โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษากรีกคอยนีและอาเมน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาษากรีกคอยนีและอาเมน

ภาษากรีกคอยนี vs. อาเมน

ษากรีกคอยนี หรือ ภาษากรีกคอยเน (Koine Greek,, และในชื่อเรียกต่างๆกัน ได้แก่ สำเนียงอเล็กซานเดรีย, แอตติกพื้นบ้าน, ภาษาเฮลเลนิก หรือ ภาษากรีกไบเบิ้ล (โดยเฉพาะพระคริสต์ธรรมใหม่) เป็นรูปแบบของภาษากรีกมาตรฐาน หรือภาษากลาง (ทางวิชาการเรียกว่า ภาษาคอยเน่ หรือ koine language) ที่ใช้ทั้งในการพูดและเขียน ทั่วทั้งบริเวณเมดิเตอเรเนียน และบางส่วนของตะวันออกกลาง ในสมัยเฮลเลนิสติก และสมัยโรมันโบราณ จนถึงช่วงต้นของสมัยไบแซนไทน์ หรือช่วงปลายสมัยโบราณ (late antiquity) ภาษากรีกคอยนี เป็นวิวัฒนาการมาจากภาษากรีกโบราณ โดยเริ่มจากการแพร่กระจายของภาษากรีก ในสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนค.ศ. ภาษากรีกคอยนีมีพื้นฐานหลักๆ มาจากภาษากรีกสำเนียงแอตติก และภาษากรีกไอโอนิก ซึ่งเป็นภาษาทางการศึกษาและวรรณคดีในโลกของกรีซโบราณ คำว่า คอยนี หรือ คอยเน่ (Koine) มาจากคำกรีกว่า ἡ κοινὴ διάλεκτος แปลว่า ภาษาสำเนียงกลาง โดยคำกรีก คอยแน (κοινή) หมายถึง "ที่ใช้ร่วมกัน" ในประเทศกรีซเรียกภาษานี้ว่า "ภาษาภูมิภาคเฮลเลนิสติก" (Ελληνιστική Κοινή) เมื่อภาษากรีกคอยนี กลายมาเป็นภาษาที่ใช้ในวงการวรรณกรรม เมื่อราวศตวรรษที่ 1 ก่อนค.ศ. จึงเกิดการแยกภาษาคอยนีที่เป็นภาษาพูด และที่เป็นภาษาเขียนออกจากกัน โดยถือว่าภาษาเขียนของ กรีกคอยนี เป็นภาษาวรรณกรรมหลังยุคคลาสสิก ส่วนภาษาพูดถือว่าเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไมใช่ภาษาหนังสือ ฯ บางท่านก็เรียกภาษากรีกคอยนีว่าเป็น "ภาษาสำนวนอเล็กซานเดรีย" (Ἀλεξανδρέων διάλεκτος) ซึ่งถือเป็นสำเนียงสากลของภาษากรีกในสมัยนั้น ภาษากรีกคอยนีมีบทบาทในทางวรรณกรรมมาก โดยเป็นภาษาสื่อสารของยุคหลังคลาสสิก ที่นักวิชาการ และนักเขียนใช้อย่างแพร่หลาย รวมถึง พลูทาร์ก และโพลีบิอัส นอกจากนี้ กรีกคอยนียังเป็นภาษาของพระคริสต์ธรรมใหม่ และของเซปตัวจินท์ (Septuagint) หรือคัมภีร์พระคริสต์ธรรมเก่าภาษากรีกฉบับแปลศตวรรษที่ 3 นอกจากนี้งานเขียนทางเทววิทยาของเหล่าปิตาจารย์แห่งคริสตจักรในช่วงแรกๆ ก็เป็นภาษากรีกคอยนีเกือบทั้งหมด ปัจจุบันภาษานี้ยังใช้อยู่ในฐานะภาษาทางพิธีกรรมของศาสนจักรกรีกออร์โธด็อกซ. "อาเมน" ในอักษรซีรีแอก "อามีน" ในภาษาอาหรับ อาเมน (ศัพท์ยิว/ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ เอเมน (ศัพท์คาทอลิก) หรือ อามีน (ศัพท์มุสลิม) (Amen /ɑːˈmɛn/ หรือ /eɪˈmɛn/; אָמֵן /ɑːˈmɛn/; ἀμήν; آمين ah-meen) เป็นคำประกาศยืนยัน ที่พบในคัมภีร์ฮีบรูและคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ของศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ โดยมีความหมายว่า "ขอพระเจ้าทรงกระทำให้เป็นดังนั้น" ในศาสนายูดาห์ ใช้ในการกล่าวตอบกลับเมื่อจบคำอธิษฐาน ว่า อาเมน และในศาสนาคริสต์ ได้นำคำว่า อาเมน ไปใช้ในการนมัสการพระเจ้าด้วย ในศาสนาอิสลาม มีการใช้คำว่า อามีน ในการจบคำละหมาด ซึ่งเป็นมาตรฐานของมุสลิมทั่วโลก คำว่าอามีนยังมีความหมายอีกว่า "แท้จริง" (Verily) และ "อย่างแท้จริง" (Truly) นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้เรียกขานที่แสดงถึงข้อตกลงที่เข้มแข็ง เช่น "อามีนสำหรั..." เป็นต้น คำว่า อาเมน ปรากฏหลักฐานที่ค้นพบครั้งแรกว่ามีการใช้ในหนังสือกันดารวิถี ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าเล่มของคัมภีร์ทานัคของโมเสส เขียนชึ้นในช่วงประมาณ 1405 ปีก่อนคริสตกาล โดยคริสต์ศาสนิกชนบางกลุ่มเชื่อว่า เป็นคำที่มีรากศัพท์เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์ใช้ ตั้งแต่ยุคสมัยพระเจ้าทรงสร้างโลกแล้ว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาษากรีกคอยนีและอาเมน

ภาษากรีกคอยนีและอาเมน มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาษากรีกคอยนีและอาเมน

ภาษากรีกคอยนี มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาเมน มี 16 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (9 + 16)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษากรีกคอยนีและอาเมน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »