โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและโรคซึมเศร้า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและโรคซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด vs. โรคซึมเศร้า

วะซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression), ภาวะซึมเศร้าหลังให้กำเนิด (postnatal depression) หรือโรคซึมเศร้าหลังคลอด เป็นโรคทางอารมณ์อย่างหนึ่งที่สัมพันธ์กับการคลอดบุตร ซึ่งอาจพบได้ทั้งในฝ่ายชายและฝ่ายหญิง อาการสำคัญเช่น มีอารมณ์เศร้าอย่างมาก รู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง วิตกกังวล ร้องไห้บ่อย หงุดหงิด การนอนผิดปกติ (เช่น นอนไม่หลับ หรือนอนมากผิดปกติ) การกินผิดปกติ (เช่น กินไม่ลง หรือกินไม่หยุด) เป็นต้น ส่วนใหญ่มักพบที่เวลา 1 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน หลังคลอด ภาวะนี้อาจส่งผลเสียต่อทารกได้ สาเหตุที่แน่ชัดของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนั้นยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน ปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นผลของปัจจัยหลายด้านทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงหลังคลอดบุตร การอดนอน เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะนี้ได้แก่ การเคยเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตรคนก่อน โรคอารมณ์สองขั้ว ประวัติโรคซึมเศร้าในครอบครัว ความเครียดทางจิตใจ การมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอด การขาดคนช่วยเหลือดูแล หรือการใช้สารเสพติด การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากอาการ แม้สตรีหลังคลอดส่วนใหญ่จะมีช่วงเวลาของความเศร้าและความกังวลหลังคลอด แต่หากอาการเหล่านี้ยังคงเป็นอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์หรือเป็นรุนแรง จำเป็นจะต้องสงสัยว่าอาจมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดร่วมด้วย ในผู้คลอดที่มีปัจจัยเสี่ยง การมีผู้ช่วยเหลือด้านจิตใจอาจเป็นปัจจัยบวกที่ช่วงป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ การรักษาอาจใช้การทำจิตบำบัดร่วมกับการใช้ยา รูปแบบการทำจิตบำบัดที่ได้ผลได้แก่ จิตบําบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (IPT), การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) และ จิตบำบัดแบบจิตพลวัต (psychodynamic therapy) ปัจจุบันหลักฐานส่วนใหญ่สนับสนุนว่าการใช้ยาต้านซึมเศร้าในกลุ่ม SSRI จะได้ผล ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดพบได้ในหญิงช่วงคลอดประมาณ 15% และยังพบในฝ่ายชายได้ราว 1-26% แล้วแต่การศึกษา โรคจิตหลังคลอดซึ่งเป็นภาวะทางจิตเวชที่พบได้ในช่วงคลอดเช่นกันแต่มีความรุนแรงกว่ามากจะพบได้ในหญิงหลังคลอด 0.1-0.2% ซึ่งภาวะนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของการฆ่าทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี ซึ่งพบได้ในอัตรา 8 ใน 100,000 การเกิดมีชีพในสหรัฐอเมริก. รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและโรคซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและโรคซึมเศร้า มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมยาแก้ซึมเศร้าจิตเวชศาสตร์ความผิดปกติทางอารมณ์โรคอารมณ์สองขั้วSelective serotonin re-uptake inhibitors

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy ตัวย่อ CBT) เป็นรูปแบบหนึ่งของจิตบำบัด (psychotherapy) ซึ่งดั้งเดิมออกแบบเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า แต่ปัจจุบันใช้รักษาความผิดปกติทางจิตอย่างอื่น ๆ ด้วย ซึ่งมีประสิทธิผลโดยแก้ปัญหาปัจจุบันและเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่ไร้ประโยชน์ ชื่อของวิธีบำบัดอ้างอิงถึงการบำบัดชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการบำบัดพฤติกรรม (behavior therapy) การบำบัดความคิด (cognitive therapy) และการบำบัดที่รวมหลักต่าง ๆ ในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและจิตวิทยาประชาน ผู้บำบัดคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า จะใช้วิธีที่รวมการบัดบัดทั้งทางพฤติกรรมและทางความคิด เป็นเทคนิคที่ยอมรับความจริงว่า อาจมีพฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยความคิดที่สมเหตุผล เพราะเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการปรับสภาวะ (conditioning) ในอดีตต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งเร้าทั้งภายในภายนอก เป็นเทคนิคที่เพ่งความสนใจไปที่ปัญหาโดยเฉพาะ ๆ และช่วยคนไข้ให้เลือกกลยุทธ์ในการรับมือปัญหาเหล่านั้น ซึ่งต่างจากวิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ ที่ผู้รักษาจะสืบหาความหมายใต้สำนึกของพฤติกรรมของคนไข้เพื่อจะวินิจฉัยปัญหา คือ ในการบำบัดแบบพฤติกรรม ผู้รักษาเชื่อว่า ความผิดปกติที่มี เช่นความซึมเศร้า เกิดเนื่องมาจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่กลัวกับการตอบสนองแบบหลีกเลี่ยง ซึ่งมีผลเป็นความกลัวที่มีเงื่อนไข เหมือนดังในการปรับสภาวะแบบดั้งเดิม (Classical Conditioning) และในการบำบัดความคิด ผู้รักษาเชื่อว่า ตัวความคิดเอง จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล ดังนั้น การบำบัดสองอย่างหลังนี้จึงรวมกันเป็น CBT CBT มีประสิทธิผลต่อความผิดปกติหลายอย่างรวมทั้งความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) โรควิตกกังวล ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติของการรับประทาน (Eating disorder) การติดสิ่งต่าง ๆ (addiction) การใช้สารเสพติด (substance dependence) ความผิดปกติที่มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก (Tic disorder) และ psychotic disorder (รวมทั้งโรคจิตเภทและโรคหลงผิด) โปรแกรมการบำบัดแบบ CBT ได้รับประเมินสัมพันธ์กับการวินิจฉัยอาการ และปรากฏว่า มีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ เช่น การบำบัดแบบ psychodynamic แต่ว่าก็มีนักวิจัยที่ตั้งความสงสัยในความสมเหตุสมผลของข้ออ้างว่ามีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ยุคที่เน้นการปรับพฤติกรรมเป็นหลัก ผู้ที่ถือเป็นบิดาแห่งการบำบัดในรูปแบบที่เข้าใจและนิยมใช้ที่สุดในปัจจุบันคือ.

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมและภาวะซึมเศร้าหลังคลอด · การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

ยาแก้ซึมเศร้า

แผงยาโปรแซ็ก (ฟลูอ๊อกซิติน) ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) โครงสร้างทางเคมีของ venlafaxine ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitor (SNRI) ยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant) เป็นยาเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าและโรคอื่น ๆ รวมทั้ง dysthymia, โรควิตกกังวล, โรคย้ำคิดย้ำทำ, ความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder), ความเจ็บปวดเรื้อรัง, ความเจ็บปวดเหตุประสาท (neuropathic pain), และในบางกรณี อาการปวดระดู การกรน โรคไมเกรน โรคสมาธิสั้น การติด การติดสารเสพติด และความผิดปกติในการนอน โดยสามารถใช้เดี่ยว ๆ หรือรวมกับยาชนิดอื่น ๆ ตามที่แพทย์สั่ง กลุ่มยาแก้ซึมเศร้าที่สำคัญที่สุดรวมทั้ง selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs), serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs), tricyclic antidepressants (TCAs), monoamine oxidase inhibitors (MAOIs), reversible monoamine oxidase A inhibitors (rMAO-A inhibitors), tetracyclic antidepressants (TeCAs), และ noradrenergic and specific serotonergic antidepressant (NaSSAs) โดยมียาสมุนไพรจากพืช Hypericum perforatum (St John's wort) ที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าเหมือนกัน.

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและยาแก้ซึมเศร้า · ยาแก้ซึมเศร้าและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

จิตเวชศาสตร์

ตเวชศาสตร์ มาจากคำว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับ เวชศาสตร์ ที่แปลว่า ศาสตร์ด้านการแพทย์ เมื่อรวมกันจึงหมายถึง การศึกษาทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการบกพร่องทางจิต ต่างกับ คำว่า จิตวิทยา ตรงที่ว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับคำว่า วิทยา ที่มาจากวิทยาศาสตร์แทน ดังนั้น จิตวิทยาจึงเน้นเกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตใจที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ อาการบกพร่องทางจิต มีความหมายตามแนวความคิดที่มีอยู่ในขณะนี้ว่า เป็นอาการที่เกิดจากความบกพร่องจากการทำงานของระบบประสาทของสมองมนุษย์ โดยมีสาเหตุมาจากกระบวนการพัฒนาสมองที่ถูกกำหนดจากยึน และสภาพแวดล้อม.

จิตเวชศาสตร์และภาวะซึมเศร้าหลังคลอด · จิตเวชศาสตร์และโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

ความผิดปกติทางอารมณ์

วามผิดปกติทางอารมณ์ หรือ โรคอารมณ์แปรปรวน (Mood disorder) เป็นกลุ่มโรคในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) ที่ปัญหาทางอารมณ์ (mood) สันนิษฐานว่าเป็นอาการหลักของโรค ส่วนในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ICD) เป็นกลุ่มที่เรียกว่า mood (affective) disorders ซึ่งแปลได้อย่างเดียวกัน จิตแพทย์ชาวอังกฤษเสนอหมวดโรคที่ครอบคลุมเรียกว่า affective disorder ในปี..

ความผิดปกติทางอารมณ์และภาวะซึมเศร้าหลังคลอด · ความผิดปกติทางอารมณ์และโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

โรคอารมณ์สองขั้ว

รคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) เดิมเรียก ความเจ็บป่วยฟุ้งพล่าน-ซึมเศร้า (manic-depressive illness) เป็นโรคจิตซึ่งมีลักษณะ คือ มีช่วงที่ครึ้มใจและช่วงที่ซึมเศร้า อารมณ์ครึ้มใจมีความสำคัญและเรียก อาการฟุ้งพล่าน (mania) หรือภาวะไฮโปเมเนีย (hypomania) ขึ้นอยู่กับความรุนแรงหรือมีโรคจิตหรือไม่ ระหว่างภาวะฟุ้งพล่าน ปัจเจกบุคคลรู้สึกหรือแสดงออกว่ามีความสุข มีกำลังหรือหงุดหงิดผิดปกติ มักตัดสินใจไม่ดีโดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ ความต้องการนอนหลับมักลดลง ระหว่างช่วงซึมเศร้า อาจมีการร้องไห้ เลี่ยงการสบตากับผู้อื่นและมองชีวิตในแง่ลบ ความเสี่ยงการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคนี้สูงที่กว่า 6% ในเวลา 20 ปี ขณะที่การทำร้ายตัวเองเกิด 30–40% โรคนี้ปกติสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตอื่น เช่น โรควิตกกังวลและโรคการใช้สารเสพต.

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและโรคอารมณ์สองขั้ว · โรคซึมเศร้าและโรคอารมณ์สองขั้ว · ดูเพิ่มเติม »

Selective serotonin re-uptake inhibitors

Selective serotonin re-uptake inhibitors หรือ serotonin-specific reuptake inhibitors (ตัวย่อ SSRI, SSRIs) เป็นกลุ่มยา (class of drugs) ที่ปกติใช้เป็นยาแก้ซึมเศร้าเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (MDD) และโรควิตกกังวล กลไกการทำงานของ SSRIs ยังเป็นเรื่องไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่า SSRI เพิ่มระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนินนอกเซลล์ประสาทโดยจำกัดการนำไปใช้ใหม่ในเซลล์ก่อนไซแนปส์ (presynaptic) เป็นการเพิ่มระดับเซโรโทนินในช่องไซแนปส์ (synaptic cleft) ที่สามารถเข้ายึดกับตัวรับ (receptor) ของเซลล์หลังไซแนปส์ (postsynaptic) ได้ ยาแต่ละประเภทมีการเลือกสรร (selectivity) ในระดับต่าง ๆ กันต่อตัวขนส่งโมโนอะมีนประเภทอื่น ๆ แต่ SSRIs แบบบริสุทธิ์จะมีสัมพรรคภาพ (affinity) ที่อ่อนต่อโปรตีนขนส่งนอร์เอพิเนฟรินและโปรตีนขนส่งโดพามีน SSRIs เป็นยาแก้ซึมเศร้าที่แพทย์สั่งให้คนไข้มากที่สุดในประเทศหลาย ๆ ประเทศ แต่ประสิทธิผลของ SSRIs ต่อโรคซึมเศร้าในระดับอ่อนหรือปานกลางยังเป็นเรื่องขัดแย้ง.

Selective serotonin re-uptake inhibitorsและภาวะซึมเศร้าหลังคลอด · Selective serotonin re-uptake inhibitorsและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและโรคซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด มี 12 ความสัมพันธ์ขณะที่ โรคซึมเศร้า มี 211 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 2.69% = 6 / (12 + 211)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและโรคซึมเศร้า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »