โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟิงโกลฟินและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฟิงโกลฟินและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

ฟิงโกลฟิน vs. เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

ตามปกรณัมชุด ซิลมาริลลิออน ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ฟิงโกลฟิน (Fingolfin) เป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์พลัดถิ่นบนมิดเดิ้ลเอิร์ธ พระองค์เป็นโอรสองค์ที่สองของกษัตริย์ฟินเวกับพระนางอินดิส มีพี่ชายต่างมารดาคือ เฟอานอร์ และน้องชายร่วมมารดาเดียวกันคือ ฟินาร์ฟิน ฟิงโกลฟินมีโอรสธิดารวมสี่องค์คือ ฟิงกอน ทัวร์กอน อาเรเดล และอาราคาโน (ไม่ได้เอ่ยถึงในปกรณัม) ในปกรณัมกล่าวถึงฟิงโกลฟินว่า เป็นผู้มีร่างกายกำยำแข็งแรง จิตใจห้าวหาญ บางแห่งยกย่องว่าพระองค์เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาบุตรแห่งอิลูวาทาร์ทั้งปวง ชื่อของพระองค์ในภาษาเควนยา คือ โนโลฟินเว (Nolofinwë) ซึ่งมีความหมายว่า 'บุตรแห่งฟินเวผู้เฉลียวฉลาด' ฟิงโกลฟินและฟินาร์ฟิน เป็นโอรสของกษัตริย์ฟินเวกับพระนางอินดิส ซึ่งอภิเษกหลังจากมีริเอล พระชายาองค์แรกและมารดาของเฟอานอร์สิ้นพระชนม์ ดังนั้นจึงมักมีเรื่องขัดเคืองกันระหว่างเฟอานอร์กับฟิงโกลฟินเสมอๆ เพราะต่างก็เป็นโอรสองค์ใหญ่ เหตุแห่งความขัดเคืองกันส่วนใหญ่มาจากการยุแยงของเมลคอร์ เทพอสูรที่ริษยาในความรุ่งเรืองของเหล่าวาลาร์และพวกเอลฟ์ ครั้งหนึ่งเกิดการวิวาทกันจนเฟอานอร์ชักดาบออกต่อหน้าฟิงโกลฟิน จนเป็นเหตุให้เฟอานอร์ถูกลงโทษ ให้เนรเทศออกจากนครทิริออน ทว่าหลังจากนั้น มานเวเทพบดีได้จัดงานเลี้ยงและไกล่เกลี่ยให้พี่น้องทั้งสองกลับคืนดีกัน แต่เมลคอร์และอุงโกลิอันท์ก่อเหตุร้าย ทำลายทวิพฤกษา สังหารกษัตริย์ฟินเว แล้วชิงซิลมาริลของเฟอานอร์ไปเสียจากท้องพระคลังที่ฟอร์เมนอส หลบหนีไปยังมิดเดิ้ลเอิร์ธ เฟอานอร์ประกาศตามไล่ล่ามอร์กอธ (หรือเมลคอร์) ประชาชนชาวโนลดอร์ส่วนใหญ่ก็เคียดแค้นและจะตามไล่ล่ามอร์กอธด้วย ฟิงโกลฟินจึงเป็นผู้นำชาวโนลดอร์ส่วนใหญ่ที่ติดตามเฟอานอร์กลับมายังมิดเดิ้ลเอิร์ธ หลังจากเฟอานอร์สิ้นพระชนม์ มายดรอส โอรสองค์ใหญ่ของเฟอานอร์สละสิทธิ์ในราชสมบัติ ฟิงโกลฟินจึงขึ้นเป็นจอมกษัตริย์ของชาวโนลดอร์พลัดถิ่นบนมิดเดิ้ลเอิร์ธ เขาเป็นผู้นำในการสงครามต่อสู้กับมอร์กอธหลายครั้ง จนกระทั่งมอร์กอธตีโต้ด้วยไฟ ในสงครามดากอร์บราโกลลัค ทำให้ฝ่ายกองทัพเอลฟ์ได้รับความเสียหายยับเยิน รวมทั้งโอรสสององค์ของฟินาร์ฟิน คืออังกร็อดและอายก์นอร์ สิ้นพระชนม์ในการศึกครั้งนี้ด้วย ทำให้ฟิงโกลฟินลุแก่โทสะ บุกเพียงลำพังพระองค์เดียวเข้าไปถึงที่มั่นของมอร์กอธในอังก์บันด์ ฟิงโกลฟินได้สู้รบกับมอร์กอธตัวต่อตัว และสร้างบาดแผลแก่มอร์กอธได้ถึงเจ็ดแผล (จนทำให้มอร์กอธต้องเดินเขย่งขามานับแต่นั้น) แต่ไม่มีผู้ใดสามารถสังหารมอร์กอธซึ่งเป็นหนึ่งในเหล่าวาลาร์ได้ สุดท้ายฟิงโกลฟินจึงถูกมอร์กอธสังหาร โธรอนดอร์พญาอินทรี นำร่างของฟิงโกลฟินออกมา ไปไว้ยังเขตเทือกเขาของกอนโดลิน ทัวร์กอนได้สร้างหลุมพระศพของฟิงโกลฟินในที่นั้น. . อาร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฟิงโกลฟินและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

ฟิงโกลฟินและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาเควนยามิดเดิลเอิร์ธตำนานแห่งซิลมาริลเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

ภาษาเควนยา

ษาเควนยา (Quenya) เป็นภาษาหนึ่งซึ่ง เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้น และใช้ในนวนิยายของเขา คือในโลกมิดเดิลเอิร์ธ โดยเป็นภาษาของเอลฟ์ หรือชาวเควนดิ ซึ่งเป็นบุตรของมหาเทพอิลูวาทาร์ ภาษาเควนยานับได้ว่าเป็นภาษาแรกๆ ที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาษาฟินแลนด์ ซึ่งเป็นภาษาที่โทลคีนชอบมาก เขาศึกษาภาษาฟินนิชด้วยตัวเองเพราะต้องการจะอ่านมหากาพย์ คาเลวาลา ในต้นฉบับฟินนิช อันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง "โลกอาร์ดา" ของเขาในเวลาต่อมา โทลคีนสร้างตัวอักษรสำหรับภาษาเควนยา สร้างไวยากรณ์สำหรับภาษาเควนยา หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และโทลคีนได้กลับมาทำงานที่อ๊อกซฟอร์ดอีกครั้ง เขาได้ปรับปรุงแก้ไขภาษาเควนยาอย่างจริงจัง โดยใช้ภาษานี้ในการเขียนบันทึกประจำวัน แต่เนื่องจากโครงสร้างภาษายังไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายหลังโทลคีนเองก็สับสนและเลิกเขียนบันทึกด้วยวิธีนี้ เพราะลืมไปแล้วว่าขณะที่เขียนบันทึก เขาใช้โครงสร้างไวยากรณ์แบบไหน ช่วงแรกโทลคีนเรียกภาษานี้ว่า Qenya การสร้างภาษาเควนยา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญจุดหนึ่ง (แม้จะมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีก) ที่ทำให้โทลคีนบังเกิดความคิดให้มีผู้คนที่ใช้ภาษานี้ขึ้นมาจริงๆ อันเป็นที่มาของเหล่าเอลฟ์ ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ตลอดช่วงชีวิตของโทลคีน เขาได้แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างภาษานี้ จนกระทั่งมันสามารถใช้งานได้จริง สมบูรณ์ยิ่งกว่าภาษาประดิษฐ์อื่นๆ ของโทลคีน.

ฟิงโกลฟินและภาษาเควนยา · ภาษาเควนยาและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

มิดเดิลเอิร์ธ

แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.

ฟิงโกลฟินและมิดเดิลเอิร์ธ · มิดเดิลเอิร์ธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานแห่งซิลมาริล

ตำนานแห่งซิลมาริล (The Silmarillion) เป็นนิยายจินตนิมิต แต่งโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (ผู้แต่งเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) เริ่มประพันธ์โครงเรื่องตั้งแต่ปี..

ตำนานแห่งซิลมาริลและฟิงโกลฟิน · ตำนานแห่งซิลมาริลและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

อลฟ์ (elf) ตามความหมายในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ มีชีวิตยืนยาวเท่ากับอายุของโลก จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็นอมตะ คำว่า 'เอลฟ์' (Elf) เป็นคำที่โทลคีนเลือกมาจากตำนานโบราณเพื่อใช้แทนคำศัพท์แท้จริงอันเป็นชื่อของชนเผ่านี้ คือ เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งเป็นคำในภาษาเควนยา หมายถึง 'ประชากรแห่งแสงดาว'.

ฟิงโกลฟินและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฟิงโกลฟินและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

ฟิงโกลฟิน มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มี 175 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 2.06% = 4 / (19 + 175)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฟิงโกลฟินและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »