โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาวะ (ปฏิทินจีน)

ดัชนี ภาวะ (ปฏิทินจีน)

วะ หรือ สารทสารท แปลว่าฤดูใบไม้ร่วง และงานฉลองในฤดูใบไม้ร่วง จึงผิดความหมาย และอาจสับสนกับวันสารทจีน ซึ่งตรงกับวันที่ 15 เดือน ตามปฏิทินจีน วันดังกล่าวเป็นวันอุทิศส่วนกุศลให้ผู้วายชนม์ของชาวจีน อย่างไรก็ตามนักโหราศาสตร์จีนนิยมใช้คำ สารท (จีนต้วเต็ม: 節氣; จีนตัวย่อ: 节气; พินอิน: jiéqì; คำอ่าน: เจี๋ยชี่ อังกฤษ: Solar term) หมายถึงระยะที่สำคัญอันสังเกตจากสิ่งแวดล้อมได้รอบตัว ซึ่งชาวจีนได้บัญญัติขึ้นไว้ 24 ภาวะด้วยกันในหนึ่งรอบปี นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการฉลองไหว้บรรพบุรุษตามสมควร ภาวะในปฏิทินจีน มีใช้ในประเทศจีน รวมถึงเกาหลี เวียดนาม และญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้รับวัฒนธรรมจีนอีกด้วย ในภาวะตามปฏิทินจีนทั้งหมด จะมีสี่ภาวะซึ่งตรงกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ได้แก่ 春分 (ชุนเฟิน) 夏至 (เซี่ยจื้อ) 秋分 (ชิวเฟิน) และ 冬至 (ตงจื้อ หรือวันไหว้ขนมบัวลอย) ซึ่งตรงหรือใกล้เคียงกับวันสำคัญทางดาราศาสตร์ประจำปี ได้แก่ วสันตวิษุวัต อุตรายัน ศารทวิษุวัต และทักษิณายัน ตามลำดับ แต่ละวันมีคำอธิบายโดยย่อดังนี้.

15 ความสัมพันธ์: พินอินภาษาอังกฤษวันสารทจีนวิษุวัตอักษรจีนตัวย่ออักษรจีนตัวเต็มครีษมายันปฏิทินจีนประเทศญี่ปุ่นประเทศจีนประเทศเกาหลีประเทศเวียดนามโหราศาสตร์สากลเหมายันเทศกาลตังโจ่ย

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: ภาวะ (ปฏิทินจีน)และพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ภาวะ (ปฏิทินจีน)และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

วันสารทจีน

ซ้ายคือขนมเทียนและขนมเข่ง ถาดขวาคือไก่ต้ม วันสารทจีน ตามปฏิทินทางจันทรคติ เทศกาลสารทจีนจะตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ตามปฏิทินจีน เทศกาลสารทจีนถือเป็นวันสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยพิธีเซ่นไหว้ และยังถือเป็นเดือนที่ประตูนรกเปิดให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้.

ใหม่!!: ภาวะ (ปฏิทินจีน)และวันสารทจีน · ดูเพิ่มเติม »

วิษุวัต

ทิศทางของแสงอาทิตย์ที่ส่องถูกโลกในวันวิษุวัต ซึ่งเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง (ภาพไม่แสดงความเข้มน้อยของแสงสลัวเวลาเช้ามืดและหัวค่ำ) วิษุวัต (equinox) หรือ จุดราตรีเสมอภาค เป็นศัพท์ดาราศาสตร์ หมายถึงช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตรงได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง หรือในหนึ่งรอบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ความเอียงของแกนโลกจะเลื่อนมาอยู่ในระนาบที่ได้ฉากกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ ซึ่งวันนั้นกลางวันจะเท่ากับกลางคืน.

ใหม่!!: ภาวะ (ปฏิทินจีน)และวิษุวัต · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวย่อ

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ภาษาฮั่น หรือ ภาษาจีนกลาง เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ แผนภาพออยเลอร์แสดงกลุ่มของการเปลี่ยนแปลงอักษรจีนตัวเต็มไปเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีนตัวย่อ (เจี่ยนถี่จื้อ/เจี่ยนฮั่วจื้อ) เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน อักษรจีนตัวย่อประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 เหตุที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese character ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวเต็ม หรือ Traditional Chinese Character (อักษรจีนดั้งเดิม) อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: ภาวะ (ปฏิทินจีน)และอักษรจีนตัวย่อ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวเต็ม

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม อักษรจีนตัวเต็ม เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 - 763) และได้ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวเต็ม หรืออักษรจีนดั้งเดิม ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวย่อ ซึ่งประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: ภาวะ (ปฏิทินจีน)และอักษรจีนตัวเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

ครีษมายัน

แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกในส่วนครึ่งซีกโลกเหนือในวันครีษมายัน ครีษมายัน หรือ อุตตรายัน (summer solstice) เป็นการที่ดวงอาทิตย์ โคจรไปถึงจุดหยุด (solstice) คือ จุดสุดทางเหนือในราววันที่ 20 มิถุนายน หรือ 21 มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวันนานกว่ากลางคืน, ตรงข้ามกับ เหมายัน (winter solstice) (สันสกฤต: คฺรีษฺม + อายนฺ).

ใหม่!!: ภาวะ (ปฏิทินจีน)และครีษมายัน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินจีน

ปฏิธินจีนปี ค.ศ.2017 ปฏิทินจีน หมายถึง ปฏิทินสุริยคติหรือปฏิทินจันทรคติซึ่งชาวจีนหรือชาวต่างประเทศเชื้อสายจีนใช้ในทางราชการและการกำหนดวันสำคัญต่าง ๆ ในการติดต่อราชการ-ธุรกิจ ชาวจีนใช้ปฏิทินสุริยคติสากลเช่นเดียวกับชาวตะวันตกและอีกหลายประเทศทั่วโลก แต่การกำหนดประเพณีสำคัญจะอาศัยปฏิทินจันทรคติเป็นหลักเสมอ ปฏิทินสุริยคติจีน กำหนดให้เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ดับที่ใกล้กับวันเหมายัน หรือวันที่ซีกโลกเหนือมีกลางวันสั้นที่สุด ส่วนปฏิทินจันทรคติจีน กำหนดให้เริ่มขึ้นปีนักษัตรใหม่ในวันลี่ชุน แต่เริ่มปีใหม่ในวันตรุษจีน ซึ่งเป็นวันจันทร์ดับต้นฤดูใบไม้ผลิ มักอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์หรือปลายเดือนมกราคมของทุกปี.

ใหม่!!: ภาวะ (ปฏิทินจีน)และปฏิทินจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ภาวะ (ปฏิทินจีน)และประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ภาวะ (ปฏิทินจีน)และประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเกาหลี

แผนที่ประเทศเกาหลีก่อนที่จะถูกแบ่งออกเป็นเกาหลีเหนือและ เกาหลีใต้ ธงรวมเกาหลี ธงสัญลักษณ์ร่วมสำหรับเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในการแข่งขันกีฬานานาชาตินับตั้งแต่ ค.ศ. 1994 ประเทศเกาหลี (한국 หรือ 조선, ฮันกุก หรือ โชซ็อน) เป็นอดีตประเทศ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็นประเทศเกาหลีเหนือและประเทศเกาหลีใต้.

ใหม่!!: ภาวะ (ปฏิทินจีน)และประเทศเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: ภาวะ (ปฏิทินจีน)และประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

โหราศาสตร์สากล

หราศาสตร์สากล เป็นคำที่ใช้กันเฉพาะในประเทศไทย ที่จริงแล้วในโหราศาสตร์แบ่งเป็น 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ ระบบสายนะ(Tropical Zodiac)และ นิรายนะ(Sidereal Zodiac) ระบบโหราศาสตร์ที่ประเทศไทยเรียกว่าสากลนั้นเป็นระบบเดียวกับสายนะ อ้างอิงจากการเปลี่ยนฤดูกาลของโลก ส่วนนิรายนะนั้นเป็นระบบที่อ้างอิงจากดาวฤกษ์(Fixed Star)โหราศาสตร์สายนี้แพร่หลายมาจากประเทศอินเดีย รากฐานของสองระบบมาจากที่เดียวกันเมื่อหลายพันปีมาแล้วอาจจะเป็นสมัยกรีก โหราศาสตร์ทั่วโลกพัฒนาการมาจากแหล่งเดียวกัน ยกเว้นโหราศาสตร์จีน นอกนั้นเป็นศาสตร์ที่ผ่านไปตามอารยธรรม และผ่านการบันทึกเป็นคัมภีร์ซึ่งนักโหราจารย์คนสำคัญที่บันทึกทั้งด้านดาราศาสตร์และโหราศาสตร์จนกระทั่งเป็นคัมภีร์พื้นฐานมาจนกระทั่งทุกวันนี้เรียกว่าคัมภีร์Tretablibosและอัญมาเจค ของปโตเลมี ผู้คนในยุคกรีกโบราณ.

ใหม่!!: ภาวะ (ปฏิทินจีน)และโหราศาสตร์สากล · ดูเพิ่มเติม »

เหมายัน

แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกในส่วนครึ่งซีกโลกใต้ในวันเหมายัน เหมายัน (เห-มา-ยัน) หรือ ทักษิณายัน (winter solstice) เป็นการที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึงจุดหยุด (solstice) คือ จุดสุดทางใต้ในราววันที่ 22 ธันวาคม เป็นจุดในฤดูหนาวในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้จะเกิดขึ้นราวเดือนมิถุนายน มีกลางคืนนานกว่ากลางวัน, ตรงข้ามกับครีษมายัน (summer solstice).

ใหม่!!: ภาวะ (ปฏิทินจีน)และเหมายัน · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลตังโจ่ย

งหยวน เทศกาลตังโจ่ย หรือ เทศกาลฤดูหนาว (จีนกลาง: ตงจื้อ, Dōngzhì Festival, Winter Solstice Festival) ตังโจ่ย หรือ ตังจี๋ หรือ ตงเจี่ย (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ ตั่งเจะ (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) มีความหมายถึง วันเหมายัน คือ วันที่พระอาทิตย์จะส่องแสงสั้นที่สุด หรือ วันที่เป็นจุดสูงสุดในฤดูหนาว (The Extreme of Winter) (โดยประมาณจะตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม ของทุกปี แต่ปีที่มีอธิกมาส จะตรงกับวันที่ 21 ธันวาคม) ในยุคโบราณชาวจีนจะเรียกวัน ๆ นี้ว่า เฉี่ยงจี่ (สุดยาว) เป็นหลักการโคจรของพระอาทิตย์ ในแต่ละปี ภายหลังฤดูสารทชิวฮุง (เทศกาลกินเจ) ในเดือนตุลาคมแล้ว พระอาทิตย์เริ่มเคลื่อนลงสู่ทางทิศใต้ ถึงเส้นแวงที่ 23 องศา 26 ลิปดา 59 พิลิปดา ดังนั้น ทางขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ดินฟ้าภูมิอากาศย่อมมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ในซีกโลกเหนือแสงแดดในเวลากลางวันนั้นสั้น แต่เวลากลางคืนกลับยาว แต่ที่ทางซีกโลกใต้นั้นกลับตรงกันข้าม วันตังโจ่ยกลับเป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ทางซีกโลกใต้นานที่สุด ดังนั้น วันนี้ จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า น่ำจี่ (สุดใต้) และเมื่อผ่านพ้นวันนี้ไปแล้ว พระอาทิตย์ก็จะเริ่มโคจรตามปกติสู่ทางด้านทิศเหนือ วันเวลายามกลางวันก็จะเริ่มต้นยาวขึ้นตามลำดับ วันตังโจ่ย จึงถือเป็นวันตายตัวของวันที่ 22 หรือวันที่ 21 ธันวาคม ตามปฏิทินทางสุริยคติสากล แต่สำหรับในปฏิทินจีน ได้ใช้หลักตามจันทรคติ ดังนั้น เมื่อถือตามหลักของปฏิทินจีน วันตังโจ่ย จึงไม่มีการตายตัวทุก ๆ ปี แต่จะตรงกับเดือน 11 ตามปฏิทินจีน (เดือนธันวาคม) ซึ่งเรียกว่า เกี๋ยวง๊วย ในยุคโบราณ ชาวจีนให้ความสำคัญกับเทศกาลตังโจ่ยไม่แพ้วันตรุษจีน เพราะถือเสมือนเทศกาลสิ้นปี ผู้คนจะปิดร้านรวงและบ้านเรือน ทำบุญตามวัดหรือไหว้เจ้า เอกลักษณ์ที่สำคัญในเทศกาลนี้ คือ ผู้คนจะปั้นและกินขนมที่มีลักษณะคล้ายขนมบัวลอยของไทย (ออกเสียงสำเนียงแต้จิ๋วว่า อี๊) ซึ่งทำจากแป้งและต้มกับน้ำเชื่อม เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย ในภูมิภาคแต่ละที่ของจีนจะกินขนมชนิดนี้และมีชื่อเรียกแตกต่างออกไป เช่น ทางเหนือจะกินเกี๊ยวน้ำ ทางใต้จะกินขนมชนิดนี้ที่มีลูกใหญ่และเรียกว่า "ถ่างหยวน" (Tangyuan, 湯圓) โดยมีความเชื่อว่า เมื่อรับประทานแล้วคนในครอบครัวจะรักผูกพันกันยิ่งขึ้น เพราะเมื่อถึงเทศกาลนี้แล้ว ญาติพี่น้องที่จากไปอยู่แต่ละที่ จะหวนคืนกลับบ้านมาอยู่พร้อมหน้ากันอีกครั้ง อีกทั้งยังเชื่อว่าเป็นมงคลเพราะอายุเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งปี ดังนั้นเทศกาลนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย ซึ่งประเพณีการรับประทานขนมบัวลอยนี้ก็ยังคงปฏิบัติมาจนถึงคงปัจจุบัน.

ใหม่!!: ภาวะ (ปฏิทินจีน)และเทศกาลตังโจ่ย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สารท (ปฏิทินจีน)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »