อิหร่าน และอัฟกานิสถาน คาดว่าการแพร่กระจายเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์รถม้.

ใหม่!!: ภาษาบุนเดลีและกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพรัช

ษาพรัช (ब्रज भाषा; Braj Bhasa) หรือพรัช ภาษา หรือภาษาไทหาอาตี เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันใกล้เคียงกับภาษาฮินดี โดยมากมักถือเป็นสำเนียงของภาษาฮินดี และมีวรรณคดีภาษาฮินดีเขียนด้วยภาษานี้เป็นจำนวนมากก่อนจะเปลี่ยนไปใช้บบภาษาขาริโพลีลลเป็นสำเนียงมาตรฐานหลังจากได้รับเอกราช มีผู้พูดมากกว่า 42,000 คน ในบริเวณ พรัช ภูมีที่เคยเป็นรัฐในสมัยมหาภารตะ หลักฐานจากศาสนาฮินดูโบราณเช่น ภควัตคีตา อาณาจักรของกษัตริย์กัมส์อยู่ในบริเวณพรัช (รู้จักในชื่อวิรัชหรือวิราฏ) ซึ่งเป็นดินแดนที่พระกฤษณะเกิดและใช้ชีวิตวัยเด็กที่นั่น บริเวณดังกล่าวนี้อยู่ในบริเวณอังคระ-มถุรา ซึ่งขยายออกไปได้ไกลถึงเดลฮี ในอินเดียสมัยใหม่ ดินแดนนี้อยู่ทงตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐอุตตรประเทศ ตะวันออกสุดของรัฐราชสถาน และทางใต้สุดของรัฐหรยณะ ปัจจุบัน พรัช ภูมีเป็นที่รู้จักในนามเขตวัฒนธรรมมากว่ารัฐในอดีต ภาษาพรัชเป็นภาษาพื้นเมืองของบริเวณนี้และมีกวีที่มีชื่อเสียงมากมาย ใกล้เคียงกับภาษาอวธีที่ใช้พูดในบริเวณใกล้เคียงคือเขตอวัธมาก.

ใหม่!!: ภาษาบุนเดลีและภาษาพรัช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮินดี

ษาฮินดีเป็นภาษาที่พูด ส่วนใหญ่ในประเทศอินเดียเหนือและกลาง เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในกลุ่มย่อย อินโด-อิหร่าน มีวิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤต ในสาขาอินโด-อารยันกลาง ของยุคกลาง และมีวิวัฒนาการทางอ้อมจากภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดีได้นำคำศัพท์ชั้นสูงส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ เนื่องจากอิทธิพลของชาวมุสลิมในอินเดียเหนือ ภาษาฮินดียังมีคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และ ภาษาตุรกี เป็นจำนวนมาก และในที่สุดได้ก่อให้เกิดภาษาอูรดูขึ้น สำหรับภาษา"ฮินดีมาตรฐาน" หรือ "ฮินดีแท้" นั้น มีใช้เฉพะการสื่อสารที่เป็นทางการ ขณะที่ภาษาซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นย่อย ของภาษาฮินดูสตานี ในแง่ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์นั้น ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน แตกต่างตรงที่ ภาษาฮินดีนั้นเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (Devanāgarī) ขณะที่ภาษาอูรดูนั้น เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและอาหรั.

ใหม่!!: ภาษาบุนเดลีและภาษาฮินดี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมัธยประเทศ

รัฐมัธยประเทศ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ไม่มีเขตติดต่อกับทะเลเนื่องจากตั้งอยู่ตรงกลางประเทศ รัฐมัธยประเทศได้เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของอินเดียจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ภาษาบุนเดลีและรัฐมัธยประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอุตตรประเทศ

รัฐอุตตรประเทศ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่บริเวณส่วนบนของประเทศโดยมีเขตแดนติดต่อกับประเทศเนปาลทางทิศเหนือ เป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญในศาสนาฮินดู เช่น เมืองพาราณสี อโยธยา (เมืองเกิดของพระราม) มธุรา (เมืองเกิดของพระกฤษณะ) และอัลลาลาบัดหรือเมืองโกสัมพีในสมัยพุทธกาล อุตตรประเทศ หมวดหมู่:รัฐอุตตรประเทศ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2493 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2377.

ใหม่!!: ภาษาบุนเดลีและรัฐอุตตรประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

ใหม่!!: ภาษาบุนเดลีและอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 19

ริสต์ศตวรรษที่ 19 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1801 ถึง ค.ศ. 1900.

ใหม่!!: ภาษาบุนเดลีและคริสต์ศตวรรษที่ 19 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ภาษาบุนเดลีและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียใต้

แผนที่เอเชียใต้ สีเขียวเข้มแสดงเอเชียใต้โดยทั่วไป และสีเขียวอ่อนคือเขตที่สหประชาชาติหมายถึงเอเชียใต้ เอเชียใต้เป็นภูมิภาคของทวีปเอเชีย และเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ มีพื้นที่กว้าง 4,480,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 12% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อนุทวีปอินเดีย ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) ในบางครั้งพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของประเทศอัฟกานิสถาน ก็ถูกจำแนกให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย อนุภูมิภาคเอเชียใต้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ.

ใหม่!!: ภาษาบุนเดลีและเอเชียใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »