โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาวะผิวเผือกและเสือโคร่งเบงกอล

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาวะผิวเผือกและเสือโคร่งเบงกอล

ภาวะผิวเผือก vs. เสือโคร่งเบงกอล

ลิงเผือกในสวนสัตว์พาต้า ภาวะผิวเผือก (Albinism หรือ achromia หรือ achromasia หรือ achromatosis หรือถ้าเป็นคำวิเศษณ์ก็ใช้ albinoid หรือ albinic) “Albinism” มาจากภาษาละตินว่า “Albus” ที่แปลว่า “ขาว” หมายถึงภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด hypopigmentation ชนิดหนึ่ง ที่มีทำให้บางส่วนของร่างกายหรือร่างกายทั้งหมดขาดสีเมลานินในบริเวณตา ผิวหนังและผม หรือบางครั้งก็เพียงแต่ที่ตา ภาวะผิวเผือกเกิดจากการได้รับยีนส์ด้อย ภาวะที่ว่านี้มีผลต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่รวมทั้งมนุษย์, ปลา, นก, สัตว์เลื้อยคลาน และ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ศัพท์ที่ใช้เรียกกันโดยทั่วไปของภาวะที่ว่านี้คือ “albino” ที่บางครั้งนำมาใช้ในเชิงดูหมิ่น “albino” จึงเลี่ยงมาเป็นการใช้วลีเช่น “albinistic person” หรือ “person with albinism” (ผู้มีภาวะผิวเผือก) แทนที. ือโคร่งเบงกอล (เบงกาลี:বাঘ, ฮินดี: बाघ; Bengal tiger, Royal bengal tiger) เป็นเสือโคร่งชนิดย่อยชนิดหนึ่ง นับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของบรรดาเสือโคร่งทั้งหมด รองจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) ที่พบในแถบไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย เสือโคร่งเบงกอลตัวผู้เมื่อมีขนาดใหญ่เต็มที่อาจยาวได้ถึง 360 เซนติเมตร หนัก 180-270 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 140–180 กิโลกรัม การกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ในประเทศอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ และกระจายเข้าไปในแถบประเทศพม่าด้วย สถานะในธรรมชาติ จัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการถูกล่าเพื่อทำหนังเป็นเครื่องประดับ และกระดูก, อวัยวะ เป็นยาสมุนไพรตามความเชื่อ อย่างไรก็ตาม เสือโคร่งเบงกอลนั้นนับได้ว่าเป็นเสือโคร่งชนิดที่ยังมีเหลืออยู่มากที่สุดในธรรมชาติ คาดว่ามีอยู่ประมาณ 2,000 ตัวในธรรมชาติ ในเขตป่าอนุรักษ์และอินเดียและเนปาล และเป็นเสือที่มนุษย์นำมาเลี้ยงและขยายพันธุ์ได้มากและแพร่หลายที่สุด ในสถานที่เลี้ยง พบว่า เสือโคร่งเบงกอลเป็นเสือโคร่งที่มีความเชื่องและดุร้ายน้อยที่สุด จนสามารถฝึกหัดให้เล่นละครสัตว์ได้ เสือโคร่งเบงกอลขึ้นชื่อว่าเป็นเสือโคร่งที่กินมนุษย์มาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในอินเดีย การล่าเสือเป็นเกมกีฬาของราชวงศ์ชั้นสูง แม้แต่ในยุคที่อังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย โดยการขี่หลังช้างออกล่าในตามทุ่งหญ้าทั้งหญ้าสูงและหญ้าต่ำ ในคริสต์ทศวรรษที่ 20 มีเสือโคร่งเบงกอลคร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 1,600 รายต่อปี แม้แต่ในปัจจุบันที่การล่าเสือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และผู้คนเข้าใจถึงการอนุรักษ์สัตว์ป่ามากขึ้น แต่ทว่าก็ยังคงมีการโจมตีมนุษย์อยู่เป็นระยะ ๆ ของเสือ โดยเฉพาะในสุนทรพนะซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลน เสือโคร่งเบงกอลที่นี่มีความดุร้ายและไม่เกรงกลัวมนุษย์ มักจะโจมตีมนุษย์เสมอ ๆ โดยเฉพาะการจู่โจมจากด้านหลัง ชาวพื้นเมืองที่นี่จึงต้องสวมหน้ากากไว้ด้านหลังเพื่อป้องกัน ด้วยการทำให้เสือเข้าใจผิดว่ากำลังถูกจ้องดูอยู่ เสือที่โจมตีมนุษย์ส่วนมากเป็นตัวเมียในช่วงฤดูเก็บน้ำผึ้ง ซึ่งตรงกับฤดูที่เสือโคร่งเบงกอลจะมีลูกพอดี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาวะผิวเผือกและเสือโคร่งเบงกอล

ภาวะผิวเผือกและเสือโคร่งเบงกอล มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาวะผิวเผือกและเสือโคร่งเบงกอล

ภาวะผิวเผือก มี 2 ความสัมพันธ์ขณะที่ เสือโคร่งเบงกอล มี 27 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (2 + 27)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะผิวเผือกและเสือโคร่งเบงกอล หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »