ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาษาซินดารินและมิดเดิลเอิร์ธ
ภาษาซินดารินและมิดเดิลเอิร์ธ มี 15 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์ภาษาเควนยายุคที่สามแห่งอาร์ดาอาร์ดาธิงโกลคาซัดดูมซินดาร์ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธโนลดอร์เบเลริอันด์เมลิอันเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเทเลริเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
การอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์
การอพยพครั้งใหญ่ หรือ การเดินทางครั้งใหญ่ ของพวกเอลฟ์ เป็นเหตุการณ์สำคัญในช่วงต้นของยุคสมัยในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ว่าด้วยเรื่องของโลกอาร์ดาและมิดเดิลเอิร์ธ กล่าวคือ เป็นการเดินทางออกจากริมทะเลสาบคุยวิเอเนน อันเป็นสถานที่ที่พวกเขาตื่นขึ้นเป็นครั้งแรก แล้วมุ่งหน้าไปสู่วาลินอร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการของเอลฟ์กลุ่มต่างๆ รวมถึงภาษาและวัฒนธรรมของชนชาติเหล่านั้น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากการสงครามครั้งใหญ่ระหว่างปวงเทพวาลาร์ กับจอมมารเมลคอร์ ทำให้โลกมิดเดิลเอิร์ธส่วนใหญ่ตกอยู่ในสภาพพังพินาศ ปวงเทพจึงมีดำริให้ชักชวนเหล่าเอลฟ์ไปอยู่ด้วยกันที่ทวีปอามัน อย่างไรก็ดี มีเอลฟ์จำนวนหนึ่งที่ไม่ยินดีเข้าร่วมการอพยพครั้งนี้ เอลฟ์กลุ่มนี้ต่อมาเรียกว่า ชาวอวาริ ซึ่งหมายถึง "ผู้ไม่เต็มใจ" เทพโอโรเม เป็นผู้นำพาพวกเอลฟ์เดินทางไปสู่วาลินอร์ พระองค์พาพวกเขาเดินทางขึ้นไปทางเหนือของทะเลเฮลคาร์ ผ่านป่าใหญ่ไพศาล (ภายหลังคือป่าใหญ่กรีนวูด หรือ เมิร์ควู้ด) จนมาถึงแม่น้ำใหญ่อันดูอิน เอลฟ์ชาวเทเลริส่วนหนึ่งละทิ้งการเดินทางที่จุดนี้ ตั้งหลักปักฐานสร้างบ้านเรือนอยู่ในหุบเขาแห่งอันดูอิน เอลฟ์กลุ่มนี้ต่อมาเรียกว่า ชาวนันดอร์ เอลฟ์ที่เหลือเดินทางข้ามเทือกเขาฮิธายเกลียร์ไปได้ โดยข้ามช่องเขาที่ต่อมาเป็นที่ตั้งอาณาจักรริเวนเดลล์ เดินทางข้ามผ่านแผ่นดินกว้างใหญ่เอเรียดอร์ ตามเส้นทางถนนสายตะวันตก ข้ามเทือกเขาสีน้ำเงินหรือ เอเร็ดลูอิน เข้าไปสู่แผ่นดินเบเลริอันด์ อันเป็นแผ่นดินสุดท้ายทางฟากตะวันตกของมิดเดิลเอิร์ธ อยู่ริมมหาสมุทรใหญ่หรือทะเลเบเลกายร์ ที่แผ่นดินเบเลริอันด์นี้ เอลฟ์อีกจำนวนหนึ่งตกค้าง ตั้งถิ่นฐานขึ้นที่นี่ เนื่องจากมัวอยู่ติดตามหาธิงโกล ผู้นำของตน เอลฟ์กลุ่มนี้ต่อมาคือ ชาวซินดาร์ ชาววันยาร์และชาวโนลดอร์ รวมทั้งชาวเทเลริ อีกจำนวนหนึ่ง เดินทางข้ามทะเลเบเลกายร์ โดยขึ้นไปอยู่บนเกาะโทลเอเรสเซอา แล้วเทพอุลโม จึงเคลื่อนเกาะนั้นข้ามมหาสมุทรไป พวกวันยาร์และโนลดอร์เดินทางล่วงหน้าไปก่อน และได้ขึ้นฝั่งทวีปอามันจนหมดทุกคน แต่พวกเทเลริที่เดินทางข้ามไปทีหลัง ได้ร้องขอให้เทพอุลโมหยุดเกาะนั้นไว้ที่อ่าวเอลดามาร์ ด้วยเห็นแก่คำร้องขอของเทพออสเซ ชาวเทเลริกลุ่มนี้ตั้งถิ่นฐานอยู่บนเกาะโทลเอเรสเซอา ต่อมาภายหลังจึงได้ต่อเรือเดินทางไปจนถึงฝั่งทวีปอามันได้ และตั้งนครของพวกตนขึ้นที่ริมฝั่งเอลดามาร์ มีชื่อว่า อัลควาลอนเด ผลจากการอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์ครั้งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการแบ่งกลุ่มต่างๆ ของพวกเอลฟ์ ดังที่ปรากฏในเวลาต่อม.
การอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์และภาษาซินดาริน · การอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์และมิดเดิลเอิร์ธ ·
ภาษาเควนยา
ษาเควนยา (Quenya) เป็นภาษาหนึ่งซึ่ง เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้น และใช้ในนวนิยายของเขา คือในโลกมิดเดิลเอิร์ธ โดยเป็นภาษาของเอลฟ์ หรือชาวเควนดิ ซึ่งเป็นบุตรของมหาเทพอิลูวาทาร์ ภาษาเควนยานับได้ว่าเป็นภาษาแรกๆ ที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาษาฟินแลนด์ ซึ่งเป็นภาษาที่โทลคีนชอบมาก เขาศึกษาภาษาฟินนิชด้วยตัวเองเพราะต้องการจะอ่านมหากาพย์ คาเลวาลา ในต้นฉบับฟินนิช อันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง "โลกอาร์ดา" ของเขาในเวลาต่อมา โทลคีนสร้างตัวอักษรสำหรับภาษาเควนยา สร้างไวยากรณ์สำหรับภาษาเควนยา หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และโทลคีนได้กลับมาทำงานที่อ๊อกซฟอร์ดอีกครั้ง เขาได้ปรับปรุงแก้ไขภาษาเควนยาอย่างจริงจัง โดยใช้ภาษานี้ในการเขียนบันทึกประจำวัน แต่เนื่องจากโครงสร้างภาษายังไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายหลังโทลคีนเองก็สับสนและเลิกเขียนบันทึกด้วยวิธีนี้ เพราะลืมไปแล้วว่าขณะที่เขียนบันทึก เขาใช้โครงสร้างไวยากรณ์แบบไหน ช่วงแรกโทลคีนเรียกภาษานี้ว่า Qenya การสร้างภาษาเควนยา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญจุดหนึ่ง (แม้จะมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีก) ที่ทำให้โทลคีนบังเกิดความคิดให้มีผู้คนที่ใช้ภาษานี้ขึ้นมาจริงๆ อันเป็นที่มาของเหล่าเอลฟ์ ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ตลอดช่วงชีวิตของโทลคีน เขาได้แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างภาษานี้ จนกระทั่งมันสามารถใช้งานได้จริง สมบูรณ์ยิ่งกว่าภาษาประดิษฐ์อื่นๆ ของโทลคีน.
ภาษาซินดารินและภาษาเควนยา · ภาษาเควนยาและมิดเดิลเอิร์ธ ·
ยุคที่สามแห่งอาร์ดา
ที่สามแห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การพ่ายแพ้ของเซารอนต่อกองทัพพันธมิตรครั้งสุดท้ายของมนุษย์และพราย (สงครามตอนต้นเรื่องในภาพยนตร์) เอกลักษณ์ของยุคนี้คือความเสื่อมถอยของพวกพราย หรือ เอลฟ์ การเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมถอยของอาณาจักรกอนดอร์และอาร์นอร์ และการฟื้นอำนาจของเซารอน ยุคที่สามกินเวลา 3,021 ปี จนถึงความพ่ายแพ้อีกครั้งของเซารอน เมื่อแหวนถูกทำลาย เมื่อโฟรโด แบ๊กกิ้นส์, บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ และแกนดัล์ฟ เดินทางออกจากมิดเดิลเอิร์ธ จึงเริ่มนับเป็นยุคที่สี.
ภาษาซินดารินและยุคที่สามแห่งอาร์ดา · มิดเดิลเอิร์ธและยุคที่สามแห่งอาร์ดา ·
อาร์ดา
อาร์ดา (Arda) เป็นชื่อดินแดนในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งใช้ในความหมายแทนโลกของเราทั้งหมด อาร์ดาประกอบด้วยทวีปใหญ่ๆ ที่สำคัญคือ มิดเดิลเอิร์ธ อามัน และ กาฬทวีป มีมหาสมุทรหลายแห่ง ที่สำคัญคือ มหาสาคร (The Great Sea) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เบเลกายร์ ในทะเลเบเลกายร์นี้เคยมีเกาะนูเมนอร์ ซึ่งล่มจมสมุทรไปตั้งแต่ยุคที่สองของอาร์ดา ดินแดนส่วนอื่นๆ ในอาร์ดามิได้ถูกเอ่ยถึง ตามปกรณัมของโทลคีน อาร์ดาเป็นส่วนหนึ่งของ เออา (Ea) คือจักรวาลแห่งพิภพที่มหาเทพอิลูวาทาร์สร้างขึ้นในสุญญภูมิ ด้วยการบรรเลงบทเพลงมหาคีตา ซึ่งมีจิตวิญญาณแรกเริ่ม (หรือไอนัวร์) ช่วยในการสร้างด้วย การสร้างครั้งนั้นเรียกว่า มหาคีตาแห่งไอนัวร์ เมื่อเออาถือกำเนิดขึ้น ไอนัวร์บางส่วนได้ลงมาอยู่ในโลกนี้เพื่อปกปักรักษาและตระเตรียมสถานที่ไว้ให้พร้อมสำหรับบุตรแห่งอิลูวาทาร์ ไอนัวร์ที่ลงมายังอาร์ดา พวกที่มีพลังอำนาจสูง เรียกว่า วาลาร์ ส่วนพวกที่มีฤทธิ์น้อยกว่า เรียกว่า ไมอาร์ ไอนัวร์เหล่านี้บางครั้งเรียกรวมๆ กันว่า ปวงเทพ โลกอาร์ดาแต่ดั้งเดิมเมื่อเริ่มสร้างนั้นเป็นแผ่นดินแบนๆ ที่ล้อมรอบด้วยทะเลวัฏฏะ (Encircling Sea) มีชื่อเรียกว่า เอคไคอา (Ekkaia) ข้างใต้เป็นโถงถ้ำมากมาย ข้างบนเป็นเขตห้วงเวหามีชื่อว่า อิลเมน แผ่นดินดั้งเดิมเป็นทวีปเดี่ยวตั้งอยู่ตรงกลาง มีทะเลสาบอยู่ใจกลางทวีป และมีเกาะอยู่กลางทะเลสาบนั้น ชื่อว่า เกาะอัลมาเรน เป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าวาลาร์และไมอาร์ เมื่อเกิดสงครามระหว่างปวงเทพขึ้น ทำให้แผ่นดินเกิดวินาศวอดวาย แตกเป็นทวีปต่างๆ พวกวาลาร์และไมอาร์จึงย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่บนทวีปอามัน ซึ่งอยู่ทางสุดตะวันตกของอาร์ดา ส่วนทวีปมิดเดิลเอิร์ธที่อยู่บริเวณกึ่งกลางอาร์ดา ได้กลายเป็นถิ่นฐานที่อาศัยของบรรดาบุตรแห่งอิลูวาทาร์ คือพวกเอลฟ์ และมนุษย์ มีมหาสาครหรือเบเลกายร์ กั้นกลางระหว่างสองทวีปนี้ ในช่วงปลายยุคที่สอง เมื่อมนุษย์ชาวนูเมนอร์เหิมเกริมจะบุกรุกทวีปอามันเพื่อช่วงชิงความเป็นอมตะ ปวงเทพจึงจมเกาะนูเมนอร์เสีย และย้ายทวีปอามันออกไปเสียจากโลก บันดาลให้โลกกลายเป็นโลกกลม แม้แล่นเรือไปทางตะวันตกจนสุดหล้า ก็จะหวนกลับมายังจุดตั้งต้นได้อีกครั้ง การจะไปถึงทวีปอามันได้ต้องเดินทางผ่านเส้นทางมุ่งตรง ซึ่งจะไปได้โดยพวกเอลฟ์เท่านั้น.
ภาษาซินดารินและอาร์ดา · มิดเดิลเอิร์ธและอาร์ดา ·
ธิงโกล
อลู ธิงโกล (เควนยา) หรือ เอลเว ซิงโกลโล (ซินดาริน) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในวรรณกรรมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ปรากฏในหนังสือ ซิลมาริลลิออน และ ตำนานบุตรแห่งฮูริน ได้ชื่อว่าเป็นบุตรแห่งอิลูวาทาร์ที่สูงใหญ่และมีพลังอำนาจมากที่สุด เป็นรองแต่เพียงเฟอานอร์เท่านั้น ธิงโกลเป็นผู้นำของเอลฟ์ชาวเทเลริ เป็นตัวแทนผู้ได้รับเลือกจากเทพโอโรเมไปยังแผ่นดินอมตะเพื่อยลทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ พร้อมกันกับอิงเว และฟินเว หลังจากนั้นผู้นำเอลฟ์ทั้งสามจึงกลับมาชักชวนพลเมืองของตนให้เดินทางออกจากทะเลสาบคุยวิเอเนนไปยังแผ่นดินอมตะ โดยที่ชาวเทเลริเดินทางอยู่ท้ายสุด เมื่อไปใกล้จะถึงริมฝั่งมหาสมุทรใหญ่ ธิงโกลได้ล่วงหน้าออกจากกลุ่มเพื่อไปเยี่ยมฟินเว กษัตริย์โนลดอร์ สหายของตน ระหว่างทางเขาได้พบกับเทพีเมลิอันในป่า แล้วทั้งสองตกอยู่ใต้มนตร์เสน่หาที่นั้น พลเมืองของธิงโกลค้นหาเขาไม่พบ จนไม่สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรใหญ่ไปกับเอลฟ์กลุ่มอื่นๆ ได้ หลังจากนั้น ชาวเทเลริที่ตกค้างอยู่จึงตั้งถิ่นฐานที่ริมมหาสมุทรใหญ่ ในแผ่นดินเบเลริอันด์ เอลฟ์กลุ่มนี้ได้ชื่อว่า ชาวซินดาร์ มีธิงโกลและเมลิอัน เป็นราชาและราชินี อาณาจักรของพวกเขาเรียกว่า โดริอัธ ธิงโกลกับเมลิอันมีธิดาด้วยกันหนึ่งองค์ คือ ลูธิเอน.
ธิงโกลและภาษาซินดาริน · ธิงโกลและมิดเดิลเอิร์ธ ·
คาซัดดูม
ห้องโถงใหญ่ในอาณาจักรดวาโรว์เดล์ฟ จากภาพยนตร์ไตรภาคลอร์ดออฟเดอะริงส์ คาซัด-ดูม (Khazad-dûm) เป็นชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งบนมิดเดิลเอิร์ธ ในนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน คำว่า คาซัด เป็นคำในภาษาคุซดุลที่เหล่าคนแคระใช้เรียกตัวเอง คาซัดดูม หมายถึง "เคหาของคนแคระ" ชื่อนี้ในภาษากลางของมิดเดิลเอิร์ธหรือภาษาเวสทรอน เรียกว่า ดวาโรว์เดล์ฟ (Dwarrowdelf) ส่วนคำว่า มอเรีย เป็นภาษาซินดาริน มีความหมายว่า "ปล่องเหวมืด" ซึ่งเป็นชื่อที่พวกเอลฟ์ใช้เรียกอาณาจักรแห่งนี้ ด้วยความรังเกียจเดียดฉันท์ คาซัดดูมตั้งอยู่ข้างใต้เทือกเขามิสตี้ มีทางเข้าออกเชื่อมต่อทั้งฟากตะวันออกและฟากตะวันตก เป็นเหมืองแร่มิธริลที่ใหญ่ที่สุดและเป็นอาณาจักรคนแคระที่ใหญ่ที่สุดในมิดเดิลเอิร์ธด้วย ในยุคที่สาม คาซัดดูมตกต่ำลงหลังจากขุดแร่ลึกเกินไปจนปลุกเอามฤตยูบัลร็อกตื่นขึ้น ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ปี 1981 ซึ่งบัลร็อกออกอาละวาดจนอาณาจักรต้องล่มสลายลงรวมถึงอาณาจักรใกล้เคียงเช่นลอริเอนด้วย หลังจากนั้นมีความพยายามฟื้นฟูคาซัดดูมขึ้นอีกแต่ไม่เป็นผล คณะพันธมิตรแห่งแหวนเคยเดินทางผ่านอาณาจักรร้างนี้ในช่วงปลายยุคที่สามในระหว่างภารกิจการนำแหวนเอกไปทำล.
คาซัดดูมและภาษาซินดาริน · คาซัดดูมและมิดเดิลเอิร์ธ ·
ซินดาร์
ซินดาร์ (Sindar) คือชื่อเรียกเอลฟ์กลุ่มหนึ่งในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน คำว่า ซินดาร์ เป็นภาษาเควนยา ที่ชาวโนลดอร์พลัดถิ่นเรียกเอลฟ์กลุ่มนี้ มีความหมายว่า "ประชาชนสีเทา" เอกพจน์เรียกว่า ซินดา (Sinda) เอลฟ์กลุ่มนี้เป็นกลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งของเอลฟ์ในตระกูลเทเลริ ซึ่งเป็นตระกูลที่สามของพวกเอลฟ์ที่อพยพออกจากทะเลสาบคุยวิเอเนน บางครั้งก็เรียกชาวซินดาร์ว่า เกรย์เอลฟ์ หรือ เอลฟ์เทา เมื่อแรกเริ่ม ชาวซินดาร์ออกเดินทางจากทะเลสาบคุยวิเอเนนพร้อมกับเอลฟ์เทเลริกลุ่มอื่นๆ แต่เมื่อเดินทางมาเกือบจะถึงริมฝั่งมหาสมุทรใหญ่ ผู้นำของพวกเขาคือ เอลเว ซิงโกลโล หรือกษัตริย์ธิงโกล หลงทางหายไป พวกเขามัวแต่เฝ้าค้นหาติดตามผู้นำของตนอยู่ จนไม่ได้เดินทางข้ามมหาสมุทรไปพร้อมกับเอลฟ์กลุ่มอื่นๆ ในภายหลังจึงตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนริมมหาสมุทรใหญ่นั้นเอง แผ่นดินนั้นเรียกว่า เบเลริอันด์ และอาณาจักรของพวกเขามีชื่อว่า โดริอัธ ธิงโกลได้เป็นกษัตริย์ของพวกเขา โดยมีเทพีเมลิอัน ผู้เป็นเทพไมอาที่ตกหลุมรักธิงโกล อยู่เป็นราชินีของพวกเขา เนื่องจากเอลฟ์กลุ่มนี้ไม่ได้เดินทางไปสู่แผ่นดินอามัน จึงไม่มีโอกาสเห็นแสงแห่งทวิพฤกษา พวกเขาจึงไม่ใช่คาลาเควนดิ อย่างไรก็ดี พวกเขาก็ยังไม่ใช่พวกอวาริ เขาได้รับแสงสว่างจากแผ่นดินอมตะผ่านทางดวงพักตร์ของเทพีเมลิอัน จึงมีความเฉลียวฉลาดและมีวิทยาการสูงกว่าเอลฟ์พวกอื่นๆ บนมิดเดิลเอิร์ธ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงถูกเรียกว่า เอลฟ์เทา หรือเอลฟ์แห่งสนธยา แต่ส่วนพวกเขาเองเรียกชื่อตัวเองว่า เอกลัธ (Eglath) ซึ่งหมายถึง ผู้ถูกทอดทิ้ง.
ซินดาร์และภาษาซินดาริน · ซินดาร์และมิดเดิลเอิร์ธ ·
ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ
ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ (The History of Middle-earth) เป็นชื่อชุดหนังสือจำนวน 12 เล่ม ที่รวบรวมงานเขียนต้นฉบับต่างๆ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่เกี่ยวข้องกับปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ นำมาเรียบเรียงใหม่โดยคริสโตเฟอร์ โทลคีน ตีพิมพ์จำหน่ายในช่วงระหว่างปี..
ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธและภาษาซินดาริน · ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธและมิดเดิลเอิร์ธ ·
โนลดอร์
ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาวโนลดอร์ (Noldor) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนโนลดอร์คือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนที่สองที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า ตาตา (Tata) ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกชนเหล่านี้ว่า 'ตระกูลที่สองของเอลฟ์' หรือ 'ตาชาร์' (Tatyar) สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาววันยาร์ และชาวเทเลริ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาเมื่อเทพโอโรเมชักชวนเหล่าเอลฟ์ให้ส่งผู้แทนไปเยือนวาลินอร์ ผู้แทนของชาวโนลดอร์คือ ฟินเว ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์ทั้งมวล และได้นำพวกเขาเดินทางอพยพไปสู่แผ่นดินอมตะ ชาวโนลดอร์มีรูปร่างสูงใหญ่ มักมีดวงตาสีเทา ผมสีเข้ม (ยกเว้นโนลดอร์บางคนในตระกูลที่วิวาห์กับชาววันยาร์ เช่นราชสกุลฟินาร์ฟิน จะมีผมสีทองแบบชาววันยาร์) พวกเขาพูดภาษาเควนยา แต่ชาวโนลดอร์ที่นิวัติมายังมิดเดิลเอิร์ธในยุคที่หนึ่ง จะใช้ภาษาซินดารินในการเจรจาประจำวัน.
ภาษาซินดารินและโนลดอร์ · มิดเดิลเอิร์ธและโนลดอร์ ·
เบเลริอันด์
แผ่นดินเบเลริอันด์ เบเลริอันด์ (Beleriand) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการ มิดเดิลเอิร์ธ งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ ทางฟากตะวันตกของเทือกเขาเอเร็ดลูอิน (หรือเทือกเขาสีน้ำเงิน ด้านตะวันตกของแคว้นไชร์ ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) ติดกับมหาสาคร หรือเบเลกายร์ ปรากฏเป็นฉากหลังสำคัญอยู่ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน งานเขียนอื่นๆ ของโทลคีนที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินเบเลริอันด์ ได้แก่ The Lays of Beleriand, ตำนานบุตรแห่งฮูริน (The Children of Hurin), The Book of Lost Tales และอื่นๆ ในหนังสือชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ อาณาเขตเบเลริอันด์ ด้านตะวันตกจรดทะเลเบเลกายร์ ด้านตะวันออกจรดเทือกเขาเอเร็ดลูอิน ทิศเหนือจรดทุ่งอาร์ด-กาเลน ทิศใต้แผ่ไปถึงผืนป่าเทาร์-อิม-ดุยนัธ มีแม่น้ำสายหลักอยู่สองสาย ได้แก่แม่น้ำซิริออน กับแม่น้ำเกลิออน แม่น้ำซิริออนเป็นแม่น้ำใหญ่กว่า ไหลผ่านกึ่งกลางแผ่นดินเบเลริอันด์ แบ่งพื้นดินออกเป็นเบเลริอันด์ตะวันออก และเบเลริอันด์ตะวันตก ส่วนแม่น้ำเกลิออนแม้จะแคบกว่า แต่ยาวกว่า ไหลผ่านเบเลริอันด์ตะวันออกเลียบไปกับแนวเทือกเขาเอเร็ดลูอิน ฟากตะวันออกของเกลิออนเป็นแผ่นดินที่เรียกว่า ออสซิริอันด์ มีแควสาขาอีกหกสายไหลจากเอเร็ดลูอินลงมาบรรจบกับเกลิออน ดังนั้นบางครั้งก็เรียกดินแดนนี้ว่า 'แผ่นดินแห่งแม่น้ำทั้งเจ็ด' หรือ 'ดินแดนสัตตนที' แผ่นดินเบเลริอันด์ถึงคราววิบัติจนล่มจมลงสู่ใต้มหาสมุทร เมื่อครั้งสงครามแห่งความโกรธา อันเป็นสงครามเทพ ระหว่างทัพของวาลาร์ กับมอร์กอธ เป็นอันสิ้นสุดยุคที่หนึ่ง คงเหลือแต่เพียงแผ่นดินซึ่งเป็นที่ตั้งหลุมศพของมอร์เวน ทูริน และนิเอนอร์ ที่ยังโผล่พ้นมหาสมุทรอยู่ เรียกว่า 'โทลมอร์เวน'.
ภาษาซินดารินและเบเลริอันด์ · มิดเดิลเอิร์ธและเบเลริอันด์ ·
เมลิอัน
มลิอัน หรือ เมเลียน (Melian) เป็นเทพีไมอาร์องค์หนึ่ง ปรากฏในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เรื่อง ซิลมาริลลิออน ตำนานบุตรแห่งฮูริน กวีนิพนธ์ชุดลำนำแห่งเลย์ธิอัน และกวีนิพนธ์ตำนานบุตรแห่งฮูริน มีบทบาทในฐานะผู้นำเชื้อสายแห่งเทพ (ไอนัวร์) มาสู่แผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ และเป็นมารดาของลูธิเอน ทินูเวียล อำนาจของเมลิอันช่วยปกป้องอาณาจักรเอลฟ์จากการรุกรานของมอร์ก็อธได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ครั้นเมื่อนางจากไปอำนาจนั้นก็เสื่อมสลาย และเป็นอันสิ้นสุดอาณาจักรเอลฟ์ทั้งปวง.
ภาษาซินดารินและเมลิอัน · มิดเดิลเอิร์ธและเมลิอัน ·
เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)
อลฟ์ (elf) ตามความหมายในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ มีชีวิตยืนยาวเท่ากับอายุของโลก จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็นอมตะ คำว่า 'เอลฟ์' (Elf) เป็นคำที่โทลคีนเลือกมาจากตำนานโบราณเพื่อใช้แทนคำศัพท์แท้จริงอันเป็นชื่อของชนเผ่านี้ คือ เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งเป็นคำในภาษาเควนยา หมายถึง 'ประชากรแห่งแสงดาว'.
ภาษาซินดารินและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · มิดเดิลเอิร์ธและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) ·
เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
. อาร.
ภาษาซินดารินและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · มิดเดิลเอิร์ธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ·
เทเลริ
ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาวเทเลริ (Teleri) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนเทเลริคือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนที่สามที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า เอเนล (Enel) เมื่อแรกชนเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า 'เนลยาร์' (Nelyar) ซึ่งหมายถึง 'ตระกูลที่สามของเอลฟ์' และต่อมาพวกเขาก็เรียกตนเองว่าชาว 'ลินได' หรือ 'ลินดาร์' อันแปลว่า 'นักร้อง' สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาววันยาร์ และชาวโนลดอร์ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาเมื่อเทพโอโรเมชักชวนเหล่าเอลฟ์ให้ส่งผู้แทนไปเยือนวาลินอร์ ผู้แทนของชาวเทเลริคือ เอลเว ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกษัตริย์ของชาวเทเลริแห่งเบเลริอันด์ เอลเวผู้นี้มักเป็นที่รู้จักกันในชื่อของกษัตริย์ ธิงโกล อันเป็นชื่อฉายาซึ่งหมายถึง 'เสื้อคลุมเทา' ชาวเทเลริส่วนใหญ่มีผมสีเข้ม รูปร่างสูงโปร่ง แลผิวเผินจะคล้ายกับชาวโนลดอร์ มีบ้างประปรายที่มีเรือนผมสีอ่อน เป็นสีขาวหรือเงินยวง ซึ่งมักเป็นพวกที่มีเชื้อสายเป็นเครือญาติกับ เอลเว ชาวเทเลริมีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่งในด้านการดนตรี และความรู้เกี่ยวกับสรรพสิ่งที่เจริญเติบโตบนพื้นพิภพ ชาวเทเลริในเบเลริอันด์พูดภาษาซินดาริน ส่วนชาวเทเลริกลุ่มอื่นๆ อาจมีภาษาต่างๆ ของตัวเอง เช่น ภาษาซิลวัน หรือภาษานันดอริน.
ภาษาซินดารินและเทเลริ · มิดเดิลเอิร์ธและเทเลริ ·
เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..
ภาษาซินดารินและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · มิดเดิลเอิร์ธและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ภาษาซินดารินและมิดเดิลเอิร์ธ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาษาซินดารินและมิดเดิลเอิร์ธ
การเปรียบเทียบระหว่าง ภาษาซินดารินและมิดเดิลเอิร์ธ
ภาษาซินดาริน มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ มิดเดิลเอิร์ธ มี 151 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 15, ดัชนี Jaccard คือ 8.88% = 15 / (18 + 151)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษาซินดารินและมิดเดิลเอิร์ธ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: