โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษากวางตุ้งมาตรฐานและหยิปหมั่น

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาษากวางตุ้งมาตรฐานและหยิปหมั่น

ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน vs. หยิปหมั่น

ษากวางตุ้งมาตรฐาน หรือ สำเนียงกวางเจา คือสำเนียงของภาษากวางตุ้งที่เป็นที่ยอมรับให้เป็นสำเนียงมาตรฐาน ใช้เป็นภาษาราชการที่พูดกันในฮ่องกงและมาเก๊า ทั้งในรัฐบาลและการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษานี้เป็นภาษาประจำถิ่นของเมืองกวางเจา มณฑลกวางตุ้ง และบริเวณโดยรอบทางตอนใต้ของประเทศจีน. หยิปหมั่น หยิปหมั่น (Yip Man, Ip Man) ปรมาจารย์กังฟูที่มีชื่ออีกคนหนึ่งในแบบมวยหวิงชุน หยิปหมั่น เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1893 ที่เมืองฝัดซ๊าน (ฝอซาน) มณฑลกวางตุ้ง (สถานที่เดียวกับ หว่องเฟ๊ยห่ง (หวง เฟยหง)) ในครอบครัวคหบดีที่มั่งคั่ง เป็นบุตรชายคนที่ 3 ในบรรดา 4 คนของครอบครัว หยิปหมั่นเริ่มเรียนกังฟูครั้งแรกเมื่ออายุได้ 13 ปี ในแบบมวยหวิงชุน (Wingchun ออกเสียง เป็นภาษากวางตุ้งว่า "เหวงช๊น" หรือ "หย่งชุน" ในภาษาจีนกลาง) จาก ฉั่นหว่าซุน (陳華順) มวยหวิงชุนเป็นเพลงมวยที่กล่าวขานในตำนานว่าคิดค้นโดยแม่ชี อื่อหมุ่ย และได้ถ่ายทอดวิชามวยนี้ให้หญิงสาวชาวบ้านชื่อ หยิ่มเหวงช๊น (หรือ เหยียนหย่งชุน ในภาษาจีนกลาง (嚴詠春)) จึงเป็นที่มาของชื่อมวยนี้ เอกลักษณ์ของเพลงมวยชนิดนี้คือ เน้นที่ความว่องไวและหนักหน่วงในการต่อสู้แบบประชิดตัวโดยไม่ได้มีลีลามากนัก แต่ขณะนั้น ฉั๋นหว่าซุน อายุมากแล้ว การสอนจึงตกเป็นหน้าที่ของศิษย์พี่ หงึง ชงโซว เป็นเวลา 3 ปี ก่อนที่ฉั่นหว่าซุ่นจะเสียชีวิตด้วยโรคชรา และได้ฝากฝังให้หงึง ชงโซว สอนยิปมันต่อให้สำเร็จ และยังถือว่ายิปมันเป็นศิษย์คนสุดท้ายของ ฉั่นหว่าซุ่นด้วย วันหนึ่งหยิปหมั่นถูกเพื่อนร่วมชั้นเรียนมัธยมท้าให้ทดลองสู้กับคนที่อายุมากกว่า หยิปหมั่นได้ตกลงท้า แต่กลายเป็นว่า เขาบังเอิญไปท้าสู้กับผู้ฝึกมวยหวิงชุนด้วยกันเอง และแพ้อย่างหมดทางสู้ คน ๆ นี้ชื่อ เลวื๋องเป๊ก (หรือเหลียงปี้ ในภาษาจีนกลาง) (梁璧)ซึ่งเป็นบุตรชายของเลวิ๋องจาน (ฝัดซ๊านจานซี๊นซั๊ง) อาจารย์ปู่ของหยิปหมั่น เลวิ๋องเป๊ก เป็นศิษย์น้องของฉั่นหว่าซุ่น จึงมีศักดิ์เป็นอาจารย์อาของหยิปหมั่น หยิปหมั่นได้รู้จักกับเลวื๋องเป๊กและเรียนวิชากับเขาจนอายุได้ 24 ปี จึงได้กลับมาที่ฝัดซ๊านบ้านเกิด ด้วยฝีมือที่ก้าวหน้าไปกว่าเดิมมาก ที่ฝัดซ๊าน หยิปหมั่นได้งานเป็นตำรวจ จึงไม่ได้เปิดสำนักกังฟู แต่ก็ได้สอนลูกน้องของเขาบ้าง ซึ่งที่นี่ หยิปหมั่นได้รับการนับถืออย่างยิ่งจากชาวบ้าน เสมือนเป็นวีรบุรุษของท้องถิ่น ในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (ค.ศ. 1937-ค.ศ. 1945) หยิปหมั่นปฏิเสธที่จะเป็นครูฝึกสอนให้ทหารญี่ปุ่นหลายต่อหลายครั้ง และย้ายจากฝัดซ๊านไปอยู่เมืองอื่น ปลาย ปี ค.ศ. 1949 หยิปหมั่นเข้าร่วมกับพรรคก๊กมินตั๋งและต้องหนีไปฮ่องกงโดยพลัดพรากจากครอบครัว เนื่องจากพรรคก๊กมินตั๋งแพ้ให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ ฮ่องกง หยิปหมั่นจึงได้เริ่มเปิดสำนักสอนหย่งชุนขึ้น แรก ๆ กิจการไม่ดีเพราะลูกศิษย์ที่สมัครอยู่กับเขาได้ไม่กี่เดือนก็ออกไป ไม่นานเขาได้ย้ายสำนักไปเปิดที่เหยาหมาตี้ และที่นั่น เขามีลูกศิษย์ที่ศึกษาอย่างจริงจัง เช่น เจวียง ฮอกกิ่น (Hokkin Chueng),หว่อง ซัมเหลวียง, เจียง จกเฮง, เจียง ฮกกิ่น และอื่น ๆ ซึ่งสร้างชื่อเสียงในการประลองให้แก่มวยหวิงชุนเป็นอย่างมาก ซึ่งลูกศิษย์คนหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของหยิปหมั่น คือ บรูซ ลี ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลก บรูซ ลีได้เรียนกับหยิปหมั่นในช่วงปี ค.ศ. 1954-ค.ศ. 1957 เป็นเวลาสั้น ๆ เพียง 3 ปี ซึ่งชัดเจนว่าบรูซ ลี ไม่ได้เรียนวิชาทั้งหมด ต่อมาบรูซ ลี คิดค้นวิชาของตัวเองขึ้น ชื่อ เจี๋ยฉวนเต้า ซึ่งเชื่อว่ามีพื้นฐานมาจากหวิงชุนนั่นเอง หยิปหมั่นเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ฮ่องกง ด้วยโรคมะเร็งที่คอ รวมอายุได้ 79 ปี และถูกยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ในยุคปัจจุบันของมวยหวิงชุน เรื่องราวของหยิปหมั่น ได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ศิลปะการต่อสู้ในปี ค.ศ. 2008 ในชื่อ Ip Man นำแสดงโดย เจิน จื่อตัน รับบทเป็น หยิปหมั่น (ออกเสียงเรียกในภาพยนตร์ว่า "ยิปมัน") ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งจนต้องมีภาคต่อมา ซึ่งมีกำหนดออกฉายในเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 และมีการสร้างเป็นภาพยนตร์จากผู้สร้างอีกกลุ่มหนึ่ง โดย หว่อง ก๊า ไหว่ ซึ่งผู้ที่จะมารับบทเป็นหยิปหมั่น คือ เหลียง เฉาเหว่ย ในชื่อเรื่อง The Grand Masters นอกจากนี้แล้วยังมีอีกหนึ่งเรื่อง คือ The Legend is Born – Ip Man ที่ออกฉายในปีเดียวกัน เป็นเรื่องราวตั้งแต่วัยเยาว์ของหยิปหมั่นจนถึงอายุ 28 ปี และIp Man: The Final Fight ที่สร้างโดยกลุ่มผู้สร้าง The Legend is Born – Ip Man ในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาษากวางตุ้งมาตรฐานและหยิปหมั่น

ภาษากวางตุ้งมาตรฐานและหยิปหมั่น มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มณฑลกวางตุ้งฮ่องกง

มณฑลกวางตุ้ง

มณฑลกวางตุ้ง หรือ กว่างตง แบ่งการปกครองออกเป็น 21 เมืองใหญ่ 30 เมืองระดับอำเภอ 42 อำเภอและ 3 เขตปกครองตนเอง ตั้งอยู่ตอนใต้สุดของประเทศ ทางใต้ติดกับทะเลจีนใต้ ใกล้กับเกาะฮ่องกงและมาเก๊า เป็นประตูสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ มณฑลนี้นี่เองที่ประชากรส่วนมากได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในต่างประเทศ 100 กว่าปีที่แล้ว.

ภาษากวางตุ้งมาตรฐานและมณฑลกวางตุ้ง · มณฑลกวางตุ้งและหยิปหมั่น · ดูเพิ่มเติม »

ฮ่องกง

องกง (Hong Kong; 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ในทางภูมิศาสตร์มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ฮ่องกงเป็นที่รู้จักในสกายไลน์ (skyline) ขยายและท่าเรือธรรมชาติลึก มีเนื้อที่ 1,104 กม.

ภาษากวางตุ้งมาตรฐานและฮ่องกง · หยิปหมั่นและฮ่องกง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาษากวางตุ้งมาตรฐานและหยิปหมั่น

ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ หยิปหมั่น มี 34 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 4.08% = 2 / (15 + 34)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษากวางตุ้งมาตรฐานและหยิปหมั่น หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »