โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์และระบบการเห็น

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์และระบบการเห็น

ภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์ vs. ระบบการเห็น

ลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์มีวงกลมสีส้ม ๆ ที่มีขนาดเท่ากัน แต่ว่า วงกลมด้านขวากลับปรากฏใหญ่กว่า ภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์ (Ebbinghaus illusion) หรือ วงกลมทิตเชะเนอร์ (Titchener circles) เป็นภาพลวงตาลวงการรับรู้เกี่ยวกับขนาดวัตถุ มีชื่อตามนักจิตวิทยาชาวเยอรมันผู้ค้นพบ คือ เฮอร์แมนน์ เอ็บบิงก์เฮาส์ (ค.ศ. 1850–1909) แต่เพราะว่านักจิตวิทยาชาวอังกฤษชื่อว่า เอ็ดวารด์ ทิตเชะเนอร์ เป็นบุคคลที่กล่าวถึงภาพลวงตานี้ในตำราจิตวิทยาทดลอง (experimental psychology) และทำภาพนี้ให้เป็นที่รู้จักในหมู่ชนที่พูดภาษาอังกฤษ ดังนั้น ภาพลวงตานี้จึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "วงกลมทิตเชะเนอร์" แบบของภาพที่รู้จักกันดีที่สุดก็คือ ภาพมีวงกลมขนาดเท่ากันสองวงอยู่ติด ๆ กัน วงกลมหนึ่งล้อมรอบด้วยวงกลมใหญ่ ๆ ในขณะที่อีกวงกลมหนึ่งล้อมรอบด้วยวงกลมเล็ก ๆ โดยเอาชุดวงกลมมาวางต่อกัน วงกลมตรงกลางที่ล้อมรอบด้วยวงกลมใหญ่ ๆ ดูเล็กกว่าวงกลมที่ล้อมรอบด้วยวงกลมเล็ก ๆ งานวิจัยเร็ว ๆ นี้เสนอว่า องค์ประกอบสำคัญสองอย่างที่ทำให้เกิดการลวงก็คือ ระยะทางของวงกลมที่ล้อมรอบจากวงกลมตรงกลาง และความสมบูรณ์ของวงที่ล้อมรอบ ภาพลวงตานี้จึงคล้ายกับภาพลวงตาอีกอย่างหนึ่งคือ Delboeuf illusion คือ ถ้าวงกลมที่ล้อมรอบอยู่ใกล้วงกลมตรงกลาง วงกลมตรงกลางดูใหญ่กว่า และถ้าวงกลมล้อมรอบอยู่ไกล วงกลมตรงกลางก็จะดูเล็กกว่า โดยไม่สำคัญว่า วงกลมตรงกลางและวงกลมล้อมรอบจะมีขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน ถึงแม้ว่า ตัวแปรคือระยะทางจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเห็นภาพลวง แต่ว่าตัวแปรคือขนาดของวงกลมที่ล้อมรอบก็ยังเป็นตัวจำกัดว่า วงกลมที่ล้อมรอบนั้นสามารถจะอยู่ชิดกับวงกลมตรงกลางได้ขนาดไหน จึงทำให้งานวิจัยหลายงาน สับสนตัวแปรสองอย่างนี้ ภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์มีบทบาทสำคัญในข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความมีอยู่ของทางสัญญาณสองทาง (วิถีประสาทสองทาง) เพื่อการรับรู้ (perception) และเพื่อการกระทำ (action) ในระบบสายตา คือ มีการเสนอว่า ภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์ทำการรับรู้เกี่ยวกับขนาดให้บิดเบือน แต่ไม่มีผลกับการกระทำ งานวิจัยของนักประสาทวิทยาศาสตร์ เม็ลวิน กูดเดล์ แสดงว่า เมื่อให้สัตว์ทดลองตอบสนองต่อวัตถุกลม ๆ ที่มีอยู่จริง ๆ โดยจัดระเบียบเลียนแบบภาพลวง ด้วยการจับวัตถุกลมที่ตรงกลาง การปรับขนาดของมือเพื่อจับวัตถุนั้นเป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่ได้รับอิทธิพลจากการรับรู้ที่บิดเบือนนั้น คือสัตว์ทดลองเห็นขนาดผิด แต่กลับคว้าจับวัตถุได้เป็นปกติ แม้จะมีงานวิจัยอื่น ๆ ที่ยืนยันว่า ภาพลวงตาที่หลอกขนาดเช่นภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์ ไม่มีผลต่อการปรับขนาดของมือเพื่อจับวัตถุ แต่ก็มีงานอื่น ๆ อีกที่แสดงว่า ภาพลวงตามีผลต่อทั้งการรับรู้ และทั้งการกระทำ งานวิจัยที่ใช้อุปกรณ์สร้างภาพในประสาท (neuroimaging) เสนอว่า มีสหสัมพันธ์เชิงผกผัน (inverse correlation) ระหว่างความไวของบุคคลต่อภาพลวงตาประเภทเดียวกับภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์ (เช่น Ponzo illusion) กับขนาดของคอร์เทกซ์สายตาปฐมภูมิที่ต่าง ๆ กันไปในแต่ละบุคคล คือคอร์เทกซ์ของบุคคลยิ่งใหญ่ ภาพก็มีประสิทธิภาพในการลวงตาน้อยลง (และนัยตรงกันข้ามก็จริงด้วย) ส่วนงานวิจัยด้านช่วงพัฒนาการเสนอว่า การลวงตานั้นอาศัยความไวต่อสิ่งแวดล้อม (คือวัตถุที่อยู่แวดล้อม) คือ เมื่อทำการทดสอบกับเด็กวัย 10 ขวบและน้อยกว่านั้น เทียบกับนักศึกษามหาวิทยาลัย การลวงตาโดยเทียบขนาดเกิดขึ้นบ่อยครั้งในผู้ใหญ่ผู้มีความไวต่อสิ่งแวดล้อม มากกว่าในเด็กน้อยผู้ไม่มีความไวต่อวัตถุที่แวดล้อม. ังไม่มี เผื่ออนาคต mammalian visual systemsEye -refined.svg||thumb|200px|ระบบการเห็นประกอบด้วตา และ วิถีประสาทที่เชื่อมตากับpostscript.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์และระบบการเห็น

ภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์และระบบการเห็น มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ระบบการเห็นสมมุติฐานทางสัญญาณสองทางสหสัมพันธ์ประสาทวิทยาศาสตร์เปลือกสมองส่วนการเห็น

ระบบการเห็น

ังไม่มี เผื่ออนาคต mammalian visual systemsEye -refined.svg||thumb|200px|ระบบการเห็นประกอบด้วตา และ วิถีประสาทที่เชื่อมตากับpostscript.

ภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์และระบบการเห็น · ระบบการเห็นและระบบการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง

มมุติฐานทางสัญญาณสองทาง (Two-streams hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่ได้การยอมรับอย่างกว้างขวาง และมีความสำคัญในการศึกษาวิจัยการประมวลผลของนิวรอนในระบบสายตา เดวิด มิลเนอร์ และเมลวิน กูดเดล ได้จำแนกลักษณะต่างๆ ของทางสัญญาณสองทางที่มีความนิยมที่สุดในงานวิจัยปี..

ภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์และสมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง · ระบบการเห็นและสมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง · ดูเพิ่มเติม »

สหสัมพันธ์

ำหรับสถิติศาสตร์ สหสัมพันธ์ (correlation) หมายถึงความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างตัวแปรสุ่มตั้งแต่สองตัวแปรขึ้นไป Several sets of (''x'', ''y'') points, with the Pearson correlation coefficient of ''x'' and ''y'' for each set. Note that the correlation reflects the noisiness and direction of a linear relationship (top row), but not the slope of that relationship (middle), nor many aspects of nonlinear relationships (bottom). N.B.: the figure in the center has a slope of 0 but in that case the correlation coefficient is undefined because the variance of ''Y'' is zero.

ภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์และสหสัมพันธ์ · ระบบการเห็นและสหสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทวิทยาศาสตร์

ประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง (neuroanatomy), หน้าที่, การเจริญเติบโต (neural development), พันธุศาสตร์, ชีวเคมี, สรีรวิทยา, เภสัชวิทยา และพยาธิวิทยาของระบบประสาท นอกจากนี้การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและการเรียนรู้ยังถือว่าเป็นสาขาของประสาทวิทยาอีกด้วย การศึกษาทางชีววิทยาของสมองของมนุษย์มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกันของสาขาวิชาต่าง ๆ ในหลายระดับ มีตั้งแต่ระดับโมเลกุลไปจนถึงระดับเซลล์ (นิวรอน) ซึ่งมีทั้งระดับการทำงานของกลุ่มของนิวรอนจำนวนน้อย เช่น ในคอลัมน์ของสมองส่วนคอร์เทกซ์ (cortical columns) ไปจนถึงระดับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบประสาทการมองเห็น และไปจนถึงระดับการทำงานของระบบขนาดใหญ่ เช่น การทำงานของสมองส่วนซีรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือ ซีรีเบลลัม และการทำงานของสมองทั้งหมด ระดับสูงสุดของการศึกษาวิชาประสาทวิทยา คือ การนำวิธีการศึกษาทางประสาทวิทยาไปรวมกับการศึกษาทางปริชานประสาทวิทยาศาสตร์ หรือประสาทวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการรับรู้ (cognitive neuroscience) อันเป็นสาขาวิชาที่พัฒนามาจากวิชา จิตวิทยาการรับรู้ (cognitive psychology) แต่ปัจจุบันได้แยกออกมาเป็นสาขาวิชาหนึ่ง ปริชานประสาทวิทยาศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ทำให้เราเข้าใจการทำงานของจิตใจ (mind) และการมีสติ (consciousness) จากเหตุมายังผล ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาทางวิชาจิตวิทยาอันเป็นการศึกษาจากผลมายังเหตุ นักวิทยาศาสตร์บางท่านเชื่อว่าปริชานประสาทวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมจากการศึกษาทางจิตวิทยา และบางทีอาจจะดีกว่าจนกระทั่งมาแทนที่ความรู้ทางจิตวิทยาที่เชื่อกันมาได้ หัวข้อการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ อาทิเช่น.

ประสาทวิทยาศาสตร์และภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์ · ประสาทวิทยาศาสตร์และระบบการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมองส่วนการเห็น

ทางสัญญาณด้านหลัง (เขียว) และทางสัญญาณด้านล่าง (ม่วง) เป็นทางสัญญาณเริ่มมาจากเปลือกสมองส่วนการเห็นปฐมภูมิ เปลือกสมองส่วนการเห็น (visual cortex, cortex visualis) ในสมองเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมอง ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลสายตา อยู่ในสมองกลีบท้ายทอยด้านหลังของสมอง คำว่า เปลือกสมองส่วนการเห็น หมายถึงคอร์เทกซ์ต่าง ๆ ในสมองรวมทั้ง.

ภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์และเปลือกสมองส่วนการเห็น · ระบบการเห็นและเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์และระบบการเห็น

ภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์ มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ ระบบการเห็น มี 84 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 5.26% = 5 / (11 + 84)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์และระบบการเห็น หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »