เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ภาษาตุรกีและเนินปราสาท

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาษาตุรกีและเนินปราสาท

ภาษาตุรกี vs. เนินปราสาท

ษาตุรกี (Türkçe ตืร์กเช หรือ Türk dili ตืร์ก ดิลิ) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก เป็นภาษาที่มีผู้พูด 65 – 73 ล้านคนทั่วโลกซึ่งถือเป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีผู้พูดมากที่สุด ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในตุรกี และมีกระจายอยู่ในไซปรัส บัลแกเรีย กรีซ และยุโรปตะวันออก และมีผู้พูดอีกหลายสิบล้านคนที่อพยพไปอยู่ในยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะเยอรมัน ต้นกำเนิดของภาษาพบในเอเชียกลางซึ่งมีการเขียนครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว ภาษาตุรกีออตโตมันได้แพร่ขยายไปทางตะวันตกซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมัน พ.ศ. 2471 หลังการปฏิรูปของอตาเตริ์กซึ่งเป็นปีแรกๆของยุคสาธารณรัฐใหม่ มีการปรับปรุงภาษาโดยแทนที่อักษรอาหรับในยุคออตโตมันด้วยอักษรละตินที่เพิ่มเครื่องหมายการออกเสียง มีการตั้งสมาคมภาษาตุรกีเพื่อลดการใช้คำยืมจากภาษาเปอร์เซียกับภาษาอาหรับ หันมาใช้คำดั้งเดิมของภาษากลุ่มเตอร์กิกแทน ลักษณะเด่นของภาษาตุรกีคือมีการเปลี่ยนเสียงสระและการเชื่อมคำแบบรูปคำติดต่อ การเรียงคำโดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีการแบ่งเพศของคำนาม. ซิสเตอรงที่ตั้งอยู่เหนือตัวเมืองที่ตั้งอยู่ต่ำลงมารอบ ๆ ปราสาท โวบ็อง ซิทาเดลลาที่ตั้งอยู่บนเนินเหนือแม่น้ำดานูบที่บูดาเปสต์ในฮังการี เนินปราสาท (citadel) คือป้อมปราการสำหรับป้องกันเมือง บางครั้งก็จะมีปราสาทรวมอยู่ด้วย หรือบางครั้งก็อาจจะหมายถึงบริเวณที่สูงที่สุดของตัวเมือง ในภาษาอังกฤษคำว่า "citadel" มีรากจากภาษาละตินเช่นเดียวกับคำว่า "city" ว่า "civis" ที่แปลว่า "พลเมือง" ในระบบป้อมปราการที่มีมุขป้อมยื่นออกไป เนินปราสาทคือส่วนที่มั่นคงที่สุดของระบบ บางครั้งก็จะตั้งลึกเข้าไปจากกำแพงนอกและมุขป้อม แต่ก็มักจะมีส่วนหนึ่งที่ติดกับกำแพงด้านนอกเพื่อเป็นการประหยัดการสร้างกำแพงใหม่สำหรับตัวสิ่งก่อสร้างหลัก เนินปราสาทจะเป็นระบบการป้องกันขั้นสุดท้ายถ้าข้าศึกสามารถบุกเข้าในปราสาทจากกำแพงชั้นต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่รอบนอกได้ นอกจากนั้นในยุคกลาง "เนินปราสาท" เป็นคำที่ใช้เรียกส่วนที่สามของปราสาทที่มีกำแพงที่สูงกว่ากำแพงอื่น ๆ ของเมือง ซึ่งเป็นที่มั่นสุดท้ายของระบบการป้องกันก่อนที่จะถึงตัวหอกลาง โครงสร้างที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ทราบที่ใช้เป็นเนินปราสาทสร้างในสมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเมื่อเนินปราสาทถือว่าเป็นศูนย์กลางของการบริหาร แต่วัตถุประสงค์ของโครงสร้างก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แม้ว่าโครงสร้างที่พบที่ซากโมเฮนโจ-ดาโร (ภาษาสินธี: मोइन जो दड़ो) หรือ "เนินมรณะ" จะเป็นโครงสร้างที่มีกำแพงล้อมรอบ แต่ก็ไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าจะเป็นกำแพงที่สร้างขึ้นเพื่อการป้องกันการโจมตีจากข้าศึกหรือไม่ ข้อสันนิษฐานข้อหนึ่งคือเป็นกำแพงที่สร้างขึ้นเพื่อเปลี่ยนทิศทางการไหลของกระแสน้ำท่วม ในสมัยกรีกโบราณ เนินปราสาทอะโครโพลิสตั้งเด่นอยู่บนเนินสูงที่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้แต่ไกล อะโครโพลิสแห่งเอเธนส์ประกอบด้วยสถานที่สำหรับหลบภัย และ ที่มั่น ที่เป็นที่เก็บเสบียงและอาวุธ, เทวสถานสำหรับเทพเจ้า และ พระราชวัง อะโครโพลิสที่มีชื่อเสียงที่สุดคืออะโครโพลิสแห่งเอเธนส์ แต่อะโครโพลิสเป็นองค์ประกอบของการสร้างเมืองแทบทุกเมืองในสมัยกรีกโบราณ เช่นอะโครโพลิสแห่งคอรินท์ (Acrocorinth) ที่มีชื่อเสียงว่ามีระบบป้อมปราการที่มั่นคงที่แข็งแรง ในสมัยต่อมาเมื่อกรีซปกครองโดยจักรวรรดิละติน องค์ประกอบนี้ก็ได้รับการนำไปใช้โดยผู้ปกครองใหม่โดยมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน เนินปราสาทมีชื่อเรียกกันไปต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคเช่น "เครมลิน" (kremlin) ในรัสเซีย หรือ "อัลกาซาร์" (alcázar) ในคาบสมุทรไอบีเรีย ในเมืองในยุโรปคำว่า "citadel" และ "city castle" มักจะใช้สลับความหมายกันได้ หรือบางครั้งก็อาจจะใช้คำว่า "tower" แทนได้เช่น ทาวเวอร์ออฟลอนดอน หรือ ทาวเวอร์ออฟเดวิดในเยรูซาเลม ในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ โดยเฉพาะในยุคกลาง เนินปราสาทที่มีระบบการป้องกันทางการทหารอิสระจากกำแพงเมืองเป็นระบบการป้องกันขั้นสุดท้ายของข้าศึกที่มาล้อมเมือง เมืองจะเสียก็ต่อเมื่อเสียเนินปราสาท เช่นในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาษาตุรกีและเนินปราสาท

ภาษาตุรกีและเนินปราสาท มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาละตินจักรวรรดิออตโตมันประเทศฝรั่งเศสประเทศเบลเยียม

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ภาษาตุรกีและภาษาละติน · ภาษาละตินและเนินปราสาท · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

จักรวรรดิออตโตมันและภาษาตุรกี · จักรวรรดิออตโตมันและเนินปราสาท · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ประเทศฝรั่งเศสและภาษาตุรกี · ประเทศฝรั่งเศสและเนินปราสาท · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ประเทศเบลเยียมและภาษาตุรกี · ประเทศเบลเยียมและเนินปราสาท · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาษาตุรกีและเนินปราสาท

ภาษาตุรกี มี 52 ความสัมพันธ์ขณะที่ เนินปราสาท มี 37 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 4.49% = 4 / (52 + 37)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษาตุรกีและเนินปราสาท หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: