เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ภาคเหนือ (ประเทศไทย)และภูมิศาสตร์ไทย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาคเหนือ (ประเทศไทย)และภูมิศาสตร์ไทย

ภาคเหนือ (ประเทศไทย) vs. ภูมิศาสตร์ไทย

หนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของไทย มีลักษณะภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ต่อเนื่องมาจากทิวเขาฉานโยมาในประเทศพม่าและประเทศลาว ภาคเหนือมีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เหมือนกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ การที่มีพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลและมีเส้นละติจูดอยู่ตอนบนทำให้สภาพอากาศของภาคเหนือเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ของภาคเหนือมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอาณาจักรล้านน. แผนที่ประเทศไทย ประเทศไทยมีพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ใจกลางคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศได้มีอิทธิพลต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย ประเทศไทยยังเป็นเส้นทางทางบกเพียงทางเดียวจากทวีปเอเชียไปยังประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาคเหนือ (ประเทศไทย)และภูมิศาสตร์ไทย

ภาคเหนือ (ประเทศไทย)และภูมิศาสตร์ไทย มี 21 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาคกลาง (ประเทศไทย)ภาคตะวันตก (ประเทศไทย)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)สามเหลี่ยมทองคำอำเภอแม่สะเรียงอำเภอแม่สายอุทยานแห่งชาติภูสอยดาวจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดแม่ฮ่องสอนจังหวัดเชียงรายจังหวัดเชียงใหม่ทิวเขาหลวงพระบางทิวเขาผีปันน้ำทิวเขาถนนธงชัยทิวเขาขุนตานทิวเขาแดนลาวดอยอินทนนท์ประเทศพม่าประเทศลาวประเทศไทยแม่น้ำโขง

ภาคกลาง (ประเทศไทย)

กลาง เป็นภูมิภาคตอนกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออก และภาคอีสานทางทิศตะวันออกโดยมีทิวเขาเพชรบูรณ์กั้น ติดต่อกับภาคตะวันตก ทิศเหนือติดต่อกับทิวเขาผีปันน้ำ พื้นนี้เคยเป็นดินแดนที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยา และยังเป็นพื้นที่ที่สำคัญของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยตั้งอยู่ และมีประชากรในภูมิภาคมากที่สุดในประเท.

ภาคกลาง (ประเทศไทย)และภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ภาคกลาง (ประเทศไทย)และภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาคตะวันตก (ประเทศไทย)

ตะวันตก เป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทยในระบบการแบ่งแบบ 6 ภูมิภาคตามคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ และเป็นภูมิภาคย่อยของภาคกลางของระบบการแบ่งแบบ 4 ภูมิภาค (ซึ่งรวมภาคตะวันออก และภาคตะวันตก) ภาคตะวันตกมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าทางทิศตะวันตก ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคกลางทางทิศตะวันออก และติดต่อกับภาคใต้ทางทิศใต้ ภาคตะวันตกประกอบไปด้วยจังหวัดเพียง 5 จังหวัด แม้ว่าจะจัดรวมอยู่ในภาคตะวันตก แต่ในภูมิภาคนี้ยังมีความหลากหลาย ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ซึ่งแตกต่างกันค่อนข้างมาก.

ภาคตะวันตก (ประเทศไทย)และภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ภาคตะวันตก (ประเทศไทย)และภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)

นมิตรภาพ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) (ຂົວມິດຕະພາບລາວ - ໄທ ແຫ່ງທີ 4) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยที่หมู่ที่ 9 บ้านดอนมหาวัน ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กับประเทศลาวที่บ้านดอน เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ระยะทาง 2.48 กิโลเมตร รูปแบบของสะพานเป็นคอนกรีตรูปกล่อง (Segmental Concrete Box Girder) มีเสา 4 เสา กว้าง 14.70 เมตร เป็นสะพานขนาด 2 เลน แต่ละเลนกว้าง 3.50 เมตร นอกจากสะพานแล้วยังมีโครงการก่อสร้างถนนไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตรเข้าในเขตเมืองห้วยทราย ซึ่งเป็นถนนลาดยางขนาดสองเลน รวมทั้งมีการก่อสร้างด่านตรวจคนเข้าเมืองด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง เป็นการเชื่อมต่อกับเส้นทางR3A ที่เชื่อมต่อระหว่างจีน – ลาว –ไทย บริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นกลุ่ม CR5-KT Joint Venture ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท China Railway No.5 ของจีนและบริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัดของไทย งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1,624 ล้านบาท โดยการสมทบทุนระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ส่วนรัฐบาลลาวรับผิดชอบค่าชดเชยให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยก่อสร้างตัวสะพานแล้วเสร็จในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) ร่วมกับนายบุนยัง วอละจิต รองประธานประเทศลาว สำหรับสะพานแห่งนี้ เป็นสะพานที่เชื่อต่อเส้นทางอาร์ 3 เอจากกรุงเทพ - คุณหมิง เพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 เส้นทางอาร์3เอ มีต้นทางเริ่มจากเชียงของ ประเทศไทย-บ่อแก้ว-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น ของประเทศลาว-บ่อหาน-เชียงรุ่งหรือจิ่งหง ในแคว้นสิบสองปันนา-นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ของจีน โดยมีระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงคุนหมิงรวมกว่า 1,800 กิโลเมตร สำหรับการก่อสร้างถนนสายเศรษฐกิจอาร์3เอ เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนับเป็นโครงการบูรณาการเศรษฐกิจในระดับมหภาค ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวนับว่าเป็นโอกาสสูงมากที่ประเทศไทยจะมีช่องทาง โอกาสในการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนตอนใต้ ที่จะเดินทางมาทางรถยนต์และทางเรือเพื่อมาท่องเที่ยวยังจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย เนื่องจากจำนวนประชากรของจีนนั้น มีจำนวนมากกว่า 1,400 ล้านคน.

ภาคเหนือ (ประเทศไทย)และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย) · ภูมิศาสตร์ไทยและสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย) · ดูเพิ่มเติม »

สามเหลี่ยมทองคำ

แผนที่แสดงท้องที่ที่มีการผลิตเฮโรอีนมากที่สุดในโลกสี่ท้องที่ ได้แก่ สามเหลี่ยมทองคำ จันทร์เสี้ยวทองคำ ประเทศเม็กซิโก และประเทศโคลอมเบีย สามเหลี่ยมทองคำ (Golden Triangle; ရွှေတြိဂံ နယ်မြေ; ສາມຫຼ່ຽມທອງຄຳ; Tam giác Vàng) หมายถึงพื้นที่รอยต่อระหว่างสามประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย (จังหวัดเชียงราย) ลาว (แขวงบ่อแก้ว) และพม่า (ท่าขี้เหล็ก, รัฐฉาน) มีลักษณะเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมบรรจบกัน โดยมีแม่น้ำโขงตัดผ่านชายแดนไทยและลาว นับเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค นอกจากนี้สามเหลี่ยมทองคำยังมีทิวทัศน์ที่งดงาม โดยเฉพาะยามเช้าที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอก เดิมสามเหลี่ยมทองคำเป็นที่รู้จักในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวรอยต่อระหว่างประเทศ แต่ในปัจจุบันมีความสำคัญในทางเศรษฐกิจมากขึ้น เนื่องจากเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไท.

ภาคเหนือ (ประเทศไทย)และสามเหลี่ยมทองคำ · ภูมิศาสตร์ไทยและสามเหลี่ยมทองคำ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่สะเรียง

อำเภอแม่สะเรียง (50px) เป็นหนึ่งใน 7 อำเภอของจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดเป็นอำเภอที่มีความสำคัญของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัด (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน) มากถึงประมาณ 164 กิโลเมตร โดยสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหุบเขาสลับซับซ้อน ประกอบกับเป็นอำเภอที่ติดกับชายแดนไทยพม่า และเป็นเมืองผ่านไปยังอำเภออื่นๆของจังหวัดแม่ฮ่องสอน.

ภาคเหนือ (ประเทศไทย)และอำเภอแม่สะเรียง · ภูมิศาสตร์ไทยและอำเภอแม่สะเรียง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่สาย

แม่สาย (50px; 50px) เป็นอำเภอเหนือสุดของจังหวัดเชียงรายและเหนือสุดของประเทศไทย ตั้งที่ว่าการที่ตำบลเวียงพางคำ มีด่านชายแดนไทย-พม่าเรียกว่า "ด่านแม่สาย" สามารถผ่านด่านข้ามไปยังจังหวัดท่าขี้เหล็กของพม่าได้โดยมีแม่น้ำสายเป็นพรมแดนทางธรรมชาติ การคมนาคมจากอำเภอเมืองเชียงรายไปอำเภอแม่สายโดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน ตอนเชียงราย-แม่สาย) ระยะทาง 63 กิโลเมตร.

ภาคเหนือ (ประเทศไทย)และอำเภอแม่สาย · ภูมิศาสตร์ไทยและอำเภอแม่สาย · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว

อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ท้องที่ตำบลม่วงเจ็ดต้น ตำบลนาขุม ตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ปกคลุมไปด้วยป่าธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ยอดสูงสุดของภูสอยดาวสูงจากระดับน้ำทะเล 2,102 เมตร ซึ่งสูงเป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย อุทยานแห่งนี้มีจุดเด่นที่น่าสนใจและเป็นที่ดึงดูดใจของนักท่องเที่ยว ได้แก่ น้ำตกภูสอยดาว เป็นน้ำตก 5 ชั้น และการผจญภัยขึ้นสู่ลานสนสามใบอันสวยงาม มีเนื้อที่กว้างประมาณ 1,000 ไร่ มีความสวยงามมาก มีถนนลาดยาง เข้าถึงพื้นที่ทำให้สะดวกสบายในการเดินทางพักผ่อนหย่อนใจ อุทยานแห่งชาติภูสอยดาวมีเนื้อที่ 125,110 ไร่ หรือ 200.18 ตารางกิโลเมตร.

ภาคเหนือ (ประเทศไทย)และอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว · ภูมิศาสตร์ไทยและอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุตรดิตถ์

ังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น.

จังหวัดอุตรดิตถ์และภาคเหนือ (ประเทศไทย) · จังหวัดอุตรดิตถ์และภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ังหวัดแม่ฮ่องสอน (60px; 80px) เป็นจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย มีความโดดเด่นหลายลักษณะ โดยเฉพาะสภาพภูมิประเทศ ความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และความหลากหลายของประชากรจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ นับเป็นจังหวัดที่สถิติน่าสนใจหลายอย่าง เช่น มีประชากรเบาบางที่สุดในประเทศ และมีประชากรน้อยมากเป็นอันดับ 5 ในขณะที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 8 ของประเทศ แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่าเป็น เมืองสามหมอก เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพอากาศมีหมอกปกคลุมตลอดเวลาส่วนใหญ่ของปี นอกจากนี้แม่ฮ่องสอนยังนับเป็นพื้นที่ปลายสุดด้านตะวันตกของประเทศ คือที่เส้นแวง 97.5 องศาตะวันออกในเขตอำเภอแม่สะเรียง (ตะวันออกสุดของประเทศ อยู่ที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ที่ 105.5 องศาตะวันออก) แม่ฮ่องสอนได้รบการสถาปนาขึ้นเป็นเมือง เมื่อปี..

จังหวัดแม่ฮ่องสอนและภาคเหนือ (ประเทศไทย) · จังหวัดแม่ฮ่องสอนและภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชียงราย

ังหวัดเชียงราย (55px เจียงฮาย; 50px) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีภูมิศาสตร์อยู่ทางเหนือสุดของประเทศ ที่ตั้งของเมืองมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เช่น เมืองเงินยาง เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองเชียงรายเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวไทยวน ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีน้ำแม่กก น้ำแม่อิง แม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งอดีตเป็นแหล่งผลิตฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบัน จังหวัดเชียงรายได้รับความสนใจในฐานะประตูสู่พม่า ลาว และจีนตอนใต้ ผ่านทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 3 เมืองเชียงรายมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นที่ตั้งของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ซึ่งเป็นนครหลวงก่อนการกำเนิดอาณาจักรล้านนา มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรูปแบบล้านนา ไทใหญ่ ไทเขิน และไทลื้อจากสิบสองปันนาผสมผสานกัน.

จังหวัดเชียงรายและภาคเหนือ (ประเทศไทย) · จังหวัดเชียงรายและภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชียงใหม่

ังหวัดเชียงใหม่ (40px เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,746,840 คน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน โดยจังหวัดเชียงใหม่ทิศเหนือติดต่อกับรัฐฉานของเมียนมา จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทย รองจากกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก.

จังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือ (ประเทศไทย) · จังหวัดเชียงใหม่และภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขาหลวงพระบาง

ทิวเขาหลวงพระบาง แผนที่ทิวเขาหลวงพระบาง ทิวเขาหลวงพระบาง เป็นทิวเขาหินแกรนิต เริ่มจากบริเวณลำน้ำโขงทางเหนือ ทอดตัวเป็นแนวมาทางใต้จนถึงตะวันตกของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และทางเหนือของอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นบริเวณที่เชื่อมต่อกับทิวเขาเพชรบูรณ์ในภาคกลาง มีอาณาบริเวณกว้างขวาง อยู่ระหว่างแม่น้ำน่าน และแม่น้ำโขง กว้างประมาณ 50-100 กิโลเมตร ยาวประมาณ 250 กิโลเมตร ทางแถบตอนเหนือของทิวเขานี้ เป็นตอนที่บังคับให้แม่น้ำโขงไหลวกไปทางตะวันออก เข้าไปในประเทศลาว ยอดเขาที่สูงและมีชื่อเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ภูหวายซ่อมใหญ่ สูงประมาณ 1,801 เมตร อยู่ทางเหนือสุด มีแม่น้ำโขงล้อมอยู่สามด้าน, ดอยน้ำหงส์ มีความสูง 1,478 เมตร, ภูสามเส้า มีความสูง 2,061 เมตร, ภูหลวงพระบาง สูง 2,059 เมตร อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำว้า ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำน่าน, ภูยี สูง 1,630 เมตร อยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน, ภูหลักหมื่น สูง 1,478 เมตร อยู่ริมแม่น้ำน่าน ทางทิศตะวันออกของอำเภอนาน้อย, ดอยภูคา สูง 1,980 เมตร ในหลายพื้นที่ของจังหวัดน่าน, ภูเมี่ยง สูง 2,300 เมตร อยู่ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ และภูสอยดาว มีความสูง 2,120 เมตร อยู่ในเขตระหว่างจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดอุตรดิตถ์ ทิวเขาหลวงพระบางเป็นทิวเขาแบ่งเขตมาแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันใช้เป็นพรมแดนระหว่างไทยกับลาวในภาคเหนือ.

ทิวเขาหลวงพระบางและภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ทิวเขาหลวงพระบางและภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขาผีปันน้ำ

แผนที่แสดงอาณาเขตของทิวเขาผีปันน้ำ ทิวเขาผีปันน้ำ เป็นแนวทิวเขาขนาดใหญ่และสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นสันปันน้ำที่แบ่งน้ำไหลแยกกันไปสองทาง ทางหนึ่งไปสู่อ่าวเจ้าพระยาอีกทางหนึ่งไปสู่อ่าวแม่โขง เขาย่อย ๆ หลายทิวประกอบขึ้นเป็นทิวเขาผีปันน้ำของแม่น้ำปิง, วัง, ยม และน่าน ซึ่งเป็นแควของแม่น้ำเจ้าพระยา ทิวเขาทั้งทิวครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของตอนกลางของภาคเหนือในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทางตะวันตกของทิวเขานี้เป็นทิวเขา ซึ่งเรียงตัวกันตามแนวเส้นแวง ยอดเขาที่สำคัญคือ ดอยขุนออน, ดอยผาโจ้, ดอยผีปันน้ำ, ภูชี้ฟ้า และดอยขุนตาล เป็นภูเขาหินแกรนิต ซึ่งตั้งขวางเส้นทางรถไฟสายเหนือ ทำให้ต้องเจาะลอดสันเขาทางใต้ของทิวเขานี้ เป็นอุโมงค์ขุนตาล ในปี..

ทิวเขาผีปันน้ำและภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ทิวเขาผีปันน้ำและภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขาถนนธงชัย

ทิวเขาถนนธงชัย เป็นแนวทิวเขาทางด้านตะวันตกของภาคเหนือ เริ่มจากจุดที่บรรจบกับทิวเขาแดนลาว ทอดตัวเป็นแนวยาวลงมาทางตอนล่างของภาค แบ่งออกเป็น 3 แนว ได้แก.

ทิวเขาถนนธงชัยและภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ทิวเขาถนนธงชัยและภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขาขุนตาน

ทิวเขาขุนตาน เป็นเป็นชื่อของทิวเขาที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย เป็นทิวเขาที่มีระบบภูเขาเชื่อมต่อกับทิวเขาแดนลาว และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาฉานโยมา แต่วางตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ขนานกับเทือกเขาถนนธงชัย และ ทิวเขาอินทนนท์ ขุนตาน เป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อดอยสูงสุดของทิวนี้ คือยอดดอยขุนตาน ปัจจุบันอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล.

ทิวเขาขุนตานและภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ทิวเขาขุนตานและภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขาแดนลาว

ทิวเขาแดนลาว เป็นเป็นชื่อไทยของทิวเขาที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งวางตัวตามแนวพรมแดนไทย-พม่า ทิวเขาแดนลาวนั้นไม่ได้วางตัวแนวตะวันออก-ตะวันตกอย่างที่เข้าใจ เพราะอันที่จริงแล้ว ทิวเขาแดนลาววางตัวในแนวเฉียงตะวันตกเฉียงใต้-ตะวันออกเฉียงเหนือ ลึกเข้าไปในเขตรัฐฉาน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาฉานโยมา เช่นเดียวกับทิวเขาอินทนนท์ และทิวเขาขุนตานด้ว.

ทิวเขาแดนลาวและภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ทิวเขาแดนลาวและภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ดอยอินทนนท์

อยอินทนนท์ เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมมีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยหลวงอ่างกา" ชื่อของ ดอยอินทนนท์ เป็นชื่อของกษัตริย์พระนามว่าพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงเป็นผู้ที่ห่วงใยในป่าทางภาคเหนือและพยายามรักษาไว้ ภายหลังเสด็จพิราลัย พระอัฐิส่วนหนึ่งได้เชิญไปประดิษฐาน ณ พระสถูปบนยอดดอยหลวง และเปลี่ยนชื่อเพื่อเป็นเกียรต.

ดอยอินทนนท์และภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ดอยอินทนนท์และภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ประเทศพม่าและภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ประเทศพม่าและภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ประเทศลาวและภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ประเทศลาวและภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ประเทศไทยและภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ประเทศไทยและภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง (မဲခေါင်မြစ်; ແມ່ນ້ຳຂອງ; ទន្លេដ៏ធំ; Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江, จีนตัวเต็ม: 瀾滄江) แปลว่า "แม่น้ำที่มีความเชี่ยวกราก" และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก.

ภาคเหนือ (ประเทศไทย)และแม่น้ำโขง · ภูมิศาสตร์ไทยและแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาคเหนือ (ประเทศไทย)และภูมิศาสตร์ไทย

ภาคเหนือ (ประเทศไทย) มี 121 ความสัมพันธ์ขณะที่ ภูมิศาสตร์ไทย มี 143 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 21, ดัชนี Jaccard คือ 7.95% = 21 / (121 + 143)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาคเหนือ (ประเทศไทย)และภูมิศาสตร์ไทย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: