ฟิสิกส์และเอนโทรปีของข้อมูล
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ฟิสิกส์และเอนโทรปีของข้อมูล
ฟิสิกส์ vs. เอนโทรปีของข้อมูล
แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น. อนโทรปีของการทดลองแบร์นูลีซึ่งเป็นฟังก์ชันของโอกาสสำเร็จ ในทฤษฎีข้อมูล เอนโทรปีของข้อมูล คือ เป็นลักษณะที่บ่งชี้ระดับการสุ่มของสัญญาณหรือเหตุการณ์สุ่ม ว่ามีมากน้อยเพียงใด หรือเราอาจมองอีกมุมหนึ่งว่าเป็นตัวบ่งบอกว่าสัญญาณอันหนึ่งบรรจุข้อมูลอยู่เท่าไร เอนโทรปีเป็นแนวคิดของเทอร์โมไดนามิคส์ กลศาสตร์ทางสถิติ และ ทฤษฎีข้อมูล แนวคิดของเอนโทรปีกับเรื่องของข้อมูลมีความเกี่ยวพันกันอย่างมาก อย่างไรก็ตามกว่าที่กลศาสตร์ทางสถิติและทฤษฎีข้อมูล จะพัฒนามาจนความสัมพันธ์นี้ปรากฏขึ้น ก็ใช้เวลานานทีเดียว บทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับเอนโทรปีของข้อมูล (กฎเกณฑ์ของเอนโทรปีที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงทฤษฎี) ตัวอย่างเช่น พิจารณาข้อความในภาษาไทย ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษรและเครื่องหมายต่าง ๆ (ซึ่งสัญญาณของเราในที่นี้ ก็คือลำดับของตัวอักษรและเครื่องหมายนั่นเอง) สังเกตว่าตัวอักษรบางตัวมีโอกาสปรากฏขึ้นมาน้อยมาก (เช่น ฮ) แต่บางตัวกลับปรากฏบ่อยมาก (เช่น อ) ดังนั้นข้อความภาษาไทยนั้นก็ไม่ได้เรียกว่าสุ่มซะทีเดียว (ถ้าสุ่มจริง ข้อความน่าจะออกมาเป็นคำมั่ว ๆ อ่านไม่ได้ใจความ) อย่างไรก็ตาม ถ้าเราได้คำชุดหนึ่งมา เราก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่าคำต่อไปเป็นคำว่าอะไร แสดงว่ามันก็มี'ความสุ่ม'อยู่บ้าง ไม่ได้เที่ยงแท้ซะทีเดียว เอนโทรปีก็คือการวัดระดับความสุ่มนี้นั่นเอง โดยกำเนิดมาจากผลงานของ คลาวด์ อี แชนนอน ในปีพ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ชื่อ A Mathematical Theory of Communication แชนนอนสร้างบทนิยามของเอนโทรปีขึ้นจากข้อสมมติฐานว.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฟิสิกส์และเอนโทรปีของข้อมูล
ฟิสิกส์และเอนโทรปีของข้อมูล มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อุณหพลศาสตร์เอนโทรปี
แผนภาพระบบอุณหพลศาสตร์ทั่วไป แสดงพลังงานขาเข้าจากแหล่งความร้อน (หม้อน้ำ) ทางด้านซ้าย และพลังงานขาออกไปยังฮีทซิงค์ (คอนเดนเซอร์) ทางด้านขวา ในกรณีนี้มีงานเกิดขึ้นจากการทำงานของกระบอกสูบ อุณหพลศาสตร์ (/อุน-หะ-พะ-ละ-สาด/ หรือ /อุน-หะ-พน-ละ-สาด/) หรือ เทอร์โมไดนามิกส์ (Thermodynamics; มาจากภาษากรีก thermos.
ฟิสิกส์และอุณหพลศาสตร์ · อุณหพลศาสตร์และเอนโทรปีของข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »
การละลายของน้ำแข็งในน้ำ นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปีของน้ำแข็ง ซึ่งเดิมมีโมเลกุลเรียงอยู่กับที่ มาเป็นโมเลกุลเคลื่อนที่ไปมาภายในแก้ว เอนโทรปี (entropy) มาจากภาษากรีก εν (en) แปลว่าภายใน รวมกับ τρέπω (trepo) แปลว่า ไล่ หนี หรือ หมุน ถือเป็นหัวใจของกฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกายภาพที่เกิดขึ้นเองทางธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะทำให้ความแตกต่างของ ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิ แรงดัน ความหนาแน่น หรือค่าอื่น ๆ ในระบบค่อย ๆ น้อยลงจนกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งต่างจากกฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์ ซึ่งกล่าวถึงการอนุรักษ์พลังงาน เอนโทรปีเป็นจำนวนซึ่งใช้อธิบายระบบอุณหพลศาสตร์ เมื่อมองในระดับโมเลกุล กระบวนการทางกายภาพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทำให้โมเลกุลมีการเรียงตัวที่ไม่เป็นระเบียบมากขึ้น สามารถแทนได้ด้วยค่าเอนโทรปีที่เพิ่มขึ้น ในการคำนวณ นิยมใช้สัญลักษณ์ S ซึ่งนิยามจากสมการดิฟเฟอเรนเซียล dS.
ฟิสิกส์และเอนโทรปี · เอนโทรปีและเอนโทรปีของข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ฟิสิกส์และเอนโทรปีของข้อมูล มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฟิสิกส์และเอนโทรปีของข้อมูล
การเปรียบเทียบระหว่าง ฟิสิกส์และเอนโทรปีของข้อมูล
ฟิสิกส์ มี 113 ความสัมพันธ์ขณะที่ เอนโทรปีของข้อมูล มี 4 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 1.71% = 2 / (113 + 4)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฟิสิกส์และเอนโทรปีของข้อมูล หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: