โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศ

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ vs. ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศ

อนเฟเดอเรชันส์คัพ (Confederations Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลที่จัดขึ้นทุกสี่ปีโดยฟีฟ่า เป็นการแข่งขันระหว่างทีมที่ชนะเลิศจากแต่ละภูมิภาคทั่วโลก (เอเชียนคัพ แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ โกลด์คัพ โคปาอเมริกา โอเอฟซีเนชันส์คัพ และ ยูโร) พร้อมทั้งทีมที่ชนะฟุตบอลโลกครั้งล่าสุดและทีมเจ้าภาพในปีถัดไป ซึ่งจะมีทั้งหมด 8 ทีม โดยเริ่มแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) ในชื่อ คิงฟาฮัดคัพที่จัดขึ้นที่ซาอุดีอาระเบีย และในปี พ.ศ. 2540 ทางฟีฟ่าได้มาเป็นผู้จัดการการแข่งขันทั้งหมด แผนที่ของทีมประเทศต่าง ๆ กับผลงานที่ดีที่สุด ผู้ชนะครั้งล่าสุดคือทีมชาติบราซิล โดยได้มีการจัดขึ้นก่อนฟุตบอลโลก 2014 ที่จัดขึ้นที่ประเทศบราซิล และในปี พ.ศ. 2560 ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพจะจัดขึ้นที่ประเทศรัสเซีย ก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018. การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศ กำหนดจัดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ที่สนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟ ในเคียฟของยูเครน เพื่อตัดสินหาทีมชนะเลิศของการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 (ยูโร 2012) ทีมที่ป้องกันตำแหน่งชนะเลิศคือสเปน ซึ่งชนะการแข่งขันต่อเยอรมนี 1-0 ในนัดชิงชนะเลิศเมื่อปี 2008 สเปนประกบคู่มาแข่งขันกับอิตาลี ในความพยายามรักษาตำแหน่งชนะเลิศของพวกเขาไว้ หากสเปนชนะเลิศในครั้งนี้ พวกเขาจะเป็นทีมแรกที่ชนะเลิศ การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป สองสมัยติดต่อกัน และจะเป็นฟุตบอลทีมชาติแรก ที่ชนะเลิศการแข่งขันรายการใหญ่ (ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป และ ฟุตบอลโลก) สามครั้งติดต่อกัน ผู้ชนะเลิศในรายการนี้ จะได้รับสิทธิเข้าแข่งขัน ในรายการคอนเฟเดอเรชันส์คัพของฟีฟ่า ประจำปี ค.ศ. 2013 โดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม สเปนได้สิทธิเข้าแข่งขันอยู่ก่อนแล้ว ในสถานะผู้ชนะเลิศฟุตบอลโลก 2010 ดังนั้นอิตาลีจะผ่านการคัดเลือกจากยูฟ่าโดยอัตโนมัติ เมื่อเข้าถึงนัดชิงชนะเลิศนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ชนะเลิศหรือไม่ก็ตาม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศ

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศ มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลทีมชาติบราซิลฟุตบอลโลกการยิงลูกโทษสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศโกลเดนโกล

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (European Football Championship) หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า ฟุตบอลยูโร เป็นการแข่งขันฟุตบอลรายการสำคัญที่สุดของทีมชาติในทวีปยุโรป ซึ่งจัดขึ้นทุก 4 ปีโดยสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) และจะห่างจากการแข่งขันฟุตบอลโลกของฟีฟ่า 2 ปี เริ่มแข่งขันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ในชื่อรายการว่า ยูโรเปียนเนชันส์คัพ (European Nations Cup) จากแนวคิดของ อองรี เดอโลเนย์ เลขาธิการสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศสขณะนั้น ทั้งนี้การแข่งขัน 5 ครั้งแรก มีทีมชาติร่วมแข่งขัน รอบสุดท้ายเพียง 4 ประเทศ ต่อมาตั้งแต่การแข่งขันครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) เปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็น ยูโรเปียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และในครั้งที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) มีทีมชาติเข้าแข่งรอบสุดท้าย เพิ่มเป็น 8 ประเทศ ส่วนการแข่งขันนัดชิงลำดับที่สาม ยกเลิกไปในครั้งที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) จากนั้นในครั้งที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) เพิ่มจำนวนเป็น 16 ประเทศ ในรอบสุดท้าย และในครั้งที่ 15 ซึ่งจะจัดขึ้นปี พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) ทีมชาติในรอบสุดท้ายจะเพิ่มขึ้นเป็น 24 ประเทศ สำหรับการแข่งขันครั้งล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) จัดการแข่งขันที่สาธารณรัฐโปแลนด์และประเทศยูเครน.

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป · ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอลทีมชาติบราซิล

ฟุตบอลทีมชาติบราซิล (Seleção Brasileira de Futebol) เป็นตัวแทนฟุตบอลจากประเทศบราซิล อยู่ภายใต้การควบคุมของสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิล และเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในโลก ซึ่งชนะเลิศฟุตบอลโลก 5 ครั้ง ทีมชาติบราซิลมีชื่อเล่นของทีมว่า "เซเลเซา" (Seleção) ซึ่งแปลว่า การคัดเลือกหรือบุคคลที่เลือกมาแล้ว แต่ชื่อที่รู้จักโดยทั่วไปและแฟนฟุตบอลชาวไทยนิยมเรียกคือ "แซมบา" (Samba).

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟุตบอลทีมชาติบราซิล · ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศและฟุตบอลทีมชาติบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอลโลก

ฟุตบอลโลก หรือ ฟุตบอลโลกฟีฟ่า (FIFA World Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศโดยมีชุดทีมชาติชายร่วมเข้าแข่งในกลุ่มสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) การแข่งขันจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี เริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 ใน ฟุตบอลโลก 1930 ยกเว้นในปี..

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟุตบอลโลก · ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศและฟุตบอลโลก · ดูเพิ่มเติม »

การยิงลูกโทษ

ทีมไอวอรีโคสต์ (ชุดสีส้ม) กำลังยิงลูกโทษ การยิงลูกโทษ เป็นการตั้งเตะทำคะแนนในการแข่งขันฟุตบอล โดยลูกฟุตบอลจะอยู่ในตำแหน่งหน้าประตูห่างมาเป็นระยะ 12 หลา (ประมาณ 11 เมตร) โดยมีผู้รักษาประตูคนเดียวเท่านั้นที่อยู่ในตำแหน่งที่ป้องกันได้ ในการแข่งขันฟุตบอลจะมีการยิงลูกโทษสองลักษณะคือ ลักษณะแรกการยิงลูกโทษระหว่างการแข่งขัน เกิดจากที่ผู้เล่นในฝ่ายรับทำฟาล์วผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามตั้งแต่ภายในเขตโทษ โดยผู้ที่ยิงลูกโทษจะมีสิทธิยิงได้หนึ่งครั้งโดยเมื่อยิงเสร็จแล้วจะปล่อยให้เกมเล่นต่อตามปกติ ในลักษณะที่สองคือการยิงลูกโทษภายหลังจากหมดเวลาการแข่งขัน และทั้งสองฝ่ายมีคะแนนเท่ากัน จะทำการยิงลูกโทษในการตัดสินผู้ชนะ โดยการยิงลูกโทษลักษณะนี้จะ เริ่มต้นโดยผู้ยิงฝ่ายละ 5 คน สลับกันยิงลูกโทษ โดยถ้าไม่สามารถตัดสินกันได้ให้มีการยิงต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผู้ชน.

การยิงลูกโทษและฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ · การยิงลูกโทษและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศ · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ

หพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (Fédération Internationale de Football Association) หรือ ฟีฟ่า (FIFA) เป็นองค์กรที่ดำเนินการในกีฬาฟุตบอลระหว่างประเทศ และเป็นองค์กรกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบัน สำนักงานตั้งอยู่ที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ · ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศและสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

โกลเดนโกล

กลเดนโกล (Golden goal) หรือ กฎประตูทอง เป็นกติกาในกีฬาฟุตบอลไว้ตัดสินหาผู้ชนะในช่วงต่อเวลาพิเศษ 30 นาที ในเกมที่ต้องตัดสินผลแพ้ชนะ และในเกมนั้นผลประตูเสมอกันในช่วงเวลาปกติ (90 นาที) ปัจจุบันกฎนี้ไม่ถูกใช้ในเกมการแข่งขันของฟีฟ่าอีกต่อไปแล้ว ถ้าใช้กฎโกลเดนโกล ในช่วงต่อเวลาพิเศษอีกครึ่งละ 15 นาทีนั้น ถ้าทีมไหนยิงประตูได้ก่อน ทีมนั้นจะเป็นผู้ชนะทันทีโดยไม่ต้องแข่งขันต่อ แต่ถ้ายังยิงประตูกันไม่ได้จนหมดเวลา ก็จะเข้าสู่ช่วงยิงลูกโทษเพื่อหาผู้ชนะ กฎนี้ถูกคิดขึ้นโดยฟีฟ่าใน ค.ศ. 1993 โดยใช้แทนคำว่า ซัดเดน เดธ (sudden death) เนื่องจากมีความหมายที่ค่อนข้างไปในทางลบ กฎนี้ถูกใช้ครั้งแรกในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 และฟุตบอลโลก 1998 การแข่งขันครั้งแรกที่มีการยิงโกลเดนโกลคือ นัดระหว่างออสเตรเลียกับอุรุกวัย ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1993 ในรอบก่อนรองชนะเลิศของการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนโลก สำหรับการแข่งขันสำคัญที่ตัดสินกันด้วยโกลเดนโกลคือรอบชิงชนะเลิศของยูโร 1996 โดยครบ 90 นาทีเสมอที่ 1-1 ครั้นในช่วงต่อเวลาพิเศษ โอลิเวอร์ เบียร์ฮอฟฟ์ ผู้เล่นของเยอรมนี ได้ยิงโกลเดนโกลเอาชนะสาธารณรัฐเช็ก ไป 2-1 คว้าแชมป์ไปครอง กฎโกลเดนโกลมีจุดหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเล่นแบบรวดเร็วและชาญฉลาด และหลีกเลี่ยงการตัดสินด้วยจุดโทษ แต่ได้รับเสียงวิจารณ์ว่าทำให้ทีมเล่นฟุตบอลแบบเน้นการป้องกันมากขึ้น เพื่อลดโอกาสความพ่ายแพ้ ส่วนในประเทศไทย มีโกลเดนโกลเกิดขึ้นในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ ระหว่างทีมชาติไทย ภายใต้การคุมทีมนัดแรกของ ปีเตอร์ วิธ กุนซือชาวอังกฤษคนแรก กับทีมชาติเกาหลีใต้ ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย โดยครบ 90 นาทีเสมอที่ 1-1 ครั้นในช่วงต่อเวลาพิเศษนาทีที่ 95 ดุสิต เฉลิมแสน เขี่ยฟรีคิกสั้นๆ ให้ ธวัชชัย ดำรงค์อ่องตระกูล ยิงไกลแบบเต็มข้อเข้าไปเป็นโกลเดนโกลให้ไทยผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศได้เป็นครั้งแรกด้วยการเอาชนะเกาหลีใต้ไปได้ 2-1 ใน ค.ศ. ​2002 ยูฟ่าได้นำกฎซิลเวอร์โกลมาใช้แทน โดยจะคล้ายกับกฎโกลเด้นโกล แต่จะไม่หยุดเกมเมื่อมีทีมยิงประตูได้ โดยจะเล่นจนจบครึ่งแรกของการต่อเวลาพิเศษแทน ในปี ค.ศ. ​2004 ทางฟีฟ่าได้ยกเลิกกฎโกลเดนโกลหลังจบการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004 ที่ประเทศโปรตุเก.

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและโกลเดนโกล · ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศและโกลเดนโกล · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศ

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ มี 26 ความสัมพันธ์ขณะที่ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศ มี 82 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 5.56% = 6 / (26 + 82)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »