เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ฟีนอล์ฟทาลีนและเมทิลออเรนจ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฟีนอล์ฟทาลีนและเมทิลออเรนจ์

ฟีนอล์ฟทาลีน vs. เมทิลออเรนจ์

ฟีนอล์ฟทาลีน (phenolphthalein; ตัวย่อ: HIn, phph) เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมีคือ C20H14O4 นิยมใช้เป็นตัวบ่งชี้ (indicator) ในการไทเทรตกรด-เบส โดยจะไม่มีสีเมื่อทดสอบด้วยสารละลายกรดและมีสีชมพูอมม่วงเมื่อทดสอบด้วยสารละลายเบส นอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวบ่งชี้สากล (universal indicator) ร่วมกับเมทิลเรด บรอมอไทมอลบลูและไทมอลบลู เมื่ออยู่ในรูปเอเควียส ฟีนอล์ฟทาลีนจะมี 4 รูปแบบดังตาราง: ฟีนอล์ฟทาลีนเคยใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน แต่ต่อมาเลิกใช้เนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็ง ฟีนอล์ฟทาลีนและโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นส่วนผสมหนึ่งในหมึกล่องหน โดยหมึกที่เลือนหายไปเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับคาร์บอนไดออกไซด์ในอาก. มทิลออเรนจ์ (methyl orange) เป็นสารเคมีที่มีลักษณะเป็นผงสีส้มเหลือง ใช้เป็นตัวบ่งชี้พีเอชในการไทเทรต เนื่องจากให้สีที่ชัดเจน เมทิลออเรนจ์จะเปลี่ยนสีในกรดที่มีความแรงปานกลาง จึงมักใช้ในการไทเทรตสำหรับกรด เมทิลออเรนจ์แตกต่างจากยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์คือ ไม่ได้เปลี่ยนสีครบสเปกตรัม แต่จะเปลี่ยนสีเมื่อถึงจุดยุติ โดยจะให้สีส้มเมื่อเป็นกรดและสีเหลืองเมื่อเป็นเบส ในสารละลายที่เป็นกรดอ่อน เมทิลออเรนจ์จะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้ม และกลายเป็นสีเหลืองในที่สุด และจะกลับกันเมื่อสารละลายมีความเป็นกรดมากขึ้น เมทิลออเรนจ์มีค่า pH 3.47 ในน้ำอุณหภูมิ เมื่อเมทิลออเรนจ์อยู่ในสารละลายไซลีนไซยานอล จะให้สีม่วงเมื่อเป็นกรดและให้สีเขียวเมื่อเป็นเบส เมทิลออเรนจ์มีคุณสมบัติเป็นสารก่อกลายพันธุ์ จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฟีนอล์ฟทาลีนและเมทิลออเรนจ์

ฟีนอล์ฟทาลีนและเมทิลออเรนจ์ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การไทเทรต

การไทเทรต

ลักษณะการไทเทรต การไทเทรต (titration) คือ วิธีการทางปริมาณวิเคราะห์ (Quantitative Analysis) ใช้ในการหาปริมาตรของสารละลายมาตรฐาน (สารละลายที่เราทราบความเข้มข้นที่แน่นอนแล้ว) ที่ทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายอื่นซึ่งทราบปริมาตร แต่ยังไม่ทราบความเข้มข้น เพื่อนำค่าปริมาตรที่ได้มาคำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายอื่นนั้น สำหรับการไทเทรตทุกชนิด จุดที่สารที่เรานำมาไทเทรตทำปฏิกิริยากันพอดี เราเรียกว่า จุดสมมูลหรือจุดสะเทิน (Equivalence Point)จุดที่กรดทำปฏิกิริยากันพอดีหรือสะเทินพอดีกับเบส ส่วนจุดที่อินดิเคเตอร์ (Indicator) เปลี่ยนสี เราเรียกว่า จุดยุติ (End Point) ซึ่งเป็นจุดที่เราจะยุติการไทเทรต โดยถ้าเราใช้อินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมจะทำให้จุดยุติตรงกับจุดสมมูลหรือใกล้เคียงกับจุดสมมูลมาก แต่ถ้าเราใช้อินดิเคเตอร์ไม่เหมาะสมอาจจะทำให้จุดยุติอยู่ห่างจากจุดสมมูลมาก ทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนได้.

การไทเทรตและฟีนอล์ฟทาลีน · การไทเทรตและเมทิลออเรนจ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฟีนอล์ฟทาลีนและเมทิลออเรนจ์

ฟีนอล์ฟทาลีน มี 14 ความสัมพันธ์ขณะที่ เมทิลออเรนจ์ มี 2 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 6.25% = 1 / (14 + 2)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฟีนอล์ฟทาลีนและเมทิลออเรนจ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: