เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ฟิลิป แอสต์ลีย์และโรคเกาต์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฟิลิป แอสต์ลีย์และโรคเกาต์

ฟิลิป แอสต์ลีย์ vs. โรคเกาต์

ฟิลิป แอสต์ลีย์ (Philip Astley; 8 มกราคม พ.ศ. 2285 — 27 มกราคม พ.ศ. 2357) ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็น "บิดาแห่งละครสัตว์สมัยใหม่" ฟิลิป แอสต์ลีย์ เกิดที่เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรชายของช่างทำตู้ เมื่ออายุได้ 9 ขวบได้เริ่มฝึกหัดงานกับบิดา แต่ความฝันของแอสต์ลีย์กลับอยากทำงานที่เกี่ยวกับม้า ดังนั้นแอสต์ลีย์จึงเข้าร่วมเป็นทหารในกรมทหารม้าเบาที่ 15 ของพันเอกเอเลียตเมื่ออายุ 17 ปี และต่อได้เลื่อนเป็นสิบตรี แอสต์ลีย์ได้เข้าร่วมรบในสงครามฝรั่งเศสและสงครามอินเดีย อาชีพทหารของแอสต์ลีย์ได้ช่วยให้เขาได้พบปะและติดต่อกับนักฝึกม้าและนักขี่มืออาชีพหลายคนซึ่งแอสต์ลีย์เองก็เป็นนักขี่ม้าตัวยงอยู่ด้วยแล้ว แอสต์ลีย์มีความเป็นอัจฉริยะในการขี่ม้าแบบผาดโผน เขาได้เห็นนักขี่ม้าผาดโผนได้รับความสนใจมากจากคนดูที่อิสลิงตัน จึงได้ความคิดที่จะเปิดสอนโรงเรียนสอนการขี่ม้าในลอนดอน ที่ที่ซึ่งแอสต์ลีย์สามารถเปิดการแสดงการขี่ม้าผาดโผนไปพร้อมกันได้ด้วย ในปี พ.ศ. 2311 หรือประมาณเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 ได้หนึ่งปี แอสต์ลีย์ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนขี่ม้าขึ้นที่ตอนใต้ของสะพานเวสมินสเตอร์ในลอนดอนโดยทำการสอนในช่วงเช้าและเปิดการแสดง "ความแกล้วกล้าของนักขี่ม้า" ในช่วงบ่าย แอสต์ลีย์เรียกลานสนามที่จัดแสดงว่า "เซอร์คัส" (circus -แปลว่าวงกลมหรือวงเวียน) เนื่องจากรูปร่างกลมของสนามแสดง แอสต์ลีย์เลือกลานกลมด้วยเหตุผลสองประการคือ ประการแรกเป็นการการง่ายที่จะทำให้ผู้ชมมองเห็นนักขี่ได้ตลอดเวลา และประการที่สอง วงกลมจะทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ที่ช่วยให้การยืนขี่ขณะม้าวิ่งควบเป็นวงโค้งได้มั่นคงขึ้น หลังจากแสดงต่อเนื่องมาหลายปี แอสต์ลีย์ได้ต่อเติมชาน ที่นั่งและหลังคาให้กับลานแสดงของเขา ทวิอัฒจันทร์ของแอสต์ลีย์ในลอนดอนประมาณ พ.ศ. 2351 ลานกลมละครสัตว์โรงแรกของแอสต์ลีย์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 เมตร แต่ในที่สุดมาลงตัวที่ 13 เมตร ซึ่งกลายเป็นมาตรฐานนานาชาติในเวลาต่อมา แอสต์ลีย์เริ่มทำเงินได้มากขึ้นเรื่อยๆ และมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้น แต่อย่างไรก็ดี หลังจากเปิดการแสดงได้สองฤดู แอสต์ลีย์จำต้องนำสิ่งแปลกใหม่เข้ามาร่วมการแสดงร่วมเพื่อไม่ให้คนดูเบื่อ เขาเริ่มจ้างนักขี่ม้าอาชีพเพิ่มขึ้น จ้างนักดนตรี ตัวตลก นักแสดงปาหี่ นักแสดงการตีลังกา นักเดินไต่เส้นลวดและสุนัขเต้นระบำมาร่วมรายการด้วย ซึ่งนับเป็นการวางรากฐานรูปแบบละครสัตว์สมัยใหม่อย่างเป็นอยู่ในปัจจุบัน ละครสัตว์ของแอสต์ลีย์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจนถึงกับได้รับเชิญให้ไปแสดงหน้าพระที่นั้งของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสที่พระราชวังแวร์ซาย เมื่อ พ.ศ. 2265 ในปีต่อมาแอสต์ลีย์ได้สร้าง "ทวิอัฒจันทร์" (Amphitheatre) ของเขาขึ้นแต่ก็ถูกไฟใหม้เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2267 แต่เขาก็สร้างมันขึ้นมาใหม่หลังจากถูกไฟไหม้หลายครั้ง, และด้วยความมั่งคั่งมันได้กลายเป็น "ราชทวิอัฒจรรย์แอสต์ลีย์" แอสต์ลีย์ได้เปิดการแสดงละครสัตว์ปารีสขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2325 ซึ่งเรียกกันว่า "ทวิอัฒจันทร์อองแกลส์" (Amphitheatre Anglais) หลังจากนั้นก็ได้มีผู้เปิดการแสดงละครสัตว์ขึ้นหลายแห่งซึ่งนำไปสู่การมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก คู่แข่งสำคัญคนแรกของแอสต์ลีย์คือนักขี่ม้าอาชีพชื่อชาลส์ ฮิวส์ซึ่งเคยทำงานกับแอสต์ลีย์มาก่อน และด้วยความร่วมมือกับชาลส์ ดิบดินนักแต่งละครแพนโทไมม์หรือละครใบ้โบราณผู้มีชื่อเสียง ฮิวส์ได้เปิดอัฒจรรย์ขึ้นมาแข่งในลอนดอนซึ่งดิบดินตั้งชื่อว่า "สำนักดุริยางค์อาชาราชละครสัตว์" (Royal Circus and Equestrian Philharmonic Academy) แอสต์ลีย์เองก็ได้เปิดโรงละครสัตว์ขึ้นอีก 18 แห่งในเมืองต่างๆ ของยุโรปและได้รับการอุปถัมภ์จากราชวงศ์หลายราชวงศ์ แอสต์ลีย์มีชื่อเสียงมากและร่ำรวยจนน่าอิจฉา แต่เขาไม่เคยใช้สัตว์ป่ามาแสดงเลยจนกระทั่งเมื่อ 14 ปีหลังการตายของเขาในปารีสเมื่ออายุได้ 72 ปี ด้วยโรคเกาท์ในกร. รคเกาต์ (หรือที่รู้จักกันในนาม โพดากรา เมื่อเกิดกับนิ้วหัวแม่เท้า) เป็นภาวะความเจ็บป่วยที่มักสังเกตได้จากอาการไขข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันซ้ำ ๆ—มีอาการแดง ตึง แสบร้อน บวมที่ข้อต่อ ข้อต่อกระดูกฝ่าเท้า-นิ้วเท้าที่โคนนิ้วหัวแม่เท้ามักได้รับผลกระทบบ่อยที่สุด (ประมาณ 50% ของผู้ป่วย) นอกจากนี้ ยังอาจพบได้ในรูปแบบของก้อนโทไฟ นิ่วในไต หรือ โรคไตจากกรดยูริก โรคนี้เกิดจากการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง กรดยูริกตกผลึกแล้วมาจับที่ข้อต่อ เส้นเอ็น และ เนื้อเยื่อโดยรอบ การวินิจฉัยทางคลินิกทำได้โดยการตรวจผลึกที่มีลักษณะเฉพาะในน้ำไขข้อ รักษาได้โดยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) สเตอรอยด์ หรือ โคลชิซีน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ หลังจากอาการข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันผ่านไปแล้ว ระดับของกรดยูริกในเลือดมักจะลดลงได้โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และในผู้ที่มีอาการกำเริบบ่อยอาจใช้อัลโลพูรินอลหรือโพรเบเนซิดเพื่อให้การป้องกันในระยะยาว จำนวนผู้ป่วยโรคเกาต์เพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายสิบปีนี้ โดยมีผลกระทบกับ 1-2% ของชาวตะวันตกในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้เชื่อว่าเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงที่พบมากขึ้นในประชากร ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มอาการเมตาบอลิก อายุขัยที่ยืนยาวขึ้น และ พฤติกรรมการกินอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป แต่เดิมนั้นโรคเกาต์เคยได้ชื่อว่าเป็น "โรคของราชา" หรือ "โรคของคนรวย".

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฟิลิป แอสต์ลีย์และโรคเกาต์

ฟิลิป แอสต์ลีย์และโรคเกาต์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฟิลิป แอสต์ลีย์และโรคเกาต์

ฟิลิป แอสต์ลีย์ มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ โรคเกาต์ มี 60 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (20 + 60)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฟิลิป แอสต์ลีย์และโรคเกาต์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: