เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ฟูโรซีไมด์และภาวะหัวใจวาย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฟูโรซีไมด์และภาวะหัวใจวาย

ฟูโรซีไมด์ vs. ภาวะหัวใจวาย

ฟูโรซีไมด์ (Furosemide) ขายภายใต้ชื่อการค้า ลาซิกซ์ (Lasix) ฯลฯ เป็นยาที่ใช้รักษาอาการบวมน้ำเนื่องจากภาวะหัวใจวาย โรคตับแข็งหรือโรคไต นอกจากนี้ยังอาจใช้รักษาความดันโลหิตสูง ปริมาณยาที่ใช้แล้วแต่บุคคล ให้ได้ทั้งเข้าหลอดเลือดดำและทางปาก เมื่อรับประทานตรงแบบยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายในหนึ่งชั่วโมง แต่ถ้าเข้าหลอดเลือดดำตรงแบบจะเริ่มออกฤทธิ์ในห้านาที ผลข้างเคียงทั่วไปมีความดันเลือดตกเมื่อยืนขึ้น เสียงในหูและภาวะไวแสง ผลข้างเคียงร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้มีการเสียดุลอิเล็กโทรไลต์ ความดันเลือดต่ำ และหูหนวก แนะนำให้ทดสอบเลือดเป็นประจำสำหรับผู้ที่ได้รับยาเพื่อรักษา ฟูโรซีไมด์เป็นยาขับปัสสาวะที่ออกฤทธิ์ที่ลูป (loop diuretic) ชนิดหนึ่งซึ่งออกฤทธิ์โดยลดการดูดกลับโซเดียมที่ไต ฟูโรซีไมด์ถูกค้นพบเมื่อปี 2505 อยู่ในรายการยาหลักของตัวแบบองค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) คือ ยาที่สำคัญที่สุดที่จำเป็นต่อระบบบริการสุขภาพพื้นฐาน ราคาขายส่งทั่วโลกอยู่ระหว่าง 0.004 ถึง 0.02 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ในสหรัฐมีขายเป็นยาสามัญ ราคาประมาณ 0.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ฟูโรซีไมด์อยู่ในรายการยาต้องห้ามขององค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลกเนื่องจากกังวลว่าอาจบดบังยาอื่น ยานี้ใช้ป้องกันและรักษาม้าแข่งที่มีภาวะเลือดออกในปอดที่ชักนำด้วยการออกกำลังกาย (exercise-induced pulmonary hemorrhage). วะหัวใจวาย หรือภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure (HF)) มักใช้หมายถึงภาวะหัวใจวายเรื้อรัง (chronic heart failure (CHF)) เกิดเมื่อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพียงพอเพื่อคงการไหลของเลือดเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย คำว่า โรคหัวใจเลือดคั่ง (Congestive heart failure (CHF) หรือ congestive cardiac failure (CCF)) มักใช้แทนคำว่า หัวใจวายเรื้อรัง ได้ อาการและอาการแสดงโดยทั่วไปมีหายใจกระชั้น เหนี่อยเกิน และขาบวม การหายใจกระชั้นมักเลวลงเมื่อออกกำลังกาย เมื่อนอนราบและเมื่อกลางคืนขณะหลับ มักมีข้อจำกัดปริมาณการออกกำลังกายที่ผู้ป่วยทำได้ แม้รักษาอย่างดีแล้ว สาเหตุทั่วไปของภาวะหัวใจวาย ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งรวมกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (อาการหัวใจล้ม) ก่อนหน้านี้, ความดันโลหิตสูง, หัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว (atrial fibrillation), โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease), และโรคกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyopathy) สาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดอาการหัวใจล้มโดยเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ มีอาการหัวใจล้มสองประเภทหลัก คือ อาการหัวใจล้มจากการทำหน้าที่ผิดปรกติของหัวใจห้องล่างซ้ายและอาการหัวใจล้มโดยมีเศษส่วนการสูบฉีดปกติแล้วแต่ว่าหัวใจห้องล่างซ้ายมีความสามารถหดตัวหรือไม่ หรือความสามารถคลายตัวของหัวใจ ปกติจัดลำดับความรุนแรงของโรคจากความสามารถการออกกำลังกายที่ลดลง ภาวะหัวใจวายมิใช่อย่างเดียวกับกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดหรือหัวใจหยุด (ซึ่งเลือดหยุดไหลทั้งหมด) ฦโรคอื่นซึ่งอาจมีอาการคล้ายกับภาวะหัวใจวาย เช่น โรคอ้วน ปัญหาไต ปัญหาตับ โลหิตจาง และโรคไทรอยด์ เป็นต้น การวินิจฉัยภาวะนี้อาศัยประวัติของอาการและการตรวจร่างกาย ยืนยันด้วยการบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiography) การตรวจเลือด การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการฉายรังสีทรวงอกอาจมีประโยชน์เพื่อตัดสินสาเหตุเบื้องหลัง การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของโร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฟูโรซีไมด์และภาวะหัวใจวาย

ฟูโรซีไมด์และภาวะหัวใจวาย มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ความดันโลหิตสูงและฟูโรซีไมด์ · ความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจวาย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฟูโรซีไมด์และภาวะหัวใจวาย

ฟูโรซีไมด์ มี 12 ความสัมพันธ์ขณะที่ ภาวะหัวใจวาย มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 3.85% = 1 / (12 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฟูโรซีไมด์และภาวะหัวใจวาย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: