โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาซินดารินและเคเลบอร์น

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาษาซินดารินและเคเลบอร์น

ภาษาซินดาริน vs. เคเลบอร์น

ษาซินดาริน (Sindarin) เป็นภาษาที่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้นใช้ในนวนิยายของเขาในชุดมิดเดิลเอิร์ธ แรงบันดาลใจของการสร้างภาษานี้มาจากพื้นฐานของภาษาเวลช์ (Welsh) ซึ่งโทลคีนพบในการศึกษาโคลงโบราณ เขาได้ใช้เวลาประดิษฐ์ภาษานี้จนสมบูรณ์ใช้งานได้จริง เทียบเคียงกับภาษาเควนยา เดิมทีโทลคีนตั้งใจประดิษฐ์ภาษานี้ขึ้นเป็นภาษาของชาวโนลดอร์ แต่เปลี่ยนใจภายหลัง ภาษาซินดาริน ตามฉบับนิยาย เป็นภาษาของพวกเอลฟ์ ชาวเทเลริ ที่มิได้เข้าร่วมการเดินทางครั้งใหญ่ไปได้ตลอดรอดฝั่ง แต่ยังคงตกค้างอยู่บนมิดเดิลเอิร์ธ และตั้งถิ่นฐานขึ้นในแผ่นดินเบเลริอันด์ ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ธิงโกล และ เมลิอัน ไมอาเทวี ในอาณาจักรโดริอัธ เอลฟ์กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า ชาวซินดาร์ หรือเอลฟ์แห่งสนธยา ภาษาของพวกเขาจึงเรียกว่า ภาษาซินดาริน ภาษาซินดารินมีกำเนิดมาจากคอมมอนเอลดาริน หรือภาษาดั้งเดิมของพวกเควนดิ จึงมีรากเดียวกันกับภาษาเควนยา ในยุคที่สาม ของโลกอาร์ดา คือเหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์นั้น ภาษาซินดารินเป็นภาษาที่พวกเอลฟ์ใช้กันแพร่หลายทั่วไป ดังนั้นภาษาเอลฟ์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นชื่อคน ชื่อสถานที่ต่างๆ รวมทั้งอักขระที่จารึกบนประตูทางเข้าเหมืองมอเรีย ก็ล้วนเป็นภาษาซินดารินทั้งสิ้น. ลบอร์น (Celeborn) เป็นตัวละครในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นผู้ปกครองอาณาจักรเอลฟ์แห่งลอธลอริเอน ร่วมกับชายาคือเลดี้กาลาเดรียล เป็นบิดาของเคเลเบรียนผู้เป็นภรรยาของเอลรอนด์ เขาจึงเป็นตาของอาร์เวน ตามร่างปกรณัมของโทลคีน มีการระบุถึงความเป็นมาของเคเลบอร์นอย่างคร่าว ๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 แนวทางใหญ่ ๆ ได้แก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาษาซินดารินและเคเลบอร์น

ภาษาซินดารินและเคเลบอร์น มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ธิงโกลซินดาร์เมลิอันเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเทเลริเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

ธิงโกล

อลู ธิงโกล (เควนยา) หรือ เอลเว ซิงโกลโล (ซินดาริน) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในวรรณกรรมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ปรากฏในหนังสือ ซิลมาริลลิออน และ ตำนานบุตรแห่งฮูริน ได้ชื่อว่าเป็นบุตรแห่งอิลูวาทาร์ที่สูงใหญ่และมีพลังอำนาจมากที่สุด เป็นรองแต่เพียงเฟอานอร์เท่านั้น ธิงโกลเป็นผู้นำของเอลฟ์ชาวเทเลริ เป็นตัวแทนผู้ได้รับเลือกจากเทพโอโรเมไปยังแผ่นดินอมตะเพื่อยลทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ พร้อมกันกับอิงเว และฟินเว หลังจากนั้นผู้นำเอลฟ์ทั้งสามจึงกลับมาชักชวนพลเมืองของตนให้เดินทางออกจากทะเลสาบคุยวิเอเนนไปยังแผ่นดินอมตะ โดยที่ชาวเทเลริเดินทางอยู่ท้ายสุด เมื่อไปใกล้จะถึงริมฝั่งมหาสมุทรใหญ่ ธิงโกลได้ล่วงหน้าออกจากกลุ่มเพื่อไปเยี่ยมฟินเว กษัตริย์โนลดอร์ สหายของตน ระหว่างทางเขาได้พบกับเทพีเมลิอันในป่า แล้วทั้งสองตกอยู่ใต้มนตร์เสน่หาที่นั้น พลเมืองของธิงโกลค้นหาเขาไม่พบ จนไม่สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรใหญ่ไปกับเอลฟ์กลุ่มอื่นๆ ได้ หลังจากนั้น ชาวเทเลริที่ตกค้างอยู่จึงตั้งถิ่นฐานที่ริมมหาสมุทรใหญ่ ในแผ่นดินเบเลริอันด์ เอลฟ์กลุ่มนี้ได้ชื่อว่า ชาวซินดาร์ มีธิงโกลและเมลิอัน เป็นราชาและราชินี อาณาจักรของพวกเขาเรียกว่า โดริอัธ ธิงโกลกับเมลิอันมีธิดาด้วยกันหนึ่งองค์ คือ ลูธิเอน.

ธิงโกลและภาษาซินดาริน · ธิงโกลและเคเลบอร์น · ดูเพิ่มเติม »

ซินดาร์

ซินดาร์ (Sindar) คือชื่อเรียกเอลฟ์กลุ่มหนึ่งในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน คำว่า ซินดาร์ เป็นภาษาเควนยา ที่ชาวโนลดอร์พลัดถิ่นเรียกเอลฟ์กลุ่มนี้ มีความหมายว่า "ประชาชนสีเทา" เอกพจน์เรียกว่า ซินดา (Sinda) เอลฟ์กลุ่มนี้เป็นกลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งของเอลฟ์ในตระกูลเทเลริ ซึ่งเป็นตระกูลที่สามของพวกเอลฟ์ที่อพยพออกจากทะเลสาบคุยวิเอเนน บางครั้งก็เรียกชาวซินดาร์ว่า เกรย์เอลฟ์ หรือ เอลฟ์เทา เมื่อแรกเริ่ม ชาวซินดาร์ออกเดินทางจากทะเลสาบคุยวิเอเนนพร้อมกับเอลฟ์เทเลริกลุ่มอื่นๆ แต่เมื่อเดินทางมาเกือบจะถึงริมฝั่งมหาสมุทรใหญ่ ผู้นำของพวกเขาคือ เอลเว ซิงโกลโล หรือกษัตริย์ธิงโกล หลงทางหายไป พวกเขามัวแต่เฝ้าค้นหาติดตามผู้นำของตนอยู่ จนไม่ได้เดินทางข้ามมหาสมุทรไปพร้อมกับเอลฟ์กลุ่มอื่นๆ ในภายหลังจึงตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนริมมหาสมุทรใหญ่นั้นเอง แผ่นดินนั้นเรียกว่า เบเลริอันด์ และอาณาจักรของพวกเขามีชื่อว่า โดริอัธ ธิงโกลได้เป็นกษัตริย์ของพวกเขา โดยมีเทพีเมลิอัน ผู้เป็นเทพไมอาที่ตกหลุมรักธิงโกล อยู่เป็นราชินีของพวกเขา เนื่องจากเอลฟ์กลุ่มนี้ไม่ได้เดินทางไปสู่แผ่นดินอามัน จึงไม่มีโอกาสเห็นแสงแห่งทวิพฤกษา พวกเขาจึงไม่ใช่คาลาเควนดิ อย่างไรก็ดี พวกเขาก็ยังไม่ใช่พวกอวาริ เขาได้รับแสงสว่างจากแผ่นดินอมตะผ่านทางดวงพักตร์ของเทพีเมลิอัน จึงมีความเฉลียวฉลาดและมีวิทยาการสูงกว่าเอลฟ์พวกอื่นๆ บนมิดเดิลเอิร์ธ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงถูกเรียกว่า เอลฟ์เทา หรือเอลฟ์แห่งสนธยา แต่ส่วนพวกเขาเองเรียกชื่อตัวเองว่า เอกลัธ (Eglath) ซึ่งหมายถึง ผู้ถูกทอดทิ้ง.

ซินดาร์และภาษาซินดาริน · ซินดาร์และเคเลบอร์น · ดูเพิ่มเติม »

เมลิอัน

มลิอัน หรือ เมเลียน (Melian) เป็นเทพีไมอาร์องค์หนึ่ง ปรากฏในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เรื่อง ซิลมาริลลิออน ตำนานบุตรแห่งฮูริน กวีนิพนธ์ชุดลำนำแห่งเลย์ธิอัน และกวีนิพนธ์ตำนานบุตรแห่งฮูริน มีบทบาทในฐานะผู้นำเชื้อสายแห่งเทพ (ไอนัวร์) มาสู่แผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ และเป็นมารดาของลูธิเอน ทินูเวียล อำนาจของเมลิอันช่วยปกป้องอาณาจักรเอลฟ์จากการรุกรานของมอร์ก็อธได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ครั้นเมื่อนางจากไปอำนาจนั้นก็เสื่อมสลาย และเป็นอันสิ้นสุดอาณาจักรเอลฟ์ทั้งปวง.

ภาษาซินดารินและเมลิอัน · เคเลบอร์นและเมลิอัน · ดูเพิ่มเติม »

เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

อลฟ์ (elf) ตามความหมายในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ มีชีวิตยืนยาวเท่ากับอายุของโลก จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็นอมตะ คำว่า 'เอลฟ์' (Elf) เป็นคำที่โทลคีนเลือกมาจากตำนานโบราณเพื่อใช้แทนคำศัพท์แท้จริงอันเป็นชื่อของชนเผ่านี้ คือ เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งเป็นคำในภาษาเควนยา หมายถึง 'ประชากรแห่งแสงดาว'.

ภาษาซินดารินและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · เคเลบอร์นและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

ภาษาซินดารินและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · เคเลบอร์นและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

เทเลริ

ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาวเทเลริ (Teleri) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนเทเลริคือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนที่สามที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า เอเนล (Enel) เมื่อแรกชนเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า 'เนลยาร์' (Nelyar) ซึ่งหมายถึง 'ตระกูลที่สามของเอลฟ์' และต่อมาพวกเขาก็เรียกตนเองว่าชาว 'ลินได' หรือ 'ลินดาร์' อันแปลว่า 'นักร้อง' สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาววันยาร์ และชาวโนลดอร์ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาเมื่อเทพโอโรเมชักชวนเหล่าเอลฟ์ให้ส่งผู้แทนไปเยือนวาลินอร์ ผู้แทนของชาวเทเลริคือ เอลเว ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกษัตริย์ของชาวเทเลริแห่งเบเลริอันด์ เอลเวผู้นี้มักเป็นที่รู้จักกันในชื่อของกษัตริย์ ธิงโกล อันเป็นชื่อฉายาซึ่งหมายถึง 'เสื้อคลุมเทา' ชาวเทเลริส่วนใหญ่มีผมสีเข้ม รูปร่างสูงโปร่ง แลผิวเผินจะคล้ายกับชาวโนลดอร์ มีบ้างประปรายที่มีเรือนผมสีอ่อน เป็นสีขาวหรือเงินยวง ซึ่งมักเป็นพวกที่มีเชื้อสายเป็นเครือญาติกับ เอลเว ชาวเทเลริมีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่งในด้านการดนตรี และความรู้เกี่ยวกับสรรพสิ่งที่เจริญเติบโตบนพื้นพิภพ ชาวเทเลริในเบเลริอันด์พูดภาษาซินดาริน ส่วนชาวเทเลริกลุ่มอื่นๆ อาจมีภาษาต่างๆ ของตัวเอง เช่น ภาษาซิลวัน หรือภาษานันดอริน.

ภาษาซินดารินและเทเลริ · เคเลบอร์นและเทเลริ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

ภาษาซินดารินและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · เคเลบอร์นและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาษาซินดารินและเคเลบอร์น

ภาษาซินดาริน มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ เคเลบอร์น มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 17.95% = 7 / (18 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษาซินดารินและเคเลบอร์น หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »