ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลาและเครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลาและเครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ
ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา vs. เครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ
โมเดล ATM ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา หรือ เอทีเอ็ม (Asynchronous Transfer Mode: ATM) เป็นเครือข่ายสื่อสาร ที่ใช้โพรโทคอลชื่อเดียวกันคือ ATM เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ATM ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้กับงานที่มีลักษณะ ข้อมูลหลายรูปแบบและต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมากๆ มีความเร็วในการส่งข้อมูลได้ตั้งแต่ 2 Mbps ไปจนถึงระดับ Gbps สื่อที่ใช้ในเครือข่ายมีได้ตั้งแต่สายโคแอกเชียล สายไฟเบอร์ออปติค หรือสายไขว้คู่ (Twisted pair) โดย ATM นั้นถูกพัฒนามาจากเครือข่ายแพ็กเก็ตสวิตซ์ (packet switched) ซึ่งจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ เรียกว่าแพ็กเก็ต (packet) ที่มีขนาดเล็กและคงที่แล้วจึงส่งแต่ละแพ็กเก็ตออกไป แล้วนำมาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้งที่ปลายทาง ข้อดีของ ATM คือสามารถใช้กับข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพเคลื่อนไหว, ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือเสียง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเร็วของข้อมูลสูง และยังมีการรับประกันคุณภาพของการส่ง เนื่องจากมี Quality of Service (QoS) จุดเด่นของเครือข่าย ATM ที่เหนือกว่าเครือข่ายประเภทอื่น คือ อัตราการส่งผ่านข้อมูลสูง และเวลาในการเดินทางของข้อมูลน้อย จึงทำให้มีบางกลุ่มเชื่อว่า ATM จะเป็นเทคโนโลยีหลักของเครือข่าย LAN ในอนาคต เนื่องจากสามารถรองรับ Application ที่ต้องการอัตราส่งผ่านข้อมูลสูง เช่น การประชุมทางไกล (Videoconferencing) หรือแม้กระทั่ง Application แบบตอบโต้กับระหว่าง Client กับ Sever ATM เป็นระบบเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์ชนิดพิเศษ เนื่องด้วยกลุ่มข้อมูลที่ส่งแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์โดยทั่วไปจะเรียกว่า "แพ็กเก็ต" แต่ ATM จะใช้ "เซลล์" แทน ที่ใช้คำว่าเซลล์เนื่องจาก เซลล์นั้นจะมีขนาดที่เล็กและคงที่ ในขณะที่แพ็กเก็ตมีขนาดไม่คงที่ และใหญ่กว่าเซลล์มาก โดยมาตรฐานแล้วเซลล์จะมีขนาด 53 ไบต์ โดยมีข้อมูล 48 ไบต์ และอีก 5 ไบต์ จะเป็นส่วนหัว (Header) ทำให้สวิตซ์ของ ATM ทำงานได้เร็วกว่าสวิตซ์ของเครือข่ายอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียข้อมูล ATM สวิตซ์จะใช้เทคนิคการปรับจราจร (Traffic Shapping) เพื่อกำหนดให้แพ็กเก็ตข้อมูลเป็นไปตามข้อกำหนดที่วางไว้ เช่น ในกรณีที่สถานีส่งข้อมูลในอัตราที่สูงเกินกว่าลิงก์จะรองรับได้ ATM สวิตซ์ก็จะทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์แพ็กเก็ตมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และส่งต่อในปริมาณที่ลิงก์จะรองรับได้ หรือที่กำหนดไว้เท่านั้น และอีกเทคนิคหนึ่งที่ใช้คือ การกำหนดนโยบายจราจร (Traffic Policing) คือ ถ้ามีเซลล์ข้อมูลที่ส่งเกินกว่าอัตราข้อมูลที่กำหนดไว้ก็จะถูกทำสัญลักษณ์ไว้เพื่อแสดงว่าเซลล์นี้มีลำดับความสำคัญต่ำ(Priority) เมื่อส่งผ่านเซลล์นี้ต่อไปก็อาจจะถูกละทิ้งหรือไม่ก็ได้นั้นขึ้นอยู่กับความคับคั่งของเครือข่าย. รือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ (Passive Optical Network:PON) เป็นเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลปลายทาง (Access Network) ความเร็วสูง โดยใช้ใยแก้วนำแสง ซึ่งเป็นอุปกรณ์แบบพาสซีฟเพียง core เดียว เหตุผลสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ก็คือ เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด และทำให้ค่าบริการถูกลงอีกด้วย ทรัพยากรที่สำคัญในการให้บริการรับส่งข้อมูลที่มีอยู่และมีความสำคัญมากก็คือ ใยแก้วนำแสง แม้ราคาของใยแก้วนำแสงถูกลงมาก แต่การที่จะติดตั้งเพิ่มเติม ทำได้ยาก เพราะท่อร้อยสายและเสาไฟฟ้าที่มีอยู่ ไม่มีที่ว่างให้ทำได้อีกแล้ว ทุกท่อ ทุกเสา เต็มหมด และไม่สามารถสร้างท่อร้อยสาย หรือปักเสาใหม่ได้.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลาและเครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ
ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลาและเครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลาและเครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลาและเครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ
การเปรียบเทียบระหว่าง ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลาและเครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ
ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา มี 4 ความสัมพันธ์ขณะที่ เครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ มี 4 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (4 + 4)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลาและเครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: