โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟีลิปโป ลิปปี

ดัชนี ฟีลิปโป ลิปปี

“แม่พระและพระกุมาร”ราว ค.ศ. 1440-1445พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐอเมริกา “ภาพเหมือนผู้ชายและผู้หญิงในห้อง” (Portrait of a Man and Woman at a Casement) ราว ค.ศ. 1440พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน, นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา ภาพเหมือนกับลูกศิษย์ ฟีลิปโป ลิปปี (Filippo Lippi) (ค.ศ. 1406 - 8 ตุลาคม ค.ศ. 1469) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง.

42 ความสัมพันธ์: ชีวิตศิลปินฟลอเรนซ์ฟีลิปปีโน ลิปปีพระสันตะปาปาพระนางมารีย์พรหมจารีพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์การประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)ภาพเหมือนภาพเหมือนตนเองมาร์กาเรตแห่งแอนติออกยอห์นผู้ให้บัพติศมาวอชิงตัน ดี.ซี.ศิลปะคริสเตียนสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสหรัฐสะโลเมอธิการผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านจอร์โจ วาซารีจิตรกรรมฝาผนังทัศนมิติทูตสวรรค์คอนแวนต์คณะคาร์เมไลท์ฉากประดับแท่นบูชาประเทศฝรั่งเศสประเทศอิตาลีประเทศโมร็อกโกปารีสนักบุญสเทเฟนนักบุญจอร์จนักบุญดอมินิกนักบุญโยเซฟนักบุญเจอโรมแม่พระรับสารแม่พระและพระกุมารโลเรนโซ เด เมดีชีโดมไฟรเออร์เมดีชีเซนต์เนเปิลส์

ชีวิตศิลปิน

ีวิตศิลปิน หรือ ชีวิตจิตรกร, ประติมากร, และสถาปนิกผู้ดีเด่น (Le Vite delle più eccellenti pittori, scultori, ed architettori; Lives of the Most Excellent Painters, Sculptors, and Architects) เป็นหนังสือชีวประวัติที่เขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดย จิตรกรและสถาปนิก จอร์โจ วาซารี ซึ่งถือกันว่าอาจจะเป็นหนังสือเกี่ยวกับศิลปะที่สำคัญที่สุดและยังใช้อ้างอิงกันมากที่สุดในวงการศิลปะ “เป็นงานเขียนเกี่ยวกับศิลปะที่สำคัญที่สุดในสมัยเรอเนซองส์” และ “เป็นรากฐานของการเขียนประวัติศาสตร์ศิลปะ” ชื่อหนังสือมักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า “Vite” หรือ “Lives” หรือ “ชีวิตศิลปิน”.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและชีวิตศิลปิน · ดูเพิ่มเติม »

ฟลอเรนซ์

ฟลอเรนซ์ (Florence) หรือ ฟีเรนเซ (Firenze) เป็นเมืองหลวงของแคว้นทัสกานีและมณฑลฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ระหว่าง..

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟีลิปปีโน ลิปปี

| สี.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและฟีลิปปีโน ลิปปี · ดูเพิ่มเติม »

พระสันตะปาปา

หลุมฝังพระศพพระสันตะปาปาในมหาวิหารนักบุญเปโตร พระสันตะปาปา (Santo Papa; Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม..

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

พระนางมารีย์พรหมจารี

ริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) ว่า พระนางมารีย์พรหมจารี (the Blessed Virgin Mary) เพราะเชื่อว่าพระแม่มารีย์เป็นพรหมจารีเสมอ และพระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าก็มารับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของพระแม่มารีย์ จึงทำให้พระแม่มารีย์มีสถานะเป็น "พระมารดาพระเจ้า" ด้วย คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้รับรองความเชื่อนี้มาตั้งแต่สังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและพระนางมารีย์พรหมจารี · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

ัณฑ์ลูฟวร์ (Musée du Louvre) หรือในชื่อทางการว่า the Grand Louvre เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์กาเปเซียง ตัวอาคารเดิมเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมากกว่า 35,000 ชิ้น จากตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ · ดูเพิ่มเติม »

การประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)

นายช่างโบฮีเมีย ราวปี ค.ศ. 1350 แสดงให้เห็นอิทธิพลของไบเซนไทน์แบบอิตาลีในราชสำนักของจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การประสูติของพระเยซู (Nativity หรือ Nativity of Jesus) เป็นหัวเรื่องที่วาดกันบ่อยที่สุดหัวข้อหนึ่งในศิลปะศาสนาคริสต์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 องค์ประกอบของศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อฉลองวันคริสต์มาสตามข้อมูลในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกา และต่อมาก็มีการเพิ่มเรื่องราวจากข้อเขียนอื่น ๆ หรือเรื่องเล่าต่างๆ ศิลปะคริสต์ศาสนามักจะมีรูปเคารพของพระนางมารีย์พรหมจารีและพระกุมารเยซู งานศิลปะแบบนี้จะเรียกว่า “แม่พระและพระกุมาร” หรือ “พระนางพรหมจารีและพระกุมาร” แต่รูปนี้จะไม่รวมอยู่ในชุด “การประสูติของพระเยซู” ฉากการประสูติของพระเยซูจะมีคำบรรยายอย่างชัดเจนจากหลักฐานหลายแห่ง การกำเนิดของพระเยซูเป็นฉากที่ใช้ในการสร้างศิลปะหลายแบบทั้งทางจักษุศิลป์และประติมากรรม และศิลปะแบบอื่นๆ ในรูปของจักษุศิลป์ก็อาจจะเป็น ไอคอน, จิตรกรรมฝาผนัง, บานพับภาพ, ภาพเขียนสีน้ำมัน, หนังสือวิจิตร และ หน้าต่างประดับกระจกสี บางครั้งการแสดงภาพก็อาจจะผสมระหว่างจักษุศิลป์และประติมากรรม ที่ตั้งของภาพหรืองานศิลปะก็อาจจะเป็น ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) ศิลปะแบบอื่นๆ ก็อาจจะเป็นจุลจิตรกรรม งานแกะงาช้าง การแกะภาพบนโลงหิน การสลักบนหน้าบันเหนือประตูทางเข้าโบสถ์ หรือคานเหนือประตู หรืออาจจะเป็นรูปปั้นแบบลอยตัว รูปปั้นแบบลอยตัวของ “การประสูติของพระเยซู” มักจะทำเป็น “Creche” หรือ “Presepe” ซึ่งเรียกว่า “ฉากพระเยซูประสูติ” (Nativity scene) ซึ่งอาจจะใช้ตั้งตรงมุมใดมุมหนึ่งของโบสถ์ หน้าหรือในสถานที่สาธารณะ, บ้าน หรือกลางแจ้งเป็นการชั่วคราว ขนาดของกลุ่มรูปปั้นก็มีตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ไปจนขนาดเท่าคนจริง ที่มาของการสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” อาจจะมาจากการแสดงกลุ่มรูปปั้น ที่เรียกว่า “Tableau vivant” ที่กรุงโรม ซึ่งนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมีบทบาททำให้เป็นที่นิยมกันมากขึ้น การสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” ก็ยังเป็นที่นิยมกันถึงปัจจุบันนี้ โดยบางครั้งฉากเล็กอาจจะทำจากกระเบื้องพอร์ซิเลน (Porcelain), พลาสเตอร์, พลาสติก หรือ กระดาษ เพื่อใช้ตั้งภายในที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและการประสูติของพระเยซู (ศิลปะ) · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือน

หมือนเด็กชายชาวโรมัน-อียิปต์เป็นภาพเหมือนที่ใช้ปิดหน้าศพของผู้ตาย “ภาพเหมือนตนเอง” โดย ฟินเซนต์ ฟัน โคค ภาพถ่ายภาพเหมือนของทอมัส ดิลวาร์ด โดยแม็ทธิว เบรดี ภาพเหมือน (ภาษาอังกฤษ: portrait) เป็นจิตรกรรม, ภาพถ่าย, ประติมากรรม หรือสื่ออื่นๆ ที่เป็นรูปของผู้เป็นแบบ ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดจะเป็นหน้าและการแสดงออกทางความรู้สึกของผู้เป็นแบบ จุดประสงค์ในการสร้างภาพเหมือนก็เพื่อแสดงความละม้าย, บุคลิก, หรือแม้แต่อารมณ์ของผู้เป็นแบบ ฉะนั้นภาพถ่ายที่เป็นภาพเหมือนจึงมิใช่ภาพถ่ายแบบชั่ววินาที แต่เป็นภาพถ่ายที่ช่างถ่ายจะพยายามจัดท่าหรือองค์ประกอบของภาพที่ให้ผู้เป็นแบบนั่งนิ่ง ภาพเหมือนมักจะแสดงผู้เป็นแบบมองตรงมายังจิตรกรหรือช่างภาพ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ที่ดูรูปในภายหลัง.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและภาพเหมือน · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนตนเอง

หมือนตนเองของอัลเบรชท์ ดือเรอร์, ค.ศ. 1493. สีน้ำมันเดิมบนหนัง, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, ปารีส ภาพนี้เป็นภาพเหมือนตนเองอย่างเป็นทางการภาพแรก ๆ ดือเรอร์แต่งตัวแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จระดับสากล ภาพเหมือนตนเอง (Self-portrait) คือภาพเหมือนของศิลปินเองผู้อาจจะวาด เขียนด้วยสี ถ่ายภาพ หรือแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริง ๆ หรือวาดเป็นบุคคลหัวใจของภาพมาจนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในกลางคริสต์ทศวรรษ1400 กระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำการเขียนภาพเหมือนบนจิตรกรรมแผง จิตรกร ประติมากร และช่างแกะพิมพ์มีการทำกันมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ "ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)" ที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ ของปี..

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและภาพเหมือนตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กาเรตแห่งแอนติออก

นักบุญมาร์กาเรตแห่งแอนติออก (Margaret of Antioch) หรือนักบุญมาร์กาเรตพรหมจารี (Margaret the Virgina) เป็นนักบุญ พรหมจารี และมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เสียชีวิตเมื่อราว..

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและมาร์กาเรตแห่งแอนติออก · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา

อห์นผู้ให้บัพติศมา (โปรเตสแตนต์เดิมเรียกว่ายอห์นผู้ให้รับบัพติศมา) ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง(คาทอลิก) หรือนักบุญยอห์น แบปติสต์(คาทอลิก) (John the Baptist; John the Baptizer) เป็นนักเทศน์ชาวยิวในคริสศตวรรษที่ 1 ถือว่าเป็นผู้เผยพระวจนะในสี่ศาสนาคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาบาไฮ และ “Mandaeanism” ท่านถูกกล่าวถึงในพระวรสาร คัมภีร์อัลกุรอาน และคัมภีร์ของศาสนาบาไฮ นักบุญยอห์นแบปติสต์บางทีก็รู้จักกันในชื่อ “ยอห์นผู้มาก่อน” (John the Forerunner) เพราะถือกันว่านักบุญยอห์นเป็นผู้มาล่วงหน้าก่อนพระเยซู.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและยอห์นผู้ให้บัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

วอชิงตัน ดี.ซี.

กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington, D.C) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตปกครองพิเศษโคลอมเบีย (District of Columbia) มักเรียกทั่วไปว่า กรุงวอชิงตัน (Washington) หรือ ดี.ซี (D.C.) เป็นเมืองหลวงของสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อภายหลังจากการปฏิวัติอเมริกา โดยชื่อ วอชิงตัน มาจากชื่อของจอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก และบิดาผู้ก่อตั้งประเทศคนหนึ่ง วอชิงตันเป็นนครหลักนครหนึ่งของเขตมหานครวอชิงตัน (Washington Metropolitan Area) โดยมีประชากรที่อาศัยอยู่ในวอชิงตันจำนวนประมาณ 6,131,977 คน โดยวอชิงตันได้รับฉายาว่าเป็นเมืองหลวงทางการเมืองของโลก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางสหรัฐและสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศจำนวนมากเช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น กรุงวอชิงตันเป็นนครที่นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมมากที่สุดนครหนึ่งในโลก โดยในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมวอชิงตัน ปีละประมาณ 20 ล้านคน การลงนามรัฐบัญญัติที่ตั้งในสหรัฐ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและวอชิงตัน ดี.ซี. · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะคริสเตียน

"พระแม่มารีและพระบุตร" โดยทิเชียน (ราว ค.ศ. 1512) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา, ประเทศออสเตรีย ศิลปะคริสเตียน (Christian art) เป็นคำที่หมายถึงจักษุศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อแสดงความหมาย, ขยายความ และแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักของศาสนาคริสต์ นิกายของศาสนาคริสต์เกือบทุกนิกายใช้ศิลปะคริสเตียนแต่จะมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่กฎบัตรของแต่ละนิกาย แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหัวเรื่องการสร้างก็จะคล้ายคลึงกันคือจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของพระเยซูจากพันธสัญญาใหม่ หรือบางครั้งก็รวมเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม นอกนั้นการเขียนเรื่องนักบุญหรือผู้มีความสำคัญต่อศาสนาก็เป็นที่นิยมกันโดยเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิก, นิกายแองกลิคัน และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและศิลปะคริสเตียน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สะโลเม

“สะโลเม” โดยทิเชียน สะโลเม (Salome; Σαλωμη) เป็นลูกสาวของเฮโรเดียส (Herodias) จากพันธสัญญาใหม่ (มาระโก 6:21-29 และมัทธิว 14:6-11 แต่ไม่ได้กล่าวชื่อ) ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของนักบุญยอห์นผู้ให้รับบัพติศมา (หรือยอห์นแบปติสต์) แหล่งข้อมูลอีกแหล่งหนึ่งเกี่ยวกับสะโลเมมาจากหนังสือ “ประวัติศาสตร์ชนยิว” (Antiquities of the Jews) โดยนักประวัติศาสตร์ชาวยิวเฟลเวียส โจซีฟัส (Flavius Josephus) ที่กล่าวถึงชื่อและรายละเอียดของครอบครัว ตามตำนานในคริสต์ศาสนาสะโลเมเป็นสัญลักษณ์ของสตรีที่มีเสน่ห์แรงเช่นในการเต้นรำที่ยั่วยวนอารมณ์ที่กล่าวถึงในพันธสัญญาใหม่ หรือเน้นความใจแข็งไม่แคร์ต่อความรู้สึกซึ่งตามพระวรสารเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความตายของนักบุญยอห์นแบปติสต์ ในบทละคร “สะโลเม” ออสคาร์ ไวลด์ (Oscar Wilde) เพิ่มลักษณะว่าเป็นผู้หลงเสน่ห์ศพ (necrophiliac) และถูกฆ่าวันเดียวกับที่ผู้ที่เธอขอให้ฆ่าตาย อีกความหมายหนึ่งมาจากอุปรากรของริชาร์ด เสตราส์ (Richard Strauss) ที่เขียนจากบทละครของออสคาร์ ไวลด์ แต่ไม่ตรงกับข้อเขียนของโจซีฟัส ผู้กล่าวว่าสะโลเมมีชีวิตยืนต่อมาจนแต่งงานอีกสองครั้งและมีลูกอีกหลายคน.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและสะโลเม · ดูเพิ่มเติม »

อธิการ

อธิการ (authority; superior) มาจากคำในภาษาบาลี "อธิการ" (adhikāra, ออกเสียงว่า "อะธิการะ") แปลว่าเจ้าหน้าที่ การหมายใจ หรือความดี ในภาษาไทยปัจจุบันใช้คำนี้หมายถึงผู้มีอำนาจในด้านการปกครอง พบทั้งในศาสนจักร และการทหาร.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและอธิการ · ดูเพิ่มเติม »

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านล้อมรอบพระเยซู วาดราว ค.ศ. 850 โดย แฮริกาเรียสแห่งทัวรส์ (Haregarius ofTours) ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านบนเพดานบริเวณสงฆ์ในวัดเซ็นต์โมริทซ (St. Moritz) ที่โรทเท็นเบิร์กอัมเนคคาร์ (Rottenburg am Neckar) ประเทศเยอรมันจากบนซ้ายนักบุญมัทธิว (มนุษย์) นักบุญมาระโก (สิงโต) นักบุญลูกา (วัว) และนักบุญยอห์น (อินทรี) ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน (Four Evangelists) หมายถึงผู้ประพันธ์พระวรสารสี่เล่มซึ่งเป็นเอกสารส่วนหนึ่งของพันธสัญญาใหม่ในคัมภีร์ไบเบิล วรสาร แปลว่า ข่าวประเสริฐ ซึ่งหมายถึงข่าวการเสด็จมาของพระเยซู หรือชีวประวัติของพระองค์นั่นเอง อย่างไรก็ดีพระวรสารเขียนขึ้นประมาณหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ไปแล้วเกือบหนึ่งร้อยปี.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน · ดูเพิ่มเติม »

จอร์โจ วาซารี

อร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) (30 กรกฎาคม ค.ศ. 1511 - 27 มิถุนายน ค.ศ. 1574) เป็นสถาปนิกและจิตรกรชาวอิตาลี ผลงานที่ทำให้เขามีชื่อเสียงมากที่สุดคืองานบันทึก ประวัติชีวิตและงานของศิลปินอิตาลีก่อนหน้าและร่วมสมัยในชื่อ “ชีวิตจิตรกร, ประติมากร, และสถาปนิกผู้ดีเด่น” (หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ชีวิตศิลปิน” (The Vite)) ซึ่งเป็นงานที่ยังมีการอ้างอิงกันในการเขียนประวัติชีวิตศิลปินหรือการวิจัยจิตรกรรมและประติมากรรมกันอยู่จนทุกวันนี้.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและจอร์โจ วาซารี · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมฝาผนัง

วาติกัน, โรม ประเทศอิตาลี จิตรกรรมฝาผนังโดยดิโอนิเซียส (Dionisius) เล่าเรื่องนักบุญนิโคลัส จิตรกรรมฝาผนัง จากมหากาพย์ “ไตรภูมิดานเต” ของดานเตโดยโดเมนิโค ดิ มิเคลลิโน (Domenico di Michelino) ที่มหาวิหารฟลอเรนซ์ จิตรกรรมฝาผนังจากบาวาเรียประเทศเยอรมนี “ที่ฝังศพของนักดำน้ำ” พบเมื่อปีค.ศ. 1968 (470 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จิตรกรรมฝาผนังจากอจันตา (Ajanta) คริสต์ศตวรรษที่ 6 จิตรกรรมฝาผนังโคลาของนักรำที่ Brihadisvara Temple ประมาณ ค.ศ. 1100 จิตรกรรมฝาผนัง (ภาษาอังกฤษ: Mural painting) คือภาพเขียนหลายชนิดที่เขียนบนปูนบนผนังหรือเพดาน เทคนิคที่นิยมกัน คือ การวาดภาพบนผนังปูนปลาสเตอร์เปียก (fresco) โดยที่คำว่า “fresco” มาจากภาษาอิตาลี “affresco” ซึ่งมาจากคำว่า “fresco” หรือ “สด” รากศัพท์มาจากภาษาเยอรมัน.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและจิตรกรรมฝาผนัง · ดูเพิ่มเติม »

ทัศนมิติ

ทัศนมิติแบบสองจุด ทัศนมิติ (perspective) หรือทับศัพท์ว่าเพอร์สเปกทีฟ คือการเขียนภาพให้ปรากฏออกมาในลักษณะที่เหมือนการมองเห็นจริง โดยปรกติมักจะใช้เพื่อการนำเสนอภาพจำลองของแนวความคิดในการออกแบบผลงาน เช่นภาพงานอาคารในงานสถาปัตยกรรม ภาพการตกแต่งภายในสำหรับงานมัณฑนศิลป เป็นต้น.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและทัศนมิติ · ดูเพิ่มเติม »

ทูตสวรรค์

''บทเพลงของทูตสวรรค์'' โดย บูเกอโร, 1825–1905. ทูตสวรรค์ หรือ เทวทูต (angel) คือชาวสวรรค์จำพวกหนึ่งตามความเชื่อทางศาสนาและในเทพปกรณัมต่าง ๆ โดยมีหน้าที่เป็นผู้แจ้งข่าวสารจากสวรรค์มายังโลก บ้างก็ทำหน้าที่อารักขา แนะนำ หรือมอบหมายภารกิจแก่มนุษย์ คำนี้แปลมาจากคำว่า ἄγγελος ในภาษากรีก ซึ่งตรงกับคำว่า מלאך (มลัก) ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) และเป็นคำเดียวกับคำว่า ملائكة (มลาอิกะฮ์) ที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ศัพท์เดิมในภาษาฮีบรูและภาษากรีกนี้แปลว่า ผู้แจ้งข่าว ซึ่งอาจเป็นมนุษย์ (ทั้งผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิต และคนสามัญ) หรืออมนุษย์ก็ได้แล้วแต่บริบทในคัมภีร์ ที่เป็นอมนุษย์นั้นเป็นได้ทั้ง ผู้แจ้งข่าวจากพระเจ้า ลักษณะเฉพาะด้านของพระเจ้า (เช่น กฎจักรวาล) หรือแม้แต่พระเป็นเจ้าเองที่ทรงเป็นผู้แจ้งข่าว (theophanic angel) คำว่า "ทูตสวรรค์" ยังถูกใช้หมายถึงวิญญาณในศาสนาอื่น ๆ ด้วย นอกจากการแจ้งข่าวแล้ว ทูตสวรรค์ยังมีหน้าที่ปกป้องและนำทางมนุษย์ รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ตามที่พระเจ้ามอบหมายให้สำเร็จลุล่วง เทววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับทูตสวรรค์เรียกว่า “วิทยาการทูตสวรรค์” (angelology) ในงานศิลปะทูตสวรรค์มักปรากฏภาพเป็นชายมีปีก ซึ่งอาจมาจากหนังสือวิวรณ์เรื่องสัตว์สี่ตัว (4:6-8) และคัมภีร์ฮีบรูเรื่องเครูบและเสราฟิม แต่คัมภีร์ไบเบิลระบุว่าเครูบและเสราฟิมมีปีก ไม่เคยกล่าวถึงทูตสวรรค์ว่ามีปีกด้ว.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและทูตสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

คอนแวนต์

อนแวนต์ Beguine ในกรุงอัมสเตอร์ดัม คอนแวนต์ (convent) คือชุมชนของบาทหลวง นักพรตหญิง ภราดา หรือภคินี หรืออาจหมายถึงตัวอาคารที่ชุมชนนักบวชเหล่านี้ใช้พักอาศัย พบได้ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิกและแองกลิคันคอมมิวเนียน ในปัจจุบันคำว่าคอนแวนต์มักใช้หมายถึงเฉพาะชุมชนนักบวชหญิง ขณะที่อาราม ไพรออรี หรือไฟรอารี จะใช้กับชุมชนนักบวชชาย แต่ในอดีตคำเหล่านี้มักใช้แทนกันได้ ในทางเทคนิค คำว่า "อาราม" จะหมายถึงชุมชนนักพรต ขณะที่ "คอนแวนต์" คือชุมชนของนักบวชภิกขาจาร (ถ้าเป็นของไฟรเออร์จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ไฟรอารี") ส่วน "แคนันรี" คือชุมชนแคนันที่สังกัดคณะนักบวช คำว่า "แอบบีย์" และ "ไพรออรี" คืออารามและแคนันรีนั่นเอง แต่ต่างกันที่แอบบีย์มีคุณพ่ออธิการเป็นหัวหน้า แต่ไพรออรีเป็นสำนักที่มิอิสระน้อยกว่าและปกครองโดยไพรเออร.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและคอนแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะคาร์เมไลท์

ณะภราดาพระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์เมล (Ordo Fratrum Beatissimae Mariae Virginis de Monte Carmelo; Order of Brothers of The Blessed Virgin Mary of Mount Carmel) หรือที่มักรู้จักกันในนามคณะคาร์เมไลท์ (Carmelite Order) (บางแห่งเรียกว่า คณะคาร์แมล) เป็นคณะนักบวชภิกขาจารคณะหนึ่งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ในยุคแรกนักบวชในคณะนี้เน้นวัตรปฏิบัติอย่างฤๅษี (hermit) คือเก็บตัวภาวนา เพ่งฌาน เกือบตัดขาดจากโลกภายนอก.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและคณะคาร์เมไลท์ · ดูเพิ่มเติม »

ฉากประดับแท่นบูชา

ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) คือภาพหรืองานแกะสลักนูนที่เป็นภาพที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนาที่แขวนหน้าแท่นบูชา ฉากแท่นบูชามักจะประกอบด้วยแผงสองหรือสามแผง ประกอบกันที่เรียกว่า “จิตรกรรมแผง” และมักจะเรียกว่า “บานพับภาพ” ซึ่งอาจจะเป็นสองหรือสามบานหรือมากกว่านั้น บางครั้งฉากแท่นบูชาอาจจะเป็นกลุ่มประติมากรรม บางครั้งฉากแท่นบูชาก็อาจจะตั้งบนแท่นบูชา ถ้าแท่นบูชาเป็นแท่นลอยที่มองได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังก็จะมีฉากแท่นบูชาได้ทั้งสองด้าน นอกจากนั้นก็ยังอาจจะตกแต่งด้วยภาพเขียนฉากกางเขนหรือชั้นแท่นบู.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและฉากประดับแท่นบูชา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโมร็อกโก

มร็อกโก (ชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรโมร็อกโก, เป็นรัฐเดี่ยวและรัฐเอกราชที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคมาเกร็บในแอฟริกาเหนือ เป็นหนึ่งในถิ่นกำเนินชนเบอร์เบอร์ ในทางภูมิศาสตร์โมร็อกโกมีเทือกเขาหินขรุขระตรงกลาง มีทะเลทรายขนาดใหญ่และมีชายฝั่งยาวมาตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกจนถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน โมร็อกโกมีพื้นที่ประมาณ 710,850 ตารางกิโลเมตรและประชากรกว่า 33.8 ล้านคน เมืองหลวงชื่อราบัตและมีเมืองใหญ่สุดชื่อกาซาบล็องกา นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญอื่น ๆ อีกอาทิมาร์ราคิช แทงเจียร์ ซาเล่ห์ แฟ็ส แม็กแน็สและ วัจด้า ในทางประวัติศาสตร์โมร็อกโกเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคมีความเป็นอิสระและไม่ได้ถูกยุ่งเกียวหรือรุกรานโดยเพื่อนบ้านตั้งแต่สุลต่าน โมเลย์ อิดริส ที่ 1ก่อตั้งรัฐโมร็อกโกครั้งแรกใน พ.ศ. 1332 ประเทศถูกปกครองโดยระบบราชวงศ์และเจริญสุดขีดในช่วงราชวงศ์อัลโมราวิดและราชวงศ์อัลโลฮัดซึ่งครอบครองส่วนหนึ่งของคาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ราชวงศ์มารีนิดและราชวงศ์ซาดีได้ยืนหยัดต่อต้านการรุกร่านจากต่างประเทศ อีกทั้งโมร็อกโกเป็นประเทศในแอฟริกาเหนือประเทศเดียวที่เลี่ยงการยึดครองจากจักรวรรดิออตโตมันได้ ราชวงศ์อเลาอัวซึ่งปกครองประเทศอยู่ในปัจุบันนั้นขึ้นมามีอำนาจในโมร็อกโกตั้งแต่ พ.ศ. 2174 ใน พ.ศ. 2455 โมร็อกโกถูกแบ่งเป็นโมร็อกโกในอารักขาของฝรั่งเศส โมร็อกโกในอารักขาของสเปนกับเขตสากลในแทนเจียร์และกลับมาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2499 วัฒนธรรมชาวโมร็อกโกจะเป็นแบบผสมผสานตามอิทธิพลของเบอร์เบอร์ อาหรับ แอฟริกาตะวันตกและยุโรป โมร็อกโกอ้างว่าเวสเทิร์นสะฮาราซึ่งเป็นดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองซึ่งเคยเป็นสะฮาราของสเปนนั้นเป็นจังหวัดทางใต้ของโมร็อกโก หลังจากสเปนตกลงที่จะปลดปล่อยดินแดนนี้ให้โมร็อกโกและมอริเตเนียใน พ.ศ. 2518 ชาวซาห์ราวีได้ทำสงครามแบบกองโจร มอริเตเนียถอนตัวออกจากดินแดนที่มีสิทธิครอบครองใน พ.ศ. 2522 และสงครามอันยืดเยื้อก็ยุติจากการหยุดยิงใน พ.ศ. 2534 ปัจจุบันโมร็อกโกครอบครองดินแดนสองในสาม โมร็อกโกปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญกับรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง กษัตริย์โมร็อกโกมีอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติอย่างมาก โดยเฉพาะการทหาร นโยบายต่างประเทศและศาสนา อำนาจบริหารออกใช้โดยรัฐบาล ขณะที่สภานิติบัญญัติเป็นของรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรโมร็อกโกและราชมนตรีสภาทั้งสองสภา กษัตริย์สามารถออกพระราชกฤษฎีกาที่เรียกว่าดาฮีร์ซึ่งมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย นอกจากนี้กษัตริย์สามารถยุบสภาหลังจากปรึกษานายกรัฐมนตรีและประธานศาลรัฐธรรมนูญ ชาวโมร็อกโกส่วนมากนับถือศาสนาอิสลามมีภาษาราชการคือภาษาอาหรับและภาษาเบอร์เบอร์ ภาษาเบอร์เบอร์เป็นภาษาหลักของโมร็อกโกก่อนที่อาหรับจะมามีบทบาทในคริสศ์ศตวรรษที่ 600 ภาษาอาหรับในโมร็อกโกเรียกว่า Darija โมร็อกโกเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ สหภาพเมดิเตอร์เรเนียนและสหภาพแอฟริกา และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของแอฟริก.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและประเทศโมร็อกโก · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญสเทเฟน

นักบุญสเทเฟนกำลังเทศน์ นักบุญสเทเฟน (Saint Stephen; Στέφανος Stephanos) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เสียชีวิตเมื่อราว..

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและนักบุญสเทเฟน · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญจอร์จ

นักบุญจอร์จ (St.) เกิดเมื่อประมาณปี..

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและนักบุญจอร์จ · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญดอมินิก

นักบุญดอมินิกแห่งออสมา (Saint Dominic of Osma; ค.ศ. 1170 – 6 สิงหาคม ค.ศ. 1221) นักบุญดอมินิกแห่งออสมา หรือ นักบุญดอมินิกแห่งกุซมัน เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวสเปน ผู้ก่อตั้งคณะดอมินิกัน เชื่อว่าเป็นบุคคลแรกที่นำสายประคำมาใช้ในการสวดภาวนาของชาวคาทอลิก และเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์นักดาราศาสตร.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและนักบุญดอมินิก · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญโยเซฟ

ซฟ (יוֹסֵף Yosef) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญยอแซฟ เป็นนักบุญในศาสนาคริสต์ เกิดเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 1 และเสียชีวิตในคริสต์ศตวรรษเดียวกัน ที่เมืองนาซาเร็ธในประเทศอิสราเอลปัจจุบัน นักบุญโยเซฟสืบสายมาจากตระกูลกษัตริย์ดาวิด คัมภีร์พันธสัญญาใหม่ระบุว่าเป็นสามีของนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) นักบุญโยเซฟมิใช่บิดาตามเชึ้อสายของพระเยซูแต่ก็ถือกันว่าเป็นบิดาบุญธรรมและเป็นหัวหน้าของ “ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์” หรือ “ครอบครัวพระเยซู” (Holy Family) เชี้อสายตามหลักฐานของพระวรสารนักบุญมัทธิว กล่าวว่าพ่อของนักบุญโยเซฟชื่อยาโคบ แต่ตามหลักฐานของพระวรสารนักบุญลูกา กล่าวว่าพ่อของนักบุญโยเซฟชื่อเฮลี พระวรสารในสารบบไม่ได้ระบุวันและสถานที่เกิดและตายของโยเซฟ เท่าที่ทราบโยเซฟอยู่ที่เมืองนาซาเรธ ใน กาลิลี อยู่ที่เบธเลเฮม ในแคว้นยูเดียเป็นเวลาอีกสองปี และถูกบังคับให้ไปลี้ภัยไปอยู่อียิปต์อีกระยะหนึ่ง แม้ว่า “พระวรสารสหทรรศน์” จะไม่ได้กล่าวถึงอายุของโยเซฟแต่จากเอกสารอื่น ๆ โยเซฟเป็นพ่อหม้ายลูกติดเมื่อแต่งงานกับมารีย์ และมารีย์เป็นหม้ายเมื่อพระเยซูออกเทศนาและเมื่อพระเยซูทรงรับพระทรมาน ฉะนั้นจึงสันนิษฐานว่าโยเซฟเสียชีวิตก่อนที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ อาชีพของโยเซฟตามที่บรรยายในพระวรสารว่าเป็น τεκτων, ภาษากรีกหมายถึงช่างแต่ในศาสนาคริสต์ถือกันว่าโยเซฟเป็นผู้ทำงานกับไม้หรือช่างไม้ แต่ในภาษาอังกฤษปัจจุบันใช้คำว่า “joiner” หรือ “cabinet-maker” หรือช่างทำเฟอร์นิเจอร์ซึ่งเหมาะกับความหมายในภาษากรีกมากกว่า นอกจากนั้นแล้วพระวรสารก็มิได้กล่าวถึงโยเซฟ และไม่มีบทพูด มิได้บอกสถานที่เกิดและสถานที่เสียชีวิต และเวลาต่างที่เกี่ยวกับโยเซฟก็แตกต่างกัน บางครั้งก็จะกล่าวว่าอายุมากกว่ามารีมาก และบางครั้งก็เพียงไม่กี่ปี บางวรสารกล่าวว่าโยเซฟเป็นพ่อหม้ายลูกติดเมื่อแต่งงานกับมารีย์ ในพระวรสารกล่าวถึงโยเซฟเมื่อพระเยซูไปเยรูซาเลมเมื่ออายุสิบสองปี แต่ไม่มีอะไรที่กล่าวถึงโยเซฟหลังจากนั้น เอกสารเกี่ยวกับเวลาเสียชีวิตไม่ชัดเจนแต่เมื่อพระเยซูออกเทศนามารีย์ก็เป็นหม้ายแล้ว ในนิกายโรมันคาทอลิกถือว่านักบุญโยเซฟเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์กรรกรและมีวันสมโภชหลายวัน และในปี..

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและนักบุญโยเซฟ · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญเจอโรม

นักบุญเจอโรม หรือ นักบุญเยโรม (Jerome; Eusebius Sophronius Hieronymus; Ευσέβιος Σωφρόνιος Ιερώνυμος) เป็นบาทหลวงชาวโรมัน เกิดเมื่อประมาณปี..

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและนักบุญเจอโรม · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระรับสาร

“แม่พระรับสาร” รูปเคารพจากมาเซโดเนีย แม่พระรับสาร (Annunciation, Annunciation of Mary, Annunciation of the Lady หรือ Annunciation of the Blessed Virgin Mary) หมายถึง เหตุการณ์ที่ที่พระแม่มารีย์รับสารจากทูตสวรรค์กาเบรียลว่านางจะตั้งครรภ์พระบุตรพระเป็นเจ้า เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดเมื่อไร ไม่ทราบได้ แต่เมื่อมีการฉลองวันการประสูติของพระเยซูในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ก็มีผู้ริเริ่มจัดการฉลองเหตุการณ์แม่พระรับสารนี้ขึ้นในวันที่ 25 มีนาคมของทุกปี เรียกว่า "วันแม่พระรับสาร" (Annunciation of the Lady's Day) โดยนับถอยหลังจากวันคริสต์มาสขึ้นไปเก้าเดือน นอกจากนี้ เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดที่ไหนก็ไม่มีใครทราบได้ ทว่าฝ่ายออร์ทอดอกซ์เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธ ประเทศอิสราเอล ที่ "โบสถ์ออร์ทอดอกซ์แม่พระรับสาร" (Orthodox Church of the Annunciation) ส่วนฝ่ายโรมันคาทอลิกก็เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธนั้น และเกิดที่ "โบสถ์แม่พระรับสาร" (Church of the Annunciation).

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและแม่พระรับสาร · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระและพระกุมาร

แม่พระและพระกุมาร (Madonna and Child; Madonna col Bambino) เป็นรูปเคารพที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งในศาสนาคริสต์ เป็นรูปของพระนางมารีย์พรหมจารี (ซึ่งชาวคาทอลิกเรียกว่าแม่พระ) และพระกุมารเยซู (พระเยซูเมื่อทรงพระเยาว์) “แม่พระและพระกุมาร” โดย ฟิลลิปโป ลิปปี (Filippo Lippi).

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและแม่พระและพระกุมาร · ดูเพิ่มเติม »

โลเรนโซ เด เมดีชี

ลอเรนโซ เดอ เมดิชิ (Lorenzo de’ Medici หรือ Lorenzo il Magnifico; Lorenzo the Magnificent) (1 มกราคม ค.ศ. 1449 – 9 เมษายน ค.ศ. 1492) เป็นรัฐบุรุษคนสำคัญของฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลีในยุคเรอเนซองส์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความสำคัญในทางการปกครอง นอกจากนั้นลอเรนโซ เดอ เมดิชิยังเป็นเป็นนักการทูต, ผู้อุปถัมภ์ผู้มีปัญญา, ศิลปิน, และกวี ลอเรนโซ เดอ เมดิชิมีชีวิตอยู่ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของสมัยเรอเนซองส์ หลังจากลอเรนโซ เดอ เมดิชิเสียชีวิตยุคทองของเรอเนซองส์ก็สิ้นสุดลง ความสัมพันธ์ที่เปราะบางระหว่างแคว้นต่างๆของอิตาลีที่ลอเรนโซพยายามยึดไว้ก็แตกหักลง เพียงสองปีหลังจากลอเรนโซเสียชีวิตฝรั่งเศสก็รุกรานอิตาลีระหว่างปี..

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและโลเรนโซ เด เมดีชี · ดูเพิ่มเติม »

โดม

มหัวหอมของโบสถ์เซนต์เบซิล โดม (dome) คือส่วนโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะครึ่งทรงกลมหรือใกล้เคียง โดมจะมีลักษณะผิวโค้งและมีฐานเป็นรูปวงกลม โดมสามารถสร้างได้โดยใช้คอนกรีตหรืออิฐ แรงภายในที่กระทำกับโครงสร้างของจะมีลักษณะเป็นแรงอัดในส่วนบนและ แรงดึงในส่วนล่างของโดม.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและโดม · ดูเพิ่มเติม »

ไฟรเออร์

ฟรเออร์คณะออกัสติเนียนรีคอลเลกต์ ไฟรเออร์ (Friar) เป็นนักบวชคาทอลิกประเภทหนึ่ง ซึ่งสังกัดคณะนักบวชภิกขาจาร คำว่า ไฟรเออร์ มาจากภาษาอังกฤษ Friar ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส frère และภาษาละติน frater แปลว่า ภราดา (พี่น้องชาย) เป็นคำที่คริสตชนยุคแรกใช้เรียกกันภายในกลุ่มเพื่อแสดงความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีจึงนำคำนี้มาใช้เป็นชื่อคณะนักบวชที่ตนเองก่อตั้งขึ้น ว่า Ordo Fratrum Minorum (ในประเทศไทยแปลกันว่า คณะภราดาน้อย) ต่อมาคำว่าไฟรเออร์จึงแพร่หลายไปใช้กับคณะนักบวชอื่น ๆ (เฉพาะบางคณะ).

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและไฟรเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

เมดีชี

ตระกูลเมดีชี (Medici) เป็นตระกูลที่มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองของฟลอเรนซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมาชิกจากตระกูลนี้ 3 คนได้เป็น พระสันตะปาปา (สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10, สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7, และ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 11) และนักปกครองของฟลอเรนซ์เองโดยเฉพาะโลเรนโซ เด เมดีชี ก็เป็นผู้อุปถัมภ์งานชิ้นสำคัญๆ ในสมัยเรอเนซองส์ ต่อมาตระกูลเมดีชีก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ของฝรั่งเศสและอังกฤษ ความมีอิทธิพลของตระกูลเมดีชีสามารถทำให้ฟลอเรนซ์กลายมามีบทบาทสำคัญต่อความรุ่งเรืองของศิลปะและสถาปัตยกรรม ตระกูลเมดีชีและตระกูลสำคัญอื่นๆของประเทศอิตาลีในสมัยนั้นเช่น ตระกูลวิสคอนติ (Visconti) ตระกูลสฟอร์เซ (Sforza) ตระกูลต่างๆ จากมิลาน ตระกูลเอสเตแห่งเฟอร์รารา (Este of Ferrara) ตระกูลกอนซากาจากมานตัว (Gonzaga of Mantua) และตระกูลอื่นๆ ต่างก็มีส่วนสำคัญในความเจริญของศิลปะเรอเนซองส์ และ สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ ธนาคารเมดีชีเป็นธนาคารที่มั่งคั่งที่สุดในทวีปยุโรปและกล่าวกันว่าตระกูลเมดีชีเป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรปสมัยนั้น ซึ่งทำให้สามารถสร้างอำนาจทางการเมืองโดยเริ่มจากฟลอเรนซ์และอิตาลีจนในที่สุดก็ขยายไปทั่วยุโรป สิ่งที่ตระกูลเมดีชีเป็นต้นตำรับทางการบัญชีคือการปรับปรุงวิธีทำบัญชีโดยการลงหลักฐานที่สามารถทำให้ติดตามเงินเข้าเงินออกได้ง่ายขึ้น (double-entry bookkeeping system).

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและเมดีชี · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์

"นักบุญทั้งหลาย" วาดโดยฟราอันเจลีโก เซนต์ (Saint) ชาวคาทอลิกและชาวออร์ทอดอกซ์ เรียกว่านักบุญ หมายถึง ผู้ศักดิ์สิทธิ์Wycliffe Bible Encyclopedia, "saint", ISBN 0-8024-9697-0, "Christians in general are 'saints' in NT usage, and the term is common in reference to the inclusive membership of a local church.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เนเปิลส์

นเปิลส์ (Naples), นาโปลี (Napoli) หรือ นาปูเล (เนเปิลส์: Napule) เป็นเมืองหลักของแคว้นคัมปาเนียและจังหวัดเนเปิลส์ในอิตาลี มีชื่อเสียงในด้านความร่ำรวยทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี และศาสตร์การทำอาหาร เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในคาบสมุทรอิตาลีมาตลอด 2,800 ปีนับแต่ก่อตั้งเมืองขึ้นมา ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ที่ชายฝั่งด้านตะวันตกของอิตาลีติดกับอ่าวเนเปิลส์ กึ่งกลางระหว่างพื้นที่ภูเขาไฟสองแห่ง คือ ภูเขาไฟวิสุเวียสและกัมปีเฟลเกรย์ เนเปิลส์ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 800-900 ปีก่อนคริสตกาล ในฐานะอาณานิคมกรีก จึงจัดว่าเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แรกเริ่มนั้นมีชื่อว่า Παρθενόπη Parthenope ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Νεάπολις Neápolis (เมืองใหม่) จัดเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญในพื้นที่ Magna Graecia โดยมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดวัฒนธรรมกรีกไปสู่สังคมโรมัน ต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางหลักทางวัฒนธรรมของสาธารณรัฐโรมัน โดยเวอร์จิล กวีภาษาละตินที่มีชื่อเสียง ก็ได้เคยศึกษาวิชาที่เนเปิลส์และต่อมาก็ได้อาศัยอยู่ที่บริเวณชานเมือง ตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์ เนเปิลส์ได้รับสืบทอดอิทธิพลทางศิลปะและสถาปัตยกรรมจากอารยธรรมต่าง ๆ มากมาย รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เด่นชัดที่สุดที่ยังคงพบได้ในปัจจุบันถือกำเนิดมาจากยุคกลาง สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และสมัยบาโรก ใจกลางเนเปิลส์เป็นศูนย์กลางเมืองทางประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป (1,700 เฮกตาร์ หรือ 17 ตารางกิโลเมตร) และได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมือง เนเปิลส์เคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของ Duchy และอาณาจักรต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งเคยเป็นเมืองหลวงของ Crown of Aragon และยังเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญ (โดยเฉพาะในสมัยของลัทธิมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ และตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ถึง 19) อิทธิพลของเมืองได้แผ่ขยายครอบคลุมพื้นที่หลายส่วนในยุโรปไปจนถึงนอกทวีป และรอบเมืองก็เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่าง ๆ (เช่น พระราชวังกาแซร์ตา ปอมเปอี และเฮอร์คิวเลเนียม) ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดต่อเนเปิลส์ในด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ และสถาปัตยกรรม เนเปิลส์เคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรเนเปิลส์ตั้งแต่ พ.ศ. 1825 ถึง พ.ศ. 2349 ต่อมาได้ถูกผนวกอาณาจักรเข้ากับราชอาณาจักรซิซิลี และกลายเป็นเมืองหลวงของ Kingdom of Two Sicilies จนกระทั่งอาณาจักรต่าง ๆ บนคาบสมุทรถูกผนวกรวมเป็นประเทศอิตาลีเมื่อ พ.ศ. 2404 ซึ่งหลังสงคราม Neapolitan ฝ่ายเนเปิลส์ก็ได้สนับสนุนการรวมประเทศนี้อย่างเต็มที่ ภายในอาณาเขตการปกครองของเนเปิลส์มีประชากรประมาณ 1 ล้านคน แต่จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ระบุว่าเขตมหานครของเนเปิลส์มีประชากรมากเป็นอันดับสอง (รองจากมหานครมิลาน ซึ่ง Svimez Data ระบุว่ามีผู้อยู่อาศัย 4,434,136 คน ขณะที่สถาบัน Censis ระบุว่ามี 4,996,084 คน)) หรือสาม (ตามข้อมูลขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา มีผู้อยู่อาศัย 3.1 ล้านคน) ของอิตาลี นอกจากนี้ยังเป็นมหานครที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในอิตาลี เนเปิลส์ถูกจัดให้เป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งมากเป็นอันดับสี่ในอิตาลี รองจากมิลาน โรม และตูริน และถูกจัดให้เป็นเมืองที่ร่ำรวยเป็นอันดับที่ 91 ของโลกโดยวัดจากกำลังซื้อของประชากร และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมอยู่ที่ 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเหนือกว่าเศรษฐกิจของบูดาเปสต์และซูริก ท่าเรือเนเปิลส์เป็นท่าเรือที่มีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป (มีผู้โดยสารคับคั่งมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากท่าเรือฮ่องกง) เมื่อไม่นานมานี้เศรษฐกิจของเนเปิลส์ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และอัตราการว่างงานของประชากรในเมืองและบริเวณโดยรอบก็ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2542 กระนั้นก็ยังคงเต็มไปด้วยการทุจริตทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นแหล่งตลาดมืดที่เฟื่องฟู ในตัวเมืองเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทขนาดใหญ่สัญชาติอิตาลีหลายแห่ง เช่น MSC-Cruises และเป็นที่ตั้งของ Center Rai of Naples (สื่อ) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2501 ขณะที่ในเขตบัญโญลีเป็นที่ตั้งของสำนักงานขนาดใหญ่ขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ และยังมี SRM institution for economic research และบริษัทและศูนย์การศึกษา OPE ที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองเช่นกัน เนเปิลส์เป็นสมาชิกเต็มของเครือข่าย Eurocities นอกจากนี้ ยังได้รับเลือกให้เป็นศูนย์กลางของ Acp/Ue และได้รับการยกย่องจาก Creative Cities Network ในสังกัดขององค์การยูเนสโกให้เป็นเมืองแห่งวรรณกรรม ในเขตโปซิลลีโปของเมืองเป็นที่ตั้งของ Vill Rosebery ซึ่งเป็นที่พำนักอย่างเป็นทางการหนึ่งในสามแห่งของประธานาธิบดีอิตาลี ในศตวรรษที่ 20 เนเปิลส์ตกอยู่ภายใต้การปกครองของลัทธิฟาสซิสต์ และในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองก็เป็นเมืองที่ถูกทิ้งระเบิดมากที่สุดในอิตาลี ภายหลังสงครามสงบได้มีการบูรณะเมืองซึ่งได้ขยายตัวเมืองออกไปยังพื้นที่รอบนอก ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้ ได้มีการสร้างย่านธุรกิจ (เชนโตรดีเรซีโอนาเล) ที่มีอาคารระฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานแบบ TGV ในโรม รวมถึงการขยายเส้นทางรถไฟใต้ดินที่จะครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งของภูมิภาค และเนเปิลส์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม International Astronautical Congress ใน พ.ศ. 2555 และ Universal Forum of Cultures ใน พ.ศ. 2556 เนเปิลส์เป็นเมืองที่เริ่มมีการทำพิซซาขึ้นเป็นครั้งแรก โดยในขณะนั้นจะใช้การทอดก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นการอบในภายหลัง นอกจากนี้วัฒนธรรม Neapolitan ยังมีอิทธิพลด้านดนตรีอย่างแพร่หลาย อย่างเช่นการประดิษฐ์ Romantic guitar และแมนโดลิน รวมทั้งอุปรากรและเพลงท้องถิ่น บุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ของเนเปิลส์คือนักบุญ Januarius ผู้ปกป้องคุ้มครองเมือง ส่วนตัวละครจากเรื่องแต่งที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์คือ พูลชิเนลลา และไซเรน สิ่งมีชีวิตจากมหากาพย์โอดิสซีของกรีก.

ใหม่!!: ฟีลิปโป ลิปปีและเนเปิลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Filippo LippiFra Filippo Lippiฟราฟิลลิปโป ลิปปีฟราฟิลิปโป ลิปปีฟิลลิปโป ลิปปีฟิลิปโป ลิปปี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »