เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ฟาโรห์แอเคนาเทนและรายพระนามฟาโรห์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฟาโรห์แอเคนาเทนและรายพระนามฟาโรห์

ฟาโรห์แอเคนาเทน vs. รายพระนามฟาโรห์

รูปสลักฟาโรห์แอเคนาเทน แอเคนาเทน (Akhenaten, Ikhnaton, Akhenaton, Ikhnaton, Khuenaten) หรือ แอเมนโฮเทปที่ 4 (Amenhotep IV) หรือ อาเมโนฟิสที่ 4 (Amenophis IV) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 แห่งราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์ (Eighteenth dynasty) ฟาโรห์แอเคนาเทน มีพระมเหสีที่เป็นราชินีที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คือ ราชินีเนเฟอร์ติติ (Nefertiti) และพระราชโอรสที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน คือ ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน (Tutankhamun) ฟาโรห์แอเคนาเทน ขึ้นครองราชย์ระหว่าง 1350 ปีก่อนคริสต์ศักราช และครองราชย์อยู่นาน 17 ปี ปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า พระองค์เป็นฟาโรห์องค์แรกที่ปฏิวัติความเชื่อในอาณาจักรอียิปต์ พระองค์ทรงนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว คือ อาเตน (Aten) (สุริยเทพ สันนิษฐานว่าเป็นไปได้ว่าอาจเป็นองค์เดียวกับ รา) ถึงขนาดสร้างเมืองใหม่ที่ชื่อ อมาน่า (Amarna) ที่มีศาสนสถานขนาดใหญ่เพื่อบูชาเทพอาเตน พร้อมกับเปลี่ยนพระนามใหม่เป็น แอเคนาเทน ด้วย เพื่อให้เชื่อมโยงกับคำว่า อาเตน (แอเคนาเทน แปลว่า "มีประโยชน์ต่ออาเตน") ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า การที่นับถือเทพเจ้าเพียงองค์เดียวของพระองค์นั้น เป็นแรงบันดาลใจให้โมเสสเป็นกบฏต่อฟาโรห์แรเมซีสที่สอง (Ramesses II) ในอีกราว 50 ปี ต่อมา ที่วิหารและราชวังในเมือง อะมานา พระองค์ได้สร้างศิลปกรรมฝาผนังไว้อย่างงดงาม ที่มีบทสรรเสริญเทพอาเตน แต่เมื่อพระองค์สวรรคตลง เมืองอมาน่าแห่งนี้ก็ได้ถูกทิ้งร้างทันที ทายาทรุ่นหลังได้ทำลายวิหารและบทสรรเสริญเหล่านี้เสีย รวมทั้งได้ประนาณพระองค์และทำลายรูปสลักพระพักตร์ของพระองค์ด้วย ซึ่งเชื่อว่า ทั้งนี้เป็นเพราะต้องการทำลายหลักความเชื่อของการนับถือเทพเจ้าองค์เดียว (Monotheism) ภาพฝาผนังที่แสดงถึงฟาโรห์แอเคนาเทน พระนางเนเฟอร์ติติ และพระธิดา 3 องค์ ที่แสดงถึงความนับถือต่อเทพอาเตน (เทพเจ้าทรงฉายแสงอยู่ข้างบน). ทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับราชวงศ์และฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณ ตั้งแต่สมัยก่อนราชวงศ์ต้น เมื่อ 3100 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงสิ้นสมัยราชวงศ์ทอเลมีเมื่ออียิปต์กลายเป็นมณฑลแห่งโรมัน อยู่ภายใต้อำนาจจักรพรรดิออกุสตุสใน 30 ปีก่อนคริสตกาล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฟาโรห์แอเคนาเทนและรายพระนามฟาโรห์

ฟาโรห์แอเคนาเทนและรายพระนามฟาโรห์ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนฟาโรห์แรเมซีสที่ 2

ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน

ทุตอังค์อามุน (Tutankhamun) เป็นฟาโรห์อียิปต์จากราชวงศ์ที่ 18 เสวยราชย์ตั้งแต่ราวปีที่ 1332 ถึง 1323 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์อียิปต์ที่เรียกว่า "อาณาจักรใหม่" พระองค์มีพระนามเดิมว่า "ทุตอังค์อาเท็น" (Tutankhaten) หมายความว่า "องค์อวตารแห่งอาเท็น" ส่วนพระนาม "ทุตอังค์อามุน" หมายความว่า "องค์อวตารแห่งอามุน" พระนามหลังนี้ในอักษรไฮเออโรกลิฟส์ (hieroglyphs) เขียนว่า "อาเมน-ทุต-อังค์" (Amen-tut-ankh) เพราะตามประเพณีแล้วต้องเอานามเทพยดาขึ้นก่อน นอกจากนี้ เป็นไปได้ว่า พระองค์คือ "นีบูร์เรเรยา" (Nibhurrereya) ดังที่เขียนไว้ด้วยอักษรอะมาร์นา และ "ราโททิส" (Rathotis) พระเจ้าแผ่นดินในราชวงศ์ที่ 18 ซึ่งมาเนโท (Manetho) นักประวัติศาสตร์ ระบุว่า เสด็จอยู่ในพระราชสมบัติ 9 ปี ในปี 1922 เฮาเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) กับจอร์จ เฮอร์เบิร์ต เอิร์ลที่ 5 แห่งคาร์นาวอน (George Herbert, 5th Earl of Carnarvon) ค้นพบสุสานของพระองค์ซึ่งอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ การค้นพบดังกล่าวได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนทั่วโลก ทั้งยังก่อให้สาธารณชนกลับมาสนใจอียิปต์โบราณ และหน้ากากพระศพก็ได้รับการใช้เป็นสัญลักษณ์ของอียิปต์โบราณมาจนทุกวันนี้ ข้าวของเครื่องใช้จากสุสานของพระองค์ยังได้รับการนำพาไปจัดแสดงทั่วโลก ครั้นเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ผลตรวจทางพันธุกรรมยืนยันว่า พระองค์เป็นพระโอรสฟาโรห์แอเคนาเท็น (Akhenaten) กับพระกนิษฐภคินีพระองค์ 1 ของแอเคนาเท็นซึ่งบัดนี้ยังไม่ทราบพระนามและพระศพได้รับการเรียกขานว่า "ท่านหญิงน้อย" (The Younger Lady).

ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนและฟาโรห์แอเคนาเทน · ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนและรายพระนามฟาโรห์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2

แรเมซีสที่ 2 หรือ แรมซีสที่ 2 (url หรือ Ramses II; ประสูติ ราว 1303 ปีก่อนคริสตกาล; สวรรคต กรกฏาคมหรือสิงหาคม 1213 ปีก่อนคริสตกาล; เสวยราชย์ 1279–1213 ปีก่อนคริสตกาล หรือ 1276–1210 ปีก่อนคริสตกาล) สมัญญา แรเมซีสมหาราช (Ramesses the Great) เป็นฟาโรห์รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์ที่ 19 ของจักรวรรดิอียิปต์ เป็นกษัตริย์ที่ถือกันว่า ยิ่งใหญ่ ทรงอำนาจ และมีชื่อเสียงมากที่สุดของอียิปต์ ผู้ครองราชย์สืบต่อจากพระองค์และชนอียิปต์รุ่นหลังขนานนามพระองค์ว่า มหาบรรพชน (Great Ancestor) ส่วนเอกสารกรีกออกนามพระองค์ว่า โอซีแมนเดียส (Ozymandias) ซึ่งมาจากการทับศัพท์ชื่อรัชกาลพระองค์ในภาษาอียิปต์ คือ Usermaatre Setepenre ("ความยุติธรรมของรานั้นทรงพลานุภาพ — ผู้ได้รับเลือกแห่งรา") ออกเป็นภาษากรีก ขณะที่พระองค์มีพระชนม์ได้ 14 ชันษา ฟาโรห์เซติที่ 1 (Seti I) พระบิดาของพระองค์ ทรงตั้งพระองค์เป็นเจ้าชายผู้สำเร็จราชการ (Prince Regent)Putnam (1990) พระองค์ทรงยกทัพเข้าลิแวนต์ (Levant) หลายครั้งเพื่ออ้างย้ำซึ่งอำนาจของอียิปต์ในการปกครองเคนัน (Canaan) ทั้งมีการยกพลลงใต้ไปนิวเบีย (Nubia) โดยจารึกไว้เป็นอนุสรณ์ไว้ที่เบตเอล-วาลี (Beit el-Wali) และเกิร์ฟฮุสเซน (Gerf Hussein) หลังขึ้นเสวยราชย์แล้ว ต้นรัชกาล เน้นการสร้างบ้านแปงเมือง ก่ออารามวิหาร สถาปนาอนุสรณ์สถาน ในการนี้ พระองค์ทรงตั้งเมืองเพีย-ราเมส (Pi-Ramesses) ขึ้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมไนล์ (Nile Delta) ให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของพระองค์ และเป็นฐานที่มั่นเตรียมการศึก รัชกาลของพระองค์ยังมีการฉลองเทศกาลเซด (sed festival) ถึง 14 ครั้ง ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ และมากครั้งกว่าฟาโรห์พระองค์อื่นใด ตามธรรมเนียมแล้ว เทศกาลดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อกษัตริย์เสวยราชสมบัติครบ 30 ปี จากนั้นก็จัดอีกทุก 3 ปี เชื่อกันว่า พระองค์ขึ้นสู่ราชสมบัติเมื่อพระชนมายุเข้าสู่ปลายวัยรุ่นแล้ว เป็นที่รับรู้กันว่า ทรงปกครองอียิปต์ตั้งแต่ 1279 ถึง 1213 ปีก่อนคริสตกาล นักบวชแมนีโท (Manetho) ระบุว่า พระองค์ทรงครองราชย์ 66 ปี 2 เดือน นักวิทยาการอียิปต์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้เชื่อว่า พระองค์ขึ้นครองราชย์วันที่ 31 พฤษภาคม 1279 ปีก่อนคริสตกาล โดยอ้างอิงวันขึ้นครองราชย์ที่ตรวจทราบได้ว่า คือ วัน 27 ฤดูเก็บเกี่ยว 3 (III Shemu day 27) ส่วนพระชนม์ขณะสวรรคตนั้นมีการประมาณแตกต่างกันไป โดย 90 หรือ 91 ชันษาน่าจะเป็นไปได้ที่สุด เมื่อสวรรคตแล้ว พระศพของพระองค์ฝังไว้ที่หลุมแห่งหนึ่งในหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ภายหลัง ย้ายไปฝังยังอีกหลุมหนึ่ง ที่ซึ่งค้นพบใน..

ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2และฟาโรห์แอเคนาเทน · ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2และรายพระนามฟาโรห์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฟาโรห์แอเคนาเทนและรายพระนามฟาโรห์

ฟาโรห์แอเคนาเทน มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายพระนามฟาโรห์ มี 342 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 0.57% = 2 / (9 + 342)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฟาโรห์แอเคนาเทนและรายพระนามฟาโรห์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: