โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟ่านหลี่และไซซี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฟ่านหลี่และไซซี

ฟ่านหลี่ vs. ไซซี

thumb ฟ่านหลี่ บุคคลในประวัติศาสตร์จีน เป็นกุนซือของเยว่อ๋องโกวเจี้ยนแห่งรัฐเยว่ (越国) เกิดในช่วงปลายยุคชุนชิว ภายหลังรบชนะรัฐอู๋ (吴国) ได้ออกจากราชการและได้เปลี่ยนชื่อเป็น เถาจูกง และได้ทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น เทพเจ้าแห่งการค้า ในเวลาต่อม. รูปวาดในจินตนาการ นางไซซี ขณะฟอกด้ายอยู่ริมลำธาร ไซซี ตามสำเนียงแต้จิ๋ว หรือ ซี ซือ ตามสำเนียงกลาง (Xi Shi) ชื่อเดิมคือ อี๋กวง (Yi Guang) เป็นหนึ่งในสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีน เกิดประมาณ 506 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งตรงกับยุคชุนชิว ที่มณฑลเจ้อเจียง ในแคว้นเยว่ (State of Yue) ไซซีได้รับฉายานามว่า "มัจฉาจมวารี" (จีน: 沉魚 พินอิน: chén yú) ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงปลายังต้องจมลงสู่ใต้น้ำ" (so beautiful as to make swimming fish sink) ในยุคเลียดก๊กที่แต่ละแคว้นรบกันนั้น แคว้นอู๋ (State of Wu) เป็นแคว้นที่มีกองกำลังทหารที่แข็งแกร่งจึงสามารถรบชนะแคว้นเยว่และจับตัวเยว่อ๋องโกวเจี้ยน และเสนาธิการฟ่านหลีไปเป็นตัวประกันที่แคว้นอู๋ด้วย เยว่อ๋องโกวเจี้ยนต้องการที่จะแก้แค้นเพื่อกู้ชาติแต่จำต้องยอมจงรักภักดีเพื่อให้อู๋อ๋องไว้ใจ ครั้งหนึ่งอู๋อ๋องเกิดมีอาการปวดท้อง บรรดาหมอหลวงทั้งหลายไม่สามารถให้การรักษาได้ เยว่อ๋องโกวเจี้ยนได้ชิมอุจจาระของอู๋อ๋องต่อหน้าเสนาธิการทั้งปวง และบอกว่าอู๋อ๋องเพียงแค่มีพระวรกายที่เย็นเกินไป หากได้ดื่มสุราและทำร่างกายให้อบอุ่นขึ้นก็จะมีอาการดีขึ้นเอง และเมื่ออู๋อ๋องได้ทำตามก็หายประชวร อู๋อ๋องเห็นว่าเยว่อ๋องโกวเจี้ยนมีความจงรักภักดีจึงปล่อยตัวกลับคืนสู่แคว้นเยว่ เมื่อกลับสู่แคว้นเยว่ เยว่อ๋องโกวเจี๋ยนก็วางแผนที่จะกู้ชาติทันที โดยมีฟ่านหลีเป็นเสนาธิการคอยให้คำปรึกษา ฟ่านหลีได้เสนอแผนการสามอย่าง คือ ฝึกฝนกองกำลังทหาร พัฒนาด้านกสิกรรม และ ส่งสาวงามไปเป็นเครื่องบรรณาการ พร้อมกับเป็นสายคอยส่งข่าวภายในให้ ไซซีเป็นหญิงสาวชาวบ้าน ลูกสาวคนตัดฟืนที่เขาจู้หลัวซาน (ภาษาแต้จิ๋ว กิวล่อซัว) นางถูกพบครั้งแรกขณะซักผ้าริมลำธาร นางมีหน้าตางดงามมาก พร้อมกับนางเจิ้งต้าน (แต้ตั๋น) ซึ่งมีความงามไม่แพ้กัน ฟ่านหลี (เถาจูกง) เสนาบดีแคว้นเยว่เป็นผู้ดูแลอบรมนางทั้ง 2 ให้มีอุดมการณ์เพื่อบ้านเมือง เป็นเวลานานถึง 3 ปี เพื่อที่จะไปเป็นบรรณาการให้กับแคว้นอู๋ เพื่อมอมเมาให้อู๋อ๋องฟูไช เจ้านครแคว้นอู๋ ลุ่มหลงอยู่กับเสน่ห์ของนาง จนไม่บริหารบ้านเมือง ซึ่งอู๋อ๋องฟูไชหลงใหลนางไซซีมากกว่านางเจิ้งต้าน ทำให้นางเจิ้งต้านน้อยใจจนผูกคอตาย ขณะที่มาอยู่ได้เพียงปีเศษเท่านั้น ผ่านไป 13 ปี เมื่อแคว้นอู่อ่อนแอลง แคว้นเยว่ก็สามารถเอาชนะได้สำเร็จในที่สุด ภายหลังจากที่อู่อ๋องฟูไชฆ่าตัวตายไปแล้ว นางกับฟ่านหลีที่ว่ากันว่า ได้ผูกสัมพันธ์ทางใจไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ก็ได้หายตัวไปพร้อมกันหลังเหตุการณ์นี้ บ้างก็ว่าทั้งคู่ได้เดินทางท่องเที่ยวไปเรื่อย ๆ และไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันที่ทะเลสาบไซ้โอว (ทะเลสาบซีหู) เป็นต้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฟ่านหลี่และไซซี

ฟ่านหลี่และไซซี มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ยุควสันตสารทรัฐอู๋โกวเจี้ยน

ยุควสันตสารท

แผนที่แสดงที่ตั้งของนครรัฐต่าง ๆ ในยุควสันตสารท วสันตสารท หรือภาษาจีนว่า ชุนชิว (Spring and Autumn period) เป็นชื่อยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนโบราณ อยู่ระหว่าง ประมาณ 770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 453 ปีก่อนคริสต์ศักราช (บางข้อมูลถือ 365 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 482 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นยุคหนึ่งในราชวงศ์โจว ราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน นับเป็นยุคสมัยที่ได้รับการกล่าวขานอย่างมากในแง่ต่าง ๆ เนื่องจากเป็นยุคที่นครรัฐแต่ละรัฐรบด้วยด้วยกลอุบายที่แยบยล ก่อให้เกิดเป็นตำนานและเรื่องเล่าขานมากมายจนปัจจุบัน และเป็นต้นเรื่องที่ทำให้เกิดวรรณคดีจีนเรื่องสำคัญอีกเรื่อง คือ เลียดก๊ก ซึ่งถูกรวมไว้ด้วยกันกับยุคจ้านกว๋อ (หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อเลียดก๊ก) การรบในยุคชุนชิวนั้นหลายเรื่องได้อ้างอิงในสามก๊กที่เกิดหลังจากนี้อีกนับพันปีต่อมา อีกแง่หนึ่ง เป็นยุคที่นักปราชญ์บัณฑิตแต่ละสาขาได้ถือกำเนิดและมีชีวิตอยู่ ซึ่งได้แต่งตำราหรือคำสอนต่าง ๆ ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ขงจื๊อ, เล่าจื๊อ, เม่งจื๊อ, ม่อจื๊อ เป็นต้น ในส่วนของปราชญ์แห่งสงคราม ก็คือ ซุนวู นั่นเอง.

ฟ่านหลี่และยุควสันตสารท · ยุควสันตสารทและไซซี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอู๋

รัฐอู๋ เป็นรัฐหนึ่งในช่วงราชวงโจวตะวันตก (Western Zhou Dynasty) และยุควสันตสารท (ยุคชุนชิว) และเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า โกวอู๋ (Gouwu; 勾吳) หรือ กงอู๋ (Gongwu; 工吳) ตามลักษณะการออกเสียงในสำเนียงภาษาท้องถิ่น รัฐอู๋ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซี ทางตะวันออกของแค้วนฉู่ (อังกฤิษ: State of Chu; จีน: 楚; พินอิน: Chǔ; หรือ จีนตัวเต็ม: 楚國; จีนตัวย่อ: 楚国; พินอิน: Chǔguó) มีเมืองหลวงแห่งแรกชื่อ เหมยหลี่ (อังกฤิษ: Meili; จีน:梅里; พินอิน: Méilǐ) (เมืองอู๋ซีในปัจจุบัน) และภายหลังย้ายไปที่เมืองกูซู (อังกฤษ: Gusu; จีนตัวย่อ: 姑苏; จีนตัวเต็ม: 姑蘇; พินอิน: Gūsū) (ในบริเวณเมืองใหม่ซูโจว) และเมืองเหอหลู (อังกฤิษ: Helü; จีนตัวเต็ม: 闔閭; จีนตัวย่อ: 阖闾) (บริเวณเมืองเก่าซูโจวในปัจจุบัน).

ฟ่านหลี่และรัฐอู๋ · รัฐอู๋และไซซี · ดูเพิ่มเติม »

โกวเจี้ยน

กวเจี้ยน (ครองราชย์ 496–465 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นกษัตริย์ (王) แห่งรัฐเยว่ (越國) ทางตอนเหนือของมณฑลเจ้อเจียงปัจจุบัน ครองราชย์ช่วงปลายยุควสันตสารท เป็นพระโอรสของพระเจ้ายฺหวิ่นฉาง (允常) รัชกาลของพระเจ้าโกวเจี้ยนนั้นประจวบเหมาะกับเหตุการณ์ขัดแย้งในยุควสันตสารท อันเป็นการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างรัฐเยว่กับรัฐอู๋ (吳國) สิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของพระเจ้าโกวเจี้ยนซึ่งทรงผนวกรัฐอู๋เข้ากับรัฐเยว่เป็นผลสำเร็จ ฉะนั้น จึงมีผู้จัดพระเจ้าโกวเจี้ยนเข้าเป็นลำดับสุดท้ายในกลุ่มห้าอธิราช (五霸).

ฟ่านหลี่และโกวเจี้ยน · โกวเจี้ยนและไซซี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฟ่านหลี่และไซซี

ฟ่านหลี่ มี 6 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไซซี มี 12 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 16.67% = 3 / (6 + 12)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฟ่านหลี่และไซซี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »