ฟุตบอลฮูลิแกนและแก๊สน้ำตา
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ฟุตบอลฮูลิแกนและแก๊สน้ำตา
ฟุตบอลฮูลิแกน vs. แก๊สน้ำตา
อรมนีตะวันออก พ.ศ. 2533 ฟุตบอลฮูลิแกนนิสซึม (football hooliganism) คือ พฤติกรรมเกเร ใช้ความรุนแรง และเป็นอันตราย ที่แสดงออกโดยกลุ่มผู้สนับสนุนสโมสรฟุตบอลหัวรุนแรง เช่น การทะเลาะเบาะแว้ง การทำลายสิ่งของ และการข่มขู่ เป็นต้น บุคคลที่มีพฤติกรรมเช่นนี้เรียก ฟุตบอลฮูลิแกน (football hooligan) โดยปกติแล้วฟุตบอลฮูลิแกนมักจะเกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มก๊วนซึ่งเป็นที่รู้จักกันบ่อยครั้งในชื่อ ฟุตบอลเฟิร์ม (football firm; คำสแลงในภาษาอังกฤษที่หมายถึงกลุ่มอาชญากร) ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อข่มขู่และโจมตีกลุ่มผู้สนับสนุนจากสโมสรฟุตบอลอื่นเป็นการเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีคำเรียกขานอื่น ๆ ที่ใช้สื่อถึงฟุตบอลเฟิร์มกันทั่วไป เช่น อาร์มี, บอยส์, แคชวลส์ และ ครูว์ ในขณะที่กลุ่มฟุตบอลฮูลิแกนบางสโมสรมีประวัติความขัดแย้งยาวนานกับสโมสรอื่น (ส่วนมากเป็นสโมสรที่อยู่ใกล้เคียงกันในทางภูมิศาสตร์ แต่ไม่ใช่กับทุกกรณี) ส่งผลให้พฤติกรรมฟุตบอลฮูลิแกนในเกมการแข่งขันระหว่างสโมรสรที่มีความขัดแย้งดังกล่าวมีโอกาสที่จะรุนแรงมากเป็นพิเศษ (ในบางครั้งเรียกว่า โลคัลเดอร์บีย์) ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นก่อน ในระหว่าง หรือหลังจบเกมการแข่งขัน ซึ่งกลุ่มฟุตบอลฮูลิแกนมักจะเลือกสถานที่ก่อเหตุให้ห่างจากสนามที่ใช้แข่งขันเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมของตำรวจ แต่ความขัดแย้งก็อาจจะเกิดขึ้นได้ในสนามแข่งขันหรือถนนและบริเวณโดยรอบสนาม ในกรณีดังกล่าว หน้าต่างของร้านค้าอาจถูกทุบทำลาย ถังขยะอาจถูกวางเพลิง และรถตำรวจถูกจับพลิกคว่ำ ส่วนกรณีที่รุนแรงมาก ๆ อาจมีผู้เสียชีวิตจากฝ่ายฮูลิแกน ตำรวจ หรือผู้คนโดยรอบบริเวณ และส่งผลให้ตำรวจปราบจลาจลในชุดเกราะเข้าแทรกแซงสถานการณ์ด้วยแก๊สน้ำตา สุนัขตำรวจ ยานยนต์หุ้มเกราะ และปืนฉีดน้ำแรงดันสูง เหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยฮูลิแกนเรียกว่า อักโกร (aggro) ซึ่งมาจากคำว่า aggravation หรือการทำให้ร้ายแรงขึ้น และ บอฟเวอร์ (bovver) ซึ่งเป็นคำที่ออกเสียงด้วยสำเนียงคอกนีย์ของคำว่า bother หรือความรำคาญ ส่วนคำว่า รัน หรือวิ่งคือสัญญาณที่บอกกลุ่มฮูลิแกนว่าให้แยกย้ายหนีไป กลุ่มฮูลิแกนที่สามารถสละเวลาและเงินของตนได้จะติดตามฟุตบอลทีมชาติไปยังการแข่งขันนอกสถานที่และแสดงพฤติกรรมฮูลิแกนต่อกลุ่มฮูลิแกนของทีมเจ้าบ้านที่ตนไปเยือน นอกจากนี้ยังอาจสร้างความไม่สงบเรียบร้อยในสถานที่สาธาณะอีกด้วย และแม้จะไม่ปรากฎว่ามีกลุ่มฮูลิแกนในระดับทีมชาติเหมือนกับที่มีในระดับสโมสรฟุตบอล แต่กลุ่มฮูลิแกนที่สนับสนุนทีมชาตินั้น ๆ ก็จะใช้ชื่อกลางหรือชื่อรวมเพื่อแสดงออกถึงการเป็นพันธมิตรกับกลุ่มฮูลิแกนของสโมสรฟุตบอลจากชาติเดียวกันแทน. แก๊สน้ำตาในบรรจุภัณฑ์ชนิดหนึ่ง ตำรวจปราบจลาจลยิงแก๊สน้ำตา แก๊สน้ำตา (Lachrymatory agent, Lachrymator หรือ Tear gas) เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตาและแก้วตาดำ ทำให้มีน้ำตาไหลออกมาก เยื่อบุตาจะแดงและแก้วตาดำจะบวม ตามองไม่เห็น น้ำมูกน้ำลายไหล ไอ หายใจลำบาก ส่วนใหญ่จะหายเองภายในหนึ่งชั่วโมง แก๊สน้ำตาถูกใช้เป็นอาวุธประเภทก่อกวนในการปราบจลาจลเพื่อสลายการชุมนุม การใช้งานมีทั้งการยิงจากเครื่องยิงแก๊สน้ำตา และใช้แบบระเบิดขว้าง ในประเทศไทย แก๊สน้ำตาถูกนำเข้ามาใช้ครั้งแรกในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไม่นาน โดยกระทรวงมหาดไทย มีการแถลงข่าวสาธิตการใช้ที่สนามเป้า และสามเสน ทางกรมวิทยาศาสตร์ทหารบกได้ทำวิจัยลูกระเบิดขว้างแก๊สน้ำตา มีระยะเวลาการเกิดควัน 50 วินาที ครอบคลุมพื้นที่ 150 ตารางเมตร.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฟุตบอลฮูลิแกนและแก๊สน้ำตา
ฟุตบอลฮูลิแกนและแก๊สน้ำตา มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ฟุตบอลฮูลิแกนและแก๊สน้ำตา มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฟุตบอลฮูลิแกนและแก๊สน้ำตา
การเปรียบเทียบระหว่าง ฟุตบอลฮูลิแกนและแก๊สน้ำตา
ฟุตบอลฮูลิแกน มี 6 ความสัมพันธ์ขณะที่ แก๊สน้ำตา มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (6 + 11)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฟุตบอลฮูลิแกนและแก๊สน้ำตา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: