โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง

ดัชนี ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง

นตร์เสียงศรีกรุง หรือ ศรีกรุงภาพยนตร์ (สัญลักษณ์ พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม) เป็นบริษัทสร้างภาพยนตร์ไทย สมัยรัชกาลที่ 7 กิจการแห่งเดียวที่สร้าง "หนังพูด" อัดเสียงลงฟิล์มขณะถ่ายทำพร้อมกัน (ซาวด์ออนฟิล์ม) ของพี่น้องตระกูลวสุวัต เจ้าของโรงพิมพ์และหนังสือพิมพ์รายวัน ศรีกรุง ซึ่งชอบเรื่องสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆตั้งแต่วัยเยาว์ นำโดย มานิต วสุวัต เจ้าของโรงถ่ายภาพยนตร์มาตรฐานสากลแห่งแรกของไทยที่ทุ่งบางกะปิ ซึ่งได้ฉายา ฮอลลีวู้ดเมืองไทย(ติดด้านหลังสยามสมาคมซึ่งถูกเพลิงไหม้ในเวลาต่อมาหรือใกล้สถานีรถไฟฟ้า ถ.อโศก ในปัจจุบัน) ถ่ายทำหนังข่าวและสารคดีที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ หลายเรื่อง ตลอดจนสร้างหนังที่มีชื่อเสียงและเพลงอมตะไว้อีกมาก รวมทั้งหนังชั้น ซูเปอร์ ใช้ทุนและฉากมโหฬาร 2 เรื่อง คือ เลือดทหารไทย และ เพลงหวานใจ ผู้นำความคิดริเริ่มใหม่และนวัตกรรม หลายๆด้านในยุคบุกเบิกของวงการหนังไท.

39 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพรานบูรพ์พิพิธภัณฑสถานกระทรวงกลาโหมกลัวเมียกีตาร์โปร่งภาพยนตร์ไทยมานี สุมนนัฏมูลนิธิหนังไทยรุจน์ รณภพวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารศาลาเฉลิมกรุงสมบัติ เมทะนีสมยศ ทัศนพันธ์สงครามโลกครั้งที่สองหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์หลวงบุณยมานพพานิชย์ (อรุณ บุณยมานพ)หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)อบ บุญติดอรัญญา นามวงศ์ฮอลลีวูดจมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์)จังหวัดนครปฐมจำรัส สุวคนธ์ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)ซัวเถาปู่โสมเฝ้าทรัพย์นวัตกรรมนารถ ถาวรบุตรนางสาวสุวรรณแผลเก่าแผ่นเสียงโชคสองชั้นไพโรจน์ ใจสิงห์ไม่เคยรักเพลงหวานใจเมตตา รุ่งรัตน์เลือดทหารไทย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 — 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พรานบูรพ์

รานบูรพ์ (ซ้าย) ถ่ายภาพคู่กับแก้ว อัจฉริยะกุล พรานบูรพ์ หรือ จวงจันทร์ จันทร์คณา (29 มีนาคม พ.ศ. 2444 - 6 มกราคม พ.ศ. 2519) นักแต่งเพลงไทย เป็นคนแรกผู้ปฏิรูปรูปแบบเพลงไทยประกอบละครร้อง จากท่วงทำนองเพลงไทยเดิมที่มีลูกเอื้อนให้มีลักษณะสากลยิ่งขึ้น อาจกล่าวว่า พรานบูรพ์คือผู้ริเริ่มเพลงไทยสากลก็ได้ มีผลงานสร้างชื่อเสียงคือ ละครร้องเรื่อง "จันทร์เจ้าขา" และ "โรสิตา".

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและพรานบูรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑสถาน

ท้องฟ้าจำลอง พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ พิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้แห่งแรกของโลก ตั้งอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส หอศิลป์อุฟฟีซี เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในอิตาลี เกาะพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่เบอร์ลิน พิพิธภัณฑ์บริติช ตั้งอยู่ที่ลอนดอน พิพิธภัณฑ์อินเดีย ตั้งอยู่ที่โกลกาตา ประเทศอินเดีย เป็นพิพิธภัณฑเก่าและใหญ่ที่สุดในอินเดีย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฟินแลนด์ ตั้งอยู่ที่เฮลซิงกิ พิพิธภัณฑสถาน หรือ พิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารหรือสถาบัน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาวัตถุที่มนุษย์ทำขึ้น.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและพิพิธภัณฑสถาน · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงกลาโหม

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและกระทรวงกลาโหม · ดูเพิ่มเติม »

กลัวเมีย

กลัวเมีย เป็นภาพยนตร์ไทยพูด (ในฟิล์ม) ของไทยแนวตลกชวนหัวประกอบเพลง ระบบ 35 มม.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและกลัวเมีย · ดูเพิ่มเติม »

กีตาร์โปร่ง

กีตาร์โปร่ง หรือกีตาร์อคูสติก (acoustic guitar) คือกีตาร์ที่ส่งพลังงานจากการสั่นไปยังอากาศเพื่อทำให้เกิดเสียงโดยใช้วิธีการทางเสียง หมายความว่าไม่ได้ใช้ไฟฟ้า (ดู กีตาร์ไฟฟ้า) คลื่นเสียงของกีตาร์โปร่งจะถูกส่งผ่านทางโครงกีตาร์และทำให้เกิดเสียง กีตาร์โปร่งมีกล่องเสียงที่ช่วยเพิ่มการสั่นของสายกีตาร์ด้ว.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและกีตาร์โปร่ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์ไทย

นตร์ไทย มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกถ่ายทำในเมืองไทย คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ ผู้สร้าง คือ บริษัทภาพยนตร์ ยูนิเวอร์ซัล ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย"" เว็บไซต์ rimpingfunds.com พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น เป็นภาพยนตร์ขนาด 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ ไม่มีเสียง ได้รับการยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย ในช่วงหลัง พ.ศ. 2490 ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟูของภาพยนตร์ไทย สตูดิโอถ่ายทำและภาพยนตร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นประเทศไทยเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นช่วงซบเซาของภาพยนตร์ไทย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง กิจการภาพยนตร์ในประเทศไทยค่อย ๆ ฟื้นคืนกลับมา ได้เปลี่ยนไปสร้างเป็นภาพยนตร์ขนาด 16 มิลลิเมตรแทน และเมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขัน ภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม ในช่วงเวลาระหว่างปี..

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและภาพยนตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

มานี สุมนนัฏ

ฉวีวรรณ ดอกไม้งาม หรือ ฉวีวรรณ สามโกเศศ เป็นที่รู้จักในชื่อ มานี สุมนนัฏ (27 พฤศจิกายน 2458 — 23 มิถุนายน 2533) เป็นนักแสดงหญิงชาวไทยสังกัดบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง จำกัด มีผลงานแสดงภาพยนตร์และร้องเพลงประกอบ ช่วงปี..

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและมานี สุมนนัฏ · ดูเพิ่มเติม »

มูลนิธิหนังไทย

มูลนิธิหนังไทย (Thai Film Foundation) เป็นมูลนิธิเพื่อเก็บรวบรวมประวัติและภาพยนตร์ของประเทศไท.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและมูลนิธิหนังไทย · ดูเพิ่มเติม »

รุจน์ รณภพ

รุจน์ รณภพ (พ.ศ. 2474บางแหล่งก็ว่า พ.ศ. 2474 บางแหล่งก็ว่า พ.ศ. 2475 ส่วนวันที่นั้นบางแหล่งระบุว่า 17 กรกฎาคม บางแหล่งระบุว่า 13 กรกฎาคม — 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552) มีชื่อจริงว่า สุรินทร์ เจริญปุระ อดีตนักแสดง นักเขียนบท ผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้กำกับละครโทรทัศน์ เข้าเรียนที่โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ มักกะสัน เลขประจำตัว 1286 เมื่อปี..

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและรุจน์ รณภพ · ดูเพิ่มเติม »

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ที่ชื่อวัดแจ้ง เพราะ พระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จ แล้วยกทัพกลับมาเป็นเวลาเช้าพอดี ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในปี พ.ศ. 2327 ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

ศาลาเฉลิมกรุง

ลาเฉลิมกรุง หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า โรงมหรสพหลวง ศาลาเฉลิมกรุง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เฉลิมกรุง เป็นโรงมหรสพหลวง ตั้งอยู่ริมถนนเจริญกรุง แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นโรงภาพยนตร์ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ศาลาเฉลิมกรุงได้วางศิลาฤกษ์โดย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและศาลาเฉลิมกรุง · ดูเพิ่มเติม »

สมบัติ เมทะนี

มบัติ เมทะนี (เกิด: 26 มิถุนายน พ.ศ. 2480; ชื่อเล่น แอ๊ด) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และครโทรทัศน์) ประจำปี 2559 นักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย ผู้ชนะเลิศรางวัลตุ๊กตาทองและรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง นอกจากนี้กินเนสบุ๊คยังบันทึกไว้ว่าเป็นนักแสดงที่รับบทเป็นพระเอกมากที่สุดในโลก โดยแสดงเป็นพระเอกถึง 617 เรื่อง.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและสมบัติ เมทะนี · ดูเพิ่มเติม »

สมยศ ทัศนพันธ์

รือตรี สมยศ ทัศนพันธุ์ (14 มีนาคม พ.ศ. 2458 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2529) นักร้อง นักแต่งเพลงไทยสากล.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและสมยศ ทัศนพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์

หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 -) เป็น ศิลปินแห่งชาติ นักแสดง นักร้อง นักเขียน และนักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากการแนะนำและจัดระดับความอร่อยของร้านอาหาร ในชื่อ "เชลล์ชวนชิม" สัญลักษณ์ชามลายผักกาด ทางหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ตั้งแต..

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

หลวงบุณยมานพพานิชย์ (อรุณ บุณยมานพ)

หลวงบุณยมานพพานิชย์ หรือ อรุณ บุณยมานพ หรือ แสงทอง (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436-5 กันยายน พ.ศ. 2507) เป็นผู้ประพันธ์และเขียนบทภาพยนตร์บันเทิงคดีฝีมือของชาวไทยเรื่องแรก โชคสองชั้น (Double Luck)..

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและหลวงบุณยมานพพานิชย์ (อรุณ บุณยมานพ) · ดูเพิ่มเติม »

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) (Film Archive (Public Organization)) เป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคล้ายกับหอสมุด พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ แต่เป็นหอสมุด พิพิธภัณฑ์ และหอศิลป์ ที่เก็บภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ตลอดจนอะไรก็ตาม ที่เกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ทั้งนี้เพื่อ อนุรักษ์ไว้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาและมรดกทาง ศิลปวัฒนธรรมของชาติ และนำออกบริการ ให้ประชาชนได้ศึกษา ค้นคว้าและชื่นชม หรือใช้ประโยชน์อย่างสะดวกและกว้างขวาง ภาพยนตร์ เป็นสื่อแห่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ และอาจยังให้เกิดปัญญาได้ ภาพยนตร์จึงอาจเปรียบดังศาสนา หอภาพยนตร์ก็คือ วัด ซึ่งมีโรงหนังเป็นโบสถ์ มีพิพิธภัณฑ์เป็นวิหาร หรือเจดีย์ มีห้องเย็นเก็บรักษาฟิล์มเป็นหอไตร มีศูนย์ให้บริการ ค้นคว้าเป็นศาลาการเปรียญ ตราใหม่ของหอภาพยนตร์ คือ ธรรมจักรภาพยนตร์ ซึ่งหมุนวนไปเพื่อเผยแผ่สัจธรรม สำหรับมวลมนุษย์ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)เป็นองค์การมหาชนของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)..

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) · ดูเพิ่มเติม »

อบ บุญติด

อบ บุญติด อดีตดาราชายอาวุโส ชาวไทย ผู้มีประสบการณ์แสดงยาวนานตามที่มีหลักฐานปรากฏ ตั้งแต่ช่วงแรกของยุคหนังเงียบหรือ "หนังหลวงกล" ซึ่งต่อมาคือบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง เริ่มชีวิตการแสดงจากเล่นจำอวด กับคณะนายทิ้ง มาฬมงคล ซึ่งต้องใช้ความสามารถในการสวดคฤหัสถ์ มีทั้งบทร้องและกลอนสด ก่อนเข้าสู่วงการละครเวที ภาพยนตร์ และโทรทัศน์จำนวนมากม.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและอบ บุญติด · ดูเพิ่มเติม »

อรัญญา นามวงศ์

อรัญญา นามวงศ์ มีชื่อจริงว่า อัญชลี ศิระฉายา (สกุลเดิม ชอบประดิษฐ์) ชื่อเล่น เปี๊ยก (4 กันยายน พ.ศ. 2490 —) นักแสดงชาวไทย มีผลงานแสดงคู่กับสมบัติ เมทะนี จำนวนหลายเรื่อง จนนับเป็นนักแสดงคู่ขวัญคู่หนึ่ง.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและอรัญญา นามวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอลลีวูด

ป้ายฮอลลีวูด ฮอลลีวูด (Hollywood) เป็นชื่อเขตในนครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย เหมือนกับเป็นถนนหรือเขตหนึ่งเท่านั้น ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตะวันตกถึงตะวันตกเฉียงเหนือของศูนย์กลางนครลอสแอนเจลิส เนื่องจากว่าฮอลลิวูดนั้นมีชื่อเสียงและมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นศูนย์กลางแห่งประวัติศาสตร์ของโรงถ่ายทำภาพยนตร์ และดาราภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ดังนั้น ชื่อของฮอลลีวูดจึงมักจะถูกเรียกเป็นชื่อแทนของโรงภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ทุกวันนี้มีอุตสาหกรรมภาพยนตร์จำนวนมากที่ได้แพร่กระจายไปรอบๆพื้นที่ของแคลิฟอร์เนียและทางตะวันตกของนครลอสแอนเจลิส แต่อุตสาหรรมภาพยนตร์หลักๆที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อ การใส่เทคนิคพิเศษ ผู้สนับสนุน การผลิตขั้นสุดท้าย และบริษัททางด้านแสงประกอบ ยังคงอยู่ในฮอลลีวูด โรงละครสำคัญๆทางประวัติศาสตร์ของฮอลลีวูดหลายแห่งถูกใช้เป็นสถานที่ชุมนุมและเวทีคอนเสิร์ตในงานเปิดตัวสำคัญๆระดับยักษ์ใหญ่ของโลกและยังเป็นเจ้าภาพในการประกาศรางวัลออสการ์หรือที่เรียกกันติดปากว่ารางวัลออสการ์นั่นเอง ฮอลลีวูดเป็นสถานที่ที่คนทั่วโลกต้องการมาเยือนทั้งนักผจญราตรีและนักท่องเที่ยวทั้งหลาย และยังเป็นที่ตั้งของถนน ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม (Hollywood Walk of Fame) ที่มีชื่อเสียงอีกด้วย ฮอลลีวูด ค.ศ. 1885 โรงแรมฮอลลีวูด ค.ศ. 1905 ใน ค.ศ. 1853 กระท่อมอิฐหลังเล็กๆหลังหนึ่งได้กลายมาเป็นฮอลลีวูดในทุกวันนี้ ในราวปี ค.ศ. 1870 ชุมชนเกษตรกรรมได้เจริญขึ้นมาในพื้นที่แห่งนี้พร้อมๆกับผลผลิตที่เจริญงอกงามมากในช่วงนั้น ที่มาของชื่อฮอลลีวูด ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดนั้นน่าจะมาจากชื่อของต้น Tyon ท้องถิ่นหรือเรียกกันว่า "แคลิฟอร์เนียฮอลลี่" ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์ปกคลุมเนินเขาในสมัยนั้นและยังออกผลเบอร์รี่สีแดงกระจายอยู่ทั่วไปในช่วงหน้าหนาวของทุกปีอีกด้วย จากนั้นความเชื่อนี้และความเชื่อในเรื่องของที่มาของคำว่าฮอลลี่นี้ก็มีคนเชื่อถือมากขึ้นเรื่อยๆแต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นความจริงแต่อย่างใด บ้างก็ว่าชื่อของฮอลลีวูดนี้เป็นชื่อที่ตั้งโดย เอช.เจ.ไวท์ลี่ย์ บิดาแห่งฮอลลีวูด ซึ่งทั้งเขาและกีกี้ ภรรยาของเขาได้ตั้งชื่อนี้ขึ้นขณะที่มาฮันนีมูนกัน ตามบันทึกของมากาเร็ต เวอร์จิเนีย ไวท์ลี่ย์ บ้างก็ว่ามาจาก ฮาร์วี่ย์ วิลคอกซ์ ที่ได้มาซื้อที่ดินในบริเวณนี้และก็พัฒนาเป็นชุมชุนขึ้นมา โดยดาเออิดา ภรรยาของเขาได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่งบนรถไฟที่บอกว่าเธอได้ตั้งชื่อบ้านพักฤดูร้อนที่รัฐโอไฮโอว่า ฮอลลีวูด ดาเออิดาชอบชื่อนี้และก็เอามาตั้งเป็นชื่อของชุมชนที่ตั้งขึ้นมาใหม่นี้ คำว่าฮอลลีวูดนี้ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกในแผนที่ของวิลคอกซ์สำหรับการแบ่งสรรพื้นที่และปรากฏในเอกสารของบันทึกเขตปกครองของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1887 ตามคำพูดของจอร์แดน แมกซ์เวลล์นั้น ชื่อของฮอลลีวูดนั้นอ้างอิงมาจากไม้กายสิทธิ์ Druidic ซึ่งทั้งไม้กายสิทธิ์และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮอลลีวูดนั้นเป็นเครื่องมือในการจัดการกับคน ราวปี ค.ศ. 1900 คณะบุคคลที่เรียกตัวเองว่า Cahuenga ได้จัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์ หนังสือพิมพ์ โรงแรม และตลาดสองแห่งด้วยจำนวนประชากรเพียง 500 คน ซึ่งในขณะนั้น ลอสแอนเจลิสมีประชากรประมาณ 100,000 คนและมีเมืองที่ทอดผ่านสวนผลไม้รถส้มเป็นระยะทางกว่า 7 ไมล์ มีชื่อเส้นทางเดินรถเพียงชื่อเดียวจากใจกลางของ Prospent Avenue ที่พาดผ่านแต่มีการให้บริการไม่บ่อยนักและต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง แต่บ้านสำหรับการบรรจุหีบห่อผลไม้รสส้มในสมัยก่อนนั้นอาจจะกลายเป็นจุดสำคัญที่นำความเจริญและการคมนาคมที่สะดวกสบายขึ้นมาสู่ผู้อยู่อาศัยในย่านฮอลลีวูด โรงแรมฮอลลีวูดอันเป็นโรงแรมใหญ่โรงแรมแรกของฮอลลีวูดที่มีชื่อเสียงนั้น เปิดบริการในปี ค.ศ. 1902 โดยเอช.เจ.ไวท์ลี่ย์ เพื่อขายเป็นที่พักอาศัยเป็นจำนวนมากท่ามกลางฟาร์มปศุสัตว์ ตั้งอยู่หน้า Prospect Avenue และด้านข้างฝั่งตะวันตกของ Highland Avenue ปี ค.ศ. 1903 ฮอลลีวูดรวมเป็นเทศบาลแห่งหนึ่ง และในปี ค.ศ. 1904 รถบรรทุกวิ่งจากลอสแอนเจลิสมายังฮอลลีวูดคันใหม่ก็เปิดให้ใช้บริการ ระบบนี้เรียกว่า Hollywood Boulevard ซึ่งช่วยร่นระยะเวลาการเดินทางไป-กลับลอสแอนเจลิสได้อย่างมาก ปี ค.ศ. 1910 มีการพยายามจะรักษาระดับการขายน้ำอย่างพอเพียง ชาวเมืองจึงโหวตให้ฮอลลีวูดผนวกเป็นส่วนหนึ่งของนครลอสแอนเจลิส จึงทำให้ระบบชลประทานเพื่อการพัฒนาเมืองนั้นถูกเปิดเป็น Los Angeles Aqueduct และต่อน้ำทางท่อจากแม่น้ำโอเว่นในหุบเขาโอเว่น นอกจากนั้น การโหวตครั้งนี้ก็ยังมีเหตุผลมาจากกาารต้องการให้ฮอลลิวูดกลายเป็นทางระบายน้ำเสียของนครลอสแอนเจลิสอีกด้วย หลังจากรวมกับนครลอสแอนเจลิสแล้ว ชื่อ Prospect Avenue ก็เปลี่ยนมาเป็น Hollywood Boulevard รวมทั้งหมายเลขถนนในพื้นที่แห่งนี้ เช่น จาก 100 Prospect Avenue ที่ Vermont Avenue กลายเป็น 6400 Hollywood Boulevard และ 100 Cahuenga Boulevard ที่ Hollywood Bouvelard เป็น 1700 Cahuenga Boulevard เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและฮอลลีวูด · ดูเพิ่มเติม »

จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์)

มื่นมานิตย์นเรศ ชื่อเดิม เฉลิม เศวตนันทน์ นักแสดงในภาพยนตร์ของรัฐบาลไทย เลือดทหารไทย สร้างโดย ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง และเป็นบิดาของ อดีศักดิ์ เศวตนันทน์ (คู่ชีวิต สวลี ผกาพันธ์ ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2532) ผู้ประพันธ์เนื้อเพลงรำวงมาตรฐานประจำชาติ 4 เพลง งามแสงเดือน,ชาวไทย,รำซิมารำ และ คืนเดือนหงาย รวมทั้งเพลงปลุกใจ ตลอดจนเพลงจังหวะลีลาศของกรมโฆษณาการ.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและจมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์) · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครปฐม

ังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและจังหวัดนครปฐม · ดูเพิ่มเติม »

จำรัส สุวคนธ์

ำรัส สุวคนธ์ เป็นดาราชายชาวไทยผู้มีชื่อเสียงในฐานะพระเอกชั้นนำ ของ บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง จำกัด ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 รวม 6 ปี ระหว่าง..

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและจำรัส สุวคนธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)

นวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2523) ผู้สร้างหนัง ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ผู้ประพันธ์เพลงต่างๆ หลายเพลง ซึ่งรวมถึงเนื้อร้องเพลงชาติไทยฉบับแรกสุดในปี พ.ศ. 2475 และเป็นผู้แต่งหนังสือต่างๆ หลายเรื่อง เช่น หลักไทย ภูมิศาสตร์สุนทรภู่ เป็นต้น นับได้ว่าเป็นนักคิด นักค้นคว้า และนักเขียนสำคัญคนหนึ่งของ ยุครัตนโกสินทร.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) · ดูเพิ่มเติม »

ซัวเถา

้านโบราณและเก๋งจีนซึ่งบอกว่าเป็นเมืองที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก จังหวัดซัวเถา หรือ ซ่านโถว เป็นหนึ่งในจังหวัดของจีนที่ตั้งอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง มีเนื้อที่ 234 ตารางกิโลเมตร ประชากร 4,846,400 คน.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและซัวเถา · ดูเพิ่มเติม »

ปู่โสมเฝ้าทรัพย์

ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ เป็นชื่อที่ใช้เรียกผีหรือวิญญาณที่ทำหน้าที่เฝ้าทรัพย์สมบัติที่เป็นสมบัติล้ำค่าหรือสมบัติของชาติ เช่น กรุสมบัติในอาณาจักรอยุธยา เป็นต้น ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ทำหน้าที่คล้ายเจ้าที่เจ้าทาง หรือเทพารักษ์ที่พิทักษ์ทรัพย์สมบัติเหล่านี้เอาไว้ เรื่องราวของปู่โสมเฝ้าทรัพย์ที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักกันดี จนกลายเป็นข่าวลงหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นในราวปี..

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและปู่โสมเฝ้าทรัพย์ · ดูเพิ่มเติม »

นวัตกรรม

รูปปั้น เดอะ สปิริต ออฟ อินโนเวชัน เป็นรูปปั้นเชิงสัญลักษณ์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของนวัตกรรม ตั้งอยู่ที่ ดิ อเมริกัน แอดเวนเจอร์ นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและนวัตกรรม · ดูเพิ่มเติม »

นารถ ถาวรบุตร

นารถ ถาวรบุตร (16 ตุลาคม พ.ศ. 2448 - 26 มกราคม พ.ศ. 2524) นักดนตรี และนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะเพลงที่แต่งคู่กับครูแก้ว อัจฉริยกุล.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและนารถ ถาวรบุตร · ดูเพิ่มเติม »

นางสาวสุวรรณ

นางสาวสุวรรณ (Suvarna of Siam) เป็นภาพยนตร์ใบ้ แนวรักใคร..1923 ขนาดสามสิบห้ามิลลิเมตร ความยาวแปดม้วน เขียนบทและกำกับโดย เฮนรี แม็กเร (Henry MacRae) เป็นเรื่องแรกที่ถ่ายทำในประเทศสยาม (ต่อมาคือ ประเทศไทย) โดยฮอลลีวูด ที่ใช้นักแสดงชาวสยามทั้งหมด เริ่มถ่ายทำเมื่อต้นเดือนมีนาคมและสร้างเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน ในปี พ.ศ. 2465 ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1923 ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และได้เข้าฉายในสหรัฐอเมริกาด้วย ใช้ชื่อว่า "Kingdom of Heaven" เข้ามาฉายในประเทศไทยได้เพียง 3 วัน ฟิล์มต้นฉบับก็สูญหาย นับเป็นโชคร้ายที่ปัจจุบันไม่เหลือสิ่งใดเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้อีกเลย นอกจากวัสดุประชาสัมพันธ์และของชำร่วยเล็ก ๆ น้อย ซึ่งรักษาไว้ที่ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)Sukwong, Dome and Suwannapak, Sawasdi.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและนางสาวสุวรรณ · ดูเพิ่มเติม »

แผลเก่า

แผลเก่า ของ ไม้ เมืองเดิม แผลเก่า เป็นผลงานประพันธ์เรื่องแรกของ ไม้ เมืองเดิม ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและแผลเก่า · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นเสียง

แผ่นเสียง คือวัสดุที่ก่อให้เกิดเสียง ทำจากวัสดุหลายชนิดและขน.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและแผ่นเสียง · ดูเพิ่มเติม »

โชคสองชั้น

องชั้น เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก ที่สร้างและผลิตโดยคนไทยทั้งหมด เป็นภาพยนตร์เงียบ ถ่ายทำด้วยฟิล์มขาว-ดำขนาด 35 มม.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและโชคสองชั้น · ดูเพิ่มเติม »

ไพโรจน์ ใจสิงห์

รจน์ ใจสิงห์ เป็นนักแสดงอาวุโส ที่เข้าสู่วงการตั้งแต่ พ.ศ. 2514 และมีชื่อเสียงเป็นนักแสดงนำ ช่วง พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2516 แล้วจึงหันมารับบทตัวรอง หลากหลาย ทั้งพระเอก ผู้ร้าย บทตัวพ่อ บทตลก จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและไพโรจน์ ใจสิงห์ · ดูเพิ่มเติม »

ไม่เคยรัก

ม่เคยรัก (Bachelor in Love) เป็นภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2483 เป็นภาพยนตร์เสียงในฟิล์มอันดับที่ 24 ของภาพยนตร์เสียงศรีกรุง นำแสดงโดย จำรัส สุวคนธ์ และ เบ็ญจา รัตนกุล นางเอกชื่อดังอีกคนหนึ่งของศรีกรุง ประพันธ์เพลงและกำกับการแสดง โดย พรานบูร.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและไม่เคยรัก · ดูเพิ่มเติม »

เพลงหวานใจ

ลงหวานใจ เป็นภาพยนตร์ไทยพูด (ในฟิล์ม) ชั้นพิเศษ "ซูเปอร์" เรื่องแรกในนาม บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง จำกัด ฉายครั้งแรก..

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและเพลงหวานใจ · ดูเพิ่มเติม »

เมตตา รุ่งรัตน์

มตตา รุ่งรัตน์ มีชื่อจริง ดาราวดี ดวงดารา นักแสดงหญิงอาวุโส ฉายา "ไข่มุกดำแห่งเอเซีย" เป็นดารานักแสดงที่มีใบหน้าสวยหวานและคมเข้ม เจ้าของรางวัลตุ๊กตาทอง สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง วัยรุ่นวัยคะนอง ประจำปี พ.ศ. 2505.

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและเมตตา รุ่งรัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

เลือดทหารไทย

ลือดทหารไทย เป็นภาพยนตร์พูด (ในฟิล์ม) ของไทยแนวชีวิตและสงคราม ชั้นพิเศษ "ซูเปอร์" เพื่อเผยแพร่กิจการของกองทัพไทย ระบบ 35 มม.ไวด์สกรีน ซาวออนฟิล์ม ขาวดำ..

ใหม่!!: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงและเลือดทหารไทย · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »