โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาพยนตร์ไทยและโรงภาพยนตร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาพยนตร์ไทยและโรงภาพยนตร์

ภาพยนตร์ไทย vs. โรงภาพยนตร์

นตร์ไทย มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกถ่ายทำในเมืองไทย คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ ผู้สร้าง คือ บริษัทภาพยนตร์ ยูนิเวอร์ซัล ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย"" เว็บไซต์ rimpingfunds.com พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น เป็นภาพยนตร์ขนาด 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ ไม่มีเสียง ได้รับการยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย ในช่วงหลัง พ.ศ. 2490 ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟูของภาพยนตร์ไทย สตูดิโอถ่ายทำและภาพยนตร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นประเทศไทยเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นช่วงซบเซาของภาพยนตร์ไทย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง กิจการภาพยนตร์ในประเทศไทยค่อย ๆ ฟื้นคืนกลับมา ได้เปลี่ยนไปสร้างเป็นภาพยนตร์ขนาด 16 มิลลิเมตรแทน และเมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขัน ภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม ในช่วงเวลาระหว่างปี.. ในโรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ หรือ โรงหนัง เป็นสถานที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชมภาพยนตร์ และผู้ประกอบการจะต้องมี ใบอนุญาตประกอบกิจการ โรงภาพยนตร์ มิเช่นนั้นห้ามเรียก โรงภาพยนตร์ เนื่องจาก โรงภาพยนตร์ จะมีกฎหมายหลายๆอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง การที่ ไม่มี ใบอนุญาตประกอบกิจการ โรงภาพยนตร์ จะไม่ได้รับสิทธิ์คุ้มครองตามกฎหมายของโรงภาพยนตร์ และห้ามเรียกโรงภาพยนตร์ ดังนั้นโรงภาพยนตร์ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อทำธุรกิจ ให้สาธารณชนจ่ายค่าผ่านประตูเข้ามารับชม ฟิล์มภาพยนตร์จะถูกฉายจากเครื่องฉาย ให้ปรากฏภาพบนจอ ที่ด้านหน้าของบริเวณที่นั่งชมภายในโรงภาพยนตร์ โดยนิยมสร้างที่นั่งบนพื้นแบบขั้นบันไดไล่ระดับ จากด้านหลังลงไปยังด้านหน้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาพยนตร์ไทยและโรงภาพยนตร์

ภาพยนตร์ไทยและโรงภาพยนตร์ มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาพยนตร์ภาพยนตร์อินเดียศาลาเฉลิมไทยฮอลลีวูดถนนเจริญกรุง

ภาพยนตร์

กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวของฟ็อกซ์ในยุคแรก ๆ ภาพยนตร์ หรือ หนัง คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง.

ภาพยนตร์และภาพยนตร์ไทย · ภาพยนตร์และโรงภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์อินเดีย

right thumb ภาพยนตร์อินเดีย หรือ ที่รู้จักในชื่อ บอลลีวู้ด (Bollywood) (หมายถึง ฮอลลีวู้ดแห่งบอมเบย์) ในแต่ละปี อุตสาหกรรมบอลลีวู้ด ผลิตภาพยนตร์ออกสู่ตลาดมากที่สุดในโลกประมาณ 800-1,000 เรื่อง โดยในแต่ละวัน ชาวอินเดียจะซื้อตั๋วเข้าไปหาความบันเทิงตามโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศราว 10 ล้านคน และจากชาวอินเดียที่กระจายอยู่ทั่วโลกอีกประมาณ 20 ล้านคน ทั้งนี้ยังมีชาวต่างชาติที่นิยมชมภาพยนตร์อินเดีย ซึ่งมีให้ชมทั้งในเอเชีย ประเทศไทย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน สเปน ฟิจิ หรือแม้แต่รัสเซีย หนังอินเดียยุคใหม่ช่วงแรกสามารถนับได้ว่าเป็นในช่วงปี..

ภาพยนตร์อินเดียและภาพยนตร์ไทย · ภาพยนตร์อินเดียและโรงภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลาเฉลิมไทย

หน้าปกสูจิบัตรโฆษณา ฉบับเดือนเมษายน ปลายทศวรรษ 2510 ของศาลาเฉลิมไทย ศาลาเฉลิมไทย เป็นโรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ ตั้งอยู่ที่มุม ถนนราชดำเนินกลาง กับ ถนนมหาไชย ได้รับการสร้างขึ้นตามความประสงค์ของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ศาลาเฉลิมไทยได้สร้างขึ้นราวปี..

ภาพยนตร์ไทยและศาลาเฉลิมไทย · ศาลาเฉลิมไทยและโรงภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอลลีวูด

ป้ายฮอลลีวูด ฮอลลีวูด (Hollywood) เป็นชื่อเขตในนครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย เหมือนกับเป็นถนนหรือเขตหนึ่งเท่านั้น ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตะวันตกถึงตะวันตกเฉียงเหนือของศูนย์กลางนครลอสแอนเจลิส เนื่องจากว่าฮอลลิวูดนั้นมีชื่อเสียงและมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นศูนย์กลางแห่งประวัติศาสตร์ของโรงถ่ายทำภาพยนตร์ และดาราภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ดังนั้น ชื่อของฮอลลีวูดจึงมักจะถูกเรียกเป็นชื่อแทนของโรงภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ทุกวันนี้มีอุตสาหกรรมภาพยนตร์จำนวนมากที่ได้แพร่กระจายไปรอบๆพื้นที่ของแคลิฟอร์เนียและทางตะวันตกของนครลอสแอนเจลิส แต่อุตสาหรรมภาพยนตร์หลักๆที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อ การใส่เทคนิคพิเศษ ผู้สนับสนุน การผลิตขั้นสุดท้าย และบริษัททางด้านแสงประกอบ ยังคงอยู่ในฮอลลีวูด โรงละครสำคัญๆทางประวัติศาสตร์ของฮอลลีวูดหลายแห่งถูกใช้เป็นสถานที่ชุมนุมและเวทีคอนเสิร์ตในงานเปิดตัวสำคัญๆระดับยักษ์ใหญ่ของโลกและยังเป็นเจ้าภาพในการประกาศรางวัลออสการ์หรือที่เรียกกันติดปากว่ารางวัลออสการ์นั่นเอง ฮอลลีวูดเป็นสถานที่ที่คนทั่วโลกต้องการมาเยือนทั้งนักผจญราตรีและนักท่องเที่ยวทั้งหลาย และยังเป็นที่ตั้งของถนน ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม (Hollywood Walk of Fame) ที่มีชื่อเสียงอีกด้วย ฮอลลีวูด ค.ศ. 1885 โรงแรมฮอลลีวูด ค.ศ. 1905 ใน ค.ศ. 1853 กระท่อมอิฐหลังเล็กๆหลังหนึ่งได้กลายมาเป็นฮอลลีวูดในทุกวันนี้ ในราวปี ค.ศ. 1870 ชุมชนเกษตรกรรมได้เจริญขึ้นมาในพื้นที่แห่งนี้พร้อมๆกับผลผลิตที่เจริญงอกงามมากในช่วงนั้น ที่มาของชื่อฮอลลีวูด ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดนั้นน่าจะมาจากชื่อของต้น Tyon ท้องถิ่นหรือเรียกกันว่า "แคลิฟอร์เนียฮอลลี่" ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์ปกคลุมเนินเขาในสมัยนั้นและยังออกผลเบอร์รี่สีแดงกระจายอยู่ทั่วไปในช่วงหน้าหนาวของทุกปีอีกด้วย จากนั้นความเชื่อนี้และความเชื่อในเรื่องของที่มาของคำว่าฮอลลี่นี้ก็มีคนเชื่อถือมากขึ้นเรื่อยๆแต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นความจริงแต่อย่างใด บ้างก็ว่าชื่อของฮอลลีวูดนี้เป็นชื่อที่ตั้งโดย เอช.เจ.ไวท์ลี่ย์ บิดาแห่งฮอลลีวูด ซึ่งทั้งเขาและกีกี้ ภรรยาของเขาได้ตั้งชื่อนี้ขึ้นขณะที่มาฮันนีมูนกัน ตามบันทึกของมากาเร็ต เวอร์จิเนีย ไวท์ลี่ย์ บ้างก็ว่ามาจาก ฮาร์วี่ย์ วิลคอกซ์ ที่ได้มาซื้อที่ดินในบริเวณนี้และก็พัฒนาเป็นชุมชุนขึ้นมา โดยดาเออิดา ภรรยาของเขาได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่งบนรถไฟที่บอกว่าเธอได้ตั้งชื่อบ้านพักฤดูร้อนที่รัฐโอไฮโอว่า ฮอลลีวูด ดาเออิดาชอบชื่อนี้และก็เอามาตั้งเป็นชื่อของชุมชนที่ตั้งขึ้นมาใหม่นี้ คำว่าฮอลลีวูดนี้ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกในแผนที่ของวิลคอกซ์สำหรับการแบ่งสรรพื้นที่และปรากฏในเอกสารของบันทึกเขตปกครองของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1887 ตามคำพูดของจอร์แดน แมกซ์เวลล์นั้น ชื่อของฮอลลีวูดนั้นอ้างอิงมาจากไม้กายสิทธิ์ Druidic ซึ่งทั้งไม้กายสิทธิ์และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮอลลีวูดนั้นเป็นเครื่องมือในการจัดการกับคน ราวปี ค.ศ. 1900 คณะบุคคลที่เรียกตัวเองว่า Cahuenga ได้จัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์ หนังสือพิมพ์ โรงแรม และตลาดสองแห่งด้วยจำนวนประชากรเพียง 500 คน ซึ่งในขณะนั้น ลอสแอนเจลิสมีประชากรประมาณ 100,000 คนและมีเมืองที่ทอดผ่านสวนผลไม้รถส้มเป็นระยะทางกว่า 7 ไมล์ มีชื่อเส้นทางเดินรถเพียงชื่อเดียวจากใจกลางของ Prospent Avenue ที่พาดผ่านแต่มีการให้บริการไม่บ่อยนักและต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง แต่บ้านสำหรับการบรรจุหีบห่อผลไม้รสส้มในสมัยก่อนนั้นอาจจะกลายเป็นจุดสำคัญที่นำความเจริญและการคมนาคมที่สะดวกสบายขึ้นมาสู่ผู้อยู่อาศัยในย่านฮอลลีวูด โรงแรมฮอลลีวูดอันเป็นโรงแรมใหญ่โรงแรมแรกของฮอลลีวูดที่มีชื่อเสียงนั้น เปิดบริการในปี ค.ศ. 1902 โดยเอช.เจ.ไวท์ลี่ย์ เพื่อขายเป็นที่พักอาศัยเป็นจำนวนมากท่ามกลางฟาร์มปศุสัตว์ ตั้งอยู่หน้า Prospect Avenue และด้านข้างฝั่งตะวันตกของ Highland Avenue ปี ค.ศ. 1903 ฮอลลีวูดรวมเป็นเทศบาลแห่งหนึ่ง และในปี ค.ศ. 1904 รถบรรทุกวิ่งจากลอสแอนเจลิสมายังฮอลลีวูดคันใหม่ก็เปิดให้ใช้บริการ ระบบนี้เรียกว่า Hollywood Boulevard ซึ่งช่วยร่นระยะเวลาการเดินทางไป-กลับลอสแอนเจลิสได้อย่างมาก ปี ค.ศ. 1910 มีการพยายามจะรักษาระดับการขายน้ำอย่างพอเพียง ชาวเมืองจึงโหวตให้ฮอลลีวูดผนวกเป็นส่วนหนึ่งของนครลอสแอนเจลิส จึงทำให้ระบบชลประทานเพื่อการพัฒนาเมืองนั้นถูกเปิดเป็น Los Angeles Aqueduct และต่อน้ำทางท่อจากแม่น้ำโอเว่นในหุบเขาโอเว่น นอกจากนั้น การโหวตครั้งนี้ก็ยังมีเหตุผลมาจากกาารต้องการให้ฮอลลิวูดกลายเป็นทางระบายน้ำเสียของนครลอสแอนเจลิสอีกด้วย หลังจากรวมกับนครลอสแอนเจลิสแล้ว ชื่อ Prospect Avenue ก็เปลี่ยนมาเป็น Hollywood Boulevard รวมทั้งหมายเลขถนนในพื้นที่แห่งนี้ เช่น จาก 100 Prospect Avenue ที่ Vermont Avenue กลายเป็น 6400 Hollywood Boulevard และ 100 Cahuenga Boulevard ที่ Hollywood Bouvelard เป็น 1700 Cahuenga Boulevard เป็นต้น.

ภาพยนตร์ไทยและฮอลลีวูด · ฮอลลีวูดและโรงภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

ถนนเจริญกรุงและภาพยนตร์ไทย · ถนนเจริญกรุงและโรงภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาพยนตร์ไทยและโรงภาพยนตร์

ภาพยนตร์ไทย มี 316 ความสัมพันธ์ขณะที่ โรงภาพยนตร์ มี 27 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 1.46% = 5 / (316 + 27)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาพยนตร์ไทยและโรงภาพยนตร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »